Image

ประโยชน์ของ Zinc ต่อผิวพรรณ และรีวิว/วิเคราะห์ส่วนผสมสเปรย์น้ำแร่ Trio-Zinc Mist จาก Novexpert เวชสำอางสายคลีนจากประเทศฝรั่งเศส

สวัสดีค่ะ วันนี้มีสาระดีๆ เกี่ยวกับประโยชน์ของ Zinc ที่มีต่อผิวมาฝากกัน

และมีรีวิว/วิเคราะห์ส่วนผสมสเปรย์น้ำแร่ Zinc ตัวดังจาก Novexpert เวชสำอางของประเทศฝรั่งเศสมาฝากกันค่ะ

กล่าวถึงแบรนด์นี้กันสักเล็กน้อยนะคะ แบรนด์นี้เขาเด่นในแง่ของการเบลนด์เอาหลักการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขั้นสูง ผสานเข้ากับส่วนผสมจากธรรมชาติที่ผ่านการค้นคว้าวิจัยมาเป็นอย่างดี

แล้วก็มีความ Clean แล้วก็มีความไม่ใช้ส่วนผสมที่มาจากสัตว์ ก็เลยถือว่ามีความ Vegan ด้วยค่ะ

ส่วนตัวก็เคยมีโอกาสได้ลองสินค้าของทางแบรนด์อยู่หลายชิ้นอย่างตัวเซรั่มวิตามินซี กับเซรั่มไฮยา ซึ่งก็ชอบมากๆ ทั้งคู่

เคยทำรีวิวไว้นานมากแล้วไม่แน่ใจเขาเปลี่ยนส่วนผสมหรือยังนะคะ สามารถติดตามไปแวะอ่านเป็นแนวทางจากบน Blog ที่เคยทำไว้ได้ค่ะ

วิตซี https://miyeonthereviewer.com/2018/06/29/novexpertvc/

ไฮยา https://miyeonthereviewer.com/2018/07/10/novexpert-hya/

กลุ่มที่จะมารีวิวคราวนี้มาจากกลุ่มของ Trio Zinc นะคะ ซึ่งเน้นที่ Zinc เป็นพระเอกค่ะ

ในกลุ่มนี้มีผลิตภัณฑ์อยู่หลายชิ้น ส่วนใหญ่จะเหมาะกับปัญหาผิวมัน สิว แต่ก็ให้ประโยชน์ได้ในการชะลอวัย และ มีบางตัวที่คนผิวแห้งหรือผิวผสมก็เอามาประยุกต์ใช้ได้ค่ะ

(Image from Novexpert)

ซึ่งทางแบรนด์ก็ได้มีการทดสอบประสิทธิภาพของ Hero ของไลน์อย่าง Purifying fluid ก็พบว่ามีประโยชน์ทั้งในด้านจุดด่างดำและริ้วรอยค่ะ

โดยตัวที่จะหยิบยกมารีวิวในวันนี้นั้นเป็นสเปรย์น้ำแร่ (Mist) ที่เคยเอามาเกริ่นๆ ว่ารักน้องมากๆ ช่วงก่อน คือเจ้า Trio-Zinc mist นั่นเองค่ะ

น้องมีหน้าตาประมาณนี้ค่ะ

แอบลุ้นให้มีขวดเล็กขนาดพกพา

สำหรับค่า pH อยู่ที่ราวๆ 5 นะคะ

ในด้านการใช้งานนั้น จะเอามาสเปรย์หลังทำความสะอาดใบหน้าใช้เป็น Astringent toner ก็ได้ จะสเปรย์หลังแต่งหน้าแล้วเอาทิชชูกดทับเบาๆ (อย่าลากนะคะ แค่กดซับๆ) เพื่อช่วยให้เมคอัพดูสดและติดทน หรือจะสเปรย์เพื่อเติมน้ำ เสริมความชุ่มชื้น เพิ่มความสดชื่น คืนความสบายผิว ควบคุมความมันในระหว่างวันก็ดี

ส่วนผสม

สำหรับส่วนผสมก็คือตรงไปตรงมาแฟร์ๆ มีเกลือของ Zinc ที่เป็นที่นิยมในวงการอยู่ 3 ชนิด แอบชั้นสูงนิดนึง เพราะดูแพงกว่า Zinc sulfate ที่เราพบกันบ่อยๆ

และด้วยความที่มี Zinc ละลายในน้ำ อัดกระป๋องด้วยแก๊สไนโตรเจน น้องเลยประกอบด้วยสารจากธรรมชาติทั้งหมด 100%

ไม่มีสารอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องเลย

เรามาทำความรู้จักกับ Zinc กันนะคะ

Zinc เป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญต่อทั้งร่างกายและความงามค่ะ

ถ้าโฟกัสที่ผิวพรรณ Zinc เป็นองค์ประกอบของเอนไซม์และสิ่งที่เราเรียกว่า transcription factors หลายชนิด ช่วยกันทำงานให้ผิวเราสวยงาม สมบูรณ์ แข็งแรง

สำหรับประโยชน์ของ Zinc ต่อผิว พอสรุปได้ประมาณนี้ค่ะ

  • ด้าน Immune: Zinc เสริมกระบวนการทำงานของเซลล์ภูมิคุ้มกันต่างๆ เช่น NK cell เสริมกระบวนการกำจัดเชื้อผ่านกระบวนการกินเชื้อไปทำลายแบบ Phagocytosis ควบคุมสภาวะสมดุลของกระบวนการต่างๆ ทางภูมิคุ้มกัน เช่น ปรับสมดุลการสร้างสารก่อการอักเสบ IL-6, TNF-α, Nitric oxide เป็นต้น
  • เป็น Antioxidant
  • ต่อต้านเอนไซม์ 5α-reductase ที่เปลี่ยนฮอร์โมนเพศชายให้มีฤทธิ์แรงขึ้น และกระตุ้นการสร้าง Sebum ออกมา น้ำมัน Sebum นี้มันก็จะไปเรียกเชื้อ C. acnes (ชื่อเดิม P. acnes) ให้มากิน ก็กลายเป็นสิว
  • ควบคุมความมันผ่านคุณสมบัติ Astringent โดยไปกระชับรูขุมขน ลดการหลั่งน้ำมันออกมา
  • มีการศึกษาว่า Zinc เองก็เป็น Whitening ได้นะ เพียงแต่ต้องใช้ dose สูงหน่อย

จะเห็นว่า Zinc นี่ประโยชน์ดีๆ เยอะมาก

ลองมาดูรายละเอียดของ Zinc แต่ละตัวที่ทางแบรนด์เลือกใช้นะคะ

  • Zinc PCA เป็น Zinc ที่จับกับอนุพันธ์ของกรดอะมิโนอย่าง Pyrollidone carboxylic acid (PCA) ซึ่ง PCA ปกติทำหน้าที่เป็น สารจับน้ำให้ผิวตามธรรมชาติ ที่เราเรียกกันว่า Natural moisturizing factor (NMF) สำหรับ Zinc PCA มีรายงานการวิจัยกล่าวว่า Zinc PCA ช่วยปกป้องเซลล์ผิวหนังจากรังสี UVA ได้ โดยไปลดการสร้าง Activator protein 1 และ MMP-1 ที่มักจะสร้างเวลามีรังสี UV ซึ่งตัว MMP เป็นเอนไซม์ที่ทำลายคอลลาเจนในผิวทำให้เกิดความหย่อนยานและริ้วรอย (Int J Cosmet Sci. 2012; 34(1):23-8.) ข้อมูลจากผู้ผลิตวัตถุดิบกล่าวว่า สารนี้มีประโยชน์เป็นสารเติมน้ำให้ผิว (Humectant) ระงับเชื้อบางชนิด ควบคุมความมัน ลดริ้วรอยและชะลอวัย (Ajidew® ZN-100, Ajinomoto Ltd.)
  • Zinc gluconate เป็น Zinc ที่จับกับกรดน้ำตาล Gluconic acid ซึ่ง มีรายงานว่ามีคุณสมบัติในการเสริมการสมานแผลของผิว ดูแลเรื่องการอักเสบระคายเคือง มีคุณสมบัติเสริมในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียแบบอ่อนๆ นิยมใช้เสริมกับยาต่างๆ ในการรักษาสิว โดยมีรายงานว่าลดการดื้อยาปฏิชีวนะเมื่อใช้ร่วมกัน (Abendrot and Kalinowska-Lis, Int J Cosmet Sci. 2018; 4(40):319-327)
  • Zinc lactate เป็น Zinc ที่จับกับเกลือ Lactate ที่มาจากกรด Lactic ละลายน้ำได้ดี

จะเห็นว่า Zinc แต่ละรูปแบบที่เลือกมาก็คือเลือกมาได้ค่อนข้างดีเลยทีเดียว

วันนี้ก็ขอให้คะแนนแบบภาพรวมนะคะ

  • ส่วนผสม “The less is more” คือ คำที่นิยามส่วนผสมชุดนี้ได้ดีมาก น้องมาน้อยแต่มาก เรียบแต่โก้ สวยใสมีประโยชน์ ด้วยคุณประโยชน์ของ Zinc ที่ละลายน้ำได้ ไม่มีส่วนผสมอื่นๆ มากวนผิวกวนใจ ถ้านับเฉพาะด้านการควบคุมความมันและประโยชน์จาก Zinc เอาไปเลย 5 ฟลาสก์
  • การใช้งาน น้องออกแบบมาตอบโจทย์ สำหรับคนผิวมัน คนที่อยากคุมมัน หรือ ผิวผสมที่อยากได้น้ำแร่ที่ใช้แล้วสบายผิวไม่แห้งเกินไป ส่วนตัวเองก็ชอบ และใช้ได้โดยไม่รู้สึกว่าตึงหรือแห้ง เอาไป 5 ฟลาสก์

สุดท้ายนี้ต้องขอขอบคุณทางแบรนด์ Novexpert สาขาประเทศไทยด้วยค่ะที่ส่งผลิตภัณฑ์ดีๆ มาให้ และขอบคุณทุกท่านด้วยค่ะที่ติดตามรับชมมาจนจบ

อีกอย่างที่อยากบอกก่อนทิ้งท้ายคือเรื่องค่าตัวน้อง น้องมีค่าตัวแค่ 350/150 ml ซึ่งถือว่า Cost-Effective คุ้มค่าคุ้มราคามากๆ

สำหรับช่องทางการจำหน่ายเป็นดังนี้ค่ะ

ห้างสรรพสินค้าชั้นนำ

📍เซ็นทรัลลาดพร้าว

📍สยามพารากอน

ช่องทางออนไลน์

Lazmall: https://s.lazada.co.th/s.hLxxF

Shopee Multibrand.: https://shope.ee/AUEf4T2QwS

ส่วนรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ทางแบรนด์โดยตรงเลยนะคะ

Line : @noverxpertthailand

IG : novexpertthailand

FB : Novexpert Thailand

Disclaimer/conflict of interests: ผลิตภัณฑ์นี้ได้รับการสนับสนุนจากทางแบรนด์ Novexpert สาขาประเทศไทย การรีวิวครั้งนี้เป็นการวิเคราะห์ส่วนผสม/วัตถุดิบตามหลักการทางวิทยาศาสตร์เครื่องสำอางและอาศัยความเห็นส่วนบุคคล และผู้เขียนไม่ได้ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับบริษัทเครื่องสำอางใดๆ โปรดใช้วิจารณญาณ

Image

[Beauty Talk] ผลกระทบของหน้ากากอนามัยต่อผิว และการดูแลผิวในช่วงที่ต้องใส่หน้ากากนานๆ

สวัสดีค่ะ วันนี้ขอมาเล่าและอัพเดทเรื่องของ ผลกระทบของหน้ากากอนามัย หรือ Mask ที่มีต่อผิวพรรณนะคะ

mask 1

ถามว่าเราต้องใส่ Mask ไหม ต้องใส่ค่ะ เพื่อปกป้องตัวเองจากไวรัสตัวร้าย

แน่นอนว่าถ้าเราใส่ Mask นานๆ Mask ก็ทำร้ายผิวเราได้หลายอย่างนะคะ โดยเฉพาะ Mask ที่มีความสามารถในการกรอง หรือการป้องกันผิวดีๆ มันก็จะยิ่งทำร้ายผิวเราได้มาก

ไม่น่าเชื่อว่า เคยมีคนสำรวจอาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดจากการใส่ Mask มาพักใหญ่ๆแล้วค่ะ มีขอยกตัวอย่างงานชิ้นหนึ่ง ของ Foo และคณะ เมื่อปี 2006 ช่วงนั้น SARS ระบาดพอดี นักวิจัยทีมนี้เขาสำรวจอาการไม่พึงประสงค์ของบุคลากรทางการแพทย์ที่ทำงานในโรงพยาบาล 322 คน ที่สิงคโปร์ ว่ามีอาการไม่พึงประสงค์อะไรบ้างหลังจากใส่ Mask N95 ถุงมือ และชุด PPE ไปนานๆ ซึ่งวันนี้เราขอ Focus ที่ Mask นะคะ

ปัญหาใหญ่ของบุคลากรเหล่านี้คือ เกือบ 60% พบว่า N95 ทำให้มีสิวขึ้น รองลงมาคือ ราวๆ 51% พบว่า ทำให้เกิดอาการคัน และ ราวๆ 36% ทำให้เป็นผื่นขึ้นค่ะ

อาการอื่นๆที่นักวิจัยพบในกลุ่มนี้เช่น ผิวแห้ง มีอาการแดง ระคายเคือง รูขุมขนกว้างขึ้น (อันนี้ดิฉันประสบอยู่) ผิวลอก น้ำมูกไหล และ มีรอยแผลเป็น/รอยแดงที่บริเวณจมูกจาก Mask ที่กดทับ

อาการเหล่านี้มันเกิดขึ้นได้อย่างไร

มีการคาดคะเนว่า อุปกรณ์พวกนี้มันทำให้การระเหยของเหงื่อ เกิดขึ้นได้น้อยลง ความชื้นเพิ่มขึ้น มีการสะสมตัวของความร้อนในบริเวณนั้น และก็เวลาที่เราพูด มันเกิดการเสียดสี ซึ่งปฏิกิริยาเหล่านี้มันจะไปทำให้ผิวหนังของเราเกิดการอักเสบขึ้นมาได้ มีชื่อเรียกโรคผิวหนังอักเสบที่เกิดจากการเสียดสี ความร้อน ความอับชื้น การระบายอากาศที่ไม่ดี และความชื้น ว่า intertrigo หรือ intertriginous dermatitis

mask 2

นอกจากนี้การใส่ Mask เป็นเวลานานๆยังเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อบนผิว และยิ่งในช่วงที่เราหา Mask ได้ค่อนข้างยาก เราก็อาจจะใส่ซ้ำ ซึ่งมันจะมีอาหาร เป็นพวกเศษผิว เหงื่อ ไขมัน ที่ติดออกมาจากผิวเราสะสมตัวอยู่บน Mask ทำให้เชื้อจุลินทรีย์ต่างๆโตขึ้น พอเอา Mask มาแปะหน้าก็เหมือนเอาจุลินทรีย์มาเพาะเลี้ยงในบรรยากาศที่อุ่น ชื้น และมีอาหารพร้อม เรียกได้ว่าเป็นสภาพที่สมบูรณ์แบบมากเลยค่ะ

N95 หรือ N99 ที่แนบสนิทกับผิวแน่นๆ จะไปกดทับบริเวณสันจมูก ซึ่งบริเวณนี้เป็นบริเวณที่ผิวค่อนข้างบาง ทำให้เกิดผิวหนังอักเสบจากการกดทับ อารมณ์คล้ายๆแผลกดทับ แต่ไม่ได้รุนแรงถึงขั้นนั้นค่ะ อันนี้มีชื่อเรียกว่า Pressure-induced dermatitis

อาการอื่นที่อาจพบได้จากการใส่ Mask คือ ปัญหารอยช้ำ และ จุดด่างดำค่ะ เพราะเมื่อมีการอักเสบก็จะไปเหนี่ยวนำให้เกิดการสร้างเม็ดสี Melanin เพิ่มขึ้น

การใส่ Mask ยังทำให้เกิดสภาวะเคลือบผิว หรือ Occlusive ซึ่งมีผลทำให้ความชื้นในผิวเพิ่มขึ้น และมีผลเพิ่มการดูดซึมของสารบางชนิดเข้าสู่ผิว ดังนั้นถ้าเราทาครีม หรือ แต่งหน้า ไว้ใต้แผ่น Mask ก็มีโอกาสที่สารเหล่านั้นจะซึมเข้าผิวได้มากขึ้น ทำให้เกิดการแพ้และระคายเคืองได้ง่ายขึ้นด้วย

Mask กระดาษ หรือ Mask ผ้าเองก็ทำให้เกิดสิว และผิวอักเสบต่างๆได้นะคะ

โดยความแรงของการ Occlusive ขึ้นกับชนิดของวัสดุที่เอามาทำ Mask ด้วยนะคะ ส่วนตัวคิดว่า ยิ่งวัสดุนั้นป้องกันผิวได้มากเท่าไหร่ ก็จะยิ่ง Occlusive มากเท่านั้น ลองหายใจผ่าน Mask ดูค่ะ ถ้าไม่มีไอน้ำอุ่นๆ หรือลมหายใจอุ่นๆของเราลอดออกมาจาก Mask คือ ก็ยิ่ง Occlusive มาก

ยิ่ง Occlusive มาก ก็ยิ่งทำร้ายผิวมากค่ะ

 

อีกจุดที่ควรระวังคือ ถ้ากรณีเราแพ้ยางยืด (พวก Latex) แพ้กาว แพ้สี (สีย้อมผ้าที่เอามาทำ Mask) ก็อาจจะต้องระวังค่ะ เพราะในการผลิตแผ่น Mask เหล่านี้ อาจจะมีสารที่ทำให้เราแพ้ได้ ดังนั้นถ้าแพ้ก็เลือกวัสดุที่เราใช้แล้วไม่แพ้นะคะ

mask 3

ขอปิดท้ายด้วยการดูแลผิวในช่วง COVID-19 ที่เราต้องใส่ Mask กันนานๆนะคะ

ส่วนตัวมีความเห็นดังนี้ค่ะ

  1. ควรใช้ Skincare หรือ ครีมที่ฟื้นฟู Barrier ผิว โดยให้ทาทั้งเช้าและเย็น เช่น ครีมที่มีส่วนผสมของพวก Ceramide หรือ น้ำตบที่มี NMF (Natural moisturizing factor) หรือสารที่ช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้แก่ผิวชั้นนอก เช่นพวก Pre/Pro/Post biotic (อันนี้เดี๋ยวจะมาเล่าต่ออีกทีค่ะ) หรือ สารที่เพิ่มความแข็งแรงให้แก่ Cornified envelope ที่เป็นเปลือกโปรตีนหุ้มเซลล์ผิวเราไว้อีกที อย่างตอนนี้สกินแคร์จากญี่ปุ่นหลายชิ้น เริ่มเน้นการออกฤทธิ์ไปที่ Cornified envelope แล้วค่ะ
  2. ถ้าอยู่ในสถานที่ที่เป็นส่วนตัว ควรถอด Mask เพื่อระบายอากาศบ้าง
  3. ไม่ใส่ Mask ซ้ำ เกิน 1 – 2 วัน ถ้าไม่จำเป็นจริงๆ เอาจริงหมดวันก็ทิ้งเถอะค่ะ
  4. การซัก Mask ผ้า ควรตรวจสอบให้เรียบร้อยว่า ซักสะอาด ไม่มีพวกผงซักฟอก หรือสารทำความสะอาดตกค้าง
  5. ก่อนนอน ให้ทำความสะอาดผิวด้วย Cleanser ที่เหมาะสม หรือ ใช้ Double clean technique
  6. อาจใช้ BHA/AHA เพื่อผลัดผิว ลดการอุดตันที่อาจเกิดขึ้น ลดโอกาสในการเกิดสิว
  7. บำรุงผิวด้วยผลิตภัณฑ์ตามข้อ 1 ก่อนนอน
  8. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ผัก ผลไม้ ที่มีสีสัน เขียว เหลือง แดง ส้ม ฯลฯ หรือเสริมวิตามิน/เครื่องสำอางที่เป็น Antioxidant

 

mask 4

©สงวนลิขสิทธิ์ทุกข้อความและภาพในบทความฉบับนี้ตามพรบ.ทรัพย์สินทางปัญญา

 

References

  1. Foo, et al. (2006) Contact dermatitis. 55:291-294.
  2. Stokowski, LA. (2020). A Step-by-Step Guide to Preventing PPE-Related Skin Damage. From https://www.medscape.com/viewarticle/929590
  3. Mann, D. (2020). Do these 5 things to protect your skin from the downsides of face masks, doctors say. From https://www.cnbc.com/2020/05/13/rash-irritation-downsides-face-masks-how-to-protect-skin-according-to-doctors.html

 

Image

[Skincare diet theory] การลดการใช้เครื่องสำอางจะช่วยให้สุขภาพผิวเราดีขึ้นจริงไหม ??

Disclaimer: บทความนี้เขียนขึ้นจากประสบการณ์ส่วนตัว ทั้งทางตรงและทางอ้อม และการอ่านจากบทความและ Blog ของต่างประเทศ ไม่มีหลักฐานทางวิชาการรองรับแบบแน่ชัด โปรดใช้วิจาณญาณในการรับชม และขอสงวนลิขสิทธิ์ในบทความทุกประการ

 

เชื่อว่าหลายๆท่านน่าจะเคยได้ยินเรื่องของ Skincare diet หรือ การลดการใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงเพื่อให้ผิวมีสุขภาพดีขึ้น

รวมไปถึงมีกระแส การหยุดใช้ Skincare ทุกชนิด เพื่อ Reset ผิว ให้กลับมาฟื้นฟูตัวเอง

 

เทรนด์เรื่องของ Skincare diet นี้เริ่มมาตั้งแต่ช่วงปลายปี 2018 มี Blogger และ Youtuber จากต่างประเทศหลายท่านนำเสนอ Skincare regimen ใหม่ ที่มีเพียงการบำรุงแค่ 2-3 ขั้นตอนแค่นั้นเอง การบำรุงผิวแบบนี้มีข้อดีข้อเสียอย่างไรถ้าเทียบกับการใช้การบำรุงผิวตามแบบฉบับของ K-beauty จากเกาหลี ซึ่งมีการบำรุงผิวหลายขั้นตอน จนมีชื่อเล่นในวงการว่า 10-steps skincare regimen

เชื่อว่าการทำ Skincare diet น่าจะมีรากฐานมาจากการบำรุงผิวแบบ J-beauty ที่มาจากญี่ปุ่น โดยคนญี่ปุ่นใช้ผลิตภัณฑ์เพียงน้อยชนิด ส่วนมากเป็นผลิตภัณฑ์สารพัดประโยชน์ หรือพวก All-in-one เพื่อลดเวลาการบำรุงผิวในช่วงเวลาอันเร่งด่วน

ส่วนตัวมี่เองในช่วงก่อนก็เริ่มมาจาก J-beauty ก่อนเปลี่ยนเป็น K-beauty ในช่วงปี 2015 และมาใช้ J-beauty ในช่วง 2018 ก่อนจะกลับมาเป็น K-beauty อีกครั้งในช่วงปีก่อน

ทีนี้การสร้าง Skincare regimen เราทำกันอย่างไร ???

สามารถตามไปอ่านแบบละเอียดได้ที่ Blog เรื่อง Skincare regimen ก่อนหน้านี้นะคะ >>Click<<

ซึ่งมีขอสรุปสั้นๆ ให้จบภายใน 3 ข้อค่ะ

  1. Skincare regimen แบ่งเป็น สิ่งที่เราทำทุกวัน เรียกว่า Routine care กับสิ่งที่ทำแค่ไม่กี่ครั้งใน 1 สัปดาห์ หรือ 1 เดือน เรียกว่า Special care
  2. สำหรับ Routine care เราจะเรียงตามหลักการพื้นฐาน คือ Clean-Care-Protect-Decorate
  3. สำหรับการบำรุง หรือ Care เราจะเรียงตามเนื้อเบาไปหาหนัก

 

ก่อนจะไปดู Skincare regimen ของทั้งสองแบบ มี่ขอทำตารางสรุปความแตกต่างระหว่าง J-beauty กับ K-beauty ให้ได้ชมกันก่อนนะคะ

JK 1

J-beauty จะค่อนข้างเรียบง่าย ซึ่งส่วนตัวมี่ขณะใช้ J-beauty Skincare regimen เป็นตัวบำรุงชุดนี้ค่ะ

แบบที่ 1: ใช้ All-in-one เป็นตัวหลักในการบำรุง

J-beauty 3

เริ่มจากการใช้น้ำตบ DHC F1 lotion ตามด้วยทา All-in-one gel

แบบที่ 2: เสริม Serum น้ำผึ้งของ Herbery earth เข้ามา

J-beauty 1

พอเราเริ่มรู้สึกว่าผิวเราไม่นุ่ม ไม่เด้ง เริ่มกรอบ ก็จะใช้เซรั่มน้ำผึ้งที่มีประโยชน์เติมน้ำเข้ามาเสริมค่ะ

แบบที่ 3: ช่วงผิวเริ่มมัน เปลี่ยน All-in-one gel เป็น Holika Holika skin & Good cera all-in-one master

J-beauty 2

สิ่งที่สัมผัสได้ในช่วงที่ลดการใช้สกินแคร์ลงคือ

  1. ผิวดูมีสุขภาพดีขึ้น สว่าง ไม่หมองคล้ำ จับแล้ว นุ่มนวล ละเอียด รูขุมขนแลดูกระชับ
  2. ระหว่างวันไม่มันเยิ้ม รองพื้นไม่ดรอป เมคอัพไม่เลือนหาย แลดูสดเหมือนพึ่งแต่ง

แต่จะมีบางช่วงที่เรารู้สึกว่าผิวขาดน้ำคือ สัมผัสแล้วกระด้าง ตบแล้วไม่เด้ง เหี่ยว เราก็จะปรับ Regimen ใหม่อีกครั้ง

 

ต่อมาจะเป็นการยกตัวอย่าง K-beauty ของมี่นะคะ

K-beauty 1

มีอยู่ทั้งหมด ขั้นตอนค่ะ

  1. BHA Toner
  2. DHC F1 fresh lotion
  3. Eye cream
  4. Marine collagen serum
  5. Serum น้ำผึ้ง
  6. It’s Skin GF effector
  7. โลชั่นน้ำดอกมะลิ
  8. ครีมปลาดาว
  9. โทนเนอร์นมแพะ (อันนี้ถึงจะชื่อโทนเนอร์ แต่เนื้อเป็นแบบครีม ค่อนข้างมัน)

ถ้าเป็นกลางวันจะจบด้วยนมแพะ แล้วทากันแดดค่ะ

ถ้าเป็นกลางคืน จะทาต่อด้วย

  1. Real barrier cream
  2. Olive oil ของ Watsons จีน
  3. Mamonde rose pack เป็นบางวัน (Special care)

 

ช่วงนี้ผิวจะนุ่มลื่มชุ่มชื้นค่อนข้างมาก แต่ใช้เวลากับการบำรุงผิวค่อนข้างนานเหมือนกันค่ะ

 

เอาหละ เราลองมาดูหลักการพื้นฐานของการทำ Skincare diet นะคะ

Skincare diet ที่เป็นที่นิยม ทำได้ 2 แบบใหญ่ๆ

  1. หยุดทุกอย่าง เพื่อ Reset ผิว ทาแค่กันแดดในตอนกลางวัน (ส่วนตัวไม่แนะนำเพราะว่า หลังล้างหน้า ไขมันที่ดี และสารอุ้มน้ำจากผิวจะถูกชะล้างออกไปด้วย เราควรเติมน้ำและน้ำมันคืนให้ผิว)
  2. ลดจำนวนลง เหลือแค่ราวๆ 2 – 3 ชิ้น ตามความต้องการผิว (ไม่นับยาที่ต้องใช้ตามแพทย์/เภสัชกร)

 

เพราะฉะนั้นการจะเริ่ม Skincare diet สิ่งที่เราต้องทำก่อน คือ โฟกัส หาปัญหาผิวของเราก่อน ว่าเราอยากบำรุง หรือ มีปัญหา มีความต้องการอะไรเป็นพิเศษไหม ก่อนค่อยมาเลือกสกินแคร์ค่ะ

เช่น

  • ผิวแห้ง: Hyaluron + Ceramide
  • ไวท์เทนนิ่ง: วิตามินซี บี3 และสาร Whitening ต่างๆ
  • ริ้วรอย: วิตามินซี บี3 เอ และสารบำรุงต่างๆที่ช่วยดูแลเรื่องริ้วรอย
  • สิว: BHA toner หรือ Witch hazel + ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารกระชับรูขุมขน
  • รอยแดง: กลุ่มเติมน้ำ และ กลุ่ม Soothing เช่น ว่านหางจระเข้ Rose water
  • ผิวบอบบางแพ้ง่าย: Hyaluron + Ceramide

 

สำหรับประโยชน์และข้อจำกัดของ Skincare diet เท่าที่มี่พยายามรวบรวมมาคือ

ประโยชน์

  1. ใช้เวลาในการดูแลผิวลดลง
  2. ประหยัดเงินในการซื้อสกินแคร์มากขึ้น
  3. สภาพผิวดีขึ้น (สำหรับบางคน)
  4. ลดการสัมผัสสารเคมีที่ไม่จำเป็นกับผิว ทำให้สุขภาพผิวดีขึ้น

ข้อจำกัด

  1. ผลิตภัณฑ์เพียงไม่กี่อย่างอาจไม่ตอบโจทย์ทุกปัญหาผิว
  2. ผิวอาจแห้งระหว่างวัน

 

สำหรับส่วนตัวมี่มีมุมมองเกี่ยวกับเรื่อง Skincare diet คือ ถ้ามีปัญหาผิวแห้ง จะใช้วิธีนี้ได้ค่อนข้างยากค่ะ เพราะเราอาจจะรู้สึกว่า มอยส์เจอร์ที่ใช้อาจจะยังไม่เพียงพอ

ส่วนคนที่มีปัญหาผิวมัน อาจจะรู้สึกว่า ลดจำนวนชิ้นของ Skincare ลงแล้วสบายผิวมากขึ้น

  1. สุดท้ายนี้อยากบอกว่า การตอบสนองของแต่ละคนต่อเครื่องสำอางจะไม่เหมือนกันนะคะ บางคนใช้แล้วดี แต่บางคนอาจจะไม่ดีก็ได้
  2. การแพ้ การระคายเคือง การอุดตัน เป็นเรื่องที่ไม่สามารถคาดเดาได้แบบ 100% แต่การอ่านส่วนผสมและเลี่ยงสารที่เคยเกิดปัญหาให้เรา จะช่วยลดโอกาสเกิดอาการเหล่านี้ได้ โดยหลักการพื้นฐานคือ คนที่เคยแพ้ส่วนผสมหนึ่งๆ มักจะเกิดการแพ้ซ้ำๆ กันได้อีกกับสารเดิม หรือ สารที่มีโครงสร้างคล้ายๆกัน (ชื่อคล้ายๆกัน)
  3. การเลือกผลิตภัณฑ์ บางทีก็เหมือนเป็นการลองผิดลองถูก เราอาจจะต้องลองดูว่า แบบไหนถึงจะได้ผลิตภัณฑ์ และ Regimen ที่ดี และเหมาะสมกับผิวเรามากที่สุด

 

 

Image

[Beauty Talks] หลักการพื้นฐานในการสรรสร้าง Skincare regimen

สวัสดีค่ะ

วันนี้มี่มาเล่าให้ฟังในเรื่องของหลักการพื้นฐานในการสรรสร้าง Skincare regimen เพื่อผิวเรานะคะ

ปกติแล้วเราจะแบ่งเครื่องสำอางที่ใช้กับผิวพรรณเป็น 4 หมวด ตามวัตถุประสงค์ในการใช้งานค่ะ

ได้แก่

  1. Clean: หมายถึงกลุ่มที่ใช้ในการทำความสะอาด เช่น พวก Cleansing water, เจล และโฟมล้างหน้า
  2. Care: เป็นกลุ่มที่ใช้ในการบำรุงผิว
  3. Protect: เป็นกลุ่มที่ใช้ในการปกป้องผิว เช่น กันแดด สกินแคร์ต่อต้านมลภาวะ
  4. Decorate: เป็นกลุ่มของเครื่องสำอางที่ใช้ในการตกแต่ง ได้แก่ พวกเมคอัพต่างๆ

 

ซึ่งในการใช้งานเราก็จะเรียงตาม 1-4 เลยค่ะ

ส่วน Skincare regimen ก็คือการจัดเรียงขั้นตอนการดูแลผิวของเรานั่นเอง

 

ทีนี้เรายังสามารถแบ่ง Skincare regimen ได้เป็น 2 หมวด คือ

  1. การดูแลผิวแบบพื้นฐานในทุกๆวัน ที่เราเรียกว่า Routine care
  2. การดูแลผิวในโอกาสพิเศษ หรือการดูแลผิวแบบที่ไม่ได้ทำทุกวัน เรียกว่า Special care เช่นพวก มาสก์ สครับ พีลลิ่ง ต่างๆ

 

ตามภาพนะคะ

skincare regimen

สำหรับขั้นตอนการทำความสะอาด การปกป้อง และการแต่งหน้า ก็ไม่มีอะไรซับซ้อน แต่ที่ซับซ้อนและยากกว่า คือ ขั้นตอนในการบำรุงผิวของเรานั่นเองค่ะ

 

ปกติเราจะเรียงจากเนื้อสัมผัส หรือ เนื้อเบส หรือ ส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ โดยเรียงจากสกินแคร์ที่มีน้ำเยอะ (Hydrophilic, water-based) ซึ่งจะมีเนื้อเบา ไปหาสกินแคร์ที่มีน้ำมันเยอะ (Lipophilic, oil-based) ซึ่งจะมีเนื้อที่หนักกว่าค่ะ

โดยมี่ได้ลิสท์ความหนักเบาของเนื้อเครื่องสำอางให้ตามภาพค่ะ

skincare regimen 2

 

ทีนี้อาจจะเป็นการยากสำหรับมือใหม่ ถ้าจะต้องมานั่งแกะ นั่งอ่านส่วนผสมเนาะ ว่าอันไหนน้ำเยอะ อันไหนน้ำมันเยอะ มี่แนะนำวิธีการกะง่ายๆ โดยอาศัยความรู้สึกของผิวเราเลยค่ะ

อาศัยหลัก “My skin, My rules” ผิวชั้นเรื่องของชั้น

  1. ลองทาสกินแคร์ต่างๆลงบนผิว แล้วใช้ความรู้สึกที่สัมผัสได้ว่าอันไหนเบากว่า ก็ลงอันนั้นก่อน
  2. สกินแคร์ที่มีน้ำเยอะ เวลาทาจะรู้สึกเย็น สกินแคร์ที่มีน้ำมันเยอะ เวลาทาจะรู้สึกอุ่น

 

สำหรับการสร้าง Skincare regimen อาจสรุปง่ายๆได้ตามแผนภาพนี้นะคะ

skincare regimen 3

หลักจากบำรุงเสร็จ

  • ถ้าเป็นกลางวัน: ทากันแดด – แต่งหน้าตามปกติ
  • ถ้าเป็นกลางคืน: อาจเสริม Sleeping pack

 

Disclaimer: บทความนี้เขียนขึ้นจากประสบการณ์ส่วนตัว ทั้งทางตรงและทางอ้อม และการอ่านจากบทความและ Blog ของต่างประเทศ ไม่มีหลักฐานทางวิชาการรองรับแบบแน่ชัด โปรดใช้วิจาณญาณในการรับชม และขอสงวนลิขสิทธิ์ในบทความทุกประการ

Image

อัพเดท Gadget ใหม่จากอเมริกา กับเครื่องปั๊มปากเพื่อปากอวบอิ่มมีสุขภาพดี ไม่ต้องฉีด Filler ให้เจ็บปวด กับ JuvaLips

สวัสดีค่ะ

มี่บังเอิญไปได้อ่านโฆษณาของสินค้า Gadget ที่เป็นเครื่องปั๊มเพื่อริมฝีปากอวบอิ่มแบบไม่ต้องพึ่ง Filler จากอเมริกาจากแบรนด์ JuvaLips มาค่ะ

ทางแบรนด์เคลมว่า เครื่องนี้จะควบคุมความดันแบบอ่อนๆโดยระบบควบคุมความดันผ่าน Pump ทำให้ริมฝีปากของเราอวบอิ่มขึ้นมา

แค่ใช้วันละ 1 – 2 นาที ริมฝีปากก็สามารถอวบอิ่มได้ 4 – 10 ชั่วโมงเลยทีเดียว

หน้าตาของเครื่อง Juvalips เป็นอย่างนี้ค่ะ

ju 1

(Image from Juvalips)

เอาส่วนของยางนุ่มๆสีชมพูครอบปากไว้แล้วเปิดสวิตช์ เครื่องก็จะทำงานปั๊มริมฝีปาก เพื่อเสริมการไหลเวียนของเส้นเลือดฝอยค่ะ

 

ทางแบรนด์เคลมว่าแรงดันที่ใช้เป็นแรงดันที่เหมาะสม และผ่านการทดสอบความปลอดภัยในอาสาสมัครแล้วค่ะ

 

ตัวชิ้นบนสามารถถอดเอามาล้างทำความสะอาดได้ด้วย

29176892_1995212257358347_2720889001817877095_n

(Image from Juvalips)

 

ju 2

(Image from Juvalips)

 

ส่วนราคานั้นก็กรุบกริบอยู่ที่ 149.95 USD ค่ะ (ประมาณ 5000 บาท)

 

ju 3

(Image from Juvalips)

 

ถือว่าเป็น Gadget ที่มีความน่าสนใจมากเลยทีเดียวค่ะ

 

เอกสารอ้างอิง

https://myjuvalips.com/product/juvalips-original/

http://www.gcimagazine.com/marketstrends/segments/cosmetics/Juva-Lips-is-Now-Available-on-Amazon-477971123.html

 

Image

[Beauty Talks] เรื่อง(ไม่)ลับๆ ของ Alcohol

เรื่อง Alcohol กับเครื่องสำอางนั้นมีความลับและมีความ Tricky อยู่เล็กๆค่ะ

BTT alcohol.jpg

หลายๆคน แค่เจอคำว่า Alcohol บนฉลากก็เหวี่ยงผลิตภัณฑ์ทิ้งไม่เอาแล้ว แต่จริงๆแล้ว Alcohol ทุกอย่างก็ไม่ใช่ว่าจะเลวร้ายไปซะหมดนะคะ

ปกติตามนิยามทางเคมี สารในกลุ่ม Alcohol ก็จะหมายถึงสารอะไรก็ตามที่มีหมู่ฟังก์ชัน -OH (Hydroxyl) อยู่เป็นหมู่ฟังก์ชั่นหลักในโครงสร้างค่ะ

แต่ในทางเครื่องสำอาง คำว่า “Alcohol” สั้นๆ ที่ปรากฎบนฉลาก จะหมายถึง Ethyl alcohol หรือ Ethanol ซึ่งเป็นแอลกอฮอล์ชนิดที่เป็นส่วนประกอบในไวน์ เหล้า เบียร์ ที่เรารับประทานกัน

 

เราจะแบ่ง Alcohol ในทางเครื่องสำอางเป็นสามกลุ่ม

กลุ่มแรกคือ Alcohol สายสั้นๆ หรือ Short chain alcohol พวกนี้จะละลายได้ดีในน้ำ ละลายไขมันได้บ้าง ตัวอย่าง เช่น

Methanol หรือ Methyl alcohol ตัวนี้มีคาร์บอน 1 ตัว เป็นแอลกอฮอล์ที่ต้องห้าม ห้ามใช้ในเครื่องสำอาง เพราะมีผลข้างเคียงอาจจะทำให้ตาบอดได้ บางครั้งอาจจะปนเปื้อนมา เพราะจุลินทรีย์ที่ติดมากับผลิตภัณฑ์สร้างขึ้นก็ได้

Ethanol หรือ Ethyl alcohol ตัวนีี้มีคาร์บอน 2 ตัว เป็น Alcohol ที่ใช้กันทั่วไปในวงการเครื่องสำอาง มีคุณสมบัติเพิ่มการละลายสาร เพิ่มการดูดซึมสารต่างๆเข้าผิว ช่วยขจัดความมันและสิ่งสกปรกอุดตัน ให้ความรู้สึกเย็นตอนทา ช่วยให้ผลิตภัณฑ์แห้งไวตอนทา และให้ผลกระชับรูขุมขน แต่ข้อเสียคือ มันละลายไขมันได้ อาจจะไปละลายไขมันออกมามากเกินไป จนแห้ง และระคายเคืองได้

Propanol หรือ Propyl alcohol มีคาร์บอน 3 ตัว เป็น Alcohol ที่ค่อนข้างโบราณ ปัจจุบันไม่ค่อยเจอแล้วค่ะ แต่ก็พบได้ในโทนเนอร์ และ Aftershave สำหรับผู้ชาย ตัวนี้มีกลิ่นแรง และละลายไขมันดีมากๆ จนทำให้ผิวแห้งได้มาก

Butanol หรือ Butyl alcohol ก็มีใช้ในเครื่องสำอางนะคะ เอามาใช้ในการทำ microemulsion ซึ่งเป็นอิมัลชั่นแบบใส ได้ ส่วนผลกับผิวหนังนั้น มี่ไม่แน่ใจค่ะ

 

ส่วน Alcohol สายยาวๆ หรือ Long chain alcohol พวกนี้จะละลายน้ำไม่ได้ กลายเป็นสารไขมัน ที่เรียกกันว่า Fatty alcohol เวลาเอามาใส่ในสูตรครีม ก็จะให้ผลเพิ่มความคงตัวให้ผลิตภัณฑ์ เพิ่มเนื้อให้ครีม และสามารถเคลือบบนผิวให้ผลในด้านของความชุ่มชื้่น และสัมผัสนุ่มผิว ที่เรียกว่าเป็น Emollient effect ได้ค่ะ

ตัวอย่าง Fatty alcohol เช่น Cetyl alcohol, Stearyl alcohol, Cetearyl alcohol, Behenyl alcohol

 

ส่วน Alcohol สุดท้าย จะเป็นกลุ่มอื่นๆ มักจะเป็นพวกสารที่มีกลิ่นหอม เช่น Benzyl alcohol เจอในมะลิ Phenethyl alcohol เจอในกุหลาบ

พวกนี้ก็ไม่ได้ทำให้ผิวแห้งเหมือนกัน มีประโยชน์ใช้เป็นสารกันเสียทางเลือกในตำรับเครื่องสำอางได้ค่ะ

จะเห็นว่า Alcohol ดีๆและมีประโยชน์ก็มีนะคะ

 

Image

[Beauty Talks] Nutricosmetics Ceramides เพื่อผิวพรรณ

เรื่องมีอยู่ว่า มี่กำลังเตรียมงานเกี่ยวกับ Moisturizer แล้วไปเจอผลิตภัณฑ์เสริมอาหารยี่ห้อหนึ่ง (ขอเรียกย่อๆว่าอาหารเสริมนะคะ) ที่ Claim เรื่อง Ceramides จากทางเกาหลี ก็เลยสนใจ

ด้วยความที่เราบ้า Ceramide อยู่แล้วเป็นทุนเดิม ก็เลยสนใจ เลยไปลองค้นข้อมูลเพิ่มเติม ก็เจอว่าในเวบ iHerb ก็มีผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหลายยี่ห้อเหมือนกันที่ใช้ Ceramide เป็นส่วนประกอบ โดยมากนางก็เคลมเกี่ยวกับเรื่องผิวๆ ทั้งนั้นเลยค่ะ
ไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่า Ceramide ก็กินได้ 
เลยไปลองค้นข้อมูลพวกงานวิจัยเพิ่มเติมในฐานข้อมูล เออ มีจริงด้วย มีการศึกษาที่เอา Ceramide ในรูปแบบ Glucosyl ceramide ที่ได้จากพืชให้หนูกิน แล้วหนูมี Barrier ผิวที่ดีขึ้น
 
อย่างเช่น
  • การศึกษาของ Tsuji และคณะ เมื่อปี 2006 พบว่าการที่ให้หนูกิน Glucosyl ceramide ไป สองอาทิตย์ พบว่าหนูมีอัตราการระเหยของน้ำออกจากผิว หรือ TEWL ลดลง และผิวหนูมีความยืดหยุ่นเพิ่มขึ้น (ถ้าน้ำในผิวมาก ผิวจะยืดหยุ่นขึ้นด้วยค่ะ เหมือนลูกโป่ง ถ้าใส่น้ำจนเป่ง มันก็จะเด้งๆ) นอกจากนี่้หนูที่กิน Ceramide จะมีการฟื้นฟู Barrier ที่เสียไปได้ไวขึ้นด้วย (Tsuji et al., J Dermatol Sci. 2006 Nov;44(2):101-7.)
  • การศึกษาของ Takatori และคณะ เมื่อปี 2013 พบว่า หนูที่กิน Glucosyl ceramide มีการเปลี่ยนแปลงการสังเคราะห์ยีนและเอนไซม์หลายๆชนิดในผิว มีผลดีในการรักษาสมดุลของผิว และฟื้นฟูความเสียหายของผิว (Takatori et al., Biosci Biotechnol Biochem. 2013;77(9):1882-7.)
ส่วนการศึกษาในอาสาสมัครนั้นทำโดยแบรนด์อาหารเสริมค่ะ มี่เลยขอไม่เอามาพูดถึงนะคะ
แต่เท่าที่ดูแล้ว ก็ถือว่ามีความน่าสนใจมากเลยทีเดียว ติดตรง ตัวที่มีการศึกษาในอาสาสมัครนั้นราคาแอบสูงอยู่เหมือนกัน
สำหรับวันนี้ก็มีเท่านี้ค่ะ พบกันใหม่โอกาสถัดไปนะคะ สวัสดีค่ะ
Image

Beauty Talks- Skincare และการดูแลผิวสำหรับฤดูหนาว

หลายๆที่อากาศก็เริ่มเย็นกันแล้ว
พออากาศเริ่มเย็น ผิวก็เริ่มแห้งค่ะ อย่างช่วงนี้ผิวมี่เริ่มจะลอก แต่งหน้าเริ่มไม่ติดแล้วค่ะ
วันนี้เลยมาเมาท์มอยสกินแคร์หน้าหนาวกันค่ะ

 
เอาไปประยุกต์ใช้เวลาเดินทางไปประเทศเขตหนาวก็ได้นะคะ
 
(เป็น Remake ของบทความที่เคยทำไว้ตั้งแต่ปี 56 สำนวนอาจจะไม่สวยเหมือนตอนนี้นะคะ)
 
skincare-%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b8%b2%e0%b8%a7
เมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว ความชื้นในอากาศจะลดลง ทำให้น้ำระเหยออกจากผิวได้มากขึ้น นอกจากนี้หลายๆการสำรวจก็พบว่าผิวเรานี่สามารถเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลได้ค่ะ โดยในหน้าหนาวการสร้างพวกไขมันในผิวก็จะลดลงด้วย เป็นสาเหตุว่า ทำไมผิวถึงแห้งได้ง่ายกว่าฤดูอื่นๆ
 
หลักการดูแลผิวพรรณในหน้าหนาว ทำได้ง่ายๆ 8 ข้อ ดังนี้นะคะ
1. เลือกใช้มอยส์เจอไรเซอร์ที่เหมาะสมกับฤดูหนาว คือ ให้เลือกผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเป็นครีมกลุ่มน้ำมัน พวกนี้จะมันมากกว่าปกติ เช่นการใช้ครีมที่มีส่วนผสมของ Petrolatum ซึ่งจะเคลือบคลุมผิวได้มากกว่า ถ้าใครผิวมัน ครีมเบสน้ำก็น่าจะพอ แต่คนผิวแห้งลำพังครีมเบสออยล์อาจจะยังไม่พอ แนะนำให้ใช้พวก Ointment หรือ วาสลีนโปะทับตรงจุดที่แห้งแตกลอกอีกชั้น ก็จะสามารถกันน้ำระเหยออกจากผิวได้มากขึ้น
ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวแบบครีม จะเหมาะสมกับฤดูหนาว มากกว่านะคะ เพราะมีส่วนผสมของน้ำมันและไขมันมากกว่าโลชัน
สำหรับตัวครีมในทางเครื่องสำอาง มีด้วยกันหลายชนิดนะคะ โดยเขาจะแบ่งตามปริมาณขององค์ประกอบในนั้นค่ะ กล่าวถึงครีมที่ประกอบด้วยน้ำกับน้ำมันก่อนนะคะ ถ้ามี น้ำมาก ก็จะเป็นชนิดครีมเบสน้ำ ศัพท์เทคนิคเรียกว่า o/w ซึ่งจะคลุมผิวได้น้อย ไม่เหนอะหนะ จะเหมาะกับการใช้ทั่วไปค่ะ พวกนี้ทาแล้วเราจะรู้สึกเย็น อีกชนิด จะมีออยล์มากกว่า เป็นครีมเบสออยล์ หรือ w/o ตัวจะคลุมผิวได้มาก เพราะมีน้ำมันเป็นองค์ประกอบสูง จึงเหนอะหนะกว่า นิยมทาก่อนนอนค่ะ ครีมพวกนี้เวลาทาเราจะรู้สึกอุ่นค่ะ
สำหรับครีมที่เป็นเบสซิลิโคนนั้น คงต้องดูกันว่า เป็น ชนิด น้ำในซิลิโคน หรือ ซิลิโคนในน้ำ มี่คิดว่าเบสพวกนี้ไม่ค่อยเจอในสกินแคร์ค่ะ ส่วนมากเป็นเบสกันแดด และเบสเมคอัพมากกว่า
ฤดูหนาว ถ้าใครผิวแห้ง ควรเลือก w/o เป็นอันดับต้นๆนะคะ สังเกตง่ายๆคือ ทาแล้วอุ่น
 
2. สำหรับผู้ที่มีผิวแห้งควรเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่ผสม Alcohol เพราะว่า Alcohol จะไปดึงน้ำออกจากผิว ทำให้ผิวแห้งได้ง่ายกว่าเดิม และควรเลี่ยง Astringent (สารที่กระชับรูขุมขน) ที่พบบ่อยๆคือ Witch hazel ค่ะ พวกนี้จะไปตกตะกอนโปรตีนที่ผิวชั้นนอก ทำให้รูขุมขนตึงและกระชับซึ่งมีประโยชน์ก็จริง แต่ก็ทำให้การหลั่งน้ำมันออกจากผิวน้อยลงด้วย
 
3. เลี่ยงมาสค์หน้าชนิดลอกออก และ มาสค์หน้าแบบโคลน เพราะในมาสค์หน้าชนิดลอก มักจะมี Alcohol อยู่ เพื่อช่วยละลายสารก่อฟิล์ม ส่วนมาสค์หน้าแบบโคลน จะไปดูดซับน้ำมันออกมาจากผิวได้ค่ะ จะทำให้ผิวแห้งได้ง่ายขึ้น
4. อย่าลืมทา Hand cream และ Foot cream โดยเฉพาะตอนก่อนนอน บำรุงมือและเล็บ เพราะผิวหนังบริเวณมือและเล็บมีต่อมน้ำมันน้อย จึงแห้งได้ง่ายกว่าส่วนอื่น
 
5. ทาลิปบาล์ม ป้องกันปากแห้งแตก
 
6. ดื่มน้ำเยอะๆ อย่างน้อยวันละ 8 แก้ว เพราะจะได้ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวหนังด้วย (You are what you eat จริงๆค่ะ) กินน้ำก็ทำให้ผิวชุ่มชื้นได้
 
7. ห้ามอาบน้ำร้อน เพราะน้ำร้อนจะไปละลายเอาไขผิวหนังออกไป ทำให้ผิวยิ่งแห้ง ถ้าหนาวมาก ให้อาบน้ำอุ่นที่อุณหภุมิไม่เกิน 37 องศาฯ นะคะ
 
8. อย่าลืมใช้กันแดด เพราะแดดหน้าหนาว แม้จะเบากว่าหน้าร้อน แต่ก็ยังอุดมไปด้วยรังสี UV ที่เป็นอันตรายกับผิวค่ะ
8 ข้อ ทำได้ง่ายๆ
ถ้าไม่ไหวจริงๆ การทานอาหารเสริมกลุ่มน้ำมัน อย่าง Evening primrose oil หรือ Borage oil ก็ให้ผลดีนะคะ แต่ส่วนตัวมี่ไม่ค่อยอยากใช้ เพราะทานกลุ่มนี้ทีไร น้ำหนักขึ้นตลอดเลยค่ะ
สำหรับวันนี้ก็มีแค่นี้ พบกันใหม่โอกาสถัดไป สวัสดีค่ะ
Image

[Beaty Talks] Nutricosmetics อาหารเสริมเพื่อความงาม Lycopene คือ กันแดดแบบกินจริงหรือ ??

กระแสกันแดดแบบกินมาแรงจริงอะไรจริงนะคะ และหลายๆรุ่น หลายๆยี่ห้อ ก็มีส่วนผสมของสารในกลุ่ม Carotenoids โดยตัวที่ดังที่สุดน่าจะเป็น Lycopene ค่ะ

miyeon-talks

 

Lycopene คือ อะไร??

Lycopene เป็นสารในกลุ่ม Carotenoids ที่มีสีแดง พบมากในมะเขือเทศ และพบได้ในพืชผักผลไม้บางชนิด เช่น มะละกอ ฟักข้าว และแตงโม

 

Lycopene มีใช้ทั้งในเครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เพราะ มีคุณสมบัติเป็น Antioxidant ที่ดี ให้ผลชะลอวัย เป็น Anti-aging ได้ดี

 

วันนี้ขอเล่าถึงคุณสมบัติของ Lycopene ในด้าน Nutricosmetics กับ อาหารเสริมเพื่อความงามกันค่ะ

 

ถ้าเราดูเฉพาะ อาหารเสริมที่มี Lycopene เดี่ยวๆ หรือ Claim Lycopene เป็นหลักนั้นตอนนี้มีจำหน่ายในรูปแบบแคปซูล อยู่หลายยี่ห้อ ราคาก็หลากหลายไป มีตั้งแต่ เม็ดละ 4 บาท จนไปถึงแพงกว่าเม็ดละ 20 บาทเลยก็มี

 

โพรดัก.jpg

(รูปผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มี Lycopene จากเวบไซต์ iHerb)

 

ว่าแต่มันจะคุ้มค่าแก่การลงทุนไหม วันนี้มี่จะมาเล่าถึงสรรพคุณของ Lycopene ให้ฟังกันค่ะ แต่ต้องออกตัวก่อนว่า ส่วนตัวมี่ยังไม่เคยลองกินนะคะ แต่มีความสนใจที่จะกิน และบทความวันนี้ไม่ได้รับ Sponsor ใดๆค่ะ จึงขอสงวนสิทธิห้ามนำไปเผยแพร่เพื่อประโยชน์ในทางการค้าโดยไม่ได้รับอนุญาต

 

Lycopene นั้นเป็นสารที่มีความไม่อิ่มตัวอยู่สูงมาก และมีสูตรโครงสร้างดังรูปค่ะ

 

%e0%b8%aa%e0%b8%84%e0%b8%aa-lycopene

(รูปจาก en.wikipedia.org)

 

ด้วยโครงสร้างแบบนี้ ทำให้การใช้ Lycopene ในทางเครื่องสำอางมีข้อจำกัดอยู่เยอะมาก โดยเฉพาะในด้านความคงตัว สารไม่อิ่มตัวแบบนี้พร้อมจะถูกทำลายโดยการ Oxidation จากออกซิเจนในอากาศ และว่ากันว่าการดูดซึมของ Lycopene ผ่านผิวนั้นเกิดได้ยากมาก ต้องอาศัยระบบนำส่งชนิดพิเศษมาช่วย

 

มี่ลองไปค้นเกี่ยวกับข้อมูลของ Lycopene ในฐาน Pubmed เราจะเจอข้อมูลอยู่ค่อนข้างเยอะเลยค่ะ และแต่ละอันก็มีความน่าสนใจ และมีความตีกันไปตีกันมา สุดท้ายคงขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของแต่ละคนนะคะ

 

ทาน Lycopene เข้าไปแล้ว มันจะไปถึงผิวหรือ ??

 

การทดสอบของ Blume-Peytavi และคณะ ในอาสาสมัคร พบว่าอาสาสมัครที่ทาน Lycopene มีระดับของ Lycopene และ Beta-carotene ในผิวเพิ่มขึ้น (Eur J Pharm Biopharm. 2009;73(1):187-94.)

 

การทดสอบทาง Pharmacokinetics ของ Ross และคณะ ในอาสาสมัคร พบว่า อาสาสมัครที่ทาน Lycopene 10 mg จะมีการสะสมตัวของ Lycopene ได้ยาวนานถึง 42 วัน (Am J Clin Nutr. 2011;93(6):1263-73.)

 

Lycopene มีประโยชน์ด้านความงามอย่างไร ??

 

ถ้านอกจากด้านสุขภาพที่เราพอจะทราบกันแล้วแล้ว Lycopene ยังมีประโยชน์ในด้านการบำรุงผิวพรรณอยู่ด้วย เช่น

  1. งานวิจัยใหม่ล่าสุดของ Grether-Beck S. และคณะ ศึกษาพบว่า Lycopene ในรูปแบบ lycopene rich tomato nutrient complex (TNC) (น่าจะเป็นอาหารเสริมจากมะเขือเทศชนิดหนึ่ง) ให้ผลปกป้องผิวหนังอาสาสมัครจากรังสี UV ทั้ง UVA UVB โดยมีผลลดการสร้าง MMP-1 ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ไปย่อยสลายคอลลาเจนในผิวได้ (Grether-Beck et al., Br J Dermatol. 2016 Sep 23. doi: 10.1111/bjd.15080.)

***แต่การวิจัยของ Sokoloski และคณะเมื่อปีที่แล้วบอกว่า Lycopene ไม่ว่าจะเป็นชนิดแคปซูล หรือ Tomato paste ไม่สามารถปกป้องผิวอาสาสมัครจากรังสี UVB  (Arch Dermatol Res. 2015 ;307(6):545-9.)

  1. การเสริม Lycopene ในหนูทดลอง มีผลลดการอักเสบ และบรรเทาอาการของโรคผิวหนังอักเสบแบบ Atopic ได้ (Hiragun et al. J Dermatol. 2016 Oct;43(10):1188-1192.) ในการทดลองนี้ การให้หนูทดลองทาน Beta-carotene ก็ให้ผลเช่นเดียวกัน
  2. Lycopene ในรูปแบบเครื่องดื่มสูตรผสมที่ประกอบด้วย Soy isoflavone, vitamin C, vitamin E และ Fish oil มีผลในการลดริ้วรอยของอาสาสมัครหญิงวัยทอง (Jenkins et al. Int J Cosmet Sci. 2014;36(1):22-31.)

 

สรุปก็คือว่า Lycopene นั้น สะสมตัวในผิวหนัง มีผลในแง่ของการปกป้องผิวหนังจากรังสี UV ลดการอักเสบ และถ้าทานร่วมกับสารอาหารอื่นๆ ก็จะให้ผลในด้านการลดริ้วรอย (อาจจะเกิดจากผลของสารอื่นหรือเปล่าก็ไม่รู้) แต่ถ้าจะให้แค่กินแต่ Lycopene แล้วจะหวังว่ากันแดดได้นี่มี่คิดว่าคงยังไม่ค่อยเหมาะมากนัก เพราะเราก็ยังคงต้องการกันแดดแบบทาอยู่ดี ต่อให้ Lycopene นั้นสามารถหักล้างผลเสียจากรังสีส่วนเกินที่เล็ดรอดเข้ามาในผิวได้ ลดการเกิดการไม่พึงประสงค์จาก UV ได้ แต่คงไม่สามารถทนทานต่อแสงแดดเผลาผลาญแบบบ้านเราไหว

 

สุดท้ายนี้ มี่ก็ยังคิดว่า การทาน Lycopene นั้นมีประโยชน์ต่อทั้งด้านร่างกายและผิวพรรณอยู่ แต่เนื่องจากสารนี้สะสมในร่างกายได้ ทานแล้วพักบ้างก็น่าจะดี และใครที่มีโรคประจำตัวหรือใช้ยาอะไรเป็นประจำอยู่ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเริ่มทานอะไรใหม่ๆนะคะ

 

และการทาน Lycopene จากธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็น ซอสมะเขือเทศ มะเขือเทศสด ย่าง ทอด ผัด ฯลฯ หรือ น้ำมะเขือเทศ ก็ย่อมให้ผลเช่นเดียวกัน

 

มะเขือเทศดิบๆนั้น ก็แอบมีคุณค่าทางโภชนาการมากโขอยู่ แถมแคลอรี่ก็ต่ำมาก

 

%e0%b8%82%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%a1%e0%b8%b9%e0%b8%a5%e0%b9%82%e0%b8%a0%e0%b8%8a%e0%b8%99%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3

(รูปจาก en.wikipedia.org)

 

แต่ถ้าใครทานมะเขือเทศสด หรือน้ำมะเขือเทศไม่ไหว เพราะกลิ่นอันทรงพลัง กับรสชาติ อันหลอกหลอน จะให้ทานซอสมะเขือเทศบ่อยๆก็ไม่เข้าทีเกรงน้ำหนักจะขึ้น ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งค่ะ

 

สำหรับวันนี้สวัสดีค่ะ

 

เอกสารอ้างอิง:

ดังที่ได้มีการอ้างอิงในเนื้อความ

 

Diclaimer: บทความนี้ไม่ได้รับการสนับสนุนหรือมีการ Sponsor ใดๆ ผู้เขียนไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับแบรนด์อาหารเสริม บทความเขียนขึ้นจากหลักการทางวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง และมีความเห็นส่วนตัว สงวนลิขสิทธิ์ห้ามนำไปใช้เพื่อประโยชน์ทางการค้า

Image

รีวิว/วิเคราะห์ส่วนผสมเซรัมและไพร์มเมอร์กันแดดต้านมลพิษจากแบรนด์ Tender

สวัสดีค่ะ วันนี้มี่มีรีวิวผลิตภัณฑ์ต่อต้านมลภาวะ Anti-pollution จากแบรนด์ Tender แบรนด์น้องใหม่ แต่ส่วนผสมนั้นแซ่บไม่แพ้รุ่นพี่เลยนะคะ

 

สกินแคร์ของแบรนด์ Tender ที่มี่ได้มา มี 2 ชิ้นค่ะ เป็นตัว Serum และ กันแดดเนื้อ Primer ค่ะ

 

มาด้วยแพคเกจน่ารักสดใสมุ้งมิ้งค่ะ

 

tender 1

 

เรามาเริ่มกันกับตัว Serum ก่อนเลยนะคะ

 

Serum นั้นมาในขวดปั๊ม สีขาว ตกแต่งแนว Minimal สีเขียวนมๆ

 

tender 2

 

ตรงนี้เป็นคำ Claim ที่ด้านหลังกล่องค่ะ

 

tender 3

 

เนื้อเซรัมเป็นกึ่งๆน้ำนม มีกลิ่นหอมจางๆค่ะ เกลี่ยค่อนข้างง่าย ให้สัมผัสลื่น บางเบา ซึมไว ไม่เหนอะหนะ

 

 

วัดค่า pH ซักหน่อยนะคะ

 

tender 6

 

ค่า pH อยู่ระหว่าง 5 – 6 ค่ะ ถือว่าใกล้เคียงกับผิวดี

 

 

มาดูส่วนผสมกันบ้างค่ะ

 

สำหรับตัวเซรัมส่วนผสมเป็นดังนี้ค่ะ

 

สผส primer

 

ส่วนผสมของสารบำรุงมี่ทำสีม่วงไว้ให้ค่ะ ที่มาในลำดับแรกๆจะเป็นตัว Niacinamide หรือ วิตามินบี 3 ซึ่งมีประโยชน์หลายๆด้านนะคะ ไม่ว่าจะเป็น Whitening, ลดการอักเสบ ดูแลปัญหาสิว และเพิ่มการสังเคราะห์ไขมันที่เป็น Barrier ผิว

 

สารบำรุงที่มาเด่นไม่แพ้กันก็คือส่วนผสมของ Plankton extract และ Arginine ferulate ค่ะ สารนี้เป็นนวัตกรรมจากฝรั่งเศส ที่ผู้ผลิตวัตถุดิบ Claim ว่าให้ผลเกี่ยวกับการ Detoxification (หรือย่อๆว่า Detox) และการชะลอวัยค่ะ ซึ่งเวลาใช้ด้วยกัน สารทั้งสองจะช่วยเสริมฤทธิ์ซึ่งกันและกันค่ะ

 

สารสกัดจากสาหร่ายสีแดง Chondrus cripis น่าจะตรงกับวัตถุดิบ Oligogeline ของบ. Seppic จากทางฝรั่งเศส ซึ่งให้ผลเรื่องความชุ่มชื้น และให้ความรู้สึกสบายผิว

 

และสุดท้าย Broccoli extract (Brassica oleracea italica) นี้มี่คิดว่าน่าจะเป็นวัตถุดิบที่ชื่อ BioDtoxTM ซึ่งประกอบด้วย Propanediol (and) Bioflavonoids (and) Brassica Oleracea Italica (Broccoli) Extract (and) Aloe Barbadensis Leaf Extract

 

ผู้ผลิตวัตถุดิบ Claim ว่า ให้ผลในการ Detox ช่วยต่อต้านมลภาวะ ลดการอักเสบ ต่อต้านอนุมูลอิสระ เพิ่มการสังเคราะห์คอลลาเจน ข้อมูลจากผู้ผลิตวัตถุดิบระบุว่า สารบำรุงชุดนี้ช่วยปกป้อง Barrier ผิวไม่ให้ถูกทำลายเพราะ Sodium lauryl sulfate ได้ด้วยค่ะ (REF: cosmetic business)

 

จริงๆลำพัง Broccoli ก็ให้ผลเป็น Antioxidant ที่ดีอยู่ในตัวแล้วค่ะ ยิ่งมาประกบกับ Bioflavonoids ซึ่งเป็นสารที่พบในเปลือกส้ม และพืชหลายๆชนิด พวกนี้ก็เป็น Antioxidant ที่ดีอีกค่ะ โดยรวมคือ มหกรรมแห่ง Antioxidant

 

แล้วคหสต.มี่คิดว่าสารพวกนี้น่าจะคงตัวอยู่ในผลิตภัณฑ์ เพราะตัวที่จะตายแทนพวกนี้คือวิตอีค่ะ วิตอีจะเป็นผู้เสียสละพลีชีพเพื่อรักษาสิ่งพวกนี้ไว้

 

ส่วนผสมทุกตัวมีความอ่อนโยน ทางแบรนด์ Claim ว่าสามารถใช้ได้ทุกสภาพผิว แม้กระทั่งผิวแพ้ง่าย เพื่อให้ผิวมีสุขภาพดี

 

ส่วนอีกตัวเป็นกันแดดไพรม์เมอร์ค่ะ มีชื่อเต็มๆว่า complete primer UV protection Anti-pollution SPF50 PA+++ UVA/UVB

 

tender 7

 

นางมาในแพคเกจที่เป็นหลอดบีบค่ะ

ตรงนี้จะเป็นคำ Claim ด้านหลังกล่องนะคะ

 

tender 10

 

เนื้อครีมเป็นครีมสีเหลืองอ่อน มี pigment ขนาดเล็กละเอียดมาก เป็นประกายแวววาว ดู Glow แบบไม่มันเยิ้มค่ะ

 

 

ตัวนี้มี่ไม่ได้วัดค่า pH ให้นะคะ เพราะมีเม็ด pigment จะรบกวนการอ่านสีค่ะ

 

 

มาดูส่วนผสมกันค่ะ

 

สผส เซรัม

 

จากส่วนผสมจะเห็นว่าส่วนของสารบำรุงจะดูคล้ายกับตัว Serum นะคะ จะมีต่างกันเล็กน้อยค่ะ

 

ถ้าพูดถึงสารกันแดดมี่ทำสีฟ้าไว้ให้ค่ะ เป็นกันแดดผสมเคมีและกายภาพค่ะ

  • Ethylhexyl methoxycinnamate ตัวนี้เด่น UVB
  • Octocrylene ดูดซับช่วง UVB และเป็นตัวเพิ่มความคงตัวค่ะ
  • Ethylhexyl triazone ตัวนี้ก็เด่น UVB ค่ะ
  • Diethylamino Hydoxybenzoyl Hexyl Benzoate ตัวนี้เด่น UVA มีความคงตัวค่อนข้างสูง และก็ถ้าเสริมกับสารในกลุ่ม Triazone อีกตัวหนึ่งก็จะได้ผลดีขึ้น
  • titanium dioxide เป็นกันแดดกายภาพ อาศัยการสะท้อนรังสีเอา

 

กันแดดมี SPF ที่ 50 และกันน้ำกันเหงื่อได้ ไม่ลอยไม่วอกไม่เทาเลยค่ะ และจากกลุ่มสารกันแดดที่ใช้โดยรวมก็ถือว่ากันแดดได้ครบถ้วนสมบูรณ์ดีค่ะ

 

ส่วนของสารบำรุงนั้นจะคล้ายกับตัวเซรัม แต่มีการเพิ่ม Lithothamnium calcarum extract เข้ามาค่ะ

 

สารสกัดนี้เป็นสารสกัดจากสาหร่ายสีแดงชนิดหนึ่ง ทางผู้ผลิตวัตถุดิบ Claim ว่าอุดมด้วยแร่ธาตุมากมาย ให้ผลเป็น Moisturizer, เป็น Antioxidant ช่วยชะลอวัย และให้ความรู้สึกสบายผิว (Soothing)

 

มาให้คะแนนกันดีกว่าค่ะ

 

  1. สารบำรุง ทั้งสองตัวเน้นไปที่การเป็น Antioxidant และตัววัตถุดิบที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการ Detox ซึ่งสารบำรุงที่ทางแบรนด์เลือกใช้ก็เป็นสารนำเข้าจากนานาประเทศ ไม่ว่าจะเป็นฝรั่งเศส เกาหลี และสเปน ทำให้ดูมีราคา ซึ่งสารที่เลือกใช้ก็มีการ Claim เกี่ยวกับเรื่อง Pollution อยู่ นอกจากนั้นก็ยังมีส่วนของ Whitening และ ความชุ่มชื้น สำหรับตัวกันแดดก็ถือว่ากันได้ครบและครอบคลุมดี เลยขอให้ไป 5 ฟลาสก์
  2. เนื้อผลิตภัณฑ์ ทั้งสองตัวมาในรูปแบบของ Emulsion ที่ประกอบด้วยน้ำและน้ำมัน ตัวเซรัมไม่มีส่วนผสมของ Silicone ด้วยค่ะ แถมส่วนผสมทั้งสองตัวก็ไม่ได้มีอะไรที่ไม่เป็นมิตรกับผิว เลยขอให้ 5 ฟลาสก์
  3. สารปรุงแต่งอื่นๆ ทั้งสองตัวไม่ได้มีสารตัวไหนที่ไม่เป็นมิตรกับผิว เลยไม่มีที่ให้หักคะแนน รับไป 5 ฟลาสก์
  4. การใช้งาน เซรัมค่อนข้างบางเบาค่ะ อาจจะไม่ค่อยเหมาะกับคนที่มีผิวแห้งมาก ส่วนตัวมี่คิดว่า ถ้าทาแล้ว หาครีมหรือมอยส์เจอร์มาทาทับอีกชั้นหนึ่งก็จะพอดีค่ะ ส่วนตัวกันแดดไพร์มเมอร์ ถ้าทาเดี่ยวๆจะดูเงาๆหน่อยนะคะ แต่ถ้าทาแล้วลงรองพื้นทับ กับปัดแป้งฝุ่นอีกรอบจะสวยฉ่ำพอดีค่ะ ส่วนข้อติก็มี่คิดว่านางมาในหลอดเล็กไปนิดนึงค่ะ โดยรวมขอให้ไป 4 ฟลาสก์ค่ะ

 

คะแนน

 

สุดท้ายนี้ต้องขอขอบคุณทางแบรนด์ Tender ด้วยค่ะ ที่ส่งผลิตภัณฑ์ดีๆมาให้มี่ได้ทดลองใช้ และขอบคุณทุกท่านด้วยค่ะที่ติดตามรับชมมาจนจบ

 

สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถสอบถามได้ที่ทางแบรนด์โดยตรงเลยนะคะ

http://www.tenderskincare.com

http://www.facebook.com/tenderskincare

instragram:Tenderskincareofficial

line : @tenderskincare

 

Discliamer/conflict of interests: ผลิตภัณฑ์นี้ได้รับการสนับสนุนจากทางแบรนด์ Tender การรีวิวครั้งนี้เป็นการวิเคราะห์ส่วนผสมตามหลักการทางวิทยาศาสตร์เครื่องสำอางและอาศัยความเห็นส่วนบุคคล และผู้เขียนไม่ได้มีผลประโยชน์ใดๆในการขายสินค้า โปรดใช้วิจารณญาณ