Image

รีวิว/วิเคราะห์ส่วนผสม เซรั่มดูแลฝ้า ตัวตึง Game changer แห่งวงการ Cysteamine กับ Alphascience Melabright [C+]

ในที่สุดก็ได้เวลามารีวิว/วิเคราะห์ส่วนผสม Melabright เซรั่มดูแลฝ้าตัวตึงในตำนานจากแบรนด์ Alphascience ที่ได้นำมาเล่า มาโปรยไปตั้งแต่ช่วงปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมาซักทีค่ะ

เอาล่ะ ไม่พูดเยอะ เริ่มเลย

น้องจะมาในกล่องที่มีหน้าตาที่เป็น Signature ของแบรนด์ ประมาณนี้นะคะ

ตัวเซรั่มจะมาในแพคเกจแก้วทึบแสงสีขาวขุ่น พร้อมหลอดหยด

เนื้อเซรั่มมีความหนืดเล็กน้อย สีคล้ายชา มีกลิ่นเฉพาะตัวของวัตถุดิบ และสารสำคัญอย่าง Cysteamine ที่เป็นกลิ่นโทน Sulfur (อารมณ์แบบน้ำพุร้อน)

เกลี่ยได้อยู่ ให้ฟีลหนึบๆ นิดหน่อย ซึ่งมาจากเบสที่ใช้ เป็นพวก Humectant solvent อย่าง propylene glycol, isopentyldiol ที่มีความหนึบๆ ตามธรรมชาติ

น้องจะใช้เวลานิดหน่อยในการซึมค่ะ ตรงนี้จะเป็นภาพถ่ายแฟลชของเนื้อเซรั่มหลังเกลี่ย

ค่า pH วัดด้วยกระดาษวัด pH (Universal indicator) อยู่ที่ราวๆ 3 – 4 อาจจะมีคลาดเคลื่อนได้เล็กน้อยเนื่องจากเซรั่มเองก็มีสีค่ะ

ส่วนผสมเป็นดังนี้ค่ะ

สำหรับส่วนผสมวันนี้มีที่น่าสนใจอยู่หลายตัวค่ะ

Cysteamine HCl แทนด้วยสีน้ำเงิน

น้องเป็นนางเอกของผลิตภัณฑ์เลย โดย Cysteamine นี่ ร่างกายเราจะมีอยู่แล้วค่ะ เป็นผลพลอยได้มาจากการสลายตัวของ Coenzyme A เป็น วิตามินบี 5 (Pantothenic acid) กับ Cysteamine

ซึ่งตัวของ Cysteamine มีประโยชน์และมีคุณสมบัติที่ดีหลายประการเลยสำหรับร่างกายของเรา คือ เป็น Antioxidant ที่ดี ช่วยดูแลสมดุลการสร้างและกำจัดอนุมูลอิสระ (Redox homeostasis) ให้แก่ร่างกายเรา

ในด้านของผิวพรรณนั้น Cysteamine เป็น Whitening ที่ดีผ่านหลายกลไก ไม่ว่าจะเป็น

  • การยับยั้งเอนไซม์ Tyrosinase ที่เป็นตัวการในการสร้างเม็ดสี Melanin
  • ยับยั้งเอนไซม์ Peroxidase ที่เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างเม็ดสีชนิด Eumelanin ที่มีสีเข้ม
  • ผลัดผิว
  • ปกป้อง Glutathione ใน Melanocyte ซึ่งมีผลไปส่งเสริมให้ Melanocyte สร้างเม็ดสีอ่อนที่ชื่อ Pheomelanin
  • ต่อต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งจะไปกระตุ้นให้ Melanocyte ทำงานมากขึ้น
  • จับกับอิออนโลหะ ซึ่งมีผล 2 แบบ
    • แบบแรก อิออนโลหะจะไปกระตุ้นให้เกิดอนุมูลอิสระผ่าน Fenton reaction แล้วไปกระตุ้นให้ Melanocyte ทำงานมากขึ้น เมื่ออิออนโลหะโดนจับไว้ โอกาสเกิดอนุมูลอิสระก็จะน้อยลง
    • แบบที่สอง ไปจับกับอิออนโลหะ Copper ที่จำเป็นในการทำงานของเอนไซม์ Tyrosinase ซึ่งทำให้ Tyrosinase ทำงานไม่ได้

Cysteamine เป็นสารที่พบว่ามีประสิทธิภาพในการเป็น Whitening ที่ดีมาหลายปีดีดักแล้ว แต่มีปัญหาหลายอย่าง หลักๆ คือ เรื่องของความไม่คงตัว และกลิ่นของ Sulfur

แต่ในระยะหลังๆ มานี้ วงการเครื่องสำอางก็พบเจอวิธีที่สามารถเพิ่มความคงตัวให้กับ Cysteamine ได้หลายแบบ เลยมีความสนใจ และนำกลับมาศึกษาในการทดลองทางคลินิกหลายฉบับ เทียบกับสารมาตรฐาน (Gold standard) ในการรักษาฝ้าของแพทย์ผิวหนัง อย่าง Hydroquinone แล้วพบว่าให้ผลดีใกล้เคียงกัน และมีแนวโน้มว่าจะปลอดภัยกว่า แต่ก็เจอปัญหาเรื่องการระคายเคืองที่อาจจะเกิดขึ้นได้ และเรื่องกลิ่น เลยเป็นรูปแบบใช้แล้วล้างออก

จากการรวบรวมและวิเคราะห์งานวิจัยแบบ Systematic review โดย Ahramiyanpour และคณะ (2021) ที่รวบข้อมูลจากงานวิจัยเกี่ยวกับการทดสอบประสิทธิภาพของ Cysteamine ในอาสาสมัครที่เป็นฝ้า 8 ฉบับ พบว่า Cysteamine มีประสิทธิภาพในการลดจำนวนเม็ดสีผิว และอาสาสมัครมีความพึงพอใจในผลการใช้งาน (J Cosmet Dermatol. 2021;20:3593–3602.)

สำหรับประเด็นเรื่องความคงตัวของ Cysteamine นั้น ในสูตรของ Melabright ทาง Alphascience นี้ เขามีนวัตกรรมสิทธิบัตรที่เพิ่มความคงตัวให้แก่ Cysteamine ได้ ที่ระดับความเข้มข้น 3% และดูแลเรื่องความระคายเคืองได้ในระดับหนึ่ง จึงพัฒนาเป็นตำรับร่วมกับสารบำรุงอื่นๆ ที่ใช้แล้วสามารถทิ้งไว้บนผิวได้เลย โดยไม่ต้องล้างออก ซึ่งถือว่ามีความน่าสนใจมากเลยทีเดียว และสูตรผสมนี้มีการศึกษาเบื้องต้น (Pilot study) ในการดูแลฝ้าเทียบกับ Hydroquinone แล้วพบว่ามีประสิทธิภาพใกล้เคียงกัน

ซึ่ง Pilot study นี้ เป็นการทดสอบแบบแบ่งครึ่งใบหน้า เปรียบเทียบระหว่าง Melabright กับ Hydroquinone 4% ในอาสาสมัครจำนวน 25 คน เป็นเวลา 2 เดือน พบว่าให้ประสิทธิภาพที่ไม่ต่างกัน และไม่เกิดการระคายเคืองในอาสาสมัคร และยังได้ประโยชน์ในด้านของรูขุมขนกระชับขึ้น ความมันลดลง และริ้วรอยที่ดูตื้นขึ้น เสริมเข้ามา

สารบำรุงถัดมาเป็นกลุ่มสีชมพู ได้แก่

  • วิตามินซี ซึ่งใช้ในรูปแบบของ Ascorbic acid ที่ความเข้มข้น 8% ที่เสริมความคงตัวโดยเทคโนโลยีสิทธิบัตรของทาง Alphascience ที่ชื่อ Nextgen technology ผ่านระบบการปกป้องสารไม่ให้เกิดการแตกตัว (Ionization stabilization) ในสารละลาย และสามารถย้อนการแตกตัวของสารต้านอนุมูลอิสระกลับมาในรูปแบบที่ไม่แตกตัว ซึ่งมีความคงตัวสูงกว่า ช่วยปกป้องทั้งตัววิตซีเอง และ Cysteamine ให้คงตัวอยู่ได้

สำหรับประโยชน์ของวิตามินซีนั้นมีด้วยกันหลายประการ ได้แก่

  1. ยับยั้งเอนไซม์ Tyrosinase ที่สร้างเม็ดสีเมลานิน
  2. เป็น Antioxidant ที่ดี
  3. เป็นส่วนหนึ่งในการสังเคราะห์คอลลาเจนตามธรรมชาติของผิว
  4. ดูแลเรื่องการอักเสบระคายเคือง

สารสกัดจากใบแปะก๊วย (Ginkgo biloba leaf extract) เป็นสารสกัดเก่าแก่สารหนึ่งในวงการเครื่องสำอาง มีประโยชน์กับผิวหลายประการเช่นกัน

  • ประกอบด้วยสารในกลุ่ม Polyphenol และ Flavonoids หลายชนิด ที่ให้คุณสมบัติเป็น Antioxidant ที่ดี
  • การทดลองในหนูทดลองพบว่า เมื่อทาสารสกัดจากแปะก๊วย (ที่สกัดด้วย 50% ethanol) ให้ประโยชน์ในการปกป้องผิวจากรังสี UV และเสริมการสร้างเอนไซม์ที่เป็น Antioxidant ตามธรรมชาติในผิวอย่าง Superoxide dismutase (SOD) และ Catalase (Methods Find Exp Clin Pharmacol. 1997 Jul-Aug;19(6):367-71.)
  • ในใบแปะก๊วย มีสารพฤกษเคมีกลุ่ม Biflavone ที่ชื่อ Ginkgetin มีรายงานว่ามีคุณสมบัติในการลดการอักเสบระคายเคืองได้ผ่านหลายกลไก เช่น ยับยั้งเอนไซม์ Phospholipase A2;PLA2 (ซึ่งเป็นตัวแม่สุดเมื่อผิวเกิดความเสียหาย PLA2 จะไปย่อยไขมันฟอสโฟไลปิดที่เป็นองค์ประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ ได้กรดไขมัน Arachidonic acid ที่จะแประสภาพต่อไปผ่านเอนไซม์ Cyclooxegenase และ Lipoxygenase ทำให้เกิดสารที่นำไปสู่การอักเสบต่างๆ) ลดการสร้างเอนไซม์ Cyclooxgenase ซึ่งส่งผลต่อไปให้การสร้างสารก่อการอักเสบลดลง และการทดสอบในหนูทดลองพบว่า การทา Ginkgetin ลดการอักเสบของผิวหนังได้ (Planta Med. 2002;68(4):316-21.) การทดสอบในเซลล์ภูมิคุ้มกัน Mast cell ของหนู ระบุว่า Ginkgetin ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ Cyclooxegenase และ Lipoxygenase ซึ่งมีผลลดการอักเสบ (Biol Pharm Bull. 2005;28(12):2181-4.)
  • ปกป้องคอลลาเจน โดยไปยับยั้งเอนไซม์ MMP-1 ที่ไปย่อยสลายคอลลาเจน และสาร Ginkgolide A และ bilobalide ยังอาจมีคุณสมบัติเสริมการสร้างคอลลาเจน (Food Sci. Technol (Campinas). 2020;40(2))

สรุป สารสกัดจากใบแปะก๊วยดูแลผิวได้หลายด้าน ในแง่ของการดูแลเรื่องการอักเสบระคายเคือง ให้ความรู้สึกสบายผิว ต่อต้านอนุมูลอิสระ ปกป้องผิวจากรังสี UV และ ดูแลเรื่องริ้วรอย

  • Phytic acid เป็นสารที่มีประโยชน์หลายประการ ใช้เป็นสารจับโลหะในสูตรเครื่องสำอาง ใช้เสริมฤทธิ์กับ Antoxidant อื่นในสูตรเพื่อเสริมความคงตัวให้แก่ตำรับ ใช้เป็นสารบำรุงก็ดี ในแง่ของการบำรุงผิว Phytic acid มีฤทธิ์เป็น Antioxidant มีคุณสมบัติเป็น Whitening โดยไปจับ Copper ของเอนไซม์ Tyrosinase ทำให้การสร้างเม็ดสีเกิดขึ้นได้น้อยลง

Acetyl glycyl beta-alanine

          ตัวนี้เป็นเปปไทด์ที่รู้จักในชื่อทางการค้าว่า Genowhite ข้อมูลจากทางผู้ผลิตวัตถุดิบระบุว่าสารนี้มีคุณสมบัติในด้าน Whitening ผ่านหลายกลไก

  1. ลดการสร้างเม็ดสีผิวผ่านการยับยั้งตัวตั้งต้น MITF ที่จะไปกระตุ้นให้มีการสังเคราะห์เอนไซม์ Tyrosinase
  2. ลดการสร้าง Endothelin-1 ที่สร้างออกมาจากผนังหลอดเลือด ซึ่งจะไปกระตุ้นให้เซลล์สร้างเม็ดสี สร้างเมลานินออกมา
  3. ลดการส่งผ่านเมลานินที่สร้างเสร็จแล้วไม่ให้ออกไปข้างนอก (Melanosome transfer) ผ่านการลดการสังเคราะห์โปรตีน Melanophillin ที่เป็นตัวสำคัญในขั้นตอนนี้

(Image from Corum)

มีการศึกษาในอาสาสมัครโดยบริษัท พบว่าสาร Genowhite มีความสามารถในการดูแลจุดด่างดำตามอายุ (Age spot)

สำหรับตัวเบส(เนื้อหลักของผลิตภัณฑ์) จะเป็น Humectant solvent เป็นเบสหลัก เพื่อเสริมความคงตัวให้แก่ Vitamin C อาจจะมีความหนึบๆ หรือกระตุ้นการระคายเคืองได้ในคนที่พึ่งเริ่มใช้ ความเห็นส่วนตัวคิดว่า อาจจะใช้วิธีผสมกับครีม/เซรั่มอื่นที่ใช้อยู่ก่อนแล้ว วอร์มบนมือ แล้วทาบนใบหน้า เพื่อให้ผิวปรับสภาพ ก่อนที่จะค่อยๆ เพิ่มปริมาณแล้วลงผิวได้เลย

ในด้านของลำดับการลง (Skincare regimen) อาจจะเอาไว้หลังเสร็จกลุ่มน้ำ ก่อนทาน้ำนม ก็ได้อยู่

ส่วนผสมอื่นๆ ขอกล่าวถึงส่วนของสารสีเขียวที่ทำไว้อย่าง Isopentyldiol และ Etoxydiglycol นั้นมีคุณสมบัติเป็น Penetration enhancer ที่เสริมการซึมผ่านของสารบำรุงเข้าสู่ผิว

และมีระบบบัฟเฟอร์อย่าง Citric acid กับ Sodium citrate ที่ช่วยควบคุมค่า pH ของตำรับให้คงที่เพื่อเสริมความคงตัว

นอกจากนั้น ส่วนผสมที่เหลืออื่นๆ ก็เลือกมาเท่าที่จำเป็น และไม่มีสารที่ไม่เป็นมิตรกับผิว

มาให้คะแนนกันดีกว่าค่ะ

  1. สารบำรุง เน้นไปที่การดูแลเรื่องการสร้างเม็ดสีผิวเป็นหลัก ที่เสริมฤทธิ์กันผ่านหลายเสต็ปในการสร้างเม็ดสีผิว เสริมมาด้วยการดูแลเรื่องการระคายเคืองผิว ต่อต้านอนุมูลอิสระ ดูแลเรื่องริ้วรอย และปกป้องผิวจาก UV ให้ไป 5 ฟลาสก์
  2. ส่วนผสมอื่นๆ ไม่มีสารที่ไม่เป็นมิตรกับผิว และสารอื่นที่ใส่มาก็คือผ่านการเลือกมาเป็นอย่างดี เลยไม่มีจุดที่ให้หักคะแนน รับไป 5 ฟลาสก์
  3. การใช้งาน ในเรื่องของเนื้อเบสที่มาใน Humectant solvent นั้นอาจจะหนึบๆ ไม่ค่อยถูกใจเท่าไหร่ แต่ถ้าลงเซรั่มอื่นๆ เรียบร้อยแล้ว ทาเสร็จแล้วทาครีมทับ หรือผสมลงครีมแล้ววอร์มก่อนทาก็ถือว่าพอได้อยู่ค่ะ สำหรับเรื่องกลิ่น ส่วนตัวเป็นคนที่คุ้นชินกับกลิ่นของสาร Sulfur อยู่แล้ว เลยไม่ได้รู้สึกว่าเป็นปัญหาอะไร ในด้านของสีผิว ส่วนตัวไม่ได้มีปัญหาฝ้าหรือจุดด่างดำ หรือปัญหาสีผิวไม่สม่ำเสมอมากนัก แต่ได้ใช้แล้วก็รู้สึกว่าผิวเรียบ ละเอียด และแต่งหน้าได้ติดทนนานมากขึ้น ให้ไป 5 ฟลาสก์

สุดท้ายนี้ขอขอบคุณทางแบรนด์ AlphaScience สาขาประเทศไทยด้วยนะคะ ที่จัดส่งสินค้าดีๆ มาให้ได้ทดลองใช้ และขอบคุณทุกท่านด้วยค่ะที่ติดตามรับชมมาจนจบ

สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ทางแบรนด์โดยตรงได้เลยค่ะ

https://www.facebook.com/AlphascienceThailand

สำหรับท่านที่สนใจสามารถติดตามเข้าไปดูที่ Official mall ได้ตามลิงค์ด้านล่างนี้ได้เลยค่ะ

Lazada: https://invol.co/cla9tuw

Shopee: https://invol.co/cla9tvv

Disclaimer: ผลิตภัณฑ์นี้ได้รับการสนับสนุนจากทางแบรนด์ AlphaScience สาขาประเทศไทย การรีวิวครั้งนี้เป็นการวิเคราะห์ส่วนผสม/วัตถุดิบตามหลักการทางวิทยาศาสตร์เครื่องสำอางและอาศัยความเห็นส่วนบุคคล และผู้เขียนไม่ได้มีผลประโยชน์ใดๆในการขายสินค้า โปรดใช้วิจารณญาณ

Image

[Press conference] รวมบรรยากาศงานเปิดตัวสินค้า Melabright [C+] by Alphascience 29 – 30 เมษายน 2566

เมื่อวันที่ 29 – 30 เมษายน 2566 ที่ผ่านมา ทางแบรนด์ Alphascience ได้เปิดตัวสินค้าใหม่ Melabright [C+] เซรั่มดูแลปัญหาฝ้า ที่มีส่วนผสมของ Cysteamine แบบใช้แล้วไม่ต้องล้างออกชิ้นแรกของโลกค่ะ

ส่วนตัวดิฉันเองได้รับเกียรติเชิญเป็นวิทยากรในงานนี้ร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิ KOLs และ Influencer อีกหลายๆ ท่าน เลยขอนำภาพบรรยากาศมาฝากกันค่ะ

สำหรับเซรั่ม Melabright [C+] ตัวนี้เรียกได้ว่าเป็นตัวหนึ่งที่น่าจับตามองเลยทีเดียวค่ะ

ส่วนผสมเป็นดังนี้นะคะ: Propylene glycol, Isopentyldiol, Aqua, Ascorbic acid, Ginkgo biloba leaf extract, Cysteamine HCl, Ethoxydiglycol, Phytic acid, Acetyl glycyl beta-alanine, PEG-8 dimethicone, Aminomethyl propanol, Citric acid, Sodium citrate, Glycereth-26.

ในงานก็เอา Top three มาตั้งโชว์ค่ะ

ตัว HA Booster ทางเพจได้เคยรีวิวไปแล้ว ท่านที่สนใจสามารถติดตามอ่านได้ที่ลิงค์นี้เลยนะคะ >>Click อ่านรีวิว HA Booster<<

เริ่มเปิดงานด้วยเชฟกันน์ สรวิศ มาโชว์ทำอาหารเมนูที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากเซรั่มของ Alphascience ค่ะ

(ขอบคุณภาพถ่ายจากทางทีมงาน Alphascience)

หลังจากนั้นคุณเข้ม หัสวีร์ แบรนด์แอมบาสเดอร์คนแรกของ Alphascience ก็ออกมาร้องเพลงให้ FC ทุกท่านฟัง และเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับประสบการณ์ใช้ Melabright [C+]

(ขอบคุณภาพถ่ายจากทางทีมงาน Alphascience)

และผู้บริหารของทางบริษัท Derma MD ตัวแทนจำหน่ายของ Alphascience ก็ได้มากล่าวต้อนรับและกล่าวถึงการนำเอา Alphascience เข้ามาจำหน่ายค่ะ

(ขอบคุณภาพถ่ายจากทางทีมงาน Alphascience)

หลังจากนั้น Dr.Alfred Marchal ผู้เชี่ยวชาญด้าน Antioxidant ที่คิดค้นตำรับนี้ กับ คุณ Julien Revol CEO ของ Alphascience ประเทศฝรั่งเศสก็ได้มาเล่าแบรนด์สตอรี่ให้ฟังค่ะ

(ขอบคุณภาพถ่ายจากทางทีมงาน Alphascience)

ทางเพจเคยนำเสนอ Brand story ของ Alphascience ไว้ ท่านที่สนใจสามารถติดตามรับชมได้ที่ลิงค์นี้นะคะ >>Click อ่าน Brand story<<

จากนั้นก็เป็นการคุยกันเรื่องเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ค่ะ

Session แรก เริ่มด้วยดิฉันเอง ในหัวข้อเกี่ยวกับ เทรนด์ของผลิตภัณฑ์ Whitening และรายละเอียดของ Vitamin C และ Cysteamine

ต่อมาเป็นหมอเจี๊ยบ เพจ Hello skin by หมอผิวหนัง มาให้ความรู้เกี่ยวกับฝ้า และการดูแลรักษา

และคุณแพรี่ มาเล่าประสบการณ์การใช้งานผลิตภัณฑ์ค่ะ

หมอเจี๊ยบกับคุณแพรี่น่ารักมากๆ ค่ะ

ต่อด้วยหมอต่อ คุณทราย เจริญปุระ และ คุณเยาวธิดาจากเพจ GURUCHECK เช็ค กับ กูรู ค่ะ

จากนั้นก็เป็นการถ่ายรูปร่วมกันค่ะ

ส่วนกิจกรรมวันที่ 2 ก็น่าสนใจเหมือนกันนะคะ

Session แรก เป็น Beauty Guru interview talk ที่ดิฉันมีโอกาสได้แชร์เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับการดูแลผิวคู่กับคุณ Jossy เพจ Jossy Berry ค่ะ คุณ Jossy สวยฉ่ำมงลง น่ารักมากๆ

ส่วนอีก Session เป็นวิทยากรร่วมกับ Dr.Alfred บรรยายเกี่ยวกับเรื่อง Antioxidant และนวัตกรรม/เทคโนโลยี Nextgen Vitamin C ของทางแบรนด์ค่ะ

สำหรับงาน Press conference เปิดตัว Melabright [C+] ก็คือเรียกได้ว่าจัดขึ้นได้อย่างยิ่งใหญ่เลยทีเดียวค่ะ

Special thanks: รูปถ่ายจากทีมงาน Alphascience และ บริษัท Derma MD

Sponsorship: บริษัท Derma MD จำกัด ประเทศไทย และ แบรนด์ Alphascience ประเทศฝรั่งเศส

Disclaimer: Self-opinion

Image

รีวิว/วิเคราะห์ส่วนผสมครีมดูแลสิว Effaclar Duo (+) จาก La Roche-Posay

สำหรับคอนเท้นท์นี้ขอมาอัพเดท รีวิวและวิเคราะห์ส่วนผสมของครีมดูแลสิวตัวดังอย่าง Effaclar Duo (+) (อ่านว่า เอฟฟาคลาร์ ดูโอ) จากแบรนด์ La Roche-Posay ประเทศฝรั่งเศสค่ะ

ผลิตภัณฑ์นี้เป็นผลิตภัณฑ์ที่เรียกได้ว่าพัฒนามาเพื่อตอบโจทย์คนที่มีปัญหาสิว และดูแลสิวได้ครบทั้งวงจรได้อย่างสมบูรณ์แบบ เสมือนเป็น John Wick แห่งการเก็บสิว

หน้าตาน้องเป็นประมาณนี้ค่ะ

ตัวแพคเกจมาแบบหลอดที่มีปากปลายแหลม ใช้บีบออกมาปริมาณน้อยๆ เพื่อแต้มก็ดี หรือจะวอร์มๆ แล้วทาทั้งหน้าก็ได้

เนื้อครีมมีลักษณะเป็นครีมสีขาว แม้ว่าจะมีรายการน้ำหอมเป็นส่วนประกอบ แต่ก็แทบไม่ได้กลิ่นของน้ำหอมมากวนใจเลย

เกลี่ยได้ง่าย ลื่น และ อีกจุดหนึ่งที่น่าสนใจคือ เขาทำเนื้อมาได้ค่อนข้างดี ใช้แล้ว ทาแต้มๆ Tapๆ เบาๆ สักแปบน้องก็จะซึมลงไปแล้วให้ความแมทท์ ที่สามารถทาอย่างอื่น หรือแต่งหน้าต่อไปได้เลย

ก่อนไปดูส่วนผสมอยากให้ดูสาเหตุของการเกิดสิวก่อนนะคะ ปัจจุบันเราถือว่าสิวนี่เป็นภาวะที่เกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ หลายปัจจัยมากมาย แล้วก็เป็นปัญหาต่อเนื่องไม่จบไม่สิ้น สิวหาย ทิ้งรอยไว้ได้หลายแบบ ทั้งรอยแดง (เรียก Post-acne erythema; PAE) รอยดำจากการอักเสบ (Post-inflammatory hyperpigmentation; PIH) รวมไปถึงอาจจะเกิดรอยแผลเป็น ถ้าตอนเป็นสิวนั้นเป็นมากจนเกิดการทำลายโครงสร้างของรูขุมขนไป 

สำหรับครีมตัวนี้ทางแบรนด์ได้ผ่านการทดสอบประสิทธิภาพในอาสาสมัครมา พบว่าอาสาสมัครที่ใช้ครีมเป็นเวลา 28 วัน (4 สัปดาห์) มีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็น

  • สิวอักเสบลดลง
  • สิวอุดตันลดลง
  • รอยดำ รอยแดงจากสิวลดลง

และอีกจุดที่น่าสนใจคือ สามารถที่จะดูแลสิวไม่ให้เกิดขึ้นซ้ำ ได้อย่างยาวนานแม้จะหยุดใช้ยาสิวจากคุณหมอไปแล้ว อย่างน้อย 1 – 6 เดือน ส่วนหนึ่งอาจจะด้วยคุณสมบัติการดูแล Microbiome ของผิวให้สมดุล

ส่วนตัวนานๆ ที ถึงจะมีสิวโผล่มา แต่ถ้ามาแล้วก็คือกว่าจะหายทั้งตัวสิว รอยแดง รอยดำ นี่ยาวเลย

พอได้ลองใช้ก็คือสิวแห้งค่อนข้างไว การบวมก็ลดลงไว ความรู้สึกระคายเคืองตรงสิวก็น้อยลง ถ้าเทียบกับก่อนที่จะใช้

ภาพนี้จะเป็นหลังใช้ไป 3 ครั้ง ที่รู้สึกได้เลยว่า สิวแห้ง และยุบไปเกือบหมด อาจจะเหลือรอยแดงอยู่นิดหน่อย คงต้องใช้อีกซักระยะค่ะ

มาวิเคราะห์ส่วนผสมกันดีกว่า

ส่วนผสมเป็นดังนี้นะคะ

สำหรับส่วนผสมวันนี้แยกเป็นกลุ่มสีเหมือนเคยนะคะ 

เริ่มต้นที่สีน้ำเงิน จัดไว้ 2 ตัว ได้แก่ 

  • Niacinamide ที่มีประโยชน์ที่ดีกับผิวที่มีปัญหาสิวหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นด้านของการดูแลการอักเสบระคายเคือง เป็น Whitening ผ่านการยับยั้งการส่งผ่านเมลานินที่สร้างเสร็จแล้วไม่ให้ออกมาข้างนอก ซึ่งอาจจะให้ผลดีในแง่ของรอยดำจากสิวไปด้วย 
  • Mannose ดูเหมือนเป็นน้ำตาลธรรมดา ที่เพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิว แต่ก็มีรายงานวิจัยใหม่ในปี 2023 นี้พบว่า Mannose นั้นดูแลเรื่องการอักเสบ/ระคายเคืองของผิว โดยมีการทดสอบในหนูทดลองที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นสะเก็ดเงิน พบว่าลดการสื่อสารระหว่างเซลล์ภูมิคุ้มกัน T-Helper cell กับเซลล์ผิว Keratinocyte ยังผลให้การอักเสบต่างๆ ลดลง ทั้งในรูปแบบรับประทานและแบบทาภายนอก (Int Immunopharmacol. 2023;118:110087.) ซึ่งก็อาจจะมีประโยชน์ในการดูแลความรู้สึกระคายเคืองจากสิว

ถัดมาเป็นกลุ่มของสารที่ควบคุมความมันบนผิว รวมไว้เป็นสีบานเย็น

  • สารที่ควบคุมความมันผ่านการกระชับรูขุมขน (Astringent effect) ลดการปลดปล่อยน้ำมันออกจากต่อมไขมัน คือ Zinc PCA ซึ่งนอกจากประโยชน์ในด้านนี้แล้ว น้องยังมีรายงานการวิจัยกล่าวว่า มีคุณสมบัติปกป้องพวกคอลลาเจนในผิวจากรังสี UVA ได้ในระดับเซลล์เพาะเลี้ยง โดยไปลดการสร้างเอนไซม์ MMP-1 ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ทำลายคอลลาเจนในผิวทำให้เกิดความหย่อนยานและริ้วรอย (Int J Cosmet Sci. 2012; 34(1):23-8.) ข้อมูลจากผู้ผลิตวัตถุดิบกล่าวว่า สารนี้มีประโยชน์เป็นสารเติมน้ำให้ผิว (Humectant) ระงับเชื้อบางชนิด ควบคุมความมัน ลดริ้วรอยและชะลอวัย (TDS Ajidew® ZN-100, Ajinomoto Ltd.)
  • กลุ่มสารที่ควบคุมความมันผ่านการดูดซับน้ำมันส่วนเกิน ได้แก่ Silica, Methyl methacrylate crosspolymer, Aluminium starch octenylsuccinate
    • สำหรับ Methyl methacrylate crosspolymer และ Silica นั้น นอกจากดูดซับความมัน ยังช่วยเบลอรูขุมขนให้ดูเล็กลงด้วยนะ

กลุ่มกรดอินทรีย์ที่ดูแลปัญหาสิว รวมไว้เป็นสีชมพูอ่อน

  • Salicylic acid ที่จัดเป็นสารในกลุ่ม BHA ลดการอุดตันภายในรูขุมขนโดยการไปสลาย Comedone (สิ่งอุดตัน) 
  • Capryloyl salicylic acid จัดเป็นสารในกลุ่ม Lipohydroxy acid หรือ LHA ซึ่งมีประโยชน์ในการผลัดผิวแบบอ่อนๆ ดูแลเรื่องการระคายเคือง และลดเลือนรอยดำจากสิว 

สีฟ้า 2-Oleamido-1,3-Octadecanediol ตัวนี้เป็นสารสิทธิบัตรของเครือ L’Oréal มีชื่อเล่นว่า ProceradTM ซึ่งเป็นสารในกลุ่มของ Ceramide นอกจากจะดูแล Barrier ผิวแล้ว น้องยังไปลดการสร้างเม็ดสีผิว ที่อาจจะมีประโยชน์ในการดูแลรอยดำจากสิวไปพร้อมๆ กัน 

เทียบโครงสร้างของ Procerad กับ แกนโครงสร้างหลักของ Ceramide จะเห็นว่ามีส่วนหัวที่เหมือนกัน

สีเขียว Vitreoscilla ferment filtrate มีงานวิจัยของ La Roche-Posay ทดสอบสารสกัดจากแบคทีเรีย Vitreoscilla filiformis ที่เลี้ยงในน้ำแร่ลาโรชโพเซย์ พบว่าสามารถกระบวนการสังเคราะห์ mRNA และ peptide ที่เป็นสารฆ่าเชื้ออกมาจากผิวได้มากขึ้น มีผลเพิ่มสาร Antioxidant และเอนไซม์ที่ช่วย Detox อื่นๆ จึงเป็นการเสริมสร้างระบบป้องกันตัวเองของผิว (Defense system) (Clin Cosmet Investig Dermatol. 2013; 6:191-6.) ทางแบรนด์เรียกว่าเป็น Aqua Posae Filiformis (ย่อว่า APF) ซึ่งมีประโยชน์ในการปรับสมดุลของ Microbiome และเสริมความแข็งแรงให้แก่ Barrier ผิว เมื่อนำมาใช้ในผลิตภัณฑ์จะให้ประโยชน์ในการดูแลอาการคัน ระคายเคืองทั้งจากผิวแห้ง และจากปัญหาสิว จึงเรียกได้ว่า APF มีความน่าสนใจตัวหนึ่งเลยทีเดียว สำหรับการดูแลสิวผ่านทาง Microbiome และการระคายเคืองผิว

ปิดท้ายด้วยสีส้ม Piroctone Olamine สารที่มีคุณสมบัติในการยับยั้งเชื้อยีสต์บางชนิด อย่างเจ้า Malassezia furfur (อีกชื่อคือ Pityrosporum ovale) เป็นยีสต์ที่อาศัยอยู่บนผิวเราตามธรรมชาติ กินไขมัน (Sebum) เป็นอาหาร ถ้ามีมากเกินไปก็อาจจะเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคผิวหนังบางชนิด เช่น Seborrheic dermatitis (เซ็บเดิร์ม) หรือรูขุมขนอักเสบ ที่เรียกกันในวงการว่าสิวยีสต์ (Malassezia (Pityrosporum) folliculitis, fungal acneiform) (J Clin Aesthet Dermatol. 2014; 7(3): 37–41.)

มันมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่พึ่งออกมาในปีนี้ ทีเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการปรับสมดุล Microbiome บนผิวของครีมสูตรผสม Aqua Posae Filiformis, lipohydroxy acid, salicylic acid, linoleic acid, niacinamide และ piroctone olamine เทียบกับ BP และกรดวิตามินเอ พบว่า Combination นี้สามารถปรับสมดุล Microbiome ให้มีความหลากหลายเพิ่มขึ้น แต่ในขณะที่ กลุ่มอาสาสมัครที่ใช้ BP และกรดวิตามินเอนั้นมีความหลากหลายของ Microbiome ที่ลดลง 

ปกติแล้วผิวที่สุขภาพดีจะมีความหลากหลายของ Microbiome อยู่สูง (คือมีเชื้อหลายชนิดอาศัยอยู่ร่วมกัน) (Wongtada et al. Exp Dermatol. 2023 Feb 26. doi: 10.1111/exd.14779.) นั่นก็แปลว่า สูตร combination นี้สามารถดูแลผิวให้มีสุขภาพดีได้นั่นเอง (แต่ในครีมรุ่นที่นำมารีวิวนี้ไม่มี Linoleic acid นะ แต่ ในซีรี่ส์ Effaclar บางชิ้นเป็น combination นี้ค่ะ)

ในภาพรวมส่วนผสมที่ทางแบรนด์เลือกใช้สามารถดูแลปัญหาสิวและปัญหากวนใจที่มากับสิวได้ครบจบทุกวงจรของการเกิดสิวเลยค่ะ ทางเราทำเป็นแผนภาพสรุปให้ประมาณนี้

ในส่วนของเนื้อครีมเบส และส่วนผสมอื่นๆ ก็ถือว่าทำมาได้ค่อนข้างดี ไม่มีส่วนผสมที่ไม่เป็นมิตรกับผิว และสูตรชุดนี้ผ่านการทดสอบการระคายเคืองและประสิทธิภาพในอาสาสมัครมาแล้ว

มาให้คะแนนกันดีกว่าค่ะ

  1. สารบำรุง เรียกได้ว่ามีอยู่ค่อนข้างหลากหลาย และดูแลผิวได้ผ่านหลายกลไกทั้งในทุกระดับของการเกิดสิว ตั้งแต่ก่อนเป็นสิว สิวขึ้น รอยสิว และการกลับเป็นซ้ำของสิว โดยจะค่อนข้างเด่นในแง่ของเรื่อง Microbiome และการดูแลเรื่องปัญหาการระคายเคืองผิว รอยแดง รอยดำ ให้ไป 5 ฟลาสก์
  2. ส่วนผสมอื่นๆ ไม่มีสารที่ไม่เป็นมิตรกับผิว เลยไม่มีที่ให้หักคะแนน รับไป 5 ฟลาสก์
  3. การใช้งาน ดังที่ได้เล่าไปในด้านบนว่า น้องทำมาได้ค่อนข้างดี ฟีลลิ่งดี ใช้แล้วให้ความแมทท์ แต่เป็นแมทท์ที่สบายผิว ไม่แห้ง ไม่ตึง ไม่แสบ แล้วสักพักสิวก็ยุบลงไป ส่วนตัวค่อนข้างชอบ และทางแบรนด์มีหลอดเล็กขนาด 7.5 ml อันนี้ส่วนตัวว่าเหมาะมาก สำหรับคนที่นานๆ สิวขึ้นที มาแต้มให้ยุบ แล้วแต้มต่อไปอีกสักระยะ แต่ถ้าใครที่สิวบุกบ่อย ก็สามารถเลือกขนาดปกติ 40 ml มาใช้เป็นประจำ อิงจากข้อมูลส่วนผสมและผลเทสต์ก็น่าจะได้ประโยชน์ในการดูแลให้สิวไม่กลับมาค่ะ ให้ไป 5 ฟลาสก์

สุดท้ายนี้ต้องขอขอบคุณทางแบรนด์ La Roche-Posay สาขาประเทศไทยที่ส่งผลิตภัณฑ์ดีๆ เพียบพร้อมด้วยการศึกษา และมี Mechanism ที่น่าสนใจ มาให้ได้เปิดหูเปิดตา และขอบคุณทุกท่านที่ติดตามรับชมมาจนจบ

สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ทางแบรนด์โดยตรงเลยนะคะ

Official facebook: @LaRochePosayThailand

(https://www.facebook.com/LaRochePosayThailand)

หรือท่านที่จะตามไปส่องสินค้าบน Official Mall ก็เรียนเชิญได้เลยค่ะ

ตัวสินค้ามีด้วยกัน 2 ขนาด หลอดเล็กสำหรับมือใหม่อยากลองใช้ 7.5 ml ราคา 199 บาท หลอดปกติ 40 ml ราคา 999 บาท (ราคาอาจเปลี่ยนแปลงตามโปรโมชั่น สำรวจราคาเมื่อ 8 เมษายน 2566)

LazMall https://invol.co/clhwfj7

Shopee Mall https://invl.io/clhwfjo

Disclaimer/Conflict of interest: ผลิตภัณฑ์นี้ได้รับการสนับสนุนจากทางแบรนด์ La Roche-Posay ประเทศไทย การรีวิวครั้งนี้เป็นการวิเคราะห์ส่วนผสม/วัตถุดิบตามหลักการทางวิทยาศาสตร์เครื่องสำอางและอาศัยความเห็นส่วนบุคคล และผู้เขียนไม่ได้ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับบริษัทเครื่องสำอางใดๆ โปรดใช้วิจารณญาณ

Image

Basic CosSci: สีผิว และ การสร้างเม็ดสีผิวเบื้องต้น (Melanogenesis) (revised 2023)

เนื้อหา: วิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง, Dermatology ระดับความยาก: ปานกลาง

ผลิตภัณฑ์กลุ่ม Whitening นี้เรียกได้ว่าติดกระแสตลาดในบ้านเราและในกลุ่มประเทศทางเอเชียมาก เพราะผู้บริโภคบ้านเรานั้นคิดว่าปัญหาเรื่องสีผิวมีความสำคัญสุดในทาง Skincare ทำให้มีผลิตภัณฑ์ Whitening ออกมากมายในตลาด และแนวโน้มของ Whitening นั้นจะสลับซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ และมีการออกฤทธิ์ที่พิสดารพันลึกขึ้นเรื่อยๆ

แต่สิ่งสำคัญที่เราต้องรู้เลย คือ “Whitening ไม่สามารถเปลี่ยนสีผิวให้แตกต่างไปจากสีผิวที่เรามีตอนเกิดมาได้” หรือ พูดง่ายๆ ก็คือ ถ้าเราใช้ Whitening นางก็จะออกฤทธิ์ได้ Maximum สุดได้เท่ากับบริเวณที่ขาวที่สุดของเราเท่านั้น

แต่ช่วงหลังๆ มานี้ เริ่มมีดราม่าเกี่ยวกับเรื่องของการเหยียดสีผิว เหยียดเชื้อชาติ เลยทำให้ผลิตภัณฑ์กลุ่ม Whitening ในหลายๆ แห่ง ต้องปรับตัวหนักมาก ซึ่งจุดนี้เราก็คงต้องรอดูกันต่อไปว่า ตลาดกลุ่มนี้จะไปต่ออย่างไร

ก่อนจะไปดูเรื่องการสร้างเม็ดสีผิว อยากขอพูดถึงเรื่องของ Skin complexion ก่อนค่ะ 

Skin complexion เป็นคำโบราณ ที่มีใช้กันมานานแล้ว เพียงแต่เริ่มมาป๊อปในช่วงหลังๆนี้เอง คำนี้จริงๆ ส่วนตัวมองว่าแปลค่อนข้างยากนะคะ โดยรวมมันจะหมายถึง ลักษณะต่างๆโดยรวมที่ปรากฏออกมาให้เรามองเห็น ไม่ว่าจะเป็นสีผิว ความสม่ำเสมอของสีผิว undertone ความอมชมพู ตำหนิ และจุดด่างดำต่างๆ รวมกัน และบางที่ก็นับรวมเอาริ้วรอยเข้าไปด้วยค่ะ

สำหรับสีผิวที่เรามองเห็นนั้นเกิดจากสีของสารต่างๆ หลายชนิดรวมกัน ได้แก่

  1. Melanin เป็นเม็ดสีที่เป็นเหมือนพระเอก มีสีน้ำตาล ไปจนถึงดำ
  2. Oxyhemoglobin เป็น Pigment ที่อยู่กับเม็ดเลือดแดงในเส้นเลือดฝอย มีสีแดง
  3. Deoxy-hemoglobin เป็น Pigment ที่อยู่ในหลอดเลือดดำ มีสีน้ำเงิน
  4. Bilirubin เกิดจากเม็ดเลือดแดงที่หมดอายุ มีสีเหลืองไปจนถึงน้ำตาล
  5. Carotenoid ได้จากอาหารที่เรารับประทาน มีสีเหลืองอมส้ม

ผิวที่มีสุขภาพดีมักจะมี Complexion เป็นสีพีช หรือ สีชมพู ส่วนผิวที่เริ่มมีการ Aging (ไม่แปลนะคะ คำแปลมันทำร้ายจิตใจเหลือเกิน) มักจะมีสี Complexion เป็นสีเทา

เม็ดสี Carotenoid ที่ได้จากอาหารนั้นสามารถสะสมที่ผิวได้ สามารถทำหน้าที่เป็นสารปกป้องผิวจากรังสี UV ในแสงแดด จึงมีผู้ผลิตผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเอาจุดนี้มา Claim เป็นอาหารเสริมที่กินแล้วกันแดดได้ และดังอยู่ในตลาดพักใหญ่ๆ เลย

คนที่ชอบทานผักผลไม้สีเหลืองเขียวมากๆ เช่น ฟักทอง แครอท ผิวของคนพวกนี้ก็จะออกเหลือง การสะสมของ Carotenoid บนผิวนั้นไม่ได้มีอันตรายอะไร และจะค่อยๆ จางไปเมื่อเราลดการทานผักผลไม้เหล่านี้ลง

การสร้าง Melanin ของชั้นหนังกำพร้า

Melanin นั้นจัดเป็นเม็ดสีที่สำคัญที่สุด มีประโยชน์หลายๆ ด้าน เช่น เป็นตัวปกป้องผิวหนังไม่ให้ได้รับอัตรายจากรังสี UV โดยเป็นตัว Antioxidant ช่วยลดผลเสียของรังสี UV ต่อผิว ปกป้ององค์ประกอบต่างๆ ผิวไว้ไม่ให้โดนทำลายเพราะรังสี UV ซึ่งจุดนี้สามารถป้องกันการเกิดมะเร็งผิวหนังได้

โดยการสร้าง Melanin ในผิวนั้นเกิดจากกรดอะมิโนที่ชื่อ ไทโรซีน (Tyrosine) ผ่านการทำงานของเอนไซม์ไทโรซิเนส (Tyrosinase) ปฏิกิริยาการสร้างเมลานินมีด้วยกันหลายขั้นตอน จนในที่สุดจะได้เมลานินออกมา เมลานินที่ผิวสร้างมี 2 ชนิด คือ ชนิดสีอ่อน (Pheomelanin) และชนิดสีเข้ม (Eumelanin) สัดส่วนของเมลานินทั้งสองชนิด ร่วมกับ Pigment อื่นๆ จะเกิดเป็น Complexion ของสีผิวแต่ละคนขึ้นมา

ตัวที่กำหนดว่าเมลานินที่สร้างได้จะเป็นชนิดสีอ่อนหรือชนิดสีเข้มนั้นขึ้นอยู่กับปริมาณของกรดอะมิโน Cysteine ในผิว ถ้ามี Cysteine มาก ก็จะเกิดเป็นเมลานินสีอ่อนมากขึ้น ดังรูป

ดังนั้นการได้รับ Cysteine หรือ Glutathione ซึ่งมี Cysteine เป็นองค์ประกอบก็จะช่วยให้สีผิวอ่อนลงได้ เพราะผิวเอาไปสร้างเมลานินชนิดสีอ่อนมากขึ้นนั่นเอง

ตรงนี้ตอบโจทย์ว่าทำไม Glutathione ทำให้ผิวขาวได้

เมลานินที่เซลล์สร้างได้จะเก็บรวมๆ กันไว้ในถุงที่ชื่อ Melanosome ก่อนเคลื่อนย้ายออกมาภายนอกและมองเห็นเป็นสีผิว กลไกที่ถุง Melanosome นี้ออกมาข้างนอกเรียกว่า Melanin transfer หรือ Melanosome transfer กระบวนการที่แท้จริงนั้นนักวิทยาศาสตร์ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่คาดว่าเกี่ยวข้องกับเอนไซม์ Protease บางชนิด เช่น PAR-2 receptor เพราะว่ากลไกนี้สามารถยับยั้งได้ด้วยสารที่ยับยั้งเอนไซม์ Protease (Protease inhibitor) ที่พบในถั่วเหลือง (ถั่วเหลืองดิบปกติมีเอนไซม์ที่เป็นตัวยับยั้งเอนไซม์ย่อยโปรตีนอยู่ โปรตีนก็จะไม่โดนย่อย เวลาเรากินถั่วเหลืองที่ไม่สุกดีในปริมาณมากๆ จะปวดมวนท้องเพราะโปรตีนไม่โดยย่อย)

กระบวนการสร้างเมลานินถูกควบคุมโดยปัจจัยมากมาย เช่น ฮอร์โมน ความเครียด อนุมูลอิสระ การอักเสบ และรังสี UV เป็นต้น

สำหรับฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่สำคัญต่อการสร้างเมลานินก็คือ alpha-MSH (Melanocyte stimulating hormone) เป็นฮอร์โมนที่ไปกระตุ้นให้เซลล์ Melanocyte ทำงานได้ดีขึ้น จึงสร้างเมลานินออกมาได้มากขึ้น

ความเครียดและอนุมูลอิสระก็เป็นอีกสาเหตุหนีงที่กระตุ้นให้เกิดการสร้าง Melanin ออกมามากขึ้น โดยเป็นกลไกในการปกป้องตัวเองของผิว เพราะ Melanin สามารถไปกำจัดอนุมูลอิสระเหล่านี้ได้ บ่อยครั้งที่สารต้านอนุมูลอิสระ หรือ Antioxidant สามารถให้ผลเป็น Whitening ได้อย่างอ้อมๆ

อีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้การสร้างเมลานินเกิดได้มากขึ้นก็คือการอักเสบ เมื่อเกิดการอักเสบขึ้นในผิวหนัง เช่น จากสิว หรือจากบาดแผล ก็จะไปกระตุ้นให้เซลล์ Melanocyte บริเวณที่อักเสบทำงานหนักขึ้นเกิดการสร้างเม็ดสีออกมามากขึ้น จนในที่สุดบริเวณที่อักเสบนั้นก็มีสีเข้มขึ้นเห็นเป็นรอยดำจากสิว หรือรอยดำบนแผลเป็นนั่นเอง

สำหรับรังสี UV นั้นเมื่อเราออกแดด รังสี UV ในแสงแดดออกฤทธิ์ได้ 2 อย่าง อย่างแรกเป็นผลฉับพลันเกิดโดยรังสี UVA ไป Oxidise Melanin ให้มีสีเข้มขึ้นซึ่งผลนี้จะเกิดไวมาก และคงอยู่ประมาณ 6 – 8 ชั่วโมง อีกอย่าง คือ รังสี UV ทั้งสองชนิดเป็นตัวกระตุ้นให้มีการสร้างฮอร์โมน alpha-MSH ออกมามากขึ้น ส่งผลให้เมลานินถูกสร้างออกมามากขึ้น ผลนี้ใช้เวลา 2 – 3 วันและคงอยู่ได้ถึง 2 สัปดาห์ นอกจากนี้รังสี UV ยังไปทำให้เกิดอนุมูลอิสระที่ไปกระตุ้นเซลล์ Melanocyte ต่อ จึงควรทากันแดดเพื่อปกป้องไม่ให้รังสี UV เข้าสู่ผิวมากเกินไป

ถ้าเราสรุปกลไกการสร้างเม็ดสีของผิว ก็พอจะสรุปได้ตามรูปค่ะ

Disclaimer: non-sponsored, education content

Image

รีวิว/วิเคราะห์ส่วนผสมเซรั่มไฮยาจากฝรั่งเศส ที่มีฟีลลิ่งสุดปัง Alphascience HA Booster serum

หลายๆ ท่าน ชอบใช้เซรั่มไฮยา แต่ก็เหนื่อยใจกับฟีลลิ่งเหนียวๆ หนึบๆ

วันนี้ทางเพจมีบทวิเคราะห์ส่วนผสมเซรั่มไฮยาที่เนื้อบางเบา ไม่เหนียวเหนอะหนะ และมีส่วนผสมที่น่าสนใจมาฝากกันค่ะ

น้องเป็นเซรั่มที่มีชื่อว่า HA Booster serum จากแบรนด์ Alphascience ประเทศฝรั่งเศสซึ่งมาในหน้าตาแบบนี้

มาในขวดแก้วแบบมีดรอปเปอร์

สำหรับจุดเด่นของผลิตภัณฑ์จากแบรนด์ Alphascience คือ ขวดจะผ่านการซีลมาเป็นอย่างดี จึงมั่นใจได้ว่าสินค้าไม่ได้ถูกแกะ ไม่ผ่านมือใครมาก่อนถึงมือเราแน่นอน

เนื้อเซรั่มเป็นเนื้อที่มีความข้นหนืดนิดหน่อย เนื่องจากทางแบรนด์ไม่ได้ใส่น้ำหอม เราเลยจะได้กลิ่นจางๆ ของวัตถุดิบอยู่ค่ะ

เกลี่ยได้ง่าย ไม่เหนียว ไม่หนึบ ซึมไว แห้งไว

ภาพแรกเป็นลักษณะหลังเกลี่ย ถ่ายด้วยแสงแฟลช

เราจะเห็นความเงาวาวของเนื้อเซรั่มอยู่

เมื่อทิ้งไว้ประมาณ 3 นาที จะค่อนข้างซึมไปเยอะเลย

ค่า pH อยู่ที่ราวๆ 5 ซึ่งใกล้เคียงกับผิว

สำหรับส่วนผสมเป็นดังนี้

สำหรับส่วนผสมค่อนข้างเรียบง่าย แต่มาแบบเน้นๆ ปังๆ

เริ่มด้วยสีน้ำเงิน Silanetriol ซึ่งคือ Organic silicium ซึ่งมีส่วนประกอบของธาตุ Silicon ค่ะ

          สำหรับประโยชน์ของ Silicon นั้นจะมีคุณสมบัติเด่นๆ หลายประการ ได้แก่ เสริมการทำงานของผิว เสริมให้ผิวกระชับ ยืดหยุ่น และเสริมการติดต่อสื่อสารกันระหว่างผิว ซึ่งจะส่งผลให้ผิวเราปรับตัวต่อมลภาวะและสิ่งต่างๆ ทั้งจากสิ่งแวดล้อมและความเครียด

  • Silicon กระตุ้นการทำงานของเซลล์ผิวในชั้นหนังกำพร้า (Keratinocyte) ช่วยปกป้อง เสริมการอุ้มน้ำ และช่วยให้สีผิวสม่ำเสมอ

(Image from Exsymol Monaco)

  • Silicon จะไปจับกับช่องว่างระหว่างเส้นใย Fiber ที่เป็น Matrix ต่างๆ ใน Dermis ให้ผิวเรามีความนุ่มแน่น แข็งแรง

(Image from Exsymol Monaco)

  • เมื่อเราอายุเพิ่มขึ้น ปริมาณของ Silicon จะลดลง อาจจะเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เส้นใยต่างๆ ในผิวไม่กระชับ เกิดริ้วรอยขึ้นมา
  • การเสริม Silicon ก็อาจจะมีคุณสมบัติเสริมการทำงานของ Fibroblast เสริมการสังเคราะห์คอลลาเจน ให้ผิวกระชับ แข็งแรง

(Image from Exsymol Monaco)

  • ระหว่างชั้นหนังกำพร้า กับหนังแท้ มันจะมีโครงสร้างที่เรียกว่า Dermal-Epidermal Junction หรือ DEJ ซึ่งสำคัญมาก เพราะจะพยุงเอาโครงสร้างผิวเอาไว้ พอเราอายุเพิ่มขึ้น DEJ จะยุบ แล้วทำให้เกิดริ้วรอยร่องลึกขึ้นมา

(Roig-Rosello, E.; Rousselle, P. The Human Epidermal Basement Membrane: A Shaped and Cell Instructive Platform That Aging Slowly Alters. Biomolecules 2020, 10, 1607. https://doi.org/10.3390/biom10121607)

  • เจ้า Silicon นี้ยังไปช่วยให้ชั้น DEJ มีความแข็งแรงขึ้นด้วย

(Image from Exsymol Monaco)

สำหรับสูตรผสมของ Silanetriol กับ Hyaluronic acid นั้นมีชื่อทางการค้าว่า Epidermosil ซึ่งเอา Silanetriol มาเป็นระบบนำส่งให้ Hyaluronic acid เข้าผิวได้ดีขึ้นค่ะ

ทางแบรนด์ได้ทำแผนภาพจำลองเพื่อเปรียบเทียบว่า การใช้ Silicium มาเป็นระบบนำส่งนั้น ช่วยเสริมให้ Hya เข้าไปที่ชั้นลึกของหนังกำพร้าได้ดีขึ้น

(Image from Exsymol Monaco)

ซึ่งทางผู้ผลิตวัตถุดิบบริษัท Exsymol Monaco ได้ทดสอบประสิทธิภาพในอาสาสมัคร โดยให้อาสาสมัครทาผลิตภัณฑ์ที่มี Epidermosil 5% (ซึ่งเป็นความเข้มข้นเดียวกับใน HA Booster serum) วันละ 2 ครั้งเป็นเวลา 28 วันพบว่าอาสาสมัครมีริ้วรอยที่ตื้นขึ้น ผิวเรียบเนียนขึ้น และมีความชุ่มชื้นเพิ่มขึ้น

(Image from Exsymol Monaco)

แค่ส่วนผสมชุดแรกก็ปังแล้ว ยังเสริมมาด้วย

  • Betaine ซึ่งเป็นอนุพันธ์ของกรดอะมิโน Glycine มีประโยชน์ที่ดีกับผิวหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการให้ความรู้สึกที่ดีกับผิว ลดการระคายเคือง มีรายงานวิจัยทดสอบประสิทธิภาพในระดับเซลล์เพาะเลี้ยง พบว่า Betaine มีคุณสมบัติในการลดการสร้างเม็ดสี Melanin (Cho et al., Food Sci Biotechnol. 2017;26(5):1391-1397.) มีอีกงานหนึ่งทดสอบประสิทธิภาพในระดับเซลล์เพาะเลี้ยงเช่นกัน พบว่าการทาสารในกลุ่ม Osmolyte อย่าง Betaine นั้นมีประโยชน์ในการเสริมความแข็งแรงให้แก่ Barrier ผิว โดยไปเพิ่มการทำงานของ Tight junction ที่เป็นช่องแคบๆ ระหว่างเซลล์ ทำหน้าที่ปกป้องไม่ให้สิ่งไม่ดีจากภายนอกเข้าสู่ในผิว และลดการเสียน้ำและ NMF ตัวเล็กๆ ออกไปภายนอก (El-Chami et al., Br J Dermatol. 2021;184(3):482-494. doi: 10.1111/bjd.19162.)
  • Jania rubens extract เป็นสารสกัดจากสาหร่ายสีแดง พอได้ไปตามอ่านข้อมูลจากผู้ผลิตวัตถุดิบ Actiporine 8.G ของบริษัท Codif ประเทศฝรั่งเศส (ประกอบด้วย Glycerin (and) Water (and) Jania Rubens extract) เลยพบว่าน้องมีกลไกที่น่าสนใจมากเว่อร์ คือ น้องไปกระตุ้นให้เกิดการสร้างประตูขนส่งกลุ่ม Aquaporin-8 (AQP8) ขึ้นมา ปกติถ้าพูดถึง AQP เรามักจะพูดถึง AQP3 ซึ่งเป็น AQP ที่เป็นประตูส่งน้ำและ Glycerin เข้าเซลล์ผิว ให้ผิวเราชุ่มชื้น แข็งแรง ส่วนเจ้า AQP8 นั้นมีการพูดถึงว่าเป็นตัวขนส่งแอมโมเนีย เพื่อให้ผิวเราเอาไปสร้าง Urea ที่เป็น 1 ในสารจับน้ำตามธรรมชาติ (Natural moisturizing factor; NMF) ของผิวเรา

หน้าตาของสาหร่าย Jania rubens

เป็นตัวน้อยกลมๆ

(Image from Codif)

ทีนี้ความน่าสนใจอยู่ที่ว่า Codif ไปเจอว่า AQP8 นั้น นอกจากช่วยขนส่งแอมโมเนียแล้ว น้องยังไปช่วยผลักเอา Hydrogen peroxide ออกจากผิว ซึ่งในเซลล์เรานี่จะมีหน่วยที่ชื่อ Mitochondria ที่ทำหน้าที่สร้างพลังงานอยู่ตลอดเวลา เป็นเหมือนโรงไฟฟ้าของเซลล์ (เรียกกันสวยๆ ในวงการว่า Power house of cell) เวลาน้องทำงานมันก็จะได้พวกอนุมูลอิสระต่างๆ ออกมา ร่างเราก็จะมีกลไกในการกำจัดอนุมูลอิสระ แต่ถ้าอนุมูลอิสระมันมากไป มันก็จะไปทำลายเซลล์เรา แล้วตัวที่โดนทำลายแรกๆ ก็คือเจ้า Mitochondria นี่แหละ ถ้าไม่มีน้อง เซลล์ก็ไม่มีพลังงาน อยู่ไม่ได้ แก่ตายไป

วัตถุดิบนี้ ไปเสริมการสร้าง AQP8 ที่ไปช่วยผลักเอา Hydrogen peroxide ทิ้งไป Mitochondria เลยรอด เราก็รอดด้วย

ซึ่งทางบริษัท Codif ก็มีการทดสอบประสิทธิภาพทั้งในระดับเซลล์เพาะเลี้ยงและในอาสาสมัคร ก็เจอว่าให้ประโยชน์ที่ดีในด้านของการชะลอวัย ลดเลือนริ้วรอย

โดยรวมส่วนผสมของสารบำรุงที่ใส่มาใน HA booster serum นี่คือตัวตึงด้านการเติมน้ำ ผิวกระชับ แข็งแรง และดูแลผิวด้านริ้วรอย ชะลอวัย อาจจะได้เรื่องความรู้สึกสบายผิว การระคายเคือง และ whitening อยู่ด้วย

และไม่มีส่วนผสมของสารที่ไม่เป็นมิตรกับผิว

มาให้คะแนนกันดีกว่าค่ะ

  1. สารบำรุง ถ้ามองในแง่ของการเป็นเซรั่มไฮยาชิ้นหนึ่ง คือ น้องทำมาได้จัดเต็มมาก ไม่ใช่แค่เติมน้ำ แต่มันมีมิติอื่นซ่อนไปมากกว่านั้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้เทคนิค Silicium delivery หรือการเลือกใช้สารที่มาเสริมกันอย่างลงตัว เพื่อดูแลริ้วรอย ให้ไป 5 ฟลาสก์
  2. ส่วนผสมอื่นๆ ไม่มีสารที่ไม่เป็นมิตรกับผิว เลยไม่มีที่ให้หักคะแนน รับไป 5 ฟลาสก์
  3. การใช้งาน ส่วนตัวค่อนข้างชอบความบางเบาของเนื้อ ไม่เหนียวหนึบ ลงแล้วทาสกินแคร์ตัวอื่นต่อไปได้เลยไม่ต้องรอนาน ในแง่ของด้านผิวกระชับ ริ้วรอย ส่วนตัวยังไม่ได้มีปัญหาด้านนี้เลยยังฟันธงชัดเจนไม่ได้ แต่ก็ได้ความรู้สึกว่าผิวดีขึ้นจากการใช้มาเดือนกว่าๆ รับไป 5 ฟลาสก์

สุดท้ายนี้ขอขอบคุณทางแบรนด์ AlphaScience สาขาประเทศไทยด้วยนะคะ ที่จัดส่งสินค้าดีๆ มาให้ได้ทดลองใช้ และขอบคุณทุกท่านด้วยค่ะที่ติดตามรับชมมาจนจบ

สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ทางแบรนด์โดยตรงได้เลยค่ะ

https://www.facebook.com/AlphascienceThailand

สำหรับท่านที่สนใจสามารถติดตามเข้าไปดูที่ Official mall ได้ตามลิงค์ด้านล่างนี้ได้เลยค่ะ

Lazada: https://invol.co/cla9tuw

Shopee: https://invol.co/cla9tvv

Disclaimer: ผลิตภัณฑ์นี้ได้รับการสนับสนุนจากทางแบรนด์ AlphaScience สาขาประเทศไทย การรีวิวครั้งนี้เป็นการวิเคราะห์ส่วนผสม/วัตถุดิบตามหลักการทางวิทยาศาสตร์เครื่องสำอางและอาศัยความเห็นส่วนบุคคล และผู้เขียนไม่ได้มีผลประโยชน์ใดๆในการขายสินค้า โปรดใช้วิจารณญาณ

Image

[Beauty Update] Customization skincare routine ให้เหมาะกับความต้องการของผิวไปกับ Alphascience skincare quiz

วันนี้ขอมารีวิว Alphascience skin quiz ที่หน้าเว็บของแบรนด์ Alphascience International

เชื่อว่าหลายๆ ท่านเคยได้ผ่านตาแบรนด์ Alphascience มาบ้าง ในบ้านเราก็ได้คุณเข้มมาเป็น Brand ambassador ค่ะ และได้ข่าวแว่วมาว่ากำลังจะจัดอีเวนท์ Grand opening ในเร็วๆ นี้ด้วยนะคะ

ทางเพจเคยได้นำเสนอคอนเทนท์แนะนำแบรนด์ Alphascience ไว้พักใหญ่ๆ แล้ว ท่านที่สนใจสามารถติดตามรับชมได้ที่ลิงค์นี้เลยค่ะ

>>Link แนะนำแบรนด์ Alphascience<<

Alphascience เองมีสินค้าออกมามากมายหลายชนิด แล้วก็มีบริษัทที่นำเอาสินค้าของแบรนด์เข้ามาจำหน่ายอย่างเป็นทางการแล้วค่ะ ทีนี้หลายๆ คนอาจจะเริ่มเกิดคำถามว่า สินค้าตั้งมากมาย เราจะเลือกแบบไหนให้เหมาะกับผิวเราดี

ทางนี้เลยมานำเสนอ Alpha-routine ที่ทางแบรนด์ Alphascience ออกแบบมาให้เราเข้าไปทำแบบสอบถามง่ายๆ สั้นๆ เพื่อเลือกสินค้าที่เหมาะสมกับเราค่ะ สามารถติเข้าไปเล่นได้ที่ลิงค์นี้นะคะ

>>Link ไปเล่น Alphascience skin quiz<<

หรือเข้าไปได้จากภาพ Alpharoutine ที่หน้าเว็บไซต์ของแบรนด์ Alphascience ค่ะ

เข้ามาแล้วคลิ้กที่ปุ่ม Start ได้เลยค่ะ

เข้ามาแล้วจะมีคำถามให้ตอบ 5 ข้อนะคะ ได้แก่

  • เพศ
  • ความรู้สึกแห้งบริเวณผิว ให้เลือกว่าแห้งเฉพาะ U-zone หรือ ทั้งหน้า หรือ ไม่รู้สึกแห้งเลย
  • ความรู้สึกมันบริเวณผิว ให้เลือกว่ามันเฉพาะ T-zone หรือ ทั้งหน้า หรือ ไม่รู้สึกว่ามันเลย
  • อายุ (ระบุเป็นช่วง)
  • ปัญหาผิวที่กำลังกังวล ข้อนี้ให้เลือกปัญหาที่รู้สึกว่ากวนใจเราทุกอย่างเลยค่ะ ทางเราได้ทำโพยมาให้แล้วค่ะ

พอเลือกเสร็จ ระบบก็จะแนะนำผลิตภัณฑ์มาให้เรา

ของหญิง ระบบวิเคราะห์แล้วเลือกมาให้เป็น 3 ชิ้นนี้นะคะ ซึ่งตอนนี้ก็ใช้ HA booster กับ Tannic [CF] serum อยู่พอดีเลย ตรงกับปัญหาเด๊ะๆ

สำหรับเซรั่มวิตามินซีของทางแบรนด์ Alphascience นั้น มีด้วยกัน 3 สูตร คือ Tannic [CF], Phytic [TC] และ Alphabright ค่ะ

เซรั่มนี้มีจุดเด่นอย่างไร เลือกชิ้นไหนดี สามารถติดตามรับชมได้จากคอนเทนท์ด้านล่างนี้ได้เลยค่ะ

>>Click อ่าน preview serum วิตามินซีทั้ง 3 สูตรของ Alphascience <<

โดยในโอกาสถัดไปทางเพจจะมานำเสนอบทวิเคราะห์ส่วนผสมของเซรั่ม HA booster โดยละเอียดต่อไปค่ะ

Disclaimer: self opinion, non-sponsored content

Image

รีวิว/วิเคราะห์ส่วนผสมครีมโฟมล้างหน้า CeraVe cream-to-foam Hydrating Cleanser

สำหรับคอนเทนท์นี้เราลองมาดูรีวิว/วิเคราะห์ส่วนผสมโฟมล้างหน้าจากแบรนด์ CeraVe รุ่น Hydrating cream-to-foam cleanser กันบ้างนะคะ

น้องเป็นโฟมล้างหน้าที่พัฒนามาได้ค่อนข้างดีโดยเลือกใช้ Surfactant ที่ดัดแปลงมาจากกรดอะมิโน (Amino acid-based surfactant) ซึ่งสามารถให้ฟองได้แต่ก็ยังมีความอ่อนโยนกับผิว เสริม Ceramide ด้วย MVE technology ที่เป็นเทคโนโลยีเด่นของทางแบรนด์ ร่วมกับ สารจับน้ำให้ผิวตามธรรมชาติ ที่เรียกกันว่า Natural moisturizing factor (NMF) อีกหลายชนิด ซึ่งเดี๋ยวจะได้เล่าให้ฟังตอนวิเคราะห์ส่วนผสม

สำหรับอีก 2 รุ่น ที่เป็น Foaming cleanser กับ Hydrating cleanser ทางเพจเคยรีวิวไว้ก่อนหน้านี้ สามารถติดตามย้อนหลังได้ที่ Blog ด้านล่างนี้เลยค่ะ

>>Click อ่านรีวิว CeraVe Foaming cleanser กับ Hydrating cleanser<<

หน้าตาของน้องเป็นประมาณนี้ค่ะ

ในภาพจะเป็นรุ่นหลอดขนาด 100 กรัม จะมีรุ่นขวดปั๊มขนาด 8 oz./236 ml ด้วยนะคะ

ส่วนของฟองจะเป็นฟองแบบเล็กละเอียดคล้ายครีม

ค่า pH หลังละลายน้ำจะอยู่ทีป่ระมาณ 6 ซึ่งก็ถือว่าใกล้เคียงกับผิวอยู่

ส่วนผสมเป็นดังนี้

สำหรับส่วนผสมวันนี้แบ่งเป็น 5 กลุ่มตามสีตามคุณสมบัติ

เนื่องจากเป็นกลุ่ม Cleanser เลยขอเริ่มที่สีน้ำตาลที่เป็นกลุ่มของ Surfactant ที่เป็นพระเอกในการทำความสะอาด

  • Sodium methyl cocoyl taurate ตัวนี้เป็น Surfactant ที่ได้จากการดัดแปลงกรดอะมิโน Methyl taurine ด้วยไขมันจากมะพร้าว ซึ่งตัวน้องให้ฟองที่ดี แล้วก็มีความอ่อนโยนสูง
  • Coco-betaine กับ Sodium cocoyl isethionate สองตัวนี้ก็เป็น Surfactant ที่มีความอ่อนโยนต่อผิว
  • PEG-6 caprylic/capric glycerides นี้เด่นในแง่ของการทำความสะอาดพวกเมคอัพ แล้วก็ให้ฟีลลิ่งที่นุ่มๆ ผิว ซึ่งก็ตอบเคลมเรื่องของผลิตภัณฑ์สามารถใช้ล้างเมคอัพไปพร้อมๆ กับการล้างหน้าในขั้นตอนเดียวกัน

สีชมพู เป็นกลุ่มของไขมันต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ในการดูแล Barrier ผิว

  • Ceramides 3 ชนิด ไดเแก Ceramide NP, AP และ EOP ซึ่งถือว่าเป็นการเลือกเซราไมด์มาเบลนด์กันให้คล้ายกับผิวเรา เพราะว่าผิวหนังของคนเราประกอบด้วย Ceramides อยู่หลายชนิด โดยสามารถแบ่ง Ceramides ในผิวได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ ตามชนิดของกรดไขมันที่เป็นองค์ประกอบในโมเลกุล คือ Ceramides กลุ่ม N เป็น Ceramide ที่มีกรดไขมันชนิดปกติ กลุ่ม A มีกรดไขมันที่มีหมู่ Hydroxyl ที่ตำแหน่ง alpha-carbon และกลุ่ม EO มีกรดไขมันชนิดที่มีการ Esterified บริเวณ Hydroxyl ตำแหน่ง Omega ว่ากันว่า เซราไมด์กลุ่ม EO จะมีความสำคัญมากที่สุดในการทำให้ Barrier ของผิวแข็งแรง
  • Cholesterol เป็นไขมันอีกชนิดที่เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของ Barrier ผิว
  • Phytosphingosine เป็นเบสชนิดหนึ่งกลุ่ม Sphingoid ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในโครงสร้างของ Ceramide ตัว Phytosphingosine มีประโยชน์ที่ดีกับผิวหลายประการ และมีการศึกษาถึงประโยชน์อยู่บ้าง ที่น่าสนใจคือ น้องมีคุณสมบัติที่ดีในการดูแลการอักเสบและระคายเคืองผิว และเสริมการบวนการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างหน้าที่ (Differentiation) ของเซลล์ผิวในชั้นหนังกำพร้า (Keratinocyte) ให้เป็นตัวเต็มไวที่ทำงานได้สมบูรณ์ (Mol Med. 2006; 12(1-3): 17–24.)

สีฟ้า เป็นกลุ่มของสารเพิ่มความชุ่มชื้นผ่านการเติมน้ำให้ผิว ได้แก่ สารในกลุ่มของ NMF เช่น กรดอะมิโน Sodium lactate, Hydroxyethyl urea

สีม่วง Hyaluronate เป็นตัวเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิว

สีเขียว Salicylic acid เป็น BHA ที่มีคุณสมบัติในการละลายสิวอุดตัน (Comedolytic)

ส่วนของเบสและสารปรุงแต่งอื่นๆ ไม่มีส่วนผสมที่ไม่เป็นมิตรกับผิว และมีการเลือกใช้สารโพลิเมอร์กลุ่มประจุบวกในกลุ่มของ Polyquaternium เข้ามาเพื่อเคลือบปกป้องผิว และลดการระคายเคืองจาก Surfactant ในสูตร

มาให้คะแนนกันดีกว่าค่ะ เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ Cleanser เลยขอปรับการให้คะแนนเป็น สารทำความสะอาด ส่วนผสมอื่นๆ และการใช้งาน

  1. สารทำความสะอาด เลือกชนิดที่มีความอ่อนโยนกับผิว มีความสามารถในการทำความสะอาดที่ดี และบางชนิดมีฟอง ซึ่งก็ตรงตามเคลมเรื่อง Cream-to-foam และมี PEG-6 caprylic/capric glyceride ที่ดูแลเรื่องการทำความสะอาดพวกเมคอัพตามเคลม ให้ไป 5 ฟลาสก์
  2. ส่วนผสมอื่นๆ ในด้านของสารบำรุง มีการใช้สารไขมันที่ดูแล Barrier ผิวเข้ามา เสริมพวก NMF และ มี BHA เป็นส่วนประกอบ สำหรับสารอื่นๆ นั้น ไม่มีสารที่ไม่เป็นมิตรกับผิว เลยให้ไป 5 ฟลาสก์
  3. การใช้งาน ส่วนตัวคิดว่าน้องเป็น Cleanser ตัวนึงที่ทำมาได้ดี หลังล้างไม่แห้งตึงมากเหมือนพวกที่เป็น Soap-type cleanser แต่ด้วยความเป็นคนชอบฟองเยอะๆ และชอบให้ Cleanser มีกลิ่นหอม เลยขอให้ 4 ฟลาสก์ เนื่องจากฟองยังไม่ได้เยอะมาก และตัวกลิ่นจะเป็นกลิ่นของส่วนผสมที่เป็นวัตถุดิบอยู่

ท่านทีสนใจสามารถตามไปส่องเพื่ออัพเดทโปรโมชั่นใหม่ๆ กับ Official Mall ของทางแบรนด์ได้เลยนะคะ

Shopee Mall: https://invl.io/clfdg1w

Laz Mall: https://invol.co/clfdg2j

Disclaimer/conflict of interests: ผลิตภัณฑ์นี้ได้รับมาจากทางแบรนด์ CeraVe การรีวิวครั้งนี้เป็นการวิเคราะห์ส่วนผสมตามหลักการทางวิทยาศาสตร์เครื่องสำอางและอาศัยความเห็นส่วนบุคคล โปรดใช้วิจารณญาณ ผู้เขียนไม่ได้รับค่าตอบแทนในการเขียนรีวิวนี้และไม่ได้มีผลประโยชน์ใดๆ ในการขายสินค้า แต่ผู้เขียนอาจได้รับส่วนแบ่งจากการคลิ้กลิงค์ไปทำรายการ ณ ร้านค้า

Image

รีวิว/วิเคราะห์ส่วนผสมมูสโฟมล้างหน้านุ่มแน่น Cloud จาก The Labatorian

ก่อนหน้านี้ทางเพจได้นำเสนอมูสโฟมล้างหน้าชิ้นหนึ่งที่มีฟองโฟมมูสแน่นนุ่มสู้มือไป วันนี้ขอหยิบเอาส่วนผสมของน้องมาวิเคราะห์กันต่อ

ผลิตภัณฑ์มูสโฟมนี้มีชื่อว่า Cloud Fluffy amino gentle barrier cleanser จากแบรนด์ the Labatorian ซึ่งมีผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจหลายๆ ชิ้น และทางเพจได้เคยนำเสนอไปก่อนหน้านี้

สำหรับท่านที่พลาด สามารถรับชมรีวิว/วิเคราะห์ส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจจากทางแบรนด์ได้ตามลิงค์เลยนะคะ

เซรั่มสำหรับดูแลผิวที่เป็นสิวง่าย Agness >>Click

เซรั่มสำหรับดูแลผิวที่มีปัญหาจุดด่างดำ Clair >>Click

และเซรั่มดูแล Barrier ผิวสุดปัง Brikk ที่พึ่งเปิดตัวไม่นานมานี้ >>Click

วันนี้ถึงคิวของน้อง Cloud แล้วค่ะ ขอแอบอวดความน่ารักของ Box set ที่ทางแบรนด์ส่งมาให้สักหน่อย

น่ารักเนอะ

สำหรับตัวมูสนี้มาในกระป๋องอะลูมิเนียมแบบอัดก๊าซ ซึ่งเรียกตำรับแบบนี้กันว่า Aerosol ค่ะ

เนื้อโฟมก็นุ่มแน่นสู้มือสุดๆ

ลองวัดค่า pH หลังละลายมูสในน้ำได้อยู่ที่ราวๆ 5 ซึ่งถือว่าทำมาได้ใกล้เคียงกับค่า pH ของผิว

รายการส่วนผสมเป็นดังนี้นะคะ

สำหรับส่วนผสมวันนี้มี่ทำไว้ สีตามกลุ่ม ประโยชน์และวัตถุประสงค์ในการใช้

เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจึงขอเปิดประเดิมด้วยกลุ่มสารทำความสะอาดค่ะ

  • กลุ่มสารทำความสะอาดแทนด้วยสีส้ม ซึ่งมีด้วยกัน 3 ชนิด คือ Lauryl hydroxysultaine, Disodium cocoyl glutamate และ Caprylyl/capryl glucoside ซึ่งเป็นสารทำความสะอาดชนิดที่อ่อนโยนกับผิวทั้ง 3 ตัว
    • ขอ Focus ที่ Lauryl hydroxysultaine ซึ่งเป็นสารทำความสะอาดที่น่าสนใจตัวหนึ่ง มีความอ่อนโยนที่ดี ทำความสะอาดดี ฟองดี และยังมีความคงตัวสูง ไม่สลายตัวปลดปล่อยสารที่ไม่เป็นมิตรออกมาง่ายๆ
    • Disodium cocoyl glutamate เป็นสารทำความสะอาดชนิดอ่อนโยนที่ดัดแปลงจากกรดอะมิโน Glutamic acid มีความอ่อนโยนเช่นกัน
    • ส่วน Caprylyl/capryl glucoside นั้นเป็นสารทำความสะอาดชนิดไม่มีประจุ มีความอ่อนโยนเช่นเดียวกัน
  • กลุ่มสารที่ดูแลเรื่องการระคายเคือง แทนด้วยสีฟ้า ซึ่งมีด้วยกัน 4 ตัว ขอเลือกกล่าวถึงตัวที่น่าสนใจ 2 ตัว คือ
    • Acetyl dipeptide-1 cetyl ester น้องเป็นเปปไทด์ที่เด่นในแง่ของการลดความรู้สึกระคายเคือง ซึ่งมีการศึกษารองรับในอาสาสมัคร โดยให้อาสาสมัครทา Capsaicin เพื่อเกิดการระคายเคือง แล้วทาผลิตภัณฑ์ที่มีสารตัวนี้ลงไป พบว่า สารนี้สามารถลดการระคายเคืองและความรู้สึกแสบร้อนที่เกิดขึ้น (J Eur Acad Dermatol Venereol. 2016;30 Suppl 1:18-20.)
    • Hydroxyacetophenone มีชื่อทางการค้าว่า Symsave H เป็นสาร Muti-functional ให้ประโยชน์เป็นสารเพิ่มประสิทธิภาพของสารกันเสีย ให้คุณสมบัติเสริมในด้านการลดการระคายเคือง และเป็น Antioxidant
  • สีชมพู O-cymen-5-Ol มีอีกชื่อว่า Isopropyl methylphenol เรียกกันย่อๆ ว่า IPMP น้องเป็นสารกลุ่ม Terpenes ที่พบได้ในพืชหลายๆชนิด มีรายงานการวิจัยสนับสนุนถึงคุณสมบัติระงับเชื้อราและแบคทีเรียบางชนิด (Int Dent J. 2011;61 Suppl 3:33-40.) ข้อมูลจากผู้ผลิตวัตถุดิบระบุว่าสารนี้ใช้เป็น Preservative booster ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของสารระงับเชื้อชนิดอื่นๆในตำรับ และมีคุณสมบัติในการควบคุมความมัน และลดจำนวนเชื้อก่อโรคสิว (Ref: TDS ParbFree® IPMP100)
  • สีม่วง คือ วิตามินอี ซึ่งเป็น Antioxidant ที่ละลายได้ในไขมัน

อีกจุดที่น่าสนใจคือในตำรับมีการใช้ Buffer เพื่อควบคุมค่า pH ให้คงที่ โดยใช้ Citric acid คู่กับ Sodium citrate และมีรายงานว่าการใช้ Buffer กรดอ่อนมีประโยชน์ในการดูแลผิว (แต่ทั้งนี้ขึ้นกับค่า pH ของตำรับด้วย)

ในภาพรวมคือเป็น Cleanser ชิ้นหนึ่งที่ทำมาได้น่าสนใจ เลือกใช้สารทำความสะอาดที่อ่อนโยน แต่คงไว้ซึ่งฟองโฟมหนานุ่มแน่น และเสริมสารบำรุงที่ดูแลผิวได้ในหลายๆ ด้าน ถึงแม้ว่าพวก Cleanser จะสัมผัสผิวไม่นาน การมีสารบำรุงอยู่ก็น่าจะดีกว่าไม่มี และสารลดระคายเคืองอย่าง Acetyl dipeptide-1 cetyl ester ก็อาจจะให้ประโยชน์ในการลดการระคายเคืองจากการล้างหน้าได้

มาให้คะแนนกันดีกว่าค่ะ

เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดขอปรับหัวข้อการให้คะแนนเล็กน้อยนะคะ

  1. สารทำความสะอาด เป็นเหมือนหัวใจหลักของ Cleanser ซึ่งทางแบรนด์เลือกใช้มาอย่างดี เป็นชนิดที่อ่อนโยนหมด ส่วนเรื่องฟองก็แจ่ม ดังนั้นใครสายฟองแต่กลัว surfactant แรงๆ ตัวนี้ก็น่าจะเป็นทางเลือกที่ดี ให้ไป 5 ฟลาสก์
  2. สารบำรุงและส่วนผสมอื่นๆ สารบำรุงที่ใส่ลงมามีประโยชน์หลายอย่าง เช่น ดูแลเรื่องการระคายเคือง ให้ความรู้สึกสบายผิว ดูแลเรื่องสิวและเรื่องของความชุ่มชื้นผิว สำหรับส่วนผสมอื่นๆ นั้น ไม่มีสารที่ไม่เป็นมิตรกับผิว รับไป 5 ฟลาสก์เช่นกัน
  3. การใช้งาน ส่วนตัวเป็นคนบ้าฟองอยู่แล้ว ดังนั้นตัวนี้คือตอบโจทย์ค่ะ คนผิวแห้งแบบดิฉันอย่านวดนานจนเพลิน จะรู้สึกแห้งตึงได้ ครั้งแรกๆ ดิฉันนวดสนุกมากยิ่งนวดฟองยิ่งแน่นยิ่งนุ่ม กลายเป็นนวดเพลินไป หน้าแห้ง ให้ลองนวดประมาณ 30 วิ พอสนุกสนานก็ไปล้างออก ก็ไม่แห้งตึงระคายเคืองแล้วค่ะ สำหรับผิวมันก็เพิ่มเวลาใช้งานไปตามความเหมาะสมค่ะ ให้ไป 5 ฟลาสก์

สุดท้ายนี้ต้องขอขอบคุณทางแบรนด์ The labatorian ด้วยนะคะ ที่ส่งผลิตภัณฑ์ดีๆ มาให้ได้รู้จัก และขอบคุณทุกท่านด้วยนะคะ ที่ติดตามรับชมมาจนจบ

สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดต่อสอบถามได้ที่

IG : the_labatorian

Line official : @labatorian

Facebook : Labatorian

Disclaimer/conflict of interests: ผลิตภัณฑ์นี้ได้รับการสนับสนุนจากทางแบรนด์ The labatorian การรีวิวครั้งนี้เป็นการวิเคราะห์ส่วนผสม/วัตถุดิบตามหลักการทางวิทยาศาสตร์เครื่องสำอางและอาศัยความเห็นส่วนบุคคล และผู้เขียนไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเกี่ยวกับบริษัทเครื่องสำอางใดๆ โปรดใช้วิจารณญาณ

Image

[Mini Review] เซรั่มมะขาม สูตรพลิกโฉมมาในส่วนผสมสุดปัง จากแบรนด์เขาค้อทะเลภู

เรื่องมีอยู่ว่า บังเอิญไปได้ Sample เซรั่มมะขามของแบรนด์เขาค้อทะเลภู ซึ่งเป็นแบรนด์เครื่องสำอางธรรมชาติแบรนด์ดังแบรนด์หนึ่งที่อยู่คู่บ้านเรามานานมากแล้วค่ะ

แบรนด์นี้เคยออกคอลเลคชั่นที่คอลแลบกับคุณสายป่าน บตบก คนสวยของเราอยู่หลายชิ้น และไม่แน่ใจว่าชิ้นนี้ได้คอลแลบคุณสายป่านด้วยไหม

ได้น้องมาจากการช็อปปิ้งออนไลน์ผ่านเว็บวัตสัน

แรกๆ ก็ไม่ได้อะไรนะ แต่ด้านหลังมีรายการส่วนผสมแนบมาด้วย พอได้ดูส่วนผสมแล้วแบบว่า หูว์ ส่วนผสมร้ายกาจใช่เล่นนะเนี่ย

เดี๋ยวนี้เขาพัฒนาเหมือนกันแฮะ เลือกส่วนผสมมาได้ค่อนข้างดีและปังมากค่ะ

จากส่วนผสมก็จะเห็นได้ว่าถึงจะบอกว่าเป็นเซรั่มมะขาม แต่นางก็แอบมีส่วนผสมของสารบำรุงอยู่หลายชนิดเหมือนกัน ถ้าเราแบ่งเป็นกลุ่มๆ ก็จะประมาณนี้ค่ะ

กลุ่มสีเขียว: วิตามินซี ซึ่งทางแบรนด์เลือกมา 2 รูปแบบ คือ Ascorbyl tetraisopalmitate ซึ่งละลายในน้ำมัน กับ Magnesium ascorbyl phosphate ซึ่งละลายได้ในน้ำ

โดยประโยชน์ของวิตามินซีที่เด่นๆ ก็จะเป็นในด้านของการเป็น Antioxidant เป็น Whitening โดยผ่านการยับยั้งเอนไซม์ Tyrosinase ที่เป็นเอนไซม์สำคัญในขั้นตอนการสร้าง melanin รวมไปถึงยังมีประโยชน์ในการเป็นส่วนหนึ่งของการสังเคราะห์คอลลาเจน และดูแลเรื่องการอักเสบระคายเคือง

กลุ่มสีฟ้า: ให้เป็นสารเติมน้ำเพิ่มความชุ่มชื้น

  • Betaine ซึ่งเป็นอนุพันธ์ของกรดอะมิโน Glycine นอกจากด้านการเติมน้ำ น้องยังมีประโยชน์แฝงในเรื่องการปรับฟิลลิ่งของสูตรตำรับ และให้ความรู้สึกสบายผิว
  • ไฮยาลูรอน ที่เติมน้ำให้ความชุ่มชื้นผิว

สีชมพู: เป็นสารบำรุงที่เด่นเรื่อง Whitening ก็จะมีสารสกัดจากชะเอม มะขาม Arbutin และใบ Mulberry

สีส้ม: คือ ความปังในการพัฒนาสูตร โดยการเลือกใช้ Dimethyl isosorbide (DMI) ที่มีคุณสมบัติพิเศษในการเสริมการดูดซึมสารอื่นผ่านผิว (เป็น Penetration enhancer)

โดยรวมคือนอกจากเป็น Whitening serum ที่น่าสนใจแล้วยังดูแลผิวด้านอื่นๆ เสริมเข้ามา และการเลือกใช้วิตามินซี 2 รูปแบบ รูปแบบหนึ่งละลายได้ในน้ำ อีกรูปแบบละลายได้ในน้ำมัน ก็น่าสนใจดีค่ะ

นอกจากนี้ก็ไม่มีน้ำหอม หรือส่วนผสมอื่นที่ไม่เป็นมิตรกับผิวด้วย

ฟีลเซรั่มหลังจากที่ได้ลองใช้ 1 ซอง ถ้วน ก็คือ เนื้อค่อนข้างลื่นผิว ใช้เวลาสักนิดในการซึม/แห้ง แต่ให้ความชุ่มชื้นค่อนข้างดี และเมื่อแห้งไปแล้วไม่เหนียวเหนอะหนะหรือหนักผิว

และอีกจุดที่น่าสนใจคือราคาก็ไม่แพงมาก ราคาเต็มอยู่ที่ 399/30 มล. สำรวจราคาวันที่ 30 ธ.ค. ลดเหลือ 239 ที่วัตสันออนไลน์

ถ้าสนใจก็ตามไปแอบส่องแอบดูได้ค่ะ

https://invol.co/clflhd6

Disclaimer/conflict of interests: ผลิตภัณฑ์นี้ได้รับเป็นของแถมมาจากการซื้อของด้วยเงินส่วนตัว การรีวิวครั้งนี้เป็นการวิเคราะห์ส่วนผสม/วัตถุดิบตามหลักการทางวิทยาศาสตร์เครื่องสำอางและอาศัยความเห็นส่วนบุคคล และผู้เขียนไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับบริษัทเครื่องสำอางใดๆ โปรดใช้วิจารณญาณ

Image

รีวิวเซรั่มฟื้นฟู Barrier ที่เนื้อบางเบาอย่างไม่น่าเชื่อ กับ Brikk 6 in 1 daily skin barrier treatment essence จาก The labatorian

สำหรับ Content นี้จะมาเล่าถึงเซรั่มที่น่าสนใจ ซึ่งทางแบรนด์ออกแบบมาเพื่อฟื้นฟู Barrier ผิวในทุกมิติ จากแบรนด์ The Labatorian ซึ่งทางเพจเราได้นำเสนอบทวิเคราะห์ส่วนผสมของผลิตภัณฑ์หลายๆ ชิ้นไปก่อนหน้านี้ค่ะ

วันนี้จะมาวิเคราะห์เซรั่มน้องใหม่ของทางแบรนด์ ที่พึ่งเปิดตัวเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมานี้ค่ะ

เซรั่มน้องใหม่นี้มีชื่อว่า Brikk ซึ่งว่ากันว่ากว่าทางแบรนด์จะได้สูตรนี้มานั้นผ่านการปรับสูตรมามากกว่า 50 สูตรเลยทีเดียวจนกว่าจะได้สูตรที่ดีงามขนาดนี้

น้องใหม่ Brikk มีหน้าตาประมาณนี้นะคะ

ตัวแพคเกจนั้นมาในขวดแก้วที่ด้านในเป็นฝาปั๊มค่ะ

เนื้อเซรั่มเป็นเนื้อแบบใส จะได้กลิ่นหอมของกุหลาบจางๆ ซึ่งมาจาก Rose water ที่ทางแบรนด์เลือกใช้ นอกจากจะให้ความรู้สึกสบายผิว (Soothing effect) แล้วก็ยังได้กลิ่นหอมด้วย

เกลี่ยได้ค่อนข้างง่าย แรกๆ จะให้สัมผัสลื่นๆ ผิว แต่เมื่อทิ้งไว้สักพัก ไม่ถึง 1 นาที ตัวเซรั่มจะซึม/แห้งไป ให้ความรู้สึกนุ่มนวล ชุ่มชื้น และไม่เหนียวเหนอะหนะ

ค่า pH นั้นอยู่ที่ประมาณ 5 นะคะ ซึ่งถือว่าใกล้เคียงกับค่า pH ของผิว

รายการส่วนผสมนั้นเรียกได้ว่าจัดเต็มคาราเบลมาเกินเบอร์เกินหน้าเกินตาความเป็นเซรั่มใสมาก

ก่อนจะไปดูที่ส่วนผสม เรามาลอง Revised trend ใหม่ล่าสุดของ Barrier ผิวกันค่ะ

ในสมัยก่อนเรากล่าวกันว่า Barrier ผิวประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน คือ

  1. ไขมันที่อยู่ระหว่างเซลล์ Corneocytes (เซลล์ในชั้น Stratum corneum)
  2. Natural moisturizing factor (NMF)
  3. ตัวเซลล์ Corneocyte เองที่เรียงตัวแบบคดเคี้ยว และในเซลล์มีโปรตีน Keratin ที่อัดกันแน่น ทำหน้าที่ปกป้อง Lipid barrier อีกชั้นหนึ่ง ตัวเซลล์ Corneocyte เอง จะมีเปลือกที่เป็นโปรตีนเชิงซ้อน ที่เรียกว่า Cornified envelope หรือ Corneocyte envelope เคลือบอยู่อีกชั้น เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้อีกชั้นหนึ่ง

เราเรียกโมเดลที่แสดงถึงสิ่ง 3 สิ่งนี้ว่า Brick-wall model ตามภาพค่ะ

ทีนี้ถ้าเราย้อนกลับไป เราแบ่ง Barrier ของผิวออกเป็นกลุ่มๆ ค่ะ

  1. Physical barrier คือ ตัวผิวเอง โครงสร้างที่สมบูรณ์ของผิวหนังเป็นตัวปกป้องไม่ให้ของดีๆ ภายในออกไปข้างนอก และป้องกันไม่ให้อันตรายจากภายนอกเข้ามาข้างใน
  2. Chemical barrier คือ พวกสารเคมีต่างๆ ที่ผิวเราสร้างขึ้นมา การรักษาสภาวะ pH ให้เป็นกรดอ่อนๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อก่อโรคโตได้ บางที่อาจจะนับรวม Biochemical barrier เข้ามาไว้ด้วย คือพวก Antimicrobial peptide ที่ผิวเราสร้างขึ้นมาระงับเชื้อก่อโรคต่างๆ ตัวที่ดังๆ ก็เช่น Defensin
  3. Immunological barrier คือ ระบบภูมิคุ้มกันของผิวเรานั่นเอง ที่คอยปกป้องผิวจากทั้งสารเคมี และพวกจุลินทรีย์ต่างๆ
  4. และล่าสุด เราเริ่มมีการพูดถึง Microbiological barrier คือ พวกจุลินทรีย์หลากหลายชนิด และเจ้าแมลง Dermodex ที่อาศัยกันเป็นชุมชน Microbiome น้องมีปฏิกิริยากับผิวเราทำให้ Immune ของผิวเราทำงานอยู่ตลอดเวลา เป็นเหมือนการซ้อมรบ และเป็นเหมือนการกระตุ้นให้ผิวเราสร้างสารต่างๆ ออกมา เพื่อทำหน้าที่ในชีวิตประจำวัน

เจ้า Microbiological barrier นี่แหละ ที่เป็นที่มาของเทรนด์การเลือกใช้ Pre-pro-post biotics ในทางเครื่องสำอางเพื่อสุขภาพที่ดี เพราะถ้า Microbiome ของเราอยู่ในสภาวะสมดุลดี ผิวเราก็จะสมดุลดีไปด้วย

โดยตัว Brikk นั้นเคลมว่าเป็น 6 in 1 Daily ที่ดูแลผิวเสมือนรวมเอาเซรั่ม 6 ขวดเข้าไว้ด้วยกัน ดังนี้

  • Antioxidant ด้วยส่วนผสมของ Antioxidant ชั้นเลิศอย่าง Resveratrol กับ Ferulic acid
  • Anti-pollution ตัวที่น่าสนใจก็คือ Ectoine กับพวกสารที่ฟื้นฟู Barrier ผิวให้แข็งแรง
  • Microbiome ดูแลด้วย Prebiotics
  • Lipid & NMF ฟื้นฟู Barrier ผิวให้แข็งแรง
  • Soothing ให้ความรู้สึกสบายผิว
  • Hydration เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวอย่างยาวนาน

เราลองมาดูส่วนผสมของ Brikk กันนะคะว่าดูแล Barrier ผิวได้ในทุกมิติ และเป็นเซรั่ม 6 ขวดในขวดเดียวกันได้ อย่างไร

ส่วนผสมเป็นดังนี้ค่ะ

สำหรับส่วนผสมของ Brikk นั้นมีใช้หลายสีเพื่อแบ่งกลุ่มนะคะ เรามาลองดูตัวที่น่าสนใจกันค่ะ

  • กลุ่ม Microbiome ใช้แทนด้วยสีเขียวมะกอก
    • ในกลุ่มนี้ประกอบด้วย Prebiotic 2 ชนิด ได้แก่ Inulin และ Beta-glucan และ Post-biotic อย่าง Lactococcus ferment lysate
    • Inulin เป็น Polysaccharide ที่พบได้ในพืชหลายชนิด เช่น Chicory, artichoke ซึ่งจัดเป็น Prebiotic ชนิดหนึ่ง น้องเป็นอาหารของจุลินทรีย์ชนิดดีที่เรียกกันว่า Probiotic ในทางเครื่องสำอางมีการใช้ Inulin เพื่อเป็น Moisturizer โดยข้อมูลจากผู้ผลิตวัตถุดิบกล่าวว่า Inulin มีความสามารถในการเป็น Moisturizer ที่ดีกว่า Hyaluronic acid (Ref: TDS preBIULIN AGA)
    • Beta-glucan เป็น Polysaccharide ที่พบได้ในสิ่งมีชีวิตหลายชนิด และในพืชบางชนิด เช่น Oat ซึ่งนอกจากความสามารถในการเป็น Prebiotic แล้ว ยังมีประโยชน์ในด้านการเป็น Moisturizer และให้ความรู้สึกสบายผิว (Soothing effect
    • Lactococcus ferment lysate เป็นกลุ่มสารที่ได้จากการย่อยระบบที่เลี้ยงจุลินทรีย์ Probiotic อย่าง Lactoccus เราเลยเรียกว่า Postbiotic ข้อมูลจากวัตถุดิบ ProRenew Complex CLR™ กล่าวว่าใช้จุลินทรีย์สายพันธุ์ Lactococcus lactis ซึ่งมีรายงานงานวิจัยสนับสนุนถึงประโยชน์ที่ดีหลายชนิด เช่น คุณสมบัติในการลดการอักเสบของผิวในผิวหนังเพาะเลี้ยง (Lett Appl Microbiol. 2019;68(6):530-536.) เสริมการทำงานของ Barrier ผิวผ่าน Antimicrobial peptide ที่ชื่อ Defensin ซึ่งทำหน้าที่ปกป้องผิวตามธรรมชาติ และเสริมการสร้าง Filaggrin ซึ่งเป็นโปรตีนที่สำคัญตัวหนึ่งของผิว ไม่ว่าจะเป็น เป็นสารตั้งต้นของ NMF และ เป็นส่วนประกอบส่วนหนึ่งของ Cornified envelope ที่ให้ Corneocyte แข็งแรง ปกป้องผิวเราจากอันตรายต่างๆ ในสิ่งแวดล้อม ผลทั้งสองอย่างทดสอบในผิวหนังเพาะเลี้ยง และมีการทดสอบในอาสาสมัครโดยให้ทาตำรับที่มี Lactococcus วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 30 วัน พบว่าผิวหนังของอาสาสมัครมี Barrier ที่แข็งแรงขึ้น วัดจากค่าการระเหยของน้ำจากผิว (Trans-epidermal water loss; TEWL) ที่ลดลง และช่วยปรับสมดุลค่า pH ของผิว (Skin Pharmacol Physiol. 2019;32(2):72-80.)
  • สีบานเย็น เป็นพวกสารที่เสริมคุณสมบัติการเป็น Barrier ของผิว อย่างพวก Ceramide, Cholesterol และ Sphingoid base ที่เป็นโครงสร้างสำคัญของ Ceramide อย่าง Phytoshingosine
  • สีฟ้า เป็นกลุ่มของสารที่เติมน้ำและเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิว ซึ่งมีด้วยกันหลายตัว เช่น
    • Ectoine เป็นกรดอะมิโนชนิดพิเศษที่มีโครงสร้างเป็นวงกลม สร้างโดยแบคทีเรียบางสายพันธ์ที่อาศัยในสิ่งแวดล้อมที่ค่อนข้างโหดร้าย (Extremophile) ทำหน้าที่ปกป้องตัวเขาเองจากอันตรายภายนอก ไม่ว่าจะเป็นทั้งจากปัจจัยกายภาพและเคมี มีการพบว่าตัว Ectoine จะทำหน้าที่ดึงเอาน้ำมาเกาะไว้กับตัวเองแล้วกลายเป็นชั้นโครงสร้างที่ช่วยปกป้องโปรตีนองค์ประกอบต่างๆ ที่สำคัญของเซลล์เอาไว้ เรียกว่าเป็น Ectoine hydrocomplex (Clin Dermatol. 2008;26(4):326–633.) เจ้า Hydrocomplex ดังกล่าวส่งผลดีถึงองค์ประกอบทั้งเซลล์ คือปกป้องเซลล์นั้นให้มีปริมาณน้ำเหมาะสม และทำงานได้ตามปกติ แต่เมื่อปริมาณน้ำต่ำลง จะไปมีผลต่อระบบของการอักเสบทำให้เกิดอาการต่างๆ ตามมา ในกรณีของผิวหนัง การมี Ectoine จะช่วยให้ Lipid barrier ของผิวทำงานได้ตามปกติและมีความแข็งแรง ผิวจึงแข็งแรง และเก็บกักน้ำได้ดี (มีการระเหยของน้ำออกจากผิว/Transepidermal water loss; TEWL น้อย) (Biophys Chem. 2010;150(1–3):37–46.) มีการทดสอบประสิทธิภาพในทางผิวหนังอยู่หลายชิ้น ซึ่งได้กล่าวถึงในบทความวิชาการล่าสุดของ Kauth และ Truvosa (Dermatology and Therapy. 2022;12:295–313) ในภาพรวมคือ Ectoine ให้ประโยชน์ในการปกป้องผิวให้แข็งแรง ลดการระเหยของน้ำออกจากผิว ลดการอักเสบระคายเคือง รวมทั้งดูแลปัญหาผิวอักเสบและระคายเคืองต่างๆ (Skin Pharmacol Physiol. 2004; 17(5):232-7.) ยังมีการทดสอบพบว่า Ectoine ให้ประโยชน์เป็น Whitening ได้อีก โดยไป block ผลจาก MSH ไม่ให้กระตุ้นให้เกิดการสร้าง Melanin ออกมาเมื่อเจอรังสี UV (Antioxidants (Basel). 2020;9(1):63.)
    • Polyquaternium-51 ตัวนี้เป็น Polymer สังเคราะห์ที่มีโครงสร้างคล้ายกับไขมัน Phospholipid บนผิวของเรา ว่ากันว่านางจะเคลือบผิวและเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิว ข้อมูลจากผู้ผลิตวัตถุดิบกล่าวว่าประสิทธิภาพในการเพิ่มความชุ่มชื้นของนางดีกว่า Hyaluronic acid
    • Saccharide isomerate ที่เด่นเรื่องการจับน้ำให้ผิวได้อย่างยาวนาน เพราะน้องสามารถเกาะติดบนผิวได้ดีและอยู่บนผิวได้นาน ถ้าเราไม่ล้างออกไป
    • Betaine ซึ่งเป็นอนุพันธ์ของกรดอะมิโน Glycine ที่นอกจากจะเพิ่มความชุ่มชื้น ยังดูแลเรื่องการระคายเคืองผิว และปรับ Feeling ของสูตรให้ไม่เหนอะหนะไปพร้อมๆ กัน
    • กรดอะมิโน และสารอื่นที่จัดเป็น Natural moisturizing factor หรือ NMF มีคุณสมบัติในการจับน้ำให้แก่ผิว
  • สีเขียว คู่หูคู่ขวัญ Niacinamide (B3) + N-acetyl-D-glucosamine (NAG) เราคงไม่กล่าวถึงประโยชน์ของ B3 และ NAG แบบแยกกัน เพราะทั้ง 2 ตัวก็มีประโยชน์กับผิวมากโขอยู่ สำหรับการใช้ร่วมกันนั้นมีการศึกษาที่น่าสนใจโดย Kimball และคณะเมื่อปี 2010 ให้อาสาสมัครทาครีมที่มีส่วนผสมของ Niacinamide 4% + NAG 2% ในอาสาสมัครจำนวน 101 คน เป็นเวลา 10 สัปดาห์ เทียบกับครีมเปล่าที่ไม่มี B3+NAG พบว่ากลุ่มที่ได้รับครีม B3+NAG มีสีผิวที่สม่ำเสมอขึ้น จุดด่างดำต่างๆ แลดูจางลง (Br J Dermatol. 2010;162(2):435-41.)
  • สีน้ำเงิน สารบำรุงอื่นๆ ยกตัวอย่างบางตัวที่น่าสนใจ เช่น
    • Syn-Hycan (Tetradecyl Aminobutyroylvalylaminobutyric Urea Trifluoroacetate) สารชื่อยาวๆ นี้เป็นเปปไทด์สังเคราะห์ เทคโนโลยีสิทธิบัตร ซึ่งทางผู้ผลิตวัตถุดิบเคลมว่า มีคุณสมบัติในการเสริมการทำงานของ TGF-Beta ที่มีตามธรรมชาติของผิว ซึ่งส่งผลต่อไปให้มีการสังเคราะห์กลุ่มสาร Matrix จำพวก Hyaluron, Lumican และ Decorin ซึ่งมีคุณสมบัติให้ผิวกระชับ ยืดหยุ่น และมีความแข็งแรง รวมทั้งช่วยเสริมการเรียงตัวของคอลลาเจนเดิมในผิวให้อยู่ในโครงร่างที่แข็งแรง (ปกติเวลาเราอายุเพิ่มขึ้นสายเส้นใยของคอลลาเจนจะฉีกขาดไปตามกาลเวลา และมีการเรียงตัวที่ไม่สวยงามไม่เป็นระเบียบแบบเดิม ผิวเลยหย่อนคล้อย ไม่กระชับ)
    • สูตรผสมของ Water (and) Butylene Glycol (and) PEG-60 Almond Glycerides (and) Caprylyl Glycol (and) Glycerin (and) Carbomer (and) Nordihydroguaiaretic Acid (and) Oleanolic Acid รู้จักกันในนาม AC.NetTM จาก Croda ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่เบลนด์กันมาอย่างลงตัวเพื่อดูแลปัญหาสิว ผิวมัน และรูขุมขนกว้าง ข้อมูลจากผู้ผลิตวัตถุดิบยังระบุว่า สารชุดนี้ยังยับยั้งการเจริญของพวก C. acnes ที่ก่อสิว และ P. ovale ที่ก่อปัญหาผิวหลายประการ เช่น รูขุมขนอักเสบ
    • Ferulic acid กับ Resveratrol เป็น Antioxidant ที่น่าสนใจ
  • สีส้ม Hyaluron มากมายหลายรูปแบบ ที่มีประโยชน์ในการเติมน้ำให้กับผิวในหลายๆ ระดับ
  • สีชมพู กลุ่มสารที่ดูแลด้านการระคายเคืองผิว ให้ความรู้สึกสบายผิว (Soothing effect)

ในภาพรวมส่วนผสมของสารบำรุงที่ใส่ลงมาทำงานเสริมกันอย่างลงตัวทั้งในด้านการฟื้นฟู Barrier ผิว ไม่ว่าจะเป็นส่วนของไขมัน ส่วนของโปรตีน Filaggrin พวก NMF และยังดูแลเรื่อง Microbiome รวมทั้งเติมน้ำ ฟื้นฟู ดูแลปัญหาผิวมัน สิว รูขุมขนกว้าง ดูแลเรื่องการอักเสบระคายเคือง และให้ความรู้สึกสบายผิว (Soothing effect) ไปพร้อมๆ กัน สมกับที่เคลมว่าเป็น 6 in 1 Daily จริงๆ

มาให้คะแนนกันดีกว่านะคะ

  1. สารบำรุง หรือ Actives ก็ตามที่ได้เกริ่นไปในด้านบน คือ คุณเขาจัดมาเต็มมาก เอาไปเถอะ 5 ฟลาสก์
  2. ส่วนผสมอื่นๆ ไม่มีสารที่ไม่เป็นมิตรกับผิวอยู่เลย จึงไม่มีที่ให้หักคะแนน รับไป 5 ฟลาสก์
  3. การใช้งาน ก่อนอื่นต้องบอกเลยว่า ผลิตภัณฑ์เสริม Barrier ส่วนใหญ่เนื้อจะค่อนข้างหนัก แต่น้อง Brikk นั้นทำมาได้ดีมาก บางเบา ไม่เหนียวเหนอะหนะ คนที่มีผิวมันน่าจะชอบ ส่วนคนที่มีผิวแห้ง หรือผสม/แห้ง อาจจะต้องหาครีมมาทับอีกชั้นหนึ่งถึงจะเลิศเลอขั้นสูงสุด หลังจากที่ได้ลองใช้มาเกือบเดือนส่วนตัวคิดว่าน้องทำมาได้ดีจริงๆ ผลไม่ได้หวือหวาแบบค่ำคืนเดียวปิ๊ง แต่มันจะค่อยๆ รู้สึกไปเอง แบบใช้มาสักพัก เอ๊ะ ทำไมวันนี้หน้านุ่ม มันจะเป็นฟีลแบบอยู่ดีๆ รู้สึกตัวอีกทีก็ผิวดีอะไรแบบนี้ ให้ไป 5 ฟลาสก์

สุดท้ายนี้ต้องขอขอบคุณทางแบรนด์ The labatorian ด้วยนะคะ ที่ส่งผลิตภัณฑ์ดีๆ มาให้มี่ได้รู้จัก และขอบคุณทุกท่านด้วยนะคะ ที่ติดตามรับชมมาจนจบ

สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดต่อสอบถามได้ที่

IG : the_labatorian

Line official : @labatorian

Facebook : Labatorian

Disclaimer/conflict of interests: ผลิตภัณฑ์นี้ได้รับการสนับสนุนจากทางแบรนด์ The labatorian การรีวิวครั้งนี้เป็นการวิเคราะห์ส่วนผสม/วัตถุดิบตามหลักการทางวิทยาศาสตร์เครื่องสำอางและอาศัยความเห็นส่วนบุคคล และผู้เขียนไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเกี่ยวกับบริษัทเครื่องสำอางใดๆ โปรดใช้วิจารณญาณ