Image

รีวิวเซรั่มฟื้นฟู Barrier ที่เนื้อบางเบาอย่างไม่น่าเชื่อ กับ Brikk 6 in 1 daily skin barrier treatment essence จาก The labatorian

สำหรับ Content นี้จะมาเล่าถึงเซรั่มที่น่าสนใจ ซึ่งทางแบรนด์ออกแบบมาเพื่อฟื้นฟู Barrier ผิวในทุกมิติ จากแบรนด์ The Labatorian ซึ่งทางเพจเราได้นำเสนอบทวิเคราะห์ส่วนผสมของผลิตภัณฑ์หลายๆ ชิ้นไปก่อนหน้านี้ค่ะ

วันนี้จะมาวิเคราะห์เซรั่มน้องใหม่ของทางแบรนด์ ที่พึ่งเปิดตัวเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมานี้ค่ะ

เซรั่มน้องใหม่นี้มีชื่อว่า Brikk ซึ่งว่ากันว่ากว่าทางแบรนด์จะได้สูตรนี้มานั้นผ่านการปรับสูตรมามากกว่า 50 สูตรเลยทีเดียวจนกว่าจะได้สูตรที่ดีงามขนาดนี้

น้องใหม่ Brikk มีหน้าตาประมาณนี้นะคะ

ตัวแพคเกจนั้นมาในขวดแก้วที่ด้านในเป็นฝาปั๊มค่ะ

เนื้อเซรั่มเป็นเนื้อแบบใส จะได้กลิ่นหอมของกุหลาบจางๆ ซึ่งมาจาก Rose water ที่ทางแบรนด์เลือกใช้ นอกจากจะให้ความรู้สึกสบายผิว (Soothing effect) แล้วก็ยังได้กลิ่นหอมด้วย

เกลี่ยได้ค่อนข้างง่าย แรกๆ จะให้สัมผัสลื่นๆ ผิว แต่เมื่อทิ้งไว้สักพัก ไม่ถึง 1 นาที ตัวเซรั่มจะซึม/แห้งไป ให้ความรู้สึกนุ่มนวล ชุ่มชื้น และไม่เหนียวเหนอะหนะ

ค่า pH นั้นอยู่ที่ประมาณ 5 นะคะ ซึ่งถือว่าใกล้เคียงกับค่า pH ของผิว

รายการส่วนผสมนั้นเรียกได้ว่าจัดเต็มคาราเบลมาเกินเบอร์เกินหน้าเกินตาความเป็นเซรั่มใสมาก

ก่อนจะไปดูที่ส่วนผสม เรามาลอง Revised trend ใหม่ล่าสุดของ Barrier ผิวกันค่ะ

ในสมัยก่อนเรากล่าวกันว่า Barrier ผิวประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน คือ

  1. ไขมันที่อยู่ระหว่างเซลล์ Corneocytes (เซลล์ในชั้น Stratum corneum)
  2. Natural moisturizing factor (NMF)
  3. ตัวเซลล์ Corneocyte เองที่เรียงตัวแบบคดเคี้ยว และในเซลล์มีโปรตีน Keratin ที่อัดกันแน่น ทำหน้าที่ปกป้อง Lipid barrier อีกชั้นหนึ่ง ตัวเซลล์ Corneocyte เอง จะมีเปลือกที่เป็นโปรตีนเชิงซ้อน ที่เรียกว่า Cornified envelope หรือ Corneocyte envelope เคลือบอยู่อีกชั้น เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้อีกชั้นหนึ่ง

เราเรียกโมเดลที่แสดงถึงสิ่ง 3 สิ่งนี้ว่า Brick-wall model ตามภาพค่ะ

ทีนี้ถ้าเราย้อนกลับไป เราแบ่ง Barrier ของผิวออกเป็นกลุ่มๆ ค่ะ

  1. Physical barrier คือ ตัวผิวเอง โครงสร้างที่สมบูรณ์ของผิวหนังเป็นตัวปกป้องไม่ให้ของดีๆ ภายในออกไปข้างนอก และป้องกันไม่ให้อันตรายจากภายนอกเข้ามาข้างใน
  2. Chemical barrier คือ พวกสารเคมีต่างๆ ที่ผิวเราสร้างขึ้นมา การรักษาสภาวะ pH ให้เป็นกรดอ่อนๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อก่อโรคโตได้ บางที่อาจจะนับรวม Biochemical barrier เข้ามาไว้ด้วย คือพวก Antimicrobial peptide ที่ผิวเราสร้างขึ้นมาระงับเชื้อก่อโรคต่างๆ ตัวที่ดังๆ ก็เช่น Defensin
  3. Immunological barrier คือ ระบบภูมิคุ้มกันของผิวเรานั่นเอง ที่คอยปกป้องผิวจากทั้งสารเคมี และพวกจุลินทรีย์ต่างๆ
  4. และล่าสุด เราเริ่มมีการพูดถึง Microbiological barrier คือ พวกจุลินทรีย์หลากหลายชนิด และเจ้าแมลง Dermodex ที่อาศัยกันเป็นชุมชน Microbiome น้องมีปฏิกิริยากับผิวเราทำให้ Immune ของผิวเราทำงานอยู่ตลอดเวลา เป็นเหมือนการซ้อมรบ และเป็นเหมือนการกระตุ้นให้ผิวเราสร้างสารต่างๆ ออกมา เพื่อทำหน้าที่ในชีวิตประจำวัน

เจ้า Microbiological barrier นี่แหละ ที่เป็นที่มาของเทรนด์การเลือกใช้ Pre-pro-post biotics ในทางเครื่องสำอางเพื่อสุขภาพที่ดี เพราะถ้า Microbiome ของเราอยู่ในสภาวะสมดุลดี ผิวเราก็จะสมดุลดีไปด้วย

โดยตัว Brikk นั้นเคลมว่าเป็น 6 in 1 Daily ที่ดูแลผิวเสมือนรวมเอาเซรั่ม 6 ขวดเข้าไว้ด้วยกัน ดังนี้

  • Antioxidant ด้วยส่วนผสมของ Antioxidant ชั้นเลิศอย่าง Resveratrol กับ Ferulic acid
  • Anti-pollution ตัวที่น่าสนใจก็คือ Ectoine กับพวกสารที่ฟื้นฟู Barrier ผิวให้แข็งแรง
  • Microbiome ดูแลด้วย Prebiotics
  • Lipid & NMF ฟื้นฟู Barrier ผิวให้แข็งแรง
  • Soothing ให้ความรู้สึกสบายผิว
  • Hydration เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวอย่างยาวนาน

เราลองมาดูส่วนผสมของ Brikk กันนะคะว่าดูแล Barrier ผิวได้ในทุกมิติ และเป็นเซรั่ม 6 ขวดในขวดเดียวกันได้ อย่างไร

ส่วนผสมเป็นดังนี้ค่ะ

สำหรับส่วนผสมของ Brikk นั้นมีใช้หลายสีเพื่อแบ่งกลุ่มนะคะ เรามาลองดูตัวที่น่าสนใจกันค่ะ

  • กลุ่ม Microbiome ใช้แทนด้วยสีเขียวมะกอก
    • ในกลุ่มนี้ประกอบด้วย Prebiotic 2 ชนิด ได้แก่ Inulin และ Beta-glucan และ Post-biotic อย่าง Lactococcus ferment lysate
    • Inulin เป็น Polysaccharide ที่พบได้ในพืชหลายชนิด เช่น Chicory, artichoke ซึ่งจัดเป็น Prebiotic ชนิดหนึ่ง น้องเป็นอาหารของจุลินทรีย์ชนิดดีที่เรียกกันว่า Probiotic ในทางเครื่องสำอางมีการใช้ Inulin เพื่อเป็น Moisturizer โดยข้อมูลจากผู้ผลิตวัตถุดิบกล่าวว่า Inulin มีความสามารถในการเป็น Moisturizer ที่ดีกว่า Hyaluronic acid (Ref: TDS preBIULIN AGA)
    • Beta-glucan เป็น Polysaccharide ที่พบได้ในสิ่งมีชีวิตหลายชนิด และในพืชบางชนิด เช่น Oat ซึ่งนอกจากความสามารถในการเป็น Prebiotic แล้ว ยังมีประโยชน์ในด้านการเป็น Moisturizer และให้ความรู้สึกสบายผิว (Soothing effect
    • Lactococcus ferment lysate เป็นกลุ่มสารที่ได้จากการย่อยระบบที่เลี้ยงจุลินทรีย์ Probiotic อย่าง Lactoccus เราเลยเรียกว่า Postbiotic ข้อมูลจากวัตถุดิบ ProRenew Complex CLR™ กล่าวว่าใช้จุลินทรีย์สายพันธุ์ Lactococcus lactis ซึ่งมีรายงานงานวิจัยสนับสนุนถึงประโยชน์ที่ดีหลายชนิด เช่น คุณสมบัติในการลดการอักเสบของผิวในผิวหนังเพาะเลี้ยง (Lett Appl Microbiol. 2019;68(6):530-536.) เสริมการทำงานของ Barrier ผิวผ่าน Antimicrobial peptide ที่ชื่อ Defensin ซึ่งทำหน้าที่ปกป้องผิวตามธรรมชาติ และเสริมการสร้าง Filaggrin ซึ่งเป็นโปรตีนที่สำคัญตัวหนึ่งของผิว ไม่ว่าจะเป็น เป็นสารตั้งต้นของ NMF และ เป็นส่วนประกอบส่วนหนึ่งของ Cornified envelope ที่ให้ Corneocyte แข็งแรง ปกป้องผิวเราจากอันตรายต่างๆ ในสิ่งแวดล้อม ผลทั้งสองอย่างทดสอบในผิวหนังเพาะเลี้ยง และมีการทดสอบในอาสาสมัครโดยให้ทาตำรับที่มี Lactococcus วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 30 วัน พบว่าผิวหนังของอาสาสมัครมี Barrier ที่แข็งแรงขึ้น วัดจากค่าการระเหยของน้ำจากผิว (Trans-epidermal water loss; TEWL) ที่ลดลง และช่วยปรับสมดุลค่า pH ของผิว (Skin Pharmacol Physiol. 2019;32(2):72-80.)
  • สีบานเย็น เป็นพวกสารที่เสริมคุณสมบัติการเป็น Barrier ของผิว อย่างพวก Ceramide, Cholesterol และ Sphingoid base ที่เป็นโครงสร้างสำคัญของ Ceramide อย่าง Phytoshingosine
  • สีฟ้า เป็นกลุ่มของสารที่เติมน้ำและเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิว ซึ่งมีด้วยกันหลายตัว เช่น
    • Ectoine เป็นกรดอะมิโนชนิดพิเศษที่มีโครงสร้างเป็นวงกลม สร้างโดยแบคทีเรียบางสายพันธ์ที่อาศัยในสิ่งแวดล้อมที่ค่อนข้างโหดร้าย (Extremophile) ทำหน้าที่ปกป้องตัวเขาเองจากอันตรายภายนอก ไม่ว่าจะเป็นทั้งจากปัจจัยกายภาพและเคมี มีการพบว่าตัว Ectoine จะทำหน้าที่ดึงเอาน้ำมาเกาะไว้กับตัวเองแล้วกลายเป็นชั้นโครงสร้างที่ช่วยปกป้องโปรตีนองค์ประกอบต่างๆ ที่สำคัญของเซลล์เอาไว้ เรียกว่าเป็น Ectoine hydrocomplex (Clin Dermatol. 2008;26(4):326–633.) เจ้า Hydrocomplex ดังกล่าวส่งผลดีถึงองค์ประกอบทั้งเซลล์ คือปกป้องเซลล์นั้นให้มีปริมาณน้ำเหมาะสม และทำงานได้ตามปกติ แต่เมื่อปริมาณน้ำต่ำลง จะไปมีผลต่อระบบของการอักเสบทำให้เกิดอาการต่างๆ ตามมา ในกรณีของผิวหนัง การมี Ectoine จะช่วยให้ Lipid barrier ของผิวทำงานได้ตามปกติและมีความแข็งแรง ผิวจึงแข็งแรง และเก็บกักน้ำได้ดี (มีการระเหยของน้ำออกจากผิว/Transepidermal water loss; TEWL น้อย) (Biophys Chem. 2010;150(1–3):37–46.) มีการทดสอบประสิทธิภาพในทางผิวหนังอยู่หลายชิ้น ซึ่งได้กล่าวถึงในบทความวิชาการล่าสุดของ Kauth และ Truvosa (Dermatology and Therapy. 2022;12:295–313) ในภาพรวมคือ Ectoine ให้ประโยชน์ในการปกป้องผิวให้แข็งแรง ลดการระเหยของน้ำออกจากผิว ลดการอักเสบระคายเคือง รวมทั้งดูแลปัญหาผิวอักเสบและระคายเคืองต่างๆ (Skin Pharmacol Physiol. 2004; 17(5):232-7.) ยังมีการทดสอบพบว่า Ectoine ให้ประโยชน์เป็น Whitening ได้อีก โดยไป block ผลจาก MSH ไม่ให้กระตุ้นให้เกิดการสร้าง Melanin ออกมาเมื่อเจอรังสี UV (Antioxidants (Basel). 2020;9(1):63.)
    • Polyquaternium-51 ตัวนี้เป็น Polymer สังเคราะห์ที่มีโครงสร้างคล้ายกับไขมัน Phospholipid บนผิวของเรา ว่ากันว่านางจะเคลือบผิวและเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิว ข้อมูลจากผู้ผลิตวัตถุดิบกล่าวว่าประสิทธิภาพในการเพิ่มความชุ่มชื้นของนางดีกว่า Hyaluronic acid
    • Saccharide isomerate ที่เด่นเรื่องการจับน้ำให้ผิวได้อย่างยาวนาน เพราะน้องสามารถเกาะติดบนผิวได้ดีและอยู่บนผิวได้นาน ถ้าเราไม่ล้างออกไป
    • Betaine ซึ่งเป็นอนุพันธ์ของกรดอะมิโน Glycine ที่นอกจากจะเพิ่มความชุ่มชื้น ยังดูแลเรื่องการระคายเคืองผิว และปรับ Feeling ของสูตรให้ไม่เหนอะหนะไปพร้อมๆ กัน
    • กรดอะมิโน และสารอื่นที่จัดเป็น Natural moisturizing factor หรือ NMF มีคุณสมบัติในการจับน้ำให้แก่ผิว
  • สีเขียว คู่หูคู่ขวัญ Niacinamide (B3) + N-acetyl-D-glucosamine (NAG) เราคงไม่กล่าวถึงประโยชน์ของ B3 และ NAG แบบแยกกัน เพราะทั้ง 2 ตัวก็มีประโยชน์กับผิวมากโขอยู่ สำหรับการใช้ร่วมกันนั้นมีการศึกษาที่น่าสนใจโดย Kimball และคณะเมื่อปี 2010 ให้อาสาสมัครทาครีมที่มีส่วนผสมของ Niacinamide 4% + NAG 2% ในอาสาสมัครจำนวน 101 คน เป็นเวลา 10 สัปดาห์ เทียบกับครีมเปล่าที่ไม่มี B3+NAG พบว่ากลุ่มที่ได้รับครีม B3+NAG มีสีผิวที่สม่ำเสมอขึ้น จุดด่างดำต่างๆ แลดูจางลง (Br J Dermatol. 2010;162(2):435-41.)
  • สีน้ำเงิน สารบำรุงอื่นๆ ยกตัวอย่างบางตัวที่น่าสนใจ เช่น
    • Syn-Hycan (Tetradecyl Aminobutyroylvalylaminobutyric Urea Trifluoroacetate) สารชื่อยาวๆ นี้เป็นเปปไทด์สังเคราะห์ เทคโนโลยีสิทธิบัตร ซึ่งทางผู้ผลิตวัตถุดิบเคลมว่า มีคุณสมบัติในการเสริมการทำงานของ TGF-Beta ที่มีตามธรรมชาติของผิว ซึ่งส่งผลต่อไปให้มีการสังเคราะห์กลุ่มสาร Matrix จำพวก Hyaluron, Lumican และ Decorin ซึ่งมีคุณสมบัติให้ผิวกระชับ ยืดหยุ่น และมีความแข็งแรง รวมทั้งช่วยเสริมการเรียงตัวของคอลลาเจนเดิมในผิวให้อยู่ในโครงร่างที่แข็งแรง (ปกติเวลาเราอายุเพิ่มขึ้นสายเส้นใยของคอลลาเจนจะฉีกขาดไปตามกาลเวลา และมีการเรียงตัวที่ไม่สวยงามไม่เป็นระเบียบแบบเดิม ผิวเลยหย่อนคล้อย ไม่กระชับ)
    • สูตรผสมของ Water (and) Butylene Glycol (and) PEG-60 Almond Glycerides (and) Caprylyl Glycol (and) Glycerin (and) Carbomer (and) Nordihydroguaiaretic Acid (and) Oleanolic Acid รู้จักกันในนาม AC.NetTM จาก Croda ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่เบลนด์กันมาอย่างลงตัวเพื่อดูแลปัญหาสิว ผิวมัน และรูขุมขนกว้าง ข้อมูลจากผู้ผลิตวัตถุดิบยังระบุว่า สารชุดนี้ยังยับยั้งการเจริญของพวก C. acnes ที่ก่อสิว และ P. ovale ที่ก่อปัญหาผิวหลายประการ เช่น รูขุมขนอักเสบ
    • Ferulic acid กับ Resveratrol เป็น Antioxidant ที่น่าสนใจ
  • สีส้ม Hyaluron มากมายหลายรูปแบบ ที่มีประโยชน์ในการเติมน้ำให้กับผิวในหลายๆ ระดับ
  • สีชมพู กลุ่มสารที่ดูแลด้านการระคายเคืองผิว ให้ความรู้สึกสบายผิว (Soothing effect)

ในภาพรวมส่วนผสมของสารบำรุงที่ใส่ลงมาทำงานเสริมกันอย่างลงตัวทั้งในด้านการฟื้นฟู Barrier ผิว ไม่ว่าจะเป็นส่วนของไขมัน ส่วนของโปรตีน Filaggrin พวก NMF และยังดูแลเรื่อง Microbiome รวมทั้งเติมน้ำ ฟื้นฟู ดูแลปัญหาผิวมัน สิว รูขุมขนกว้าง ดูแลเรื่องการอักเสบระคายเคือง และให้ความรู้สึกสบายผิว (Soothing effect) ไปพร้อมๆ กัน สมกับที่เคลมว่าเป็น 6 in 1 Daily จริงๆ

มาให้คะแนนกันดีกว่านะคะ

  1. สารบำรุง หรือ Actives ก็ตามที่ได้เกริ่นไปในด้านบน คือ คุณเขาจัดมาเต็มมาก เอาไปเถอะ 5 ฟลาสก์
  2. ส่วนผสมอื่นๆ ไม่มีสารที่ไม่เป็นมิตรกับผิวอยู่เลย จึงไม่มีที่ให้หักคะแนน รับไป 5 ฟลาสก์
  3. การใช้งาน ก่อนอื่นต้องบอกเลยว่า ผลิตภัณฑ์เสริม Barrier ส่วนใหญ่เนื้อจะค่อนข้างหนัก แต่น้อง Brikk นั้นทำมาได้ดีมาก บางเบา ไม่เหนียวเหนอะหนะ คนที่มีผิวมันน่าจะชอบ ส่วนคนที่มีผิวแห้ง หรือผสม/แห้ง อาจจะต้องหาครีมมาทับอีกชั้นหนึ่งถึงจะเลิศเลอขั้นสูงสุด หลังจากที่ได้ลองใช้มาเกือบเดือนส่วนตัวคิดว่าน้องทำมาได้ดีจริงๆ ผลไม่ได้หวือหวาแบบค่ำคืนเดียวปิ๊ง แต่มันจะค่อยๆ รู้สึกไปเอง แบบใช้มาสักพัก เอ๊ะ ทำไมวันนี้หน้านุ่ม มันจะเป็นฟีลแบบอยู่ดีๆ รู้สึกตัวอีกทีก็ผิวดีอะไรแบบนี้ ให้ไป 5 ฟลาสก์

สุดท้ายนี้ต้องขอขอบคุณทางแบรนด์ The labatorian ด้วยนะคะ ที่ส่งผลิตภัณฑ์ดีๆ มาให้มี่ได้รู้จัก และขอบคุณทุกท่านด้วยนะคะ ที่ติดตามรับชมมาจนจบ

สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดต่อสอบถามได้ที่

IG : the_labatorian

Line official : @labatorian

Facebook : Labatorian

Disclaimer/conflict of interests: ผลิตภัณฑ์นี้ได้รับการสนับสนุนจากทางแบรนด์ The labatorian การรีวิวครั้งนี้เป็นการวิเคราะห์ส่วนผสม/วัตถุดิบตามหลักการทางวิทยาศาสตร์เครื่องสำอางและอาศัยความเห็นส่วนบุคคล และผู้เขียนไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเกี่ยวกับบริษัทเครื่องสำอางใดๆ โปรดใช้วิจารณญาณ

Image

รีวิว/วิเคราะห์ส่วนผสมมอยส์เจอไรเซอร์บำรุงผิวกาย CeraVe Moisturizing Lotion (revised 12/2022)

เชื่อว่าหลายๆ ท่านน่าจะคุ้นตา คุ้นชิน แล้วก็อาจจะเคยใช้มอยส์เจอไรเซอร์บำรุงผิวกายของ CeraVe กันมาบ้างแล้วนะคะ

แบรนด์ CeraVe นี่เป็นแบรนด์เวชสำอางบำรุงผิวที่พัฒนาร่วมกับแพทย์ผิวหนังชั้นน้ำของอเมริกา มีราคาที่จับต้องได้ หาซื้อได้ง่าย และเป็นที่นิยมทั่วโลกเลยทีเดียวค่ะ

แบรนด์ CeraVe นั้นเป็นเวชสำอางแบรนด์อันดับ 1 ที่แพทย์ผิวหนังในอเมริกาแนะนำ

ซึ่งสูตรที่ทางบริษัท L’oreal Thailand นำเข้ามาจำหน่ายในไทยนั้น ก็ได้ผ่านการวิจัยและปรับสูตรเพื่อให้เหมาะกับการใช้ในอากาศบ้านเราด้วยค่ะ

ซึ่งก็มีด้วยกันหลายสูตร ท่านที่สนใจสามารถติดตามรับชมได้ที่บน Official website ของทางแบรนด์ CeraVe ประเทศไทยได้เลยค่ะ

(Image from CeraVe Thailand Official Website)

สำหรับ Content นี้เราจะมาอัพเดทและวิเคราะห์ส่วนผสมของ CeraVe Moisturizing Lotion กันอีกครั้งนะคะ

สำหรับหน้าตาน้องก็จะเป็นแบบนี้ค่ะ

ก็จะขอเล่าเรื่องของปราการผิว (Skin Barrier) ของเรา แล้วก็เทคโนโลยี MVE ของทางแบรนด์เล็กน้อยก่อนไปวิเคราะห์ส่วนผสมนะคะ

ในผิวชั้นนอกของเรา จะมีส่วนประกอบที่สำคัญอยู่ 3 อย่าง ที่ทำหน้าที่เป็นตัวปกป้องรักษาความชุ่มชื้นให้คงอยู่ในผิว และป้องกันไม่ให้สารอันตรายต่างๆเข้ามาในผิว ที่เราเรียกกันว่า Barrier ผิวค่ะ

สิ่งเหล่านี้ได้แก่

  1. ไขมันที่เรียงตัวเป็นชั้นๆ หรือ Lipid lamellar
  2. สารชอบน้ำ ที่เรียกว่า Natural moisturizing factor เช่น พวกกรดอะมิโน น้ำตาล ยูเรีย และอิออนบางชนิด
  3. โปรตีนเคราติน และการเรียงตัวแบบสลับซับซ้อนของเซลล์ผิวที่ตายแล้วในชั้นนอก ที่ชื่อ Corneocyte

ว่ากันว่า ไขมันนั้นสำคัญที่สุดในการเป็น Barrier ของผิวนะคะ

แน่นอนว่า ไขมันนี้ เป็นคนละชนิดกับ น้ำมัน Sebum ที่หลั่งออกมาจากต่อมไขมันในรูขุมขน

ไขมันส่วนนี้อยู่ในผิวชั้นนอกของเรา เรียงตัวเป็นชั้นๆ ประกอบด้วยไขมัน 3 ชนิดหลักๆ คือ Ceramide, Cholesterol และ กรดไขมันค่ะ

และองค์ประกอบที่พบมากที่สุดในไขมันนี้ก็คือ Ceramide ที่พบได้เกือบถึง 50% เลยทีเดียว และนางก็มีความสำคัญมากกับความแข็งแรงของ Barrier ผิว

Ceramide นั้นมีหลายชนิดค่ะ แต่ชนิดที่มีความสำคัญคงหนีไม่พ้น Ceramide 1 แต่ทางเครื่องสำอางเราไม่ค่อยนำมาใช้กัน เพราะปัญหาเรื่องความคงตัว เลยหยิบเอา Ceramide 3 ที่คงตัวดีกว่ามาใช้กันเสียมากกว่า

ข้อดีอย่างหนึ่งของ CeraVe ก็คือ ใช้ Ceramide 3 ชนิด คือ Ceramide 1, Ceramide 3 และ Ceramide 6-II ในสัดส่วนที่เหมาะสมเพื่อเสริมการฟื้นฟู Barrier ผิวของเราได้อย่างลงตัวค่ะ

ส่วนเทคโนโลยี MVE นั้น เป็นเทคโนโลยีที่ทางแบรนด์เลือกใช้ในการนำส่งสารบำรุงเข้าสู่ผิวค่ะ

MVE นั้นย่อมาจาก Multivesicular emulsion ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่มีทั้งสิทธิบัตร และงานวิจัยรองรับรับ โดยเป็นระบบนำส่งที่มีรูปร่างเป็นทรงกลมที่มีหลายๆชั้น คล้ายหัวหอม เวลาลงผิว ก็จะค่อยๆปลดปล่อยออกมาทีละชั้น ทำให้สารเพิ่มความชุ่มชื้นต่างๆอยู่ในผิวได้นานขึ้น (Ref: J Clin Aesthet Dermatol. 2016; 9(12): 26–32.)

(Image from CeraVe Thailand)

ซึ่งตรงนี้ทางแบรนด์เองก็มีผลการทดสอบประสิทธิภาพด้านความชุ่มชื้นในอาสาสมัครด้วยนะคะ

สำหรับส่วนผสมเป็นดังนี้ค่ะ

จากส่วนผสมวันนี้ทำสีของสารบำรุงไว้ 2 สีค่ะ

ในส่วนของสารบำรุงสีม่วงจะเป็นส่วนของสารไขมันที่เป็นองค์ประกอบของ Barrier ผิวค่ะ ซึ่งได้แก่

  • Ceramides ทั้ง 3 ชนิด คือ Ceramide 1, 3 และ 6-II ซึ่งถือว่าเป็นการเลือกเซราไมด์ได้อย่างชาญฉลาด ผิวหนังของคนเราประกอบด้วย Ceramides อยู่หลายชนิดก็จริง อันนี้ขอลงลึกนิดหน่อย ถ้าแบ่งแบบง่ายๆ เราสามารถแบ่ง Ceramides ในผิวได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ ตามชนิดของกรดไขมันที่เป็นองค์ประกอบในโมเลกุล คือ Ceramides กลุ่ม N เป็น Ceramide ที่มีกรดไขมันชนิดปกติ กลุ่ม A มีกรดไขมันที่มีหมู่ Hydroxyl ที่ตำแหน่ง alpha-carbon และกลุ่ม EO มีกรดไขมันชนิดที่มีการ Esterified บริเวณ Hydroxyl ตำแหน่ง Omega ว่ากันว่า เซราไมด์กลุ่ม EO จะมีความสำคัญมากที่สุดในการทำให้ Barrier ของผิวแข็งแรง และผิวเราต้องมีสัดส่วนของ Ceramide A, N และ EO ที่เหมาะสมถึงมีผิวแข็งแรง ทีนี้ทางแบรนด์ก็เลยหยิบเอาเซราไมด์ตัวแทนจากแต่ละกลุ่มมาใส่ในครีม ถึงบอกว่านี่คือการใช้ได้อย่างชาญฉลาด
  1. Ceramide AP เป็น Ceramide ในกลุ่ม A มีชื่ออีกชื่อว่า Ceramide 6 II
  2. Ceramide NP เป็น Ceramide ในกลุ่ม N มีชื่ออีกชื่อว่า Ceramide 3 ตัวนี้เป็นเซราไมด์ชนิดที่พบมากที่สุดในผิวเรา
  3. Ceramide EOP เป็น Ceramide ในกลุ่ม EO ที่มีกรดไขมันสายยาวๆอยู่ แต่จากแหล่งข้อมูล มี่ก็ยังมีความสับสนอยู่ เพราะ Ceramide 1 ที่แท้ทรูคือ Ceramide EOS
  • Cholesterol เป็นอีก 1 องค์ประกอบที่สำคัญของ Barrier ผิว
  • Phytosphingosine เป็นเบสชนิดหนึ่งกลุ่ม Sphingoide ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในโครงสร้างของ Ceramide

ตัว Phytosphingosine ของมันเองก็มีประโยชน์ที่ดีกับผิวหลายประการ และมีการศึกษาวิจัยรองรับอยู่หลายชิ้น ที่น่าสนใจคือ น้องมีคุณสมบัติที่ดีในการดูแลการอักเสบและระคายเคืองผิว และเสริมการบวนการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างหน้าที่ (Differentiation) ของเซลล์ผิวในชั้นหนังกำพร้า (Keratinocyte) ให้ทำงานได้สมบูรณ์และโตเต็มไว (Mol Med. 2006; 12(1-3): 17–24.)

  • Caprylic/capric glycerides เป็นไขมันชนิด Triglycerides ซึ่งผิวเราสามารถย่อยสลายแปรสภาพได้เป็นกรดไขมัน กับ Glycerin

สีฟ้า เป็นสารบำรุงอื่นๆ ที่ไม่ได้จัดเข้ากับ Barrier lipid ได้แก่

  • Sodium hyaluronate ซึ่งมีประโยชน์ในการเพิ่มความชุ่มชื้น
  • Tocopherol หรือวิตามินอี เป็น antioxidant

ในภาพรวมจึงเน้นไปที่ความแข็งแรงของผิว และเสริมความชุ่มชื้น

และในสูตรไม่มีส่วนผสมสารที่ไม่เป็นมิตรกับผิว

มาให้คะแนนดีกว่าค่ะ วันนี้ส่วนผสมมีไม่ค่อยเยอะมาก ขอแบ่งให้คะแนนเป็น 2 หมวดนะคะ

  1. ส่วนผสม ถ้าพิจารณาในด้านของส่วนประกอบที่เกี่ยวข้องกับ Barrier ผิวทั้งหมด ตัวนี้ยังถือว่าขาดกลุ่ม NMF ที่เป็นสารโมเลกุลเล็กอยู่นะคะ แต่ถ้าพิจารณาในด้านของสารไขมันที่เสริมสร้าง Barrier ผิวทั้งหมด ตัวนี้ถือว่าทำมาได้ดี และมีความชาญฉลาด ที่เลือกใช้เซราไมด์ทั้ง 3 กลุ่มหลัก คือ A, N และ EO ตามชนิดที่เป็นองค์ประกอบของ Barrier ผิว ส่วนผสมทุกตัวที่ใส่มามีความเป็นมิตรกับผิวดีค่ะ และอย่าลืมประเด็นของเรื่อง MVE technology ด้วย จุดนี้ขอให้คะแนนแบบในภาพรวมที่ 4 ฟลาสก์
  2. การใช้งาน น้องเป็นโลชั่นที่ให้สัมผัสที่ค่อนข้างบางเบามาก ซึมไว แห้งไว ไม่เหนอะหนะ ในส่วนของสัมผัสหลังใช้ก็ถือว่าค่อนข้างดีค่ะ เบาสบายผิว เอามาทาได้ทั้งหน้าและตัวค่ะ ขวดเดียวครบจบทั้งหน้าตัว ระหว่างวันถ้าเหงื่อออกก็ไม่ได้เยิ้มหรือรู้สึกเหนียวเหนอะหนะไม่สบายตัว รับไป 5 ฟลาสก์

สุดท้ายนี้ต้องขอขอบคุณทางแบรนด์ CeraVe ประเทศไทย ด้วยนะคะที่ส่งผลิตภัณฑ์ดีๆมาให้มี่ได้ทดลองใช้ และขอบคุณทุกท่านด้วยค่ะที่ติดตามรับชมมาจนจบ

สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ทางแบรนด์ CeraVe ได้โดยตรงเลยนะคะ

https://www.facebook.com/CeraveThailandOfficial/

หรือจะตามไปส่องอัพเดทโปรโมชั่นใหม่ๆ ก็สามารถทำได้ตามสะดวกเลยค่ะ

Shopee Mall: https://invl.io/clfdg1w

Laz Mall: https://invol.co/clfdg2j

Disclaimer/conflict of interests: ผลิตภัณฑ์นี้ได้รับมาจากทางแบรนด์ CeraVe การรีวิวครั้งนี้เป็นการวิเคราะห์ส่วนผสมตามหลักการทางวิทยาศาสตร์เครื่องสำอางและอาศัยความเห็นส่วนบุคคล โปรดใช้วิจารณญาณ ผู้เขียนไม่ได้รับค่าตอบแทนในการเขียนรีวิวนี้และไม่ได้มีผลประโยชน์ใดๆ ในการขายสินค้า แต่ผู้เขียนอาจได้รับส่วนแบ่งจากการคลิ้กลิงค์ไปยังร้านค้า

Image

รีวิว/วิเคราะห์ส่วนผสมผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่เปี่ยมไปด้วยความรัก LaLaaCram Youth-Full advanced renewal serum + moisturizer

สวัสดีค่ะทุกท่าน

วันนี้มีรีวิวและวิเคราะห์ส่วนผสม Skincare น้องใหม่จากแบรนด์ LaLaaCram (ลา-ลา-แคลม) มาฝากกันค่ะ

แบรนด์ LaLaaCram เป็นแบรนด์ที่พัฒนาขึ้นมาโดยอิงจากประโยชน์ที่ยั่งยืนและความสุขที่ผู้บริโภคจะได้รับจากการใช้ผลิตภัณฑ์ ซึ่งผลิตภัณฑ์ชิ้นแรกของแบรนด์อย่าง Youth-Full Advanced Skin Renewal Serum + Moisturizer นั้นพัฒนามาในรูปแบบของ 2 in 1 serum + moisturizer เพื่อลดขั้นตอนในการบำรุงผิว หรือ Skincare regimen แต่ยังคงประโยชน์สูงสุดที่เราจะได้รับจากการใช้ผลิตภัณฑ์

ตัวผลิตภัณฑ์มุ่งเน้นไปที่การดูแลเรื่องของ Barrier ผิว พร้อมทั้งให้คุณสมบัติในการปกป้องและดูแลปัญหาต่างๆ ของผิวที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ชีวิตประจำวันไปพร้อมๆ กัน โดยอาศัยส่วนผสมของสารบำรุงผิวหลากหลายชนิดที่เลือกมาเป็นอย่างดี และมีหลักฐานรองรับว่าให้ประโยชน์กับผิว

หน้าตาผลิตภัณฑ์จะเป็นลักษณะกล่องสีเงินประมาณนี้ค่ะ

ตัวภาชนะบรรจุก็มาในสีเงินเช่นกันค่ะ

ความประทับใจแรกเมื่อเราแกะกล่อง คือ เมื่อเห็นคำโปรยด้านในค่ะ

ซึ่งมันตรงกับคอนเซปท์ของเราที่เราชอบพูดเสมอว่า เวลาทำเครื่องสำอางก็เหมือนทำอาหาร ให้ใส่ความรักลงไปด้วย ทางแบรนด์เองก็เช่นกัน ใส่ความรักลงไปหมดใจพร้อมๆ กับ ส่วนผสมที่เชื่อถือได้


ภาชนะบรรจุเป็นชนิด Airless pump ปกป้องเนื้อผลิตภัณฑ์จากการปนเปื้อนจากสิ่งแวดล้อม

เมื่อเรากด เนื้อครีมก็จะออกมาค่ะ

ตัวครีมจะดูเหมือนเป็นกึ่งๆ เจลครีม เนื้อค่อนข้างชุ่มผิว และเนื่องจากไม่มีส่วนผสมของน้ำหอม เราจะได้กลิ่นวัตถุดิบอยู่จางๆ

เกลี่ยได้ค่อนข้างง่าย ให้ความรู้สึกชุ่มชื้นผิว เมื่อทิ้งไว้ประมาณ 2 นาทีจะซึม/แห้งไป ไม่ทิ้งความเหนียวเหนอะหนะ

ก่อนไปดูส่วนผสมอยากบอกว่า ผลิตภัณฑ์ตัวนี้ผ่านการทดสอบการแพ้และการระคายเคืองจากบริษัท Dermscan ซึ่งเป็นบริษัททดสอบเกี่ยวกับเครื่องสำอางชั้นนำของประเทศ พบว่าไม่ระคายเคืองในอาสาสมัครค่ะ

แม้จะเป็นรายละเอียดเล็กๆ แต่ก็แสดงให้เห็นถึงความเอาใจใส่ และความรักที่ทางแบรนด์มีให้

สำหรับส่วนผสมเป็นดังนี้นะคะ

สำหรับส่วนผสมของผลิตภัณฑ์จะเห็นได้ว่ามีอยู่ค่อนข้างเยอะ และส่วนใหญ่จะเป็นสารที่มีประโยชน์ในการบำรุงผิว ซึ่งส่วนตัวได้แบ่งเป็นสีๆ ตามประโยชน์หรือกลุ่มของสาร

ในภาพรวม คือ ถ้ามองในแง่ของมอยส์เจอไรเซอร์ที่เสริม Barrier ผิว น้องทำมาได้ค่อนข้างครบถ้วนเลย คือมีทั้งกลุ่มของไขมันที่เป็น Barrier อย่างพวก Ceramide, Cholesterol และกรดไขมันจากธรรมชาติ ร่วมกับสารจับน้ำตามธรรมชาติ หรือ Natural moisturizing factor (NMF) ที่เป็นกรดอะมิโน น้ำตาล กรดอินทรีย์ มีสารกลุ่ม Hyaluron หลากหลายชนิดที่มีประโยชน์ในการเติมและอุ้มน้ำให้ผิว และเสริมมาด้วยกลุ่มสารที่ดูแลปัญหาเรื่องการระคายเคืองผิวเพราะ Barrier ที่ไม่แข็งแรง และสำหรับคนที่กลัวว่ามอยส์เจอร์นี้จะมันเยิ้มเกินไป ทางแบรนด์ใช้สารสกัดจากเห็ด Fomes ตัดเข้ามาให้ประโยชน์ในด้านการควบคุมความมันกระชับรูขุมขน คือเรียกได้ว่าทำมาพร้อมมาก มาดูไปทีละกลุ่มกันเลยนะคะ

  • สีเขียว แทนด้วยกลุ่มของไขมันที่เป็น Barrier ผิว ที่เป็นสูตรผสมของ Ceramide NP; Ceramide AP; Ceramide EOP; Phytosphingosine; Cholesterol; Sodium Lauroyl Lactylate; Carbomer; Xanthan Gum รู้จักกันในนามชื่อทางการค้าว่า SK Influx จากบริษัท Evonik เจ้าพ่อแห่งวงการ Ceramides ในทางเครื่องสำอาง สารชุดนี้ทางผู้ผลิตวัตถุดิบได้ทดสอบประสิทธิภาพทั้งในระดับหลอดทดลองและในระดับอาสาสมัคร มีความโดดเด่นในแง่ของการเสริม Barrier และดูแลปัญหาผิวแห้งต่างๆ
  • สีชมพู เป็น Hyaluronic acid และอนุพันธ์ รวมทั้งหมด 8 รูปแบบที่ประสานกันอย่างลงตัว บางตัวเกาะติดเป็นฟิล์มแล้วให้ความชุ่มชื้น ให้ความรู้สึกสบายผิว บางตัวก็ตัวเล็กหน่อยลงไปเติมน้ำและเสริมการกักเก็บน้ำที่หลายๆระดับความลึกของชั้นผิวชั้นนอก
  • สีน้ำตาล เป็นกลุ่มของ Moisturizer ที่ดูแลผ่านกระบวนการเติมน้ำเช่นกัน แบ่งได้เป็นกลุ่มย่อยๆ คือ พวกกรดอะมิโน ซึ่งมีด้วยกันหลากหลายชนิด น้ำตาล Glucose และกรดอินทรีย์ ที่พบเป็นองค์ประกอบของ NMF และยังมีสารเพิ่มความชุ่มชื้นที่น่าสนใจอื่นๆ เช่น
    • Polyglutamic acid ซึ่งเป็นโพลิเมอร์ของกรดอะมิโน Glutamic อันนี้พบได้ตามธรรมชาติผ่านกระบวนการหมัก เช่นในการหมักนัตโตะ (ถั่วหมักสไตล์ญี่ปุ่น) ก็จับน้ำให้กับผิวได้คล้ายๆ กับ Hya ทางผู้ผลิตวัตถุดิบกล่าวว่า เวลา PGA ลงไปในหนังชั้นนอกนางจะถูกผิวเราย่อยแล้วปลดปล่อยเอา Glutamic acid ตัวน้อยๆ ออกมา ทำหน้าที่เป็น NMF ได้อีกต่อหนึ่ง
    • สารสกัดจากคาราจีแนน ที่เป็นสาหร่ายชนิดหนึ่ง ถ้าไม่นับคุณสมบัติในการเพิ่มเนื้อสัมผัสให้กับครีมแล้ว สารสกัดนี้เมื่อผ่านกรรมวิธีการสกัดด้วยวิธีจำเพาะ ก็จะมีประโยชน์ที่เด่นในด้านของการเติมน้ำ และยังมีประโยชน์เสริมไปในทางการเป็น Antioxidant ข้อมูลจากผู้ผลิตวัตถุดิบระบุว่าวสารสกัดดังกล่าวยังมีประโยชน์ในการเสริมการสังเคราะห์คอลลาเจนตามธรรมชาติของผิว
    • โปรวิตามินบี 5 ที่นอกจากเพิ่มความชุ่มชื้นแล้วก็ยังมีประโยชน์อีกหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นด้านของการดูแลเรื่องการระคายเคือง และการฟื้นฟูสภาพผิว
  • สีน้ำเงิน เป็นกลุ่มของสารที่ดูแลเรื่องการระคายเคือง และให้ความรู้สึกสบายผิว หรือ Soothing effect มีทั้งกลุ่มของ Oatmeal ที่โดดเด่นในด้านนี้และมีคุณสมบัติพิเศษในการเสริมความแข็งแรงให้กับผิว พวก Allantoin, Dipotassium glycyrrhizate ว่านหางจระเข้ และอีกตัวที่อยากกล่าวถึงคือ Hydroxyacetophenone ซึ่งมีชื่อทางการค้าว่า Symsave H เป็นสารที่มีประโยชน์หลายอย่าง (Muti-functional) ทั้งในแง่ของการขึ้นสูตรเป็นสารช่วยในตำรับโดยให้ประโยชน์เป็นสารเพิ่มประสิทธิภาพของสารกันเสีย และยังเป็นสารบำรุง โดยให้คุณสมบัติเป็น Antioxidant และเสริมในด้านการดูแลเรื่องการระคายเคืองผิว
  • สีม่วง เป็นกลุ่มของสารบำรุงที่มีประโยชน์อื่นๆ มีด้วยกัน 3 ตัว ได้แก่
    • Bifida ferment lysate ตอนนี้เทรนด์ Postbiotic มา น้องนับเป็น 1 ใน Postbiotic คือเป็นสารที่ได้จากการสกัดเอาระบบที่เลี้ยงแบคทีเรียสายพันธุ์ Prebiotic กลุ่ม Bifidobacterium ซึ่งมีประโยชน์หลายประการต่อผิว ในแง่ของการชะลอวัย ฟื้นฟูและปรับสภาพผิว
    • Fomes officinalis (mushroom) extract เป็นสารสกัดจากเห็ดที่มีประโยชน์ในการดูแลเรื่องปัญหาความมันส่วนเกิน และมีประโยชน์ในการดูแลเรื่องรูขุมขนกว้าง
    • สารสกัดจากบัวบก ที่มีประโยชน์กับผิวมากมาย โดยหลักๆ ก็เด่นไปทางด้านการชะลอวัยลดเลือนริ้วรอย
  • ปิดท้ายด้วยวิตามินบี 3 ที่มีประโยชน์กับผิวหลายประการ กล่าวโดยย่อคือ น้องเป็นส่วนประกอบของโคเอนไซม์กลุ่ม NAD/NADP ที่เสริมกระบวนการต่างๆ ตามธรรมชาติของผิว จึงมีประโยชน์กับผิวหลายด้าน และน้องยังมีประโยชน์ในการเป็น Whitening โดยไปยับยั้งกระบวนการส่งผ่าน Melanin ที่สร้างเสร็จแล้วไม่ให้ออกมาข้างนอก รวมทั้งมีประโยชน์ในการดูแลเรื่องการระคายเคือง ปัญหาสิว และเสริมการสังเคราะห์ไขมันที่เป็น Barrier ผิว

สำหรับส่วนผสมอื่นๆ ก็เรียกได้ว่าคัดเลือกมาอย่างดี และไม่มีส่วนผสมของสารที่ไม่เป็นมิตรกับผิว

มาให้คะแนนกันดีกว่าค่ะ

  1. สารบำรุง มีด้วยกันหลากหลายกลุ่ม ซึ่งทำงานเสริมกันอย่างลงตัวในการดูแลปัญหาของผิว โดยเน้นไปที่ด้านของ Barrier ความชุ่มชื้นของผิว การระคายเคือง ให้ความรู้สึกสบายผิว และอาจได้ประโยชน์ไปในถึงด้านของการชะลอวัย ลดเลือนริ้วรอยให้แลดูจางลง และ Whitening รับไป 5 ฟลาสก์
  2. ส่วนผสมอื่นๆ ไม่มีส่วนผสมของสารที่ไม่เป็นมิตรกับผิว ให้ไป 5 ฟลาสก์
  3. การใช้งาน ส่วนตัวได้ทดลองใช้อยู่ประมาณ 3 อาทิตย์ โดยเสริมเข้ามาใน Regimen ปกติ มีความประทับใจในด้านของเนื้อครีมที่แลดูชุ่มฉ่ำ แต่ก็ไม่แห้งจนเกินไปและไม่มันเยิ้มจนเกินไป โดยรวมค่อนข้างชอบ ส่วนคนผิวแห้งมากๆ ในวันที่อากาศแห้งมาก อาจจะต้องเสริมครีมทับอีกชั้นหนึ่ง ระหว่างที่ใช้จะมีช่วงหนึ่งที่มากทม. แล้วเอาน้องลงมาด้วย ระหว่างวันคือฟีลแบบกำลังดีเลย ไม่แห้งไป ไม่เยิ้มไป เหงื่อออกก็ไม่รู้สึกว่าเป็นเมือก โดยรวมชอบเนื้อครีมและความชุ่มชื้นที่ได้รับ ให้ไป 5 ฟลาสก์

สุดท้ายนี้ต้องขอขอบคุณทางแบรนด์ LaLaaCram ด้วยนะคะที่ส่งผลิตภัณฑ์ดีๆ มาให้ได้ทดลองใช้ และมาแนะนำแบรนด์ที่มีคอนเซปท์น่ารักๆ มาให้รู้จัก และขอบคุณทุกท่านด้วยค่ะที่ติดตามรับชมมาจนจบ

สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ทางแบรนด์โดยตรงเลยนะคะ

Facebook: https://www.facebook.com/Lalaacram24

Line: @LaLaaCram

และสำหรับท่านที่สนใจสินค้าสามารถตามไปส่องได้ที่ร้านค้า Official ของทางแบรนด์เลยนะคะ

Shopee: https://invol.co/clalt0l

Lazada: https://invol.co/clalt1e

Disclaimer/Conflict of Interest: ผลิตภัณฑ์นี้ได้รับการสนับสนุนจากทางแบรนด์ LaLaaCram การรีวิวครั้งนี้เป็นการวิเคราะห์ส่วนผสม/วัตถุดิบตามหลักการทางวิทยาศาสตร์เครื่องสำอางและอาศัยความเห็นส่วนบุคคล และผู้เขียนไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับบริษัทเครื่องสำอางใดๆ โปรดใช้วิจารณญาณ

Image

รีวิว/วิเคราะห์ส่วนผสม Body lotion สำหรับผิวแห้งมากๆ ผิวลอกเป็นขุย กับ UreaRepair Plus 5% urea lotion จากแบรนด์ Eucerin

สวัสดีค่ะ วันนี้มีบทวิเคราะห์ส่วนผสมและรีวิวผลิตภัณฑ์จากแบรนด์ Eucerin มาฝากอีกชิ้นหนึ่ง

น้องเป็นโลชั่นสำหรับทาตัวที่เด่นมากสำหรับดูแลปัญหาผิวแห้ง ที่มาพร้อมกับเนื้อที่บางเบา ไม่เหนียวเหนอะหนะ

ผลิตภัณฑ์โลชั่นที่จะมาวิเคราะห์ส่วนผสมครั้งนี้มีชื่อว่า Eucerin UreaRepair Plus ขอย่อว่า URP นะคะ

ชื่อเต็มๆ จะพ่วงว่า 5% Urea lotion 48H long-lasting hydration ที่มีเคลมว่าสามารถเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวได้ยาวนานถึง 48 ชั่วโมงเลยทีเดียว

โลชั่นตัวนี้มาในหน้าตาแบบนี้นะคะ

ตัวขวดโลชั่นเป็นประมาณนี้ค่ะ

เนื้อโลชั่นค่อนข้างเบา ดูจากลำดับส่วนผสม และอ่านจากแบรนด์เคลม ก็คือ น้องเป็นเบสอิมัลชั่นชนิดน้ำมันในน้ำ (o/w emulsion) ที่จะบางเบา แต่ด้วยส่วนผสมของสารดูแลผิวเรื่องความชุ่มชื้นหลายตัว เลยเก็บความชุ่มชื้นไว้ได้ค่อนข้างนาน

ซึ่งจุดนี้ส่วนตัวชอบนะคะ เพราะโลชั่นที่ใช้ส่วนใหญ่จะหนักหน่อย และเวลาเหงื่อออกมันจะลื่นๆ ไม่ค่อยสบายผิว

น้องมาในกลิ่นหอมอ่อนๆ ประโยคนี้หลายคนอาจจะแบบว่า “เอ๊ะ ยังไง โลชั่นสำหรับผิวบอบบางแพ้ง่ายไม่ควรใส่น้ำหอมป่ะ” จริงค่ะ ไม่เถียง แต่ถ้าน้ำหอมนั้นปราศจากสารก่อการแพ้ (Allergen free) ก็น่าจะสามารถใช้ได้ค่ะ และที่สำคัญ ประเด็นที่น่าสนใจคือ น้ำหอม/สารหอมที่ทาง Eucerin URP ตัวนี้เลือกใช้ มีคุณสมบัติในการลดการอักเสบระคายเคืองในระดับหลอดทดลอง

(Image from Eucerin)

ส่วนสัมผัสหลังเกลี่ยก็จะค่อนข้างบางเบา ไม่เหนอะหนะ แต่ชุ่มชื้น และให้ความรู้สึกสบายผิว

ส่วนตัวมีอยู่ช่วงหนึ่งที่ไปห้างแห่งหนึ่งที่เชียงใหม่ที่มีข่าวคนติดเชื้อโควิด มันก็จะตระหนก กังวลนิดหน่อย เลยล้างมือถี่มาก ผลคือ แห้งลอกเป็นขุยตามระเบียบ พอใช้เจ้านี่ทาก็จะดีขึ้น ซึ่งตรงนี้ตรงกับคอนเซปท์ของมอยส์เจอไรเซอร์ คือ สามารถลดการแห้งได้อย่างรวดเร็วเมื่อทาครั้งแรก

ถึงแม้ว่า ถ้าเราทิ้งไว้ราวๆ 1 – 2 ชั่วโมง ขุยก็จะกลับมาใหม่ แต่พอทาบ่อยๆ วันรุ่งขึ้นก็ดีขึ้น ไม่มีขุยแล้ว

ก่อนไปดูส่วนผสมอยากบอกอีกนิดว่าทางแบรนด์ได้ทดสอบประสิทธิภาพในอาสาสมัครแล้วพบว่าครีมมีประโยชน์ดูแลเรื่องความชุ่มชื้นได้ถึง 48 ชั่วโมงเลยทีเดียว

(Image froo

มาดูส่วนผสมกันบ้างนะคะ

วันนี้ส่วนผสมมีหลายสีเหมือนเช่นเคย

ขอเปิดประเดิมด้วยสีน้ำเงิน คู่หูสูตรผสมกันของ Glycerin + Glyceryl glucoside ถ้าอิงตามลำดับส่วนผสม ส่วนตัวคิดว่าจะเป็น Glycerin 6.5% + Glyceryl glucoside 5% ซึ่งคู่ผสมนี้มีการทดสอบประสิทธิภาพในการเพิ่มความชุ่มชื้น และลดการระเหยของน้ำออกจากผิว (Transepidermal water loss; TEWL) ของอาสาสมัคร เมื่อใช้เป็นเวลา 3 สัปดาห์ ซึ่งการลดลงของค่า TEWL จะสื่อความหมายได้ว่า Barrier ของผิวแข็งแรงขึ้น (Schrader, et al. Skin Pharmacol Physiol 2012;25:192–199)

ขอแยกกล่าวเฉพาะตัว Glyceryl glycoside อีกรอบ น้องเป็นสารที่พบได้ในธรรมชาติ ตัวโครงสร้างน้องเป็นรูปแบบของสารกลุ่ม Glycoside ที่มีน้ำตาลเกาะอยู่บนตัว Glycerin สารนี้มีการทดสอบในระดับหลอดทดลองว่ามีประสิทธิภาพในการเสริมการสังเคราะห์ Aquaporin-3 ซึ่งเป็นช่องทางหนึ่งที่ผิวเราใช้ในการเก็บกักน้ำ และสารที่ละลายน้ำได้ตัวเล็กๆ เพื่อรักษาความชุ่มชื้นเอาไว้ จะกล่าวว่า Aquaporin เป็นอีกส่วนเล็กๆ ของ Barrier ผิวก็ว่าได้

การทำงานของ Aquaporin จะมีอารมณ์ประมาณภาพนี้ค่ะ

ถ้าเรามี Aquaporin ที่สมบูรณ์และแข็งแรง ผิวเราก็จะมีความชุ่มชื้น ดังนั้นจึงคาดเดาได้ว่าถ้าผิวมีการสร้าง Aquaporin มากขึ้น ความสามารถในการเก็บน้ำก็น่าจะมีมากขึ้น

ถัดมา สีบานเย็น Urea ตามแบรนด์เคลมว่าใช้ในความเข้มข้นที่ 5% ซึ่งเป็นความเข้มข้นที่มีการทดสอบแล้วว่ามีประโยชน์กับผิวแห้ง

ถึงแม้ Urea จะเป็นสารพื้นๆ ที่อาจจะเก่าแก่ ดูโบราณไปนิด แต่น้องจัดเป็นสารที่ใช้เป็นตัวเลือกแรกๆ (Gold standard) ในการดูแลปัญหาผิวแห้ง

ว่าแล้วก็ ขอเล่าเรื่อง Urea แบบย่อๆ สักหน่อย

จริงๆ แล้วในผิวเราก็มีส่วนประกอบของเจ้า Urea นี่รวมเป็นกลุ่มสารที่เพิ่มความชุ่มชื้นตามธรรมชาติ (Natural moisturizing factor; NMF)

ต่อมามีการค้นพบว่า Urea มีประโยชน์มากมายกับผิวหนัง ตัวอย่างเช่น

  • เสริมการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและหน้าที่ของ Keratinocyte (เซลล์ผิวในชั้นหนังกำพร้า) ให้โตเต็มไว มีความแข็งแรง
  • เสริมการสังเคราะห์ไขมันที่เป็นองค์ประกอบของ Barrier ผิว
  • เสริมภูมิคุ้มกันของผิว โดยไปเสริมการสร้าง Peptide ที่มีฤทธิ์ต่อต้านจุลชีพตามธรรมชาติบนผิว

ถ้าสนใจเกี่ยวกับ Urea สามารถตามไปอ่านบทความของ Dirschka T. เขาเขียนไว้ได้ค่อนข้างดี อ่านไม่ยากนัก และบทความนี้ดาวน์โหลดมาอ่านได้ฟรีค่ะ

>>> https://doi.org/10.1111/ijcp.13569

สารกลุ่มสีเขียวแก่ เป็นส่วนของกรดอะมิโน ร่วมกับ Lactic acid และ Sodium lactate เป็นกลุ่มของสาร NMFs ที่ช่วยกักเก็บน้ำให้ผิว

ส่วนของ Carnitine ที่ใส่เข้ามา ก็อาจจะได้ประโยชน์เรื่องของการดูแล Metabolism ของไขมันต่างๆ

สารสีส้ม Chondrus crispus extract เป็นสารสกัดจากสาหร่าย ประกอบด้วย Carrageenan ที่นอกจากจะดูแลเรื่องของสัมผัสของเนื้อครีมแล้ว ตัวมันเองก็มีการเคลมว่ามีประโยชน์ในการเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิว สารสีเขียวมะกอก เป็นกลุ่มของไขมันจากธรรมชาติต่างๆ

ซึ่งถ้าดูจากส่วนผสมของ URP แล้ว มันจะมีงานวิจัยอยู่ชิ้นหนึ่งที่เปรียบเทียบประสิทธิภาพของ Urea cream กับ Urea cream ที่มี NMF + ceramides + Glyceryl glucoside ในอาสาสมัครเด็กไทยที่มีสภาวะผิวแห้ง จากโรคไตเรื้อรัง พบว่าสูตรผสม มีประสิทธิภาพที่ดีในด้านของการดูแลปัญหาขุยผิวแห้ง เพิ่มความชุ่มชื้น และเพิ่มความสามารถในการเป็น Barrier ของผิวได้ดีกว่า Urea cream อย่างเดียว (Wananukul, S. et al. J Med Assoc Thai 2017;100(6):638-43)

งานอีกชิ้นเป็นการทดสอบประสิทธิภาพของครีมที่มี 5% Urea + Ceramide NP + Lactate ในอาสาสมัครสูงอายุ ก็พบว่าให้ประสิทธิภาพที่ดีเช่นกัน (Danby, et al. Skin Pharmacol Physiol 2016;29:135–147)

ส่วนอีกงานวิจัยทดสอบประสิทธิภาพของตำรับที่มีส่วนผสมของ NMF + ceramides + Glyceryl glucoside ก็พบว่าอาสาสมัครก็มีความชุ่มชื้นของผิวเพิ่มขึ้นเช่นกัน (Weber, et al. Journal of Clinical and Aesthetic Dermatology. 2012;5(8):30-39.)

ในภาพรวมจึงถือว่า URP เป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจสำหรับการดูแลผิวแห้ง

ส่วนตัวมองว่าถ้ามองจากส่วนผสม และการศึกษาก่อนหน้า นั้นมีความเห็นว่าเหมาะกับกรณีของผิวแห้งในผู้สูงอายุ จากโรคเรื้อรังทั้งในเด็ก และผู้ใหญ่ รวมถึงผิวแห้งอักเสบแบบ Atopic ซึ่งเกิดในเด็กเป็นส่วนมาก โดยผิวแห้งเหล่านี้อาจจะแห้งน้อย จนถึงแห้งมากแตกลอกเป็นขุย ก็น่าจะชอบ URP ตัวนี้

ส่วนเรื่องของน้ำหอมก็ตามที่ได้เกริ่นไปว่าน้ำหอมที่ทางแบรนด์เลือกใช้ยังมีประโยชน์ในการลดการอักเสบระคายเคือง

มาให้คะแนนกันดีกว่าค่ะ

  1. สารบำรุง เรียกได้ว่า Eucerin ยังคงความสมบูรณ์แบบของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการพัฒนาสูตร และเลือกใช้ส่วนผสมที่ไม่ได้ดูหวือหวาเว่อวัง แต่สารบำรุงทุกตัวมีรายงานถึงประสิทธิภาพรองรับ จึงถือว่าเป็นมอยส์เจอไรเซอร์ชิ้นหนึ่งที่น่าเก็บไว้ในอ้อมใจของคนผิวแห้ง ให้ไป 5 ฟลาสก์
  2. ส่วนผสมอื่นๆ ไม่ได้มีพิษมีภัยอะไร แถมน้ำหอมที่ใส่ก็มีคุณสมบัติพิเศษคือ ผ่านการทดสอบว่าไม่ก่อการแพ้และการระคายเคือง และยังมีประโยชน์เสริมกับสารบำรุงได้อย่างลงตัว ให้ไป 5 ฟลาสก์
  3. การใช้งาน ส่วนตัวได้ทดลองใช้มาประมาณ 3 อาทิตย์ ด้วยความที่ช่วงนี้ที่เชียงใหม่/เชียงรายอากาศยังไม่แห้งมากนัก + เป็นช่วงฤดูฝน ส่วนตัวเลยไม่ได้มีปัญหาผิวแห้งมากนัก แต่ก็ขอยอมรับว่า การใช้ URP ช่วยให้ผิวนุ่มเนียน สัมผัสแล้วเย็น คืออธิบายไม่ถูกเหมือนกัน อารมณ์เย็นๆ สบายผิว คงชุ่มชื้นได้ทั้งวัน จนกระทั่งอาบน้ำตอนกลางคืน แต่ก็ต้องขอบอกตามจริงว่ากลิ่นของ URP แม้มันจะหอมละมุนให้ความรู้สึกเหมือนเป็นเด็กน้อย แต่ไม่ใช่น้ำหอมที่ตรงจริตของเราเท่าไหร่ แต่ถ้าวัดเรื่องการใช้งาน และสิ่งที่ได้ ขอให้ไป 5 ฟลาสก์

สุดท้ายนี้ต้องขอขอบคุณทางแบรนด์ Eucerin ด้วยนะคะที่ส่งผลิตภัณฑ์ดีๆ มาให้ได้รู้จักและทดลองใช้ และขอขอบคุณทุกท่านด้วยค่ะที่ติดตามรับชมมาจนจบ

สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ทางแบรนด์โดยตรงนะคะ

UreaRepair Plus 5% urea lotion ขนาด 250ml ราคา 690 บาท

รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถอ่านได้จาก

https://www.eucerin.co.th/products/hypersensitive-skin/urea-repair-plus-5-urea-lotion-48h-long-lasting-hydration-250ml

สถานที่จัดจำหน่าย  ร้านวัตสัน ร้านบู๊ทส์ ร้านขายยาขนาดใหญ่ และโรงพยาบาลชั้นนำทั่วไป

ทางไป Shopping

Lazada: https://invol.co/cla9uek

Shopee: https://invol.co/cla9uew

Disclaimer/Conflict of interest: ผลิตภัณฑ์นี้ได้รับการสนับสนุนจากทางแบรนด์ Eucerin การรีวิวครั้งนี้เป็นการวิเคราะห์ส่วนผสม/วัตถุดิบตามหลักการทางวิทยาศาสตร์เครื่องสำอางและอาศัยความเห็นส่วนบุคคล และผู้เขียนไม่ได้มีผลประโยชน์ใดๆในการขายสินค้า โปรดใช้วิจารณญาณ

Image

รีวิว/วิเคราะห์ส่วนผสมเซรั่ม Hyaluronic acid 2% + B5 จาก The Ordinary

Revised April 25, 2021 (Ingredient list was checked with the official website)

สำหรับ Blog post นี้จะเป็นการรีวิว/วิเคราะห์ส่วนผสมเซรั่ม Hyaluronic acid (2%) + B5

เป็นผลิตภัณฑ์จากแบรนด์ The ordinary ซึ่งตอนนี้เป็นแบรนด์ที่หลายๆคนกำลังจับตามอง ด้วยราคาที่ค่อนข้างถูก ใช้ส่วนผสมที่จัดมาอย่างเรียบง่าย แต่ลงตัว ทำให้แบรนด์นี้ได้รับรางวัลมากมายจากหลายๆแหล่งเลยทีเดียว

แต่ข้อเสียคือ แบรนด์นี้จะหาซื้อยากนิดนึง จะ Shipping มาเองจาก Canada/USA ก็แบบว่าค่าส่งแพงเว่อร์วังมาก แพงกว่าค่าเซรั่มเสียอีก จะพรีออร์เดอร์ก็กลัว เพราะตัวขวดไม่ได้มี Seal หรืออะไรการันตีเลยว่าเป็นของใหม่ แถมวันผลิตก็ไม่มี นางปั๊มมาแค่ Lot ซึ่งเอาไปเชคยังไงมี่ก็ไม่ทราบ ลองไปหาหน้าเวบแล้วไม่เจอ (ถ้าใครรู้บอกหน่อยนะคะ)

แต่นับเป็นโชคดีอย่างหนึ่งของสายเกาอย่างเรา นางมีชอปที่เกาหลี ซึ่งมี่เคยอัพกระทู้พาไปชมไว้เมื่อช่วงปลายปีที่แล้วค่ะ

ลิงค์: http://www.jeban.com/topic/240844

แล้วก็เคยรีวิวตัว Granactive retinoid ไว้ด้วยค่ะ
ลิงค์: http://www.jeban.com/topic/238578

ว่าแต่รีวิวไปแล้วแล้วเธอมาทำไม

ที่มาไม่ได้จะมาเล่าอะไรซ้ำซาก วันนี้จะมารีวิวตัวเซรั่มสูตร Hya 2% + B5 ที่พึ่งไปได้มาจากเกาหลีค่ะ

นางจัดอยู่ในกลุ่ม Hydrators and oils ค่ะ

หน้าตาเค้าจะมาคล้ายๆกันเป็นแบบนี้ค่ะ

ลักษณะของ Package คือ มาในรูปแบบขวดแก้วที่มีหลอดหยด

เหมือนกันแทบทุกไลน์เลยทีเดียว

เซรั่มตัวนี้เคลมว่า ใช้โมเลกุลของ Hyaluron หลายๆขนาด เพื่อการเติมน้ำให้ชั้นผิวที่หลายระดับ (Multi-depth care) คล้ายๆกับ Hylamide สูตรม่วง และ Niod สูตร MMHC เพียงแต่มีราคาย่อมเยากว่า และแน่นอน ส่วนผสมก็ยังหรูเทียบ Hylamide กับ Niod ไม่ได้ค่ะ ของแพงต้องอัดแน่นกว่าอยู่แล้วหละ จุดนี้

ตัวเซรั่มเป็นแบบน้ำใส ค่อนข้างหนืด มีกลิ่นของวัตถุดิบอยู่ค่ะ

นางจะมีความหนึบค่อนข้างมาก ส่วนตัวจะใช้แค่กลางคืนค่ะ

ค่า pH อยู่ที่ประมาณ 6 – 7

มาดูส่วนผสมกันบ้างนะคะ

ตัวส่วนผสมจะค่อนข้างเรียบง่ายสมชื่อแบรนด์ค่ะ

ในด้านของส่วนผสม มี Hyaluron อยู่ 2 รูปแบบ คือ Hya ปกติ กับ Hya polymer ที่มีขนาดใหญ่ เน้นเคลือบคลุมผิวภายนอก

เสริมมาด้วยสารสกัดจากสาหร่ายสีแดง และ Panthenol ซึ่งเป็นโปรวิตามินบี 5 เสริมเข้ามา จึงมีความเด่นในด้านของการเป็น moisturizer ที่เติมน้ำให้ผิวเป็นหลัก

สำหรับ Hyaluron ที่ใช้ ทางแบรนด์เคลมว่า ใช้ 3 ขนาด คือ ขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และ ขนาดเล็ก มีเคลมเรื่องของการเติมน้ำให้ผิวที่หลายๆระดับ

สารสกัดจากสาหร่ายสีแดง (Ahnfeltia concinna extract) เสริมเข้ามา ข้อมูลจากผู้ผลิตระบุว่ามีคุณสมบัติส่งเสริมการผลัดเปลี่ยนเซลล์ผิว เพิ่มความยืดหยุ่น ความนุ่ม ลดริ้วรอยให้ผิวเรียบเนียน ลดการระคายเคืองให้ความรู้สึกสบายผิว

Panthenol หรือ โปรวิตามินบี 5 มีประโยชน์กับผิวในด้านของการเติมน้ำให้ผิว และลดการอักเสบระคายเคือง

อีกจุดที่น่าสนใจคือการใส่ Ethoxydiglycol เข้ามา ซึ่งสารนี้ทำหน้าที่เพิ่มการดูดซึมของสารอื่นเข้าสู่ผิวได้ (เรียกว่าเป็น penetration enhancer) น่าจะมีประโยชน์ในการเสริมการซึมเข้าไปของ Hya แต่ประเด็นนี้ไม่ค่อยแน่ใจ เพราะยังไม่มีข้อมูลการเสริมการดูดซึมของสารที่ละลายน้ำได้ดี และมีขนาดใหญ่

ในด้านภาพรวม ถือว่าเป็นเซรั่มเติมน้ำที่ทำมาได้ดี เมื่อเทียบกับราคา (ประมาณ 350 บาท/30 ml คิดเป็น 11.67 บาท/ml) ปราศจากน้ำหอม แอลกอฮอล์และสารอื่นที่ไม่เป็นมิตรกับผิว

มาให้คะแนนกันค่ะ

วันนี้ขอให้คะแนนที่ 2 หมวดนะคะ เนื่องจากส่วนผสมค่อนข้างน้อย

  1. ส่วนผสม ในภาพรวมถือว่าทำมาได้ดีในการด้านการเป็นเซรั่มเติมน้ำ แต่ส่วนตัวมี่ชอบสกินแคร์ที่ส่วนผสมหวือหวาเยอะแยะอัดแน่นมากกว่า คิดว่าเดี๋ยวนี้เรายังมี Hya อีกหลายประเภท รวมถึงอาจเลือกเอา N-acetyl glucosamine ซึ่งเป็นหน่วยเล็กสุดของ Hya มาใช้ได้อีก นางยังไปได้อีกเยอะ เหมือนยังไม่สุด เลยขอให้ 4 ฟลาสก์ 
  2. การใช้งาน ส่วนตัวมี่ผิวผสม/แห้งนะคะ แต่ก็ยังคิดว่าเซรั่มนี้หนึบไปนิดหน่อยสำหรับการใช้ตอนกลางวัน เลยใช้แค่กลางคืน ในด้านของความชุ่มชื้น แบบว่าแอบเซอร์ไพรส์นะ ลงผิวแล้วเช้าตื่นมาคือหน้านุ่มฟูดีงามมาก ดีกว่าที่คิด ดีกว่าที่ดูจากส่วนผสมเยอะมาก ถ้าหนึบน้อยกว่านี้อีกนิดน่าจะฟินได้มากกว่านี้อีก ขอให้ 4 ฟลาสก์

สำหรับวันนี้คงต้องขอตัวลากันไปเท่านี้ พบกันใหม่โอกาสถัดไป สวัสดีค่ะ

Disclaimer/conflict of interests: ผลิตภัณฑ์นี้ซื้อด้วยตนเอง การรีวิวครั้งนี้เป็นการวิเคราะห์ส่วนผสมตามหลักการทางวิทยาศาสตร์เครื่องสำอางและอาศัยความเห็นส่วนบุคคล และผู้เขียนไม่ได้มีผลประโยชน์ใดๆในการขายสินค้า โปรดใช้วิจารณญาณ

Image

รีวิว/วิเคราะห์ส่วนผสม มอยส์เจอไรเซอร์นี้ที่รอคอยมานาน กับ CeraVe Moisturizing lotion และ cream

สวัสดีค่ะ

เชื่อว่าหลายๆท่านน่าจะรู้จักสกินแคร์ชื่อดังอย่าง CeraVe มากันบ้างแล้วนะคะ นางเป็นแบรนด์เวชสำอางชื่อดังจากอเมริกา ซึ่งในสมัยก่อนเราจะต้องหิ้ว หรือสั่งจากเว็บอย่าง iHerb เอานะคะ ตอนนี้ทางบริษัทL’oreal Thailand ก็ได้นำเอาสินค้าในแบรนด์ CeraVe เข้ามาจำหน่ายในไทยแล้วค่ะ ไม่ต้องสั่งบนเว็บ ไม่ต้องหิ้วให้เหนื่อยต่อไป

แบรนด์ CeraVe นี่เป็นแบรนด์เวชสำอางบำรุงผิวที่พัฒนาร่วมกับแพทย์ผิวหนังชั้นน้ำของอเมริกา มีราคาที่จับต้องได้ หาซื้อได้ง่าย และเป็นที่นิยมทั่วโลกเลยทีเดียวค่ะ

ซึ่งส่วนตัวมี่มีโอกาสได้ไปร่วมงานเปิดตัวของ CeraVe ในไทยเมื่อช่วงปลายเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมาค่ะ

แอบกระซิบว่าบางสูตรที่เข้าไทย ผ่านการวิจัยและปรับสูตรเพื่อให้เหมาะกับการใช้ในอากาศบ้านเราด้วยค่ะ

หลังจากลองใช้สูตรใหม่มาซักพัก วันนี้เลยอยากขอเอาหยิบเอากลุ่มบำรุงมาวิเคราะห์ส่วนผสมให้ได้ชมกันค่ะ

วันนี้ขอเปิดฉากการวิเคราะห์ส่วนผสมด้วยผลิตภัณฑ์สูตรบำรุงที่เรียกได้ว่าเป็นตัวเด่นของ CeraVe ที่เปิดตัวในครั้งนี้ จะเป็นตัว Moisturizing lotion ที่มาในเนื้อโลชั่น และ Moisturizing  cream ที่มาในเนื้อครีมเข้มข้นค่ะ

หน้าตาเป็นแบบนี้นะคะ

cera 1

ในสูตรโลชั่น นางจะมาใน 2 ขนาด คือ ขนาดเล็ก 88 ml และขนาดใหญ่ 473 ml ค่ะ

ตัวที่มี่ได้มาจะเป็นขนาดใหญ่ที่มาในขวดแบบปั๊มค่ะ ใช้กันจุใจมาก

cera 2

เนื้อสัมผัสจะเป็นเนื้อโลชั่น ไม่มีน้ำหอม อาจจะได้กลิ่นจางๆของวัตถุดิบอยู่ค่ะ

cera 5

เกลี่ยได้ง่าย ลื่น สบายผิว

cera 6

ซึมค่อนข้างไว ให้สัมผัสบางเบา ไม่เหนอะหนะ

cera 7

ส่วนสูตรครีม ก็มาด้วยกัน 2 ขนาด เช่นกัน ขนาดเล็กเป็นแบบหลอดบีบ 50 ml และขนาดใหญ่ 454 กรัม

ที่มี่ได้มาจะเป็นขนาดใหญ่นะคะ ใช้กันจุใจเช่นเคย

cera 3

ในส่วนของตัวครีมเนื้อจะข้นกว่าค่ะ แต่ก็ไม่ได้เหนอะหนะ หรือมันเยิ้มจนรำคาญผิวเลย

cera 4

ทั้งสองสูตรมีเนื้อสัมผัสที่ต่างกันเล็กน้อยค่ะ โดยตัวครีมเนื้อจะเข้มข้นกว่าเนื้อโลชั่นค่ะ

cera 8

ถึงจะดูข้น แต่ก็เกลี่ยง่าย และไม่เหนอะหนะ หนักผิว

cera 9

ส่วนผสมก็จะค่อนข้างคล้ายกัน ต่างกันที่สารขึ้นเนื้อครีมที่ใช้ค่ะ

 

ก่อนไปดูวิเคราะห์ส่วนผสม มี่อยากเล่าให้ฟังถึงองค์ประกอบของ Barrier ผิวเรา และเทคโนโลยี MVE ที่ทางแบรนด์ใช้ซักหน่อยนะคะ

 

ในผิวชั้นนอกของเรา จะมีส่วนประกอบที่สำคัญอยู่ 3 อย่าง ที่ทำหน้าที่เป็นตัวปกป้องรักษาความชุ่มชื้นให้คงอยู่ในผิว และป้องกันไม่ให้สารอันตรายต่างๆเข้ามาในผิว ที่เราเรียกกันว่า Barrier ผิวค่ะ

สิ่งเหล่านี้ได้แก่

  1. ไขมันที่เรียงตัวเป็นชั้นๆ หรือ Lipid lamellar
  2. สารชอบน้ำ ที่เรียกว่า Natural moisturizing factor เช่น พวกกรดอะมิโน น้ำตาล ยูเรีย และอิออนบางชนิด
  3. โปรตีนเคราติน และการเรียงตัวแบบสลับซับซ้อนของเซลล์ผิวที่ตายแล้วในชั้นนอก ที่ชื่อ Corneocyte

 

ว่ากันว่า ไขมันนั้นสำคัญที่สุดในการเป็น Barrier ของผิวนะคะ

แน่นอนว่า ไขมันนี้ เป็นคนละชนิดกับ น้ำมัน Sebum ที่หลั่งออกมาจากต่อมไขมันในรูขุมขนนะคะ

ไขมันส่วนนี้อยู่ในผิวชั้นนอกของเรา เรียงตัวเป็นชั้นๆ ประกอบด้วยไขมัน 3 ชนิดหลักๆ คือ Ceramide, Cholesterol และ กรดไขมันค่ะ

และองค์ประกอบที่พบมากที่สุดในไขมันนี้ก็คือ Ceramide ที่พบได้เกือบถึง 50% เลยทีเดียว และนางก็มีความสำคัญมากกับความแข็งแรงของ Barrier ผิว

Ceramide นั้นมีหลายชนิดค่ะ แต่ชนิดที่มีความสำคัญคงหนีไม่พ้น Ceramide 1 แต่ทางเครื่องสำอางเราไม่ค่อยนำมาใช้กัน เพราะปัญหาเรื่องความคงตัว เลยหยิบเอา Ceramide 3 ที่คงตัวดีกว่ามาใช้กันเสียมากกว่า

ข้อดีอย่างหนึ่งของ CeraVe ก็คือ ใช้ Ceramide 3 ชนิด คือ Ceramide 1, Ceramide 3 และ Ceramide 6-II ในสัดส่วนที่เหมาะสมเพื่อเสริมการฟื้นฟู Barrier ผิวของเราได้อย่างลงตัวค่ะ

ส่วนเทคโนโลยี MVE นั้น เป็นเทคโนโลยีที่ทางแบรนด์เลือกใช้ในการนำส่งสารบำรุงเข้าสู่ผิวค่ะ

MVE นั้นย่อมาจาก Multivesicular emulsion ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่มีทั้งสิทธิบัตร และงานวิจัยรองรับรับ โดยเป็นระบบนำส่งที่มีรูปร่างเป็นทรงกลมที่มีหลายๆชั้น คล้ายหัวหอม เวลาลงผิว ก็จะค่อยๆปลดปล่อยออกมาทีละชั้น ทำให้สารเพิ่มความชุ่มชื้นต่างๆอยู่ในผิวได้นานขึ้น (Ref: J Clin Aesthet Dermatol. 2016; 9(12): 26–32.)

หน้าตาก็จะประมาณนี้ค่ะ

MVE

(Image source: Draelos ZD in Cosmetic Dermatology: Products and Procedures)

 

ถึงเวลาของช่วงวิเคราะห์ส่วนผสมแล้วค่ะ

เริ่มที่ตัว lotion

สผส lotion

ต่อด้วยตัว cream

สผส cream

จากส่วนผสมมี่ได้ทำแถบสีเอาไว้นะคะ ซึ่งทั้งสองสูตรก็ทำมาคล้ายๆกัน ต่างแค่ที่สัดส่วนของสารขึ้นเนื้อครีมเฉยๆ

ในส่วนของสารบำรุงสีม่วงจะเป็นส่วนของสารไขมันที่เป็นองค์ประกอบของ Barrier ผิวค่ะ ซึ่งได้แก่

  • Ceramides ทั้ง 3 ชนิด คือ Ceramide 1, 3 และ 6-II ซึ่งถือว่าเป็นการเลือกเซราไมด์ได้อย่างชาญฉลาด ผิวหนังของคนเราประกอบด้วย Ceramides อยู่หลายชนิดก็จริง อันนี้ขอลงลึกนิดหน่อย ถ้าแบ่งแบบง่ายๆ เราสามารถแบ่ง Ceramides ในผิวได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ ตามชนิดของกรดไขมันที่เป็นองค์ประกอบในโมเลกุล คือ Ceramides กลุ่ม N เป็น Ceramide ที่มีกรดไขมันชนิดปกติ กลุ่ม A มีกรดไขมันที่มีหมู่ Hydroxyl ที่ตำแหน่ง alpha-carbon และกลุ่ม EO มีกรดไขมันชนิดที่มีการ Esterified บริเวณ Hydroxyl ตำแหน่ง Omega ว่ากันว่า เซราไมด์กลุ่ม EO จะมีความสำคัญมากที่สุดในการทำให้ Barrier ของผิวแข็งแรง และผิวเราต้องมีสัดส่วนของ Ceramide A, N และ EO ที่เหมาะสมถึงมีผิวแข็งแรง ทีนี้ทางแบรนด์ก็เลยหยิบเอาเซราไมด์ตัวแทนจากแต่ละกลุ่มมาใส่ในครีม ถึงบอกว่านี่คือการใช้ได้อย่างชาญฉลาด
  1. Ceramide AP เป็น Ceramide ในกลุ่ม A มีชื่ออีกชื่อว่า Ceramide 6 II
  2. Ceramide NP เป็น Ceramide ในกลุ่ม N มีชื่ออีกชื่อว่า Ceramide 3 ตัวนี้เป็นเซราไมด์ชนิดที่พบมากที่สุดในผิวเรา
  3. Ceramide EOP เป็น Ceramide ในกลุ่ม EO ที่มีกรดไขมันสายยาวๆอยู่ แต่จากแหล่งข้อมูล มี่ก็ยังมีความสับสนอยู่ เพราะ Ceramide 1 ที่แท้ทรูคือ Ceramide EOS
  • Cholesterol เป็นอีก 1 องค์ประกอบที่สำคัญของ Barrier ผิว
  • Caprylic/capric glycerides เป็นไขมันชนิด Triglycerides ซึ่งผิวเราสามารถย่อยสลายแปรสภาพได้เป็นกรดไขมัน กับ Glycerin

สีฟ้า เป็นสารบำรุงอื่นๆ ได้แก่

  • Sodium hyaluronate ซึ่งมีประโยชน์ในการเพิ่มความชุ่มชื้น
  • Tocopherol หรือวิตามินอี เป็น antioxidant ที่น่าจะใส่ลงมาเพื่อปกป้องสารไขมันในสูตรไม่ให้เสื่อมสภาพ

 

ส่วนของเนื้อหลัก มาในรูปแบบของอิมัลชั่น ประกอบด้วย น้ำ สารดูดน้ำเพิ่มความชุ่มชื้น และ สารไขมัน ไม่มีส่วนผสมของ Alcohol

 

มาถึงตรงนี้หลายคนอาจจะเกิดคำถาม กฺ็ชั้นเห็นอยู่ทนโท่ตำตา ว่ามี Cetyl aclhol, Stearyl alcohol และ Cetearyl alcohol ทำไมมียอนถึงบอกว่าไม่มี Alcohol

นั่นก็เพราะว่า ชื่อ Alcohol สั้นๆ แบบนี้ในทางเครื่องสำอาง เราจะหมายถึง Ethyl alcohol หรือ Ethanol ที่มีผสมในไวน์ เหล้า รวมถึงที่เราเอามาเช็ดฆ่าเชื้อ

Alcohol นี้ จริงๆในเครื่องสำอางใส่ลงไปเพื่อให้ความรู้สึกสดชื่น และรู้สึกแห้ง เบาสบายผิว แต่ข้อเสียของเค้าคือ นางอาจจะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวได้ในบางคนค่ะ

ส่วน Cetyl alcohol, Stearyl alcohol และ Cetearyl alcohol นั้นจะเป็น Alcohol ที่มีขนาดใหญ่ มีจำนวน Carbon ที่สูง กลายเป็นสารในกลุ่มไขมัน ที่เรียกว่า Fatty alcohol ไปแล้ว ไม่ละลายในน้ำเหมือนเจ้า Ethyl alcohol ตัวเล็กๆ

ในทางเครื่องสำอางเราเอา Fatty alcohol มาใช้ในเชิงการเพิ่มเนื้อให้ครีมข้น สวยงาม นางยังให้ประโยชน์ในการเพิ่มความคงตัวให้กับเนื้อครีม และในด้านผิวพรรณ นางยังให้คุณสมบัติเพิ่มความชุ่มชื้นแก่ผิวเราด้วย

 

ทีนี้หลายคนเห็น Dimethicone อาจจะเริ่มคิดว่าอีเจ้านี่เป็น Silicone จะดีหรือ? จริงๆ Dimethicone นี่เป็น Silicone ตัวพื้นฐานที่ค่อนข้างมีประโยชน์ และมีข้อมูลความปลอดภัยที่ดีนะคะ นางมีขนาดที่ใหญ่มาก ไม่ดูดซึมลงไปในผิว จึงมีความเสี่ยงต่ำในการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ นางมีความสามารถในการเคลือบปกป้องผิวไม่ให้น้ำระเหยออกจากผิว และมีสัมผัสที่บางเบานุ่มนวล ไม่เหนอะหนะ

 

มาให้คะแนนดีกว่าค่ะ วันนี้ส่วนผสมมีไม่ค่อยเยอะมาก ขอแบ่งให้คะแนนเป็น 2 หมวดนะคะ

  1. ส่วนผสม ถ้าพิจารณาในด้านของส่วนประกอบที่เกี่ยวข้องกับ Barrier ผิวทั้งหมด ตัวนี้ยังถือว่าขาดกลุ่ม NMF อยู่นะคะ แต่ถ้าพิจารณาในด้านของสารไขมันที่เสริมสร้าง Barrier ผิวทั้งหมด ตัวนี้ถือว่าทำมาได้ดี และมีความชาญฉลาด ที่เลือกใช้เซราไมด์ทั้ง 3 กลุ่มหลัก คือ A, N และ EO ตามชนิดที่เป็นองค์ประกอบของ Barrier ผิว ส่วนผสมทุกตัวที่ใส่มามีความเป็นมิตรกับผิวดีค่ะ และอย่าลืมประเด็นของเรื่อง MVE technology ด้วย จุดนี้ขอให้คะแนนแบบในภาพรวม ขอให้ไป 4 ฟลาสก์
  2. การใช้งาน ถ้าดูจากส่วนผสมของสูตรครีม จะเห็นว่ามีส่วนผสมของ Petrolatum อยู่ด้วย ซึ่งสารนี้เป็นสารที่ดีมากในการเคลือบปกป้องผิว แต่ข้อเสียของนางคือมีความเหนอะหนะสูง เราก็คิดว่าจะเหนอะหนะ แต่พอใช้จริงไม่เลย นางซึมไวให้สัมผัสที่บางเบามาก ไม่เหนอะหนะเลย ในส่วนของสัมผัสหลังใช้ก็ถือว่าค่อนข้างดีค่ะ เบาสบายผิว เอามาทาได้ทั้งหน้าและตัวค่ะ ส่วนตัวมี่มีผิวผสม/แห้งลองใช้แล้วก็ถือว่าชอบนะคะ ระหว่างวันไม่มันเยิ้ม และก็ไม่แห้งตึงจนเกินไป แต่หน้าหนาวอาจจะเอาไม่อยู่ ไว้จะมาอัพเดทกันอีกทีค่ะ ตอนนี้ขอให้ 5 ฟลาสก์ไปก่อนนะคะ

 

คะแนน CeraVe

สุดท้ายนี้ต้องขอขอบคุณทางแบรนด์ CeraVe ด้วยนะคะที่ส่งผลิตภัณฑ์ดีๆมาให้มี่ได้ทดลองใช้ และขอบคุณทุกท่านด้วยค่ะที่ติดตามรับชมมาจนจบ

สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ทางแบรนด์ CeraVe ได้โดยตรงเลยนะคะ

https://www.facebook.com/CeraveThailandOfficial/

 

พบกันใหม่โอกาสถัดไป สวัสดีค่ะ

Disclaimer/conflict of interests: ผลิตภัณฑ์นี้ได้รับมาจากทางแบรนด์ CeraVe การรีวิวครั้งนี้เป็นการวิเคราะห์ส่วนผสมตามหลักการทางวิทยาศาสตร์เครื่องสำอางและอาศัยความเห็นส่วนบุคคล และผู้เขียนไม่ได้มีผลประโยชน์ใดๆในการขายสินค้า โปรดใช้วิจารณญาณ

Image

รีวิว/วิเคราะห์ส่วนผสม เซรั่มไฮยาจากฝรั่งเศส Booster serum with hyaluronic acid จากแบรนด์ Novexpert

สวัสดีค่ะ

เมื่อวันก่อนมี่ได้เอาเซรั่มวิตามินซีของแบรนด์ Novexpert มารีวิวแล้วนะคะ วันนี้เลยขอเอาเซรั่มไฮยา เป็น Booster serum with hyaluronic acid มารีวิวให้ได้ชมกันค่ะ

 

เริ่มจากขอแนะนำแบรนด์ Novexpert อีกซักรอบนะคะ

ชื่อแบรนด์ Novexpert มาจาก New + Expert ทางแบรนด์ก่อตั้งขึ้นมาจากผู้เชี่ยวชาญในวงการสมุนไพร ชีววิทยา แพทย์ผิวหนัง และนักเคมีที่มีชื่อเสียงหลายคน

ผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้ก็ได้คิดค้นวัตถุดิบ และสูตรส่วนผสมสกินแคร์ของแบรนด์ มาเป็นผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหลายๆสูตรค่ะ

 

ตัวที่มี่ได้มาเป็นผลิตภัณฑ์กลุ่มของ Hyaluronic acid กับ Vitamin C ที่คิดค้นสูตรโดย Dr. Daniel Colletta อาจารย์มหาวิทยาลัย นักเคมีอินทรีย์ที่มีชื่อเสียงค่ะ

ตรงนี้จะเป็นลิงค์รีวิวของ Vitamin C ที่เคยรีวิวไว้นะคะ

(>>Click<<)

 

หน้าตาของเซรั่มไฮยา หรือ ชื่อเต็ม Booster serum with hyaluronic acid นี้เป็นแบบนี้ค่ะ

นางจะมาในกล่องสีดำ คาดแดง มีข้อความว่า 100% Natural origin และ 480 mg ultra-concentrate อยู่บนกล่องค่ะ

P1010193.JPG

เปิดฝากล่องมาจะเจอ Dr.Colletta ผู้วิจัยสูตรนี้อยู่ค่ะ

no 2

ด้านในเป็นขวดแก้วแบบมีหลอดหยด ขวดสีดำ คาดแดง

no 3

เนื้อเซรั่มค่อนข้างข้น มีกลิ่นหอมหวานๆ ให้ความรู้สึกผ่อนคลาย

no 4

เกลี่ยได้ค่อนข้างง่าย ลื่นผิว แต่ไม่ถึงกับเหนอะหนะ

no 5

ตอนช่วงแรกมี่ใช้หลังเซรั่มตัวหนึ่ง มันจะเหลวๆเมือกๆหน่อย เลยเอามาใช้เป็นสเตปแรกหลังเช็ดโทนเนอร์ จะดีกว่าค่ะ ไม่มีเหลวๆเมือกๆเกิดขึ้น เลยคิดว่าลงเป็นตัวแรกก่อนลงสกินแคร์อื่นๆน่าจะดีกว่า

บนข้างกล่องบอกว่า เราจะใช้เดี่ยวๆ หรือ ให้ผสมกับครีมที่ใช้เป็นประจำก็ได้ค่ะ

ใช้วันละ 2 ครั้ง เช้า กับ กลางคืน

ค่า pH อยู่ที่ราวๆ 6 – 7 ค่ะ

ph

ที่ข้างกล่องจะเคลมเรื่องส่วนผสมไว้บางส่วนนะคะ

  • ใช้ส่วนผสมจากธรรมชาติ 100%
  • ไม่มีสารกันเสีย
  • ไม่มี PEG
  • ไม่มี Mineral oil
  • ไม่มีส่วนผสมที่ได้จากสัตว์

 

เรื่องไม่มีสารกันเสียนี้เดี๋ยวเราไปดูความใส่ใจของทางแบรนด์กันในช่วงวิเคราะห์ส่วนผสมนะคะ

มาดูส่วนผสมกันบ้างนะคะ

สผส

มาวิเคราะห์ส่วนผสมกันดีกว่านะคะ วันนี้ขอมาแบบจัดเต็มเลยค่ะ

ถ้าเราพิจารณากันจะพบว่าผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางแทบทุกชนิดจะประกอบด้วยส่วนหลักๆ 3 ส่วน คือ

  1. Actives คือ สารบำรุง เป็นส่วนที่ทำให้เครื่องสำอางมีคุณสมบัติที่ดี รวมไปถึงมีประโยชน์ทางชีวภาพ
  2. Base คือ เนื้อหลักของผลิตภัณฑ์ บางทีอาจเรียกว่า Vehicle
  3. Additive คือ สารที่ช่วยเสริมให้ผลิตภัณฑ์มีคุณสมบัติที่ดี มีความน่าใช้ และมีความปลอดภัย

 

จากส่วนผสมที่มี่ทำสีไว้จะเป็นกลุ่มของสารบำรุงนะคะ สังเกตว่าส่วนใหญ่จะเป็นสารบำรุงทั้งนั้นเลย

ขอเล่าให้ฟังทีละสีเลยนะคะ

 

  1. กลุ่มสารบำรุง วันนี้มี่ขอแบ่งเป็น 4 สีนะคะ
  • สีฟ้า เป็นกลุ่มของสารเติมน้ำให้ผิว แน่นอนว่า พระเอกของเรา Hyaluronic acid ก็อยู่ในกลุ่มนี้ด้วยค่ะ สูตรนี้มีสารเติมน้ำอยู่ด้วยกันหลายตัว จริงๆสารสีเขียวก็เป็นสารเติมน้ำด้วย แต่นางมีคุณสมบัติพิเศษเลยแยกออกไป
  • Sodium hyaluronate เรียกได้ว่าเป็นสาร Top hit นางเป็นสารในกลุ่มคาร์โบไฮเดรตที่มีในผิวเราค่ะ ในผิวเรามี Hya เป็นส่วนประกอบทั้งในชั้นหนังกำพร้าและหนังแท้ ทำหน้าที่หลายๆอย่าง แต่หลักๆคือช่วยดูดซับความชุ่มชื้นให้ผิวเรานุ่มชุ่มชื้น ฟู และเด้งค่ะ ปกติ Hyaluron ที่มีขนาดใหญ่จะซึมลงไปไม่ได้ เราต้องพึ่งคุณหมอให้ฉีด Hya ลงไปเพื่อความยืดหยุ่นของผิว แต่ใครกลัวเข็มกลัวเจ็บ ตอนนี้วงการเครื่องสำอางก็พัฒนา Hya ออกมาหลายๆขนาดให้มีขนาดเล็กลง และซึมผิวได้ดีขึ้น

 

  • ในจุดนี้ทางแบรนด์เคลมมาว่าใช้ Hya ถึง 4 ขนาดเลยทีเดียว เพื่อเติมน้ำให้ผิวหลายๆระดับความลึกของชั้นผิว

hya

(Image from Novexpert)

hya 2

(Image from Novexpert)

 

  • กลุ่มของสารที่เป็น Natural moisturizing factor หรือ NMF ทำหน้าที่ช่วยในการดูดจับน้ำ รักษาความชุ่มชื้นของชั้นผิว ได้แก่ Sodium PCA, Sodium Lactate, และ กรดอะมิโน Arginine

 

  • สีเขียว สูตรผสมของ Xylitylglucoside, Anhydroxylitol และ Xylitol มีชื่อทางการค้าว่า Aquaxyl ของฝรั่งเศสเช่นกัน วัตถุดิบนี้ผู้ผลิตวัตถุดิบเคลมว่ามีประโยชน์ในการเสริมกลไกการเก็บกักน้ำของผิวตามธรรมชาติ และช่วยรักษาสมดุลของน้ำในผิว โดยออกฤทธิ์เสริมการสังเคราะห์โปรตีน Aquaporin ซึ่งเป็นช่องทางที่ปล่อยให้น้ำและกลีเซอรีนเข้าสู่ผิว เพื่อเก็บรักษาเอาน้ำและกลีเซอรีนไม่ให้หลุดรอดออกไปข้างนอก เสริมการสังเคราะห์โปรตีนในกลุ่ม Tight junction เพื่อช่วยปกป้องไม่ให้น้ำและสารโมเลกุลเล็กๆที่มีประโยชน์หลุดรอดไปด้านนอกผิว เสริมการสังเคราะห์ Hyaluronic acid ตามธรรมชาติของผิว และเสริมการสังเคราะห์ไขมัน Cholesterol และ Ceramides ซึ่งเป็นองค์ประกอบของ Barrier ผิวด้วย

 

การทดสอบในอาสาสมัครของผู้ผลิต โดยให้อาสาสมัครเอาไปทาขาเป็นเวลา 28 วัน พบว่าผิวอาสาสมัครมีความแข็งแรงขึ้น สังเกตจากค่าการระเหยของน้ำ (TEWL) ที่ลดลง (Barrier ผิวแข็งแรง สามารถลดการระเหยของน้ำออกจากผิวได้มากกว่า)

aquaxyl

(Image from Seppic, Inc.)

 

  • สีชมพู น้ำจากว่านหางจระเข้ มีประโยชน์ในการเพิ่มความชุ่มชื้น และลดการอักเสบระคายเคืองของผิว
  • สีน้ำเงิน เป็นกลุ่มของกรดอินทรีย์ที่เสริมการผลัดเซลล์ผิว ได้แก่
    • Lactobacillus ferment การหมักด้วยจุลินทรีย์ Lactobacillus จะได้กรดอินทรีย์ต่างๆ และ Lactic acid ซึ่งออกฤทธิ์เป็น AHA หรือ สารเพิ่มความชุ่มชื้น (แล้วแต่ความเข้มข้น) บางที่บอกว่า Lactobacillus เป็น Probiotic จะช่วยปรับสมดุลภูมิคุ้มกันของผิว ถึงแม้เชื้อจะตายแล้ว ก็ยังมีประโยชน์กับผิวอยู่ มีการทดสอบประสิทธิภาพของตำรับโลชั่นที่มี Lactobacillus ที่ผ่านการฆ่าด้วยความร้อน (Heat-killed) ในอาสาสมัครที่เป็นโรคผิวหนังอักเสบ Atopic dermatitis พบว่าให้ผลลดจำนวนเชื้อจุลินทรีย์ Staphylococcus aureus บนผิวได้ และมีอาการอักเสบของผิวที่ลดลง (Clin Cosmet Investig Dermatol. 2017 Jul 3;10:249-257.) ซึ่งตรงนี้ก็ไม่แน่ใจว่าจะเหมือนกันไหม เพราะผู้ผลิตวัตถุดิบค่อนข้างเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการสกัดไว้เป็นความลับ
    • Phytic acid ตัวนี้เป็นกรดอินทรีย์ชนิดหนึ่ง พบได้ในพืชหลายชนิด ข้อมูลจากผู้ผลิตวัตถุดิบระบุว่าสกัดออกมาจากข้าว ให้คุณสมบัติเป็นสารผลัดเซลล์ผิวอย่างอ่อนโยน ตัวผู้ผลิตทดสอบแล้วกล่าวว่าให้ผลในการผลัดผิวได้เทียบเท่า Glycolic acid แต่อ่อนโยนกว่า และระคายเคืองผิวน้อย
  • phytic 1

(Image from Biosil Technologies Inc.)

  • Galactaric acid กรดอินทรีย์ มีอีกชื่อว่า Mucic acid พบในพืชหลายชนิด ข้อมูลจากผู้ผลิตวัตถุดิบระบุว่ามีประโยชน์เป็นสารผลัดเซลล์ผิว เพิ่มความชุ่มชื้น และยังมีคุณสมบัติเป็นสารกันเสีย และสารจับโลหะในสูตรเครื่องสำอางได้
  1. Base หรือ เนื้อหลัก มาในเบสแบบน้ำ ประกอบด้วยน้ำ และสารเพิ่มความชุ่มชื้นในกลุ่มที่เรียกว่า Humectant อย่าง Glycerin และ Propanediol ซึ่งได้จากธรรมชาติทั้งคู่
  • ไม่มีส่วนผสมของน้ำมัน และ แอลกอฮอล์
  1. Additives หรือ สารปรุงแต่งอื่นๆ มีอยู่เท่าที่จำเป็นจริงๆ
    • PCA ethyl cocoyl arginate ตัวนี้จริงๆเป็นสารลดแรงตึงผิวกลุ่มประจุบวก (Cationic surfactant) ที่ได้จากธรรมชาติ มีข้อมูลความปลอดภัยค่อนข้างดี มีความอ่อนโยนกับผิว ไม่เป็นพิษกับสิ่งแวดล้อมและมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อจุลินทรีย์บางชนิด อาจใช้เป็นสารกันเสียในสูตรได้
    • น้ำหอม ทางแบรนด์เคลมว่าใช้กลิ่นหอมจากธรรมชาติ และไม่ใช่สารหอมในสูตรผสม Fragrance Mix 1 และ 2 ที่คนมักจะแพ้กันบ่อย จะเห็นว่ามีความใส่ใจแม้กระทั่งในรายละเอียดเล็กๆน้อยๆ

 

สรุป เป็นเซรั่มที่มาในเบสน้ำ โดดเด่นด้วยส่วนผสมของไฮยา 4 ชนิด ร่วมกับสารบำรุงที่มีประโยชน์เสริมกันในการเติมน้ำ และผลัดผิว จึงมีประโยชน์ในการช่วยให้ผิวนุ่มนวล เรียบเนียน น่าสัมผัส ในตัวของส่วนผสมเลือกมาได้แบบดิบดี ใส่ใจกับทั้งผิวคนและสิ่งแวดล้อม

 

ให้คะแนนกันดีกว่าค่ะ วันนี้ส่วนผสมไม่ค่อยเยอะ เลยขอให้คะแนนเป็น 2 หัวข้อนะคะ

  1. ส่วนผสม ในด้านของสารบำรุง ทางแบรนด์เลือกใช้ส่วนผสมของไฮยา 4 ชนิด เพื่อเน้นเติมน้ำให้ผิวที่หลายระดับ ร่วมกับสารที่เสริมความชุ่มชื้น เติมน้ำ ช่วยการเก็บกักน้ำของผิว และเสริมการผลัดผิว ซึ่งจะมีประโยชน์ช่วยดูแลผิวให้นุ่มนวล เรียบเนียน และฟู รวมไปถึงอาจจะได้ผลเรื่องการกระชับ และริ้วรอยตื้นๆด้วย และไม่มีส่วนผสมของสารที่ไม่เป็นมิตรกับผิว ให้ไป 5 ฟลาสก์
  2. การใช้งาน ตัวเซรั่มจะออกลื่นๆผิวนิดหน่อย ส่วนตัวมี่เคยลงหลังจากเซรั่มอีกตัว แล้วกลายเป็นว่านางเยิ้มไหลเหลวๆ เลยลองสลับดู ลงอันนี้ก่อน นับ 1 – 10 แล้วลงตัวอื่นได้เลย ไม่เป็นเยิ้มๆแล้ว ในด้านของความชุ่มชื้น และนุ่มฟูถือว่าทำมาได้ดีประทับใจเลยทีเดียว เรียกได้ว่าเก็บไฮยาตัวเก่าเข้ากรุแล้วหันมาใช้ตัวนี้เลย ส่วนตัวคิดว่าคนผิวแห้งแบบมี่น่าจะชอบค่ะ แต่ผิวมันอาจจะรู้สึกว่ามันฉ่ำไปนิดหน่อย คงต้องลองค่ะ ถ้าชอบแบบฉ่ำๆ ก็จัดเลย ให้ไป 5 ฟลาสก์

 

คะแนน hya

สุดท้ายนี้ต้องขอขอบคุณทางแบรนด์ Novexpert ด้วยนะคะที่ส่งผลิตภัณฑ์ดีๆมาให้มี่ได้ทดลองใช้ และขอบคุณทุกท่านด้วยค่ะที่ติดตามรับชมมาจนจบ

 

สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดต่อสอบถามได้ที่

Facebook: Novexpert Thailand (https://www.facebook.com/NovexpertThailand/)

line@ : @novexpertthailand

instagram: novexpertofficialthailand

 

 

Disclaimer/conflict of interests: ผลิตภัณฑ์นี้ได้รับการสนับสนุนจากทางแบรนด์ Novexpert การรีวิวครั้งนี้เป็นการวิเคราะห์ส่วนผสมตามหลักการทางวิทยาศาสตร์เครื่องสำอางและอาศัยความเห็นส่วนบุคคล และผู้เขียนไม่ได้มีผลประโยชน์ใดๆในการขายสินค้า โปรดใช้วิจารณญาณ

Image

[Beauty News] CeraVe Thailand brand launch event 2018

เมื่อวันก่อนมี่มีโอกาสได้ไปร่วมงานเปิดตัว CeraVe (เซราวี) ในประเทศไทยเป็นแห่งแรกของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

หลายๆท่านน่าจะรู้จักแบรนด์ CeraVe อยู่แล้วนะคะ ส่วนตัวมี่เองก็เลยลองใช้ตัวนี้อยู่ สั่งมาจากเวบ iHerb

ตอนนี้ทางบริษัท L’oreal Thailand ก็ได้นำเอาสินค้าในแบรนด์ CeraVe เข้ามาจำหน่ายในไทยแล้วค่ะ ไม่ต้องสั่งบนเว็บ ไม่ต้องหิ้วให้เหนื่อยต่อไป

แบรนด์ CeraVe นี่เป็นแบรนด์เวชสำอางบำรุงผิวที่พัฒนาร่วมกับแพทย์ผิวหนังชั้นน้ำของอเมริกา มีราคาที่จับต้องได้ หาซื้อได้ง่าย และเป็นที่นิยมทั่วโลกเลยทีเดียวค่ะ

 

บรรยากาศภายในงานตกแต่งด้วยสีขาวสะอาดสว่างตา ตัดด้วยสีฟ้าของแบรนด์ CeraVe ค่ะ

ce 1

 

นี่ไงป้ายของเรา

ce 6

 

เมื่อเข้าไปถึงทางทีมงานก็จะให้วัดสภาพผิวก่อนค่ะ

ce 2

 

ขนาดเราคิดว่าเราก็ดูแลดีแล้วนะ ผลยังออกมาเกินอายุเลย

 

ด้านแรก ด้านความชุ่มชื้น ผิวมี่ผิวแห้ง เครื่องก็บอกว่าแห้งมากกกกกกกก

ce 3

 

ด้านที่สอง ด้านเม็ดสี ริ้วรอย และ รอยเส้นเลือดฝอย

ce 4

เม็ดสีกับริ้วรอย ของมี่เกินอายุไปนิดนึง ส่วนด้านรอยเส้นเลือดฝอยนั้นยังไม่มี ซึ่งตรงนี้อาจจะ error ได้เพราะเราโบกเมคอัพไปค่อนข้างหนาค่ะ

 

สรุปเลยออกมาว่า ผิวเราก็ยังพอได้อยู่

ce 5

 

ต่อมาก็เป็นซุ้มที่โชว์สินค้าค่ะ

 

ซึ่งทางแบรนด์ CeraVe เคลมเรื่องของนวัตกรรม MVE (Multivesicular emulsion technology) ลิขสิทธิ์ของทางแบรนด์ ซึ่งมีรูปแบบคล้ายหอมหัวใหญ่ ค่อยๆปลดปล่อยไขมันให้ผิว ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นได้อย่างยาวนาน

ce 8

 

จุดเด่นอีกจุด คือ การใช้เซราไมด์ 3 ชนิด ได้แก่ เซราไมด์ 1 เซราไมด์ 3 และ เซราไมด์ 6-II ซึ่งเน้นช่วยฟื้นฟูและปรับสภาพ Barrier ผิวให้แข็งแรงค่ะ

ce 7

 

กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มี่ได้มาจะเป็นทั้งหมดตามภาพนี้ค่ะ

 

ce 9.JPG

ไว้เดี๋ยวเรามารีวิวกันอีกทีนะคะ ^^

 

สุดท้ายนี้ต้องขอบคุณทางแบรนด์ CeraVe Thailand ด้วยค่ะที่เชิญมี่ไปร่วมงานเปิดตัวสินค้า และมอบผลิตภัณฑ์ดีๆมาให้ได้ทดลองใช้

 

สำหรับวันนี้คงต้องลากันไปเท่านี้ พบกันใหม่โอกาสถัดไป สวัสดีค่ะ

Image

รีวิว/วิเคราะห์ส่วนผสมเซรั่มมอยส์เจอไรเซอร์แบรนด์ไทยที่มีส่วนผสมของไขมันที่เป็นองค์ประกอบของ Barrier ผิว กับ Provamed Derma soothing cream

สวัสดีค่ะ

วันนี้มี่มีรีวิวส่วนผสมของครีมที่มีประโยชน์ในการเสริมสร้าง Barrier ผิวมาฝากกันค่ะ

 

ถ้าเราพูดถึง Barrier ผิว นางเป็นส่วนสำคัญที่ปกป้องผิวจากอันตรายต่างๆภายนอก และปกป้องไม่ให้สารต่างๆที่มีประโยชน์ในผิวหลุดรอดออกไป

Barrier ผิว ประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 อย่างค่ะ คือ

  1. สารโมเลกุลเล็กที่ชอบน้ำ ทำหน้าที่ดุดจับน้ำเอาไว้ เราเรียก Natural moisturizing factor หรือ NMF
  2. ไขมันระหว่างเซลล์ผิวในชั้นนอกสุด หรือ Stratum corneum
  3. การเรียงตัวแบบซับซ้อนของเซลล์ผิวในชั้น Startum corneum

ดาวน์โหลด.jpg

(Image from http://www.blackboxcosmeticsblog.com/blog/2017/2/7/what-is-the-acid-mantle-and-why-you-should-be-using-a-sulphate-free-face-wash-to-protect-it)

 

โดยว่ากันว่าองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในการเป็น Barrier ผิวก็คือไขมันค่ะ

โดยเจ้าไขมันนี้ เราอาจจะเข้าใจผิดว่า มันสร้างมาจากต่อมไขมัน ซึ่งจริงๆไม่ใช่ นางเป็นคนละกลุ่มกันค่ะ ไขมันที่เป็น Barrier ผิวนี่จะถูกสร้างที่ผิวชั้นหนังกำพร้าด้านใน ส่วนไขมัน Sebum ที่ทำให้เราหน้ามันเยิ้มนี่สร้างมาจากต่อมไขมัน

คนผิวมัน คือ มี Sebum เยอะ แต่ไขมันที่เป็นองค์ประกอบของ Barrier ผิวอาจจะน้อยก็ได้ ถ้าไขมันที่เป็น Barrier ผิวน้อย ผิวเราก็จะมีกลไกในการรักษาความชุ่มชื้น และกลไกในการปกป้องตัวเองจากสิ่งต่างๆภายนอกได้ลดลง ผิวก็มีสิทธิขาดน้ำ หรือ มีลักษณะบอบบางแพ้ง่ายได้

ไขมันที่เป็นองค์ประกอบของ Barrier ผิวประกอบขึ้นจากไขมันสำคัญ 3 ชนิด ได้แก่

  1. Ceramide
  2. Cholesterol
  3. Fatty acid

ทางหนึ่งในการฟื้นฟู Barrier ผิว ก็คือการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของไขมันทั้ง 3 ประเภท ในสัดส่วนเท่ากัน (วัดเป็นความเข้มข้นโดยโมล) แต่ในทางปฏิบัติเรามักจะไม่ทราบว่าเขาใส่มาเท่าไหร่ ก็เลือกโดยดูจากส่วนผสมเอา ถ้ามีครบ 3 ประเภทก็คือจบ โดยบางที Fatty acid หลายๆแบรนด์ เลือกใช้ในรูปแบบของน้ำมันจากพืชค่ะ แต่บางแบรนด์ก็ใช้ในรูปแบบของ Fatty acid อิสระ

 

เกริ่นมาซะยืดยาว มาเข้าเรื่องของเรากันดีกว่าค่ะ

ผลิตภัณฑ์ที่มี่นำมารีวิววันนี้เป็นผลิตภัณฑ์ตัวใหม่จากแบรนด์ Provamed แบรนด์เวชสำอางแบรนด์ดังของไทยแบรนด์หนึ่งนั่นเองค่ะ แบรนด์นี้เราเจอได้ในร้านยาทั่วไปเลยนะคะ คุณเภสัชเองเค้าก็ชอบแนะนำแบรนด์นี้อยู่ค่ะ

ตอนนี้ทางแบรนด์พึ่ง Launch ผลิตภัณฑ์ในในไลน์ใหม่ Derma soothing ออกมาค่ะ

หน้าตาของ Product ใหม่เป็นดังนี้ค่ะ

prov 4

ตัวแพคเกจจริงมาในรูปแบบหลอดค่ะ

prov 7

ที่บนกล่องจะมีเคลมเรื่องของ A.T.O. defense system ซึ่งหมายถึง Active optimized system ที่เป็นการเลือกสรรวัตถุดิบต่างๆมาเพื่อเสริมฤทธิ์กันได้อย่างลงตัว

prov 5prov 6

เนื้อครีมเป็นครีมสีขาว ค่อนข้างบางเบา ถ้าเทียบกับผลิตภัณฑ์อื่นๆในกลุ่มครีมเสริมสร้าง Barrier ผิวด้วยกัน จึงน่าจะเหมาะกับทุกสภาพผิว

 

prov 1

เกลี่ยได้ง่าย ซึมผิวไว ไม่เหนียวเหนอะหนะ

prov 2

ค่า pH อยู่ที่ราวๆ 5 – 6 นะคะ ซึ่งถือว่าใกล้เคียงกับผิวดี

prov 3

สำหรับส่วนผสมเรียกได้เลยว่า มาแบบจัดเต็ม เลือกส่วนผสมที่ออกฤทธิ์เสริมกันได้อย่างลงตัว Target ทุกปัญหาของผิวบอบบางแพ้ง่าย

ส่วนผสมเป็นดังนี้ค่ะ

ส่วนผสม prova

วันนี้ขอรีวิวแบบวิเคราะห์จัดเต็มเลยนะคะ

ถ้าเราพิจารณากันจะพบว่าผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางแทบทุกชนิดจะประกอบด้วยส่วนหลักๆ 3 ส่วน คือ

  1. Actives คือ สารบำรุง เป็นส่วนที่ทำให้เครื่องสำอางมีคุณสมบัติที่ดี รวมไปถึงมีประโยชน์ทางชีวภาพ
  2. Base คือ เนื้อหลักของผลิตภัณฑ์ บางทีอาจเรียกว่า Vehicle
  3. Additive คือ สารที่ช่วยเสริมให้ผลิตภัณฑ์มีคุณสมบัติที่ดี มีความน่าใช้ และมีความปลอดภัย

 

รายละเอียดส่วนผสมแต่ละตัวเป็นดังนี้ค่ะ

  1. Actives หรือ สารบำรุง วันนี้มี่ทำไว้หลายสี ตาม Code ของสารบำรุงที่ทางแบรนด์เลือกใช้มานะคะ
  • เปิดด้วยสีเขียวก่อนนะคะ สูตรผสมของ Octyldodecanol, Ribes Nigrum (Black Currant) Seed Oil, Helianthus Annuus (Sunflower) Seed Oil Unsaponifiables, Cardiospermum Halicacabum Flower/Leaf/Vine Extract, Tocopherol, Helianthus Annuus (Sunflower) Seed Oil, Rosmarinus Officinalis (Rosemary) Leaf Extract เป็นวัตถุดิบที่มีชื่อว่า Defensil-Plus ซึ่งเป็นวัตถุดิบนำเข้ามาจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ วัตถุดิบนี้มีเคลมเกี่ยวกับคุณสมบัติในการลดการอักเสบ เสริมสร้างและฟื้นฟู Barrier ผิวให้แข็งแรง ทางผู้ผลิตวัตถุดิบมีการทดสอบทั้งในระดับหลอดทดลอง และในระดับอาสาสมัคร พบว่ามีประโยชน์ที่ดีในการลดการอักเสบ การแพ้ Soothing (ปลอบประโลมให้ความรู้สึกสบายผิว) ลดรอยแดง ลดการระเหยของน้ำจากผิว (ลด TEWL) รวมถึงมีผลการทดสอบในอาสาสมัครที่เป็นโรคผิวหนังอักเสบ Atopic พบว่าให้ผลดีเช่นกัน

defensil

(Image from Rahn AG)

  • สีฟ้า สูตรผสมของ Ceramide 3; Ceramide 6 II; Ceramide 1; Phytosphingosine; Cholesterol; Sodium Lauroyl Lactylate; Carbomer; Xanthan Gum เป็นวัตถุดิบ Ceramide Mix ที่นำเข้ามาจากเยอรมัน ซึ่งเป็นสูตรผสมของไขมันที่เป็นองค์ประกอบของ Barrier ผิวรวมกัน โดยเน้นไปที่ Ceramides เป็นหลัก เสริมมาด้วย Cholesterol ถ้าเอาไปรวมกับน้ำมันจากพืชอื่นๆที่ใส่เข้ามา ผลิตภัณฑืนี้คือมีส่วนประกอบของ Barrier ผิวครบถ้วนสมบูรณ์ วัตถุดิบนี้มีการศึกษาในผิวหนังที่เอามาเพาะเลี้ยงในหลอดทดลอง พบว่า สามารถเพิ่มการดูดซึม Ceramide ต่างๆลงไปในผิวได้ดีกว่า
  • สีชมพู สูตรผสมของ Glycerin, Aqua, Disodium Adenosine Triphosphate, Carica Papaya Fruit Extract, Phenoxyethanol, Algin, Sodium Hydroxide คือวัตถุดิบ Hydractin นำเข้ามาจากสวิตเซอร์แลนด์เช่นกัน ผู้ผลิตวัตถุดิบเคลมว่า ปรับสมดุลความชุ่มน้ำของผิวหนังชั้นนอก (Epidermis) มีประโยชน์กับผิวหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการเสริมความชุ่มชื้น ผลัดผิวอย่างอ่อนโยน ลดการเกิดผิวแห้งเป็นขุย มีการทดสอบในอาสาสมัครพบว่าสารนี้สามารถเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวได้ดี

rahn

(Image from Rahn AG)

  • สีน้ำตาล ได้แก่
    • Squalane ตัวนี้เป็นไขมันที่เลียนแบบไขมัน Squalene ที่เป็นองค์ประกอบของ Sebum นางจะทำหน้าที่เคลือบปกป้องผิวรักษาความชุ่มชื้น ทางแบรนด์เคลมว่า ใช้เป็นวัตถุดิบธรรมชาติที่แยกออกมาจากมะกอก นำเข้ามาจากฝรั่งเศส
    • น้ำมันสกัดจากถั่วดาวอินคาออร์แกนิค (Plukenetia volubilis seed oil) อุดมไปด้วยกรดไขมันจำเป็น Omega 3 และ 6 ช่วยให้ความชุ่มชื้น และเสริมกรดไขมันจำเป็นให้แก่ผิว ทางผู้ผลิตวัตถุดิบมีการทดสอบในระดับหลอดทดลองพบว่า สามารถเสริมการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนของเซลล์ผิว และการทดสอบในอาสาสมัครพบว่า มีประโยชน์ทำให้ผิวหนังยืดหยุ่นขึ้น

green 1

(Image from Greentech)

green 2

(Image from Greentech)

  • สีน้ำเงิน เป็นกลุ่มของสารลดการอักเสบและระคายเคือง ใส่มาด้วยกันหลายตัว ดังนี้
    • Panthenol หรือ โปรวิตามินบี 5 ซึ่งคุณสมบัติในการเป็น Moisturizer ของ Panthenol มีรายงานตีพิมพ์รองรับ คือ สามารถช่วยเพิ่มความสมบูรณ์ของผิวหนัง ช่วยลดการระเหยของน้ำออกจากผิว รักษาความชุ่มชื้นให้ผิวได้ (J Cosmet Sci. 2011; 62(4):361-70.) อนุพันธ์ชนิด D-panthenol มีคุณสมบัติลดการอักเสบในผิวได้ดี (Acta Pol Pharm. 2004;61(6):433-7.) การทดสอบเชิงคลินิกพบว่าครีมชนิดน้ำมันที่มีส่วนผสมของ Panthenol ในความเข้มข้น 5% ให้ผลในการลดการอักเสบในเด็กที่เป็นโรคผิวหนังอักเสบ Atopic ได้ดีเทียบเท่า Hydrocortisone 1% ซึ่งเป็นสเตียรอยด์ความแรงอ่อน (J Drugs Dermatol. 2012 Mar;11(3):366-74.) ซึ่งในจุดนี้ทางแบรนด์ใส่มาที่ 5% เทียบเท่าในงานวิจัยนี้เลย
    • Betaine เป็นกรดอะมิโนชนิดพิเศษที่เป็นอนุพันธ์ของ Glycine มีประโยชน์ในการเพิ่มความชุ่มชื้น ให้ความรู้สึกนุ่มเบาสบายผิว และลดความเหนอะหนะของเนื้อครีม
    • Allantoin เป็นสารที่แยกได้จากรากคอมเฟรย์ มีประโยชน์ในการลดการอักเสบและระคายเคือง
    • Bisabolol เป็นสารที่มีคุณสมบัติลดการอักเสบระคายเคือง พบได้ในพืชหลายชนิด เช่น คาโมมายล์ การทดสอบในสัตว์ทดลองพบว่า α-(-)-Bisabolol สามารถกดการสร้างสารก่อการอักเสบได้ (Curr Pharm Biotechnol. 2014;15(2):173-81.) ทางแบรนด์เคลมว่า Bisabolol ที่ใช้ เป็นรูปแบบ α-(-)-Bisabolol ได้จากต้นไม้ในกลุ่ม candeia ประเทศบราซิล ซึ่งให้ฤทธิ์ดีกว่าแบบสังเคราะห์ 25%
  • สารบำรุงอื่นๆ ได้แก่
    • Sodium hyaluronate มีประโยชน์ในการดูดน้ำเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิว
    • Glucose มีประโยชน์ในการดูดน้ำเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิว
  1. ส่วนของเบส มาในเบสชนิดครีมประกอบด้วยส่วนผสมของน้ำ และน้ำมัน ไม่มีส่วนผสมของซิลิโคน และแอลกอฮอล์
    • ส่วนของน้ำ ได้แก่ น้ำ Pentylene glycol, Butylene glycol, Glycerin ซึ่งเป็นสารดูดน้ำเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิว
    • ส่วนของน้ำมัน ได้แก่ Glyceryl stearate, Cetyl alcohol, Isohexadecane, C12-15 alkyl benzoate, Dicaprylyl carbonate, C14-22 alcohols, และ C12-20 alkyl glycerides
  2. ส่วนผสมอื่นๆ มีอยู่เท่าที่จำเป็น ได้แก่
    • Emulsifier เป็นสารเชื่อมผสานให้น้ำเข้ากับน้ำมันเกิดเป็นเนื้อครีมได้ ได้แก่ PEG-75 stearate, PEG-100 stearate, Ceteth-20, Steareth-20
    • สารจับโลหะ Disodium EDTA มีประโยชน์ในการเพิ่มความคงตัวให้แก่เนื้อครีม และเสริมประสิทธิภาพของสารกันเสีย
    • สารกันเสีย ได้แก่ Phenoxyethanol
    • สารปรับ pH มี Sodium hydroxide บางคนเห็นแล้วอาจจะหวีดร้อง แต่ความจริงคือ ในการปรับ pH จะมีเนื้อสารของ Sodium hydroxide น้อยมาก ไม่มีอันตรายอะไรกับผิว

 

สรุป: ในภาพรวม ส่วนผสมที่ใส่มาทำมาได้ค่อนข้างดีในการเป็นผลิตภัณฑ์เสริมสร้าง Barrier ผิว ช่วยให้ผิวแข็งแรง ด้วยคอนเซปท์ Active optimized ที่อาศัยสารบำรุงทั้ง 3 กลุ่มเข้ามาทำงานร่วมกันอย่างลงตัว ถึงแม้จะเป็นแบรนด์ไทย แต่สารบำรุงส่วนใหญ่นำเข้ามาจากต่างประเทศเลย เรียกได้ว่าเป็น World class quality

ส่วนตัวเบสและส่วนของสารปรุงแต่ง ก็ทำมาได้ดี ไม่มีส่วนผสมของสารที่ไม่เป็นมิตรกับผิวอยู่เลย

 

มาให้คะแนนกันดีกว่าค่ะ

  1. สารบำรุง ในด้านของการเป็นไขมันของ Barrier ผิว ในครีมตัวนี้มีส่วนผสมของ Ceramide, Cholesterol และ Fatty acid อยู่ครบทั้ง 3 ชนิด และเสริมสารบำรุงอื่นๆลงมาเพื่อเสริมฤทธิ์ในการดูแลผิวบอบบางได้เป็นอย่างดี ให้ไป 5 ฟลาสก์
  2. ส่วนผสมอื่นๆ ทำมาได้ค่อนข้างดีทั้งตัวเบส และ สารปรุงแต่ง ไม่มีส่วนผสมของสารที่ไม่เป็นมิตรกับผิว เลยไม่มีที่ให้หักคะแนน ให้ไป 5 ฟลาสก์
  3. การใช้งาน ส่วนตัวมี่มีผิวผสม/แห้ง ตรง T-zone จะค่อนข้างมัน ส่วนตรงแก้มจะแห้ง มี่ลองใช้ครีมตัวนี้ทั้งเช้าเย็นมาได้เกือบๆ 2 สัปดาห์ เรื่องของความเป็นมอยส์เจอไรเซอร์นั้นถือว่าทำมาได้ดีเลย เหมาะกับผิวแห้ง แต่ก็ไม่ได้เหนอะหนะเว่อร์วังจนเกินไป คิดว่าน่าจะเหมาะกับทุกสภาพผิวอยู่ ส่วนเรื่องการอักเสบระคายเคืองนั้น ช่วงนี้มี่ไม่ได้มีอาการนี้ เลยไม่ขอฟันธงให้ค่ะ ถ้าในด้านความประทับใจและความชอบส่วนตัว ขอให้ 5 ฟลาสก์เช่นกันค่ะ

คะแนน prov

สุดท้ายนี้ต้องขอขอบคุณทางแบรนด์ Provamed ด้วยนะคะที่ส่งสินค้าดีๆมาให้ได้ทดลองใช้ และขอบคุณทุกท่านด้วยค่ะที่ติดตามรับชมมาจนจบ

สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ทางแบรนด์โดยตรงเลยนะคะ

https://www.facebook.com/Provamedclub/

http://www.provamed.co.th/

 

สำหรับวันนี้คงต้องลากันไปเท่านี้ พบกันใหม่โอกาสถัดไป สวัสดีค่ะ

 

Disclaimer/conflict of interests: ผลิตภัณฑ์นี้ได้รับการสนับสนุนจากทางแบรนด์ Provamed การรีวิวครั้งนี้เป็นการวิเคราะห์ส่วนผสมตามหลักการทางวิทยาศาสตร์เครื่องสำอางและอาศัยความเห็นส่วนบุคคล และผู้เขียนไม่ได้มีผลประโยชน์ใดๆในการขายสินค้า โปรดใช้วิจารณญาณ

Image

รีวิววิเคราะห์ส่วนผสมสเปรย์น้ำแร่สูตรเซรั่ม กับ Chou SkinDrink serum

สวัสดีค่ะ วันนี้มี่มีรีวิวสเปรย์น้ำแร่มาฝากกันค่ะ

เชื่อว่าหลายคนคงรู้จักแบรนด์ Chou ที่ทำฟองน้ำรูปไข่ที่โด่งดังค่ะ ตอนนี้เขาทำ Skincare ออกมาหลายตัวเลย

วันนี้มี่จะขอรีวิว SkinDrink serum ซึ่งเป็นสเปรย์น้ำแร่นะคะ

หน้าตาจะมาในกล่องแบบนี้ค่ะ

chu b

พอเราเปิดกล่องมาจะแอบมีกิมมิคเล็กๆ ด้วยคำว่า “Find out your best complexion!”

chu b2

ตัวขวดมาในขวดอลูมิเนียม ซึ่งมีข้อดีคือปกป้องจากอากาศ ทำให้สารบำรุงต่างๆมีความคงตัวดี

chu b3

สเปรย์พ่นออกมาได้ละอองเล็กละเอียด

chu 1

ไม่มีกลิ่น ไม่เหนอะหนะ คืนความชุ่มชื้นให้ผิว และรู้สึกสบายผิวดีค่ะ

chu 2

ดูค่า pH กันซักหน่อยนะคะ

chu 3

อยู่ที่ราวๆ 5 – 6 ซึ่งใกล้เคียงกับผิวดีค่ะ

ในการใช้จริงจะฉีดทับเมคอัพระหว่างวันได้เลยค่ะ ไม่ทำให้เมคอัพเลอะ

พอฉีดเสร็จเอากระดาษซับเบาๆ เมคอัพจะดูสดใหม่เหมือนพึ่งแต่งหน้าเสร็จเลยค่ะ

chu makeup

เมคอัพไม่หลุดติดกระดาษเลยค่ะ

makeup 3

มารีวิวส่วนผสมต่อดีกว่าค่ะ สำหรับส่วนผสมเป็นดังนี้นะคะ

คะแนน chu

จากส่วนผสมก็จะตรงกับ Brand claim ค่ะ โดย Claim ว่าไม่มีส่วนผสมที่ไม่เป็นมิตรกับผิวค่ะ

  • Paraben-free
  • Colorance-free
  • Fragrance-free
  • Alcohol-free
  • Oil-free
  • DEA/TEA/MEA-free
  • Silicone-free
  • Sulfate-free
  • Lead-free
  • Hydroquinone-free
  • Triclosan-free
  • Tretionoin/retinoic acid-free
  • Steroid-free

ส่วนผสมมี่ทำสีของสารบำรุงไว้เป็นสีฟ้านะคะ

จากส่วนผสมจะเห็นว่ามีตัวบำรุงอยู่หลายตัวเหมือนกัน และไม่มีสารที่ไม่เป็นมิตรตาม Brand claim ค่ะ

สารบำรุงที่ใส่มาเน้นไปที่การลดการอักเสบระคายเคืองในผิว และให้ความรู้สึกสบายผิว หรือที่เรียกแบบสวยๆว่า Soothing effect ค่ะ

ว่าแต่สารบำรุงมีอะไรบ้างนะ

  • น้ำทะเล หรือ Sea water extract ที่มีรายงานกล่าวว่าลดการอักเสบในผิวได้
  • สารสกัดจากแตงกวา โดดเด่นเรื่องชุ่มชื้น และให้ความรู้สึกสบายผิว
  • วิตามินบี 3 หรือ Niacinamide ให้ผลเกี่ยวกับ Whitening, ลดการอักเสบ ช่วยผิวสร้าง barrier และ ช่วยดูแลเรื่องสิว
  • ว่านหางจระเข้ ให้ผลเรื่องชุ่มชื้น และให้ความรู้สึกสบายผิวเช่นกัน
  • Boswellia extract เป็นสารสกัดจาก Boswellia ตัวนี้ก็มีงานวิจัยรองรับว่าช่วยลดการอักเสบในผิวได้ดี (Indian J Pharm Sci. 2011;73(3): 255–)
  • สารสกัดจากบัวบก ที่เป็น antioxidant ที่ดีและให้ผลเกี่ยวกับการชะลอวัยด้วยค่ะ
  • Salicylic acid เป็น BHA ช่วยลดการอุดตันและลดการอักเสบค่ะ

มาเต็มสมชื่อ Serum จริงๆค่ะ

มาให้คะแนนกันดีกว่านะคะ

  1. ส่วนผสม จากที่เล่าให้ฟังในด้านบนเราจะเห็นว่าสารบำรุงค่อนข้างมาเต็มเลยทีเดียว หลักๆจะเน้นไปด้านชุ่มชื้นและให้ความรู้สึกสบายผิว และไม่มีสารที่ไม่เป็นมิตรกับผิว เลยให้ไป 5 ฟลาสก์
  2. การใช้งาน เป็นน้ำแร่ที่ใช้ได้ง่าย เติมน้ำระหว่างวัน ขวดเล็กพกพาสะดวกใส่กระเป๋าถือได้ รู้สึกหน้าตึงเมื่อไหร่ก็หยิบมาฉีด ฉีดแล้วกดๆซับๆนิดหน่อย เมคอัพไม่หลุดค่ะ แถมยังช่วยให้เมคอัพดูสดเหมือนพึ่งแต่งหน้ามา ส่วนตัวมี่ค่อนข้างชอบนะคะ ติตรงราคาแอบแรงไปนิด เลยขอให้ไป 4 ฟลาสก์

คะแนน chu

สำหรับราคา จะตกอยู่ที่ขวดละ 950 บาทค่ะ

สุดท้ายนี้ขอขอบคุณทางแบรนด์ Chou ด้วยนะคะที่ส่งผลิตภัณฑ์ดีๆมาให้มี่ได้ทดลองใช้ สำหรับวันนี้มีแค่นี้ พบกันใหม่โอกาสถัดไป สวัสดีค่ะ

Disclaimer: ผลิตภัณฑ์นี้ได้รับการสนับสนุนจากทางแบรนด์ Chou การรีวิวครั้งนี้เป็นการวิเคราะห์ส่วนผสมตามหลักการทางวิทยาศาสตร์เครื่องสำอางและอาศัยความเห็นส่วนบุคคล ผู้เขียนไม่ได้รับค่าตอบแทนในการเขียนรีวิวและไม่มีผลประโยชน์ใดๆในการขายสินค้า โปรดใช้วิจารณญาณ