Image

รีวิว/วิเคราะห์ส่วนผสมมูสโฟมล้างหน้านุ่มแน่น Cloud จาก The Labatorian

ก่อนหน้านี้ทางเพจได้นำเสนอมูสโฟมล้างหน้าชิ้นหนึ่งที่มีฟองโฟมมูสแน่นนุ่มสู้มือไป วันนี้ขอหยิบเอาส่วนผสมของน้องมาวิเคราะห์กันต่อ

ผลิตภัณฑ์มูสโฟมนี้มีชื่อว่า Cloud Fluffy amino gentle barrier cleanser จากแบรนด์ the Labatorian ซึ่งมีผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจหลายๆ ชิ้น และทางเพจได้เคยนำเสนอไปก่อนหน้านี้

สำหรับท่านที่พลาด สามารถรับชมรีวิว/วิเคราะห์ส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจจากทางแบรนด์ได้ตามลิงค์เลยนะคะ

เซรั่มสำหรับดูแลผิวที่เป็นสิวง่าย Agness >>Click

เซรั่มสำหรับดูแลผิวที่มีปัญหาจุดด่างดำ Clair >>Click

และเซรั่มดูแล Barrier ผิวสุดปัง Brikk ที่พึ่งเปิดตัวไม่นานมานี้ >>Click

วันนี้ถึงคิวของน้อง Cloud แล้วค่ะ ขอแอบอวดความน่ารักของ Box set ที่ทางแบรนด์ส่งมาให้สักหน่อย

น่ารักเนอะ

สำหรับตัวมูสนี้มาในกระป๋องอะลูมิเนียมแบบอัดก๊าซ ซึ่งเรียกตำรับแบบนี้กันว่า Aerosol ค่ะ

เนื้อโฟมก็นุ่มแน่นสู้มือสุดๆ

ลองวัดค่า pH หลังละลายมูสในน้ำได้อยู่ที่ราวๆ 5 ซึ่งถือว่าทำมาได้ใกล้เคียงกับค่า pH ของผิว

รายการส่วนผสมเป็นดังนี้นะคะ

สำหรับส่วนผสมวันนี้มี่ทำไว้ สีตามกลุ่ม ประโยชน์และวัตถุประสงค์ในการใช้

เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจึงขอเปิดประเดิมด้วยกลุ่มสารทำความสะอาดค่ะ

  • กลุ่มสารทำความสะอาดแทนด้วยสีส้ม ซึ่งมีด้วยกัน 3 ชนิด คือ Lauryl hydroxysultaine, Disodium cocoyl glutamate และ Caprylyl/capryl glucoside ซึ่งเป็นสารทำความสะอาดชนิดที่อ่อนโยนกับผิวทั้ง 3 ตัว
    • ขอ Focus ที่ Lauryl hydroxysultaine ซึ่งเป็นสารทำความสะอาดที่น่าสนใจตัวหนึ่ง มีความอ่อนโยนที่ดี ทำความสะอาดดี ฟองดี และยังมีความคงตัวสูง ไม่สลายตัวปลดปล่อยสารที่ไม่เป็นมิตรออกมาง่ายๆ
    • Disodium cocoyl glutamate เป็นสารทำความสะอาดชนิดอ่อนโยนที่ดัดแปลงจากกรดอะมิโน Glutamic acid มีความอ่อนโยนเช่นกัน
    • ส่วน Caprylyl/capryl glucoside นั้นเป็นสารทำความสะอาดชนิดไม่มีประจุ มีความอ่อนโยนเช่นเดียวกัน
  • กลุ่มสารที่ดูแลเรื่องการระคายเคือง แทนด้วยสีฟ้า ซึ่งมีด้วยกัน 4 ตัว ขอเลือกกล่าวถึงตัวที่น่าสนใจ 2 ตัว คือ
    • Acetyl dipeptide-1 cetyl ester น้องเป็นเปปไทด์ที่เด่นในแง่ของการลดความรู้สึกระคายเคือง ซึ่งมีการศึกษารองรับในอาสาสมัคร โดยให้อาสาสมัครทา Capsaicin เพื่อเกิดการระคายเคือง แล้วทาผลิตภัณฑ์ที่มีสารตัวนี้ลงไป พบว่า สารนี้สามารถลดการระคายเคืองและความรู้สึกแสบร้อนที่เกิดขึ้น (J Eur Acad Dermatol Venereol. 2016;30 Suppl 1:18-20.)
    • Hydroxyacetophenone มีชื่อทางการค้าว่า Symsave H เป็นสาร Muti-functional ให้ประโยชน์เป็นสารเพิ่มประสิทธิภาพของสารกันเสีย ให้คุณสมบัติเสริมในด้านการลดการระคายเคือง และเป็น Antioxidant
  • สีชมพู O-cymen-5-Ol มีอีกชื่อว่า Isopropyl methylphenol เรียกกันย่อๆ ว่า IPMP น้องเป็นสารกลุ่ม Terpenes ที่พบได้ในพืชหลายๆชนิด มีรายงานการวิจัยสนับสนุนถึงคุณสมบัติระงับเชื้อราและแบคทีเรียบางชนิด (Int Dent J. 2011;61 Suppl 3:33-40.) ข้อมูลจากผู้ผลิตวัตถุดิบระบุว่าสารนี้ใช้เป็น Preservative booster ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของสารระงับเชื้อชนิดอื่นๆในตำรับ และมีคุณสมบัติในการควบคุมความมัน และลดจำนวนเชื้อก่อโรคสิว (Ref: TDS ParbFree® IPMP100)
  • สีม่วง คือ วิตามินอี ซึ่งเป็น Antioxidant ที่ละลายได้ในไขมัน

อีกจุดที่น่าสนใจคือในตำรับมีการใช้ Buffer เพื่อควบคุมค่า pH ให้คงที่ โดยใช้ Citric acid คู่กับ Sodium citrate และมีรายงานว่าการใช้ Buffer กรดอ่อนมีประโยชน์ในการดูแลผิว (แต่ทั้งนี้ขึ้นกับค่า pH ของตำรับด้วย)

ในภาพรวมคือเป็น Cleanser ชิ้นหนึ่งที่ทำมาได้น่าสนใจ เลือกใช้สารทำความสะอาดที่อ่อนโยน แต่คงไว้ซึ่งฟองโฟมหนานุ่มแน่น และเสริมสารบำรุงที่ดูแลผิวได้ในหลายๆ ด้าน ถึงแม้ว่าพวก Cleanser จะสัมผัสผิวไม่นาน การมีสารบำรุงอยู่ก็น่าจะดีกว่าไม่มี และสารลดระคายเคืองอย่าง Acetyl dipeptide-1 cetyl ester ก็อาจจะให้ประโยชน์ในการลดการระคายเคืองจากการล้างหน้าได้

มาให้คะแนนกันดีกว่าค่ะ

เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดขอปรับหัวข้อการให้คะแนนเล็กน้อยนะคะ

  1. สารทำความสะอาด เป็นเหมือนหัวใจหลักของ Cleanser ซึ่งทางแบรนด์เลือกใช้มาอย่างดี เป็นชนิดที่อ่อนโยนหมด ส่วนเรื่องฟองก็แจ่ม ดังนั้นใครสายฟองแต่กลัว surfactant แรงๆ ตัวนี้ก็น่าจะเป็นทางเลือกที่ดี ให้ไป 5 ฟลาสก์
  2. สารบำรุงและส่วนผสมอื่นๆ สารบำรุงที่ใส่ลงมามีประโยชน์หลายอย่าง เช่น ดูแลเรื่องการระคายเคือง ให้ความรู้สึกสบายผิว ดูแลเรื่องสิวและเรื่องของความชุ่มชื้นผิว สำหรับส่วนผสมอื่นๆ นั้น ไม่มีสารที่ไม่เป็นมิตรกับผิว รับไป 5 ฟลาสก์เช่นกัน
  3. การใช้งาน ส่วนตัวเป็นคนบ้าฟองอยู่แล้ว ดังนั้นตัวนี้คือตอบโจทย์ค่ะ คนผิวแห้งแบบดิฉันอย่านวดนานจนเพลิน จะรู้สึกแห้งตึงได้ ครั้งแรกๆ ดิฉันนวดสนุกมากยิ่งนวดฟองยิ่งแน่นยิ่งนุ่ม กลายเป็นนวดเพลินไป หน้าแห้ง ให้ลองนวดประมาณ 30 วิ พอสนุกสนานก็ไปล้างออก ก็ไม่แห้งตึงระคายเคืองแล้วค่ะ สำหรับผิวมันก็เพิ่มเวลาใช้งานไปตามความเหมาะสมค่ะ ให้ไป 5 ฟลาสก์

สุดท้ายนี้ต้องขอขอบคุณทางแบรนด์ The labatorian ด้วยนะคะ ที่ส่งผลิตภัณฑ์ดีๆ มาให้ได้รู้จัก และขอบคุณทุกท่านด้วยนะคะ ที่ติดตามรับชมมาจนจบ

สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดต่อสอบถามได้ที่

IG : the_labatorian

Line official : @labatorian

Facebook : Labatorian

Disclaimer/conflict of interests: ผลิตภัณฑ์นี้ได้รับการสนับสนุนจากทางแบรนด์ The labatorian การรีวิวครั้งนี้เป็นการวิเคราะห์ส่วนผสม/วัตถุดิบตามหลักการทางวิทยาศาสตร์เครื่องสำอางและอาศัยความเห็นส่วนบุคคล และผู้เขียนไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเกี่ยวกับบริษัทเครื่องสำอางใดๆ โปรดใช้วิจารณญาณ

Image

รีวิวเซรั่มฟื้นฟู Barrier ที่เนื้อบางเบาอย่างไม่น่าเชื่อ กับ Brikk 6 in 1 daily skin barrier treatment essence จาก The labatorian

สำหรับ Content นี้จะมาเล่าถึงเซรั่มที่น่าสนใจ ซึ่งทางแบรนด์ออกแบบมาเพื่อฟื้นฟู Barrier ผิวในทุกมิติ จากแบรนด์ The Labatorian ซึ่งทางเพจเราได้นำเสนอบทวิเคราะห์ส่วนผสมของผลิตภัณฑ์หลายๆ ชิ้นไปก่อนหน้านี้ค่ะ

วันนี้จะมาวิเคราะห์เซรั่มน้องใหม่ของทางแบรนด์ ที่พึ่งเปิดตัวเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมานี้ค่ะ

เซรั่มน้องใหม่นี้มีชื่อว่า Brikk ซึ่งว่ากันว่ากว่าทางแบรนด์จะได้สูตรนี้มานั้นผ่านการปรับสูตรมามากกว่า 50 สูตรเลยทีเดียวจนกว่าจะได้สูตรที่ดีงามขนาดนี้

น้องใหม่ Brikk มีหน้าตาประมาณนี้นะคะ

ตัวแพคเกจนั้นมาในขวดแก้วที่ด้านในเป็นฝาปั๊มค่ะ

เนื้อเซรั่มเป็นเนื้อแบบใส จะได้กลิ่นหอมของกุหลาบจางๆ ซึ่งมาจาก Rose water ที่ทางแบรนด์เลือกใช้ นอกจากจะให้ความรู้สึกสบายผิว (Soothing effect) แล้วก็ยังได้กลิ่นหอมด้วย

เกลี่ยได้ค่อนข้างง่าย แรกๆ จะให้สัมผัสลื่นๆ ผิว แต่เมื่อทิ้งไว้สักพัก ไม่ถึง 1 นาที ตัวเซรั่มจะซึม/แห้งไป ให้ความรู้สึกนุ่มนวล ชุ่มชื้น และไม่เหนียวเหนอะหนะ

ค่า pH นั้นอยู่ที่ประมาณ 5 นะคะ ซึ่งถือว่าใกล้เคียงกับค่า pH ของผิว

รายการส่วนผสมนั้นเรียกได้ว่าจัดเต็มคาราเบลมาเกินเบอร์เกินหน้าเกินตาความเป็นเซรั่มใสมาก

ก่อนจะไปดูที่ส่วนผสม เรามาลอง Revised trend ใหม่ล่าสุดของ Barrier ผิวกันค่ะ

ในสมัยก่อนเรากล่าวกันว่า Barrier ผิวประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน คือ

  1. ไขมันที่อยู่ระหว่างเซลล์ Corneocytes (เซลล์ในชั้น Stratum corneum)
  2. Natural moisturizing factor (NMF)
  3. ตัวเซลล์ Corneocyte เองที่เรียงตัวแบบคดเคี้ยว และในเซลล์มีโปรตีน Keratin ที่อัดกันแน่น ทำหน้าที่ปกป้อง Lipid barrier อีกชั้นหนึ่ง ตัวเซลล์ Corneocyte เอง จะมีเปลือกที่เป็นโปรตีนเชิงซ้อน ที่เรียกว่า Cornified envelope หรือ Corneocyte envelope เคลือบอยู่อีกชั้น เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้อีกชั้นหนึ่ง

เราเรียกโมเดลที่แสดงถึงสิ่ง 3 สิ่งนี้ว่า Brick-wall model ตามภาพค่ะ

ทีนี้ถ้าเราย้อนกลับไป เราแบ่ง Barrier ของผิวออกเป็นกลุ่มๆ ค่ะ

  1. Physical barrier คือ ตัวผิวเอง โครงสร้างที่สมบูรณ์ของผิวหนังเป็นตัวปกป้องไม่ให้ของดีๆ ภายในออกไปข้างนอก และป้องกันไม่ให้อันตรายจากภายนอกเข้ามาข้างใน
  2. Chemical barrier คือ พวกสารเคมีต่างๆ ที่ผิวเราสร้างขึ้นมา การรักษาสภาวะ pH ให้เป็นกรดอ่อนๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อก่อโรคโตได้ บางที่อาจจะนับรวม Biochemical barrier เข้ามาไว้ด้วย คือพวก Antimicrobial peptide ที่ผิวเราสร้างขึ้นมาระงับเชื้อก่อโรคต่างๆ ตัวที่ดังๆ ก็เช่น Defensin
  3. Immunological barrier คือ ระบบภูมิคุ้มกันของผิวเรานั่นเอง ที่คอยปกป้องผิวจากทั้งสารเคมี และพวกจุลินทรีย์ต่างๆ
  4. และล่าสุด เราเริ่มมีการพูดถึง Microbiological barrier คือ พวกจุลินทรีย์หลากหลายชนิด และเจ้าแมลง Dermodex ที่อาศัยกันเป็นชุมชน Microbiome น้องมีปฏิกิริยากับผิวเราทำให้ Immune ของผิวเราทำงานอยู่ตลอดเวลา เป็นเหมือนการซ้อมรบ และเป็นเหมือนการกระตุ้นให้ผิวเราสร้างสารต่างๆ ออกมา เพื่อทำหน้าที่ในชีวิตประจำวัน

เจ้า Microbiological barrier นี่แหละ ที่เป็นที่มาของเทรนด์การเลือกใช้ Pre-pro-post biotics ในทางเครื่องสำอางเพื่อสุขภาพที่ดี เพราะถ้า Microbiome ของเราอยู่ในสภาวะสมดุลดี ผิวเราก็จะสมดุลดีไปด้วย

โดยตัว Brikk นั้นเคลมว่าเป็น 6 in 1 Daily ที่ดูแลผิวเสมือนรวมเอาเซรั่ม 6 ขวดเข้าไว้ด้วยกัน ดังนี้

  • Antioxidant ด้วยส่วนผสมของ Antioxidant ชั้นเลิศอย่าง Resveratrol กับ Ferulic acid
  • Anti-pollution ตัวที่น่าสนใจก็คือ Ectoine กับพวกสารที่ฟื้นฟู Barrier ผิวให้แข็งแรง
  • Microbiome ดูแลด้วย Prebiotics
  • Lipid & NMF ฟื้นฟู Barrier ผิวให้แข็งแรง
  • Soothing ให้ความรู้สึกสบายผิว
  • Hydration เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวอย่างยาวนาน

เราลองมาดูส่วนผสมของ Brikk กันนะคะว่าดูแล Barrier ผิวได้ในทุกมิติ และเป็นเซรั่ม 6 ขวดในขวดเดียวกันได้ อย่างไร

ส่วนผสมเป็นดังนี้ค่ะ

สำหรับส่วนผสมของ Brikk นั้นมีใช้หลายสีเพื่อแบ่งกลุ่มนะคะ เรามาลองดูตัวที่น่าสนใจกันค่ะ

  • กลุ่ม Microbiome ใช้แทนด้วยสีเขียวมะกอก
    • ในกลุ่มนี้ประกอบด้วย Prebiotic 2 ชนิด ได้แก่ Inulin และ Beta-glucan และ Post-biotic อย่าง Lactococcus ferment lysate
    • Inulin เป็น Polysaccharide ที่พบได้ในพืชหลายชนิด เช่น Chicory, artichoke ซึ่งจัดเป็น Prebiotic ชนิดหนึ่ง น้องเป็นอาหารของจุลินทรีย์ชนิดดีที่เรียกกันว่า Probiotic ในทางเครื่องสำอางมีการใช้ Inulin เพื่อเป็น Moisturizer โดยข้อมูลจากผู้ผลิตวัตถุดิบกล่าวว่า Inulin มีความสามารถในการเป็น Moisturizer ที่ดีกว่า Hyaluronic acid (Ref: TDS preBIULIN AGA)
    • Beta-glucan เป็น Polysaccharide ที่พบได้ในสิ่งมีชีวิตหลายชนิด และในพืชบางชนิด เช่น Oat ซึ่งนอกจากความสามารถในการเป็น Prebiotic แล้ว ยังมีประโยชน์ในด้านการเป็น Moisturizer และให้ความรู้สึกสบายผิว (Soothing effect
    • Lactococcus ferment lysate เป็นกลุ่มสารที่ได้จากการย่อยระบบที่เลี้ยงจุลินทรีย์ Probiotic อย่าง Lactoccus เราเลยเรียกว่า Postbiotic ข้อมูลจากวัตถุดิบ ProRenew Complex CLR™ กล่าวว่าใช้จุลินทรีย์สายพันธุ์ Lactococcus lactis ซึ่งมีรายงานงานวิจัยสนับสนุนถึงประโยชน์ที่ดีหลายชนิด เช่น คุณสมบัติในการลดการอักเสบของผิวในผิวหนังเพาะเลี้ยง (Lett Appl Microbiol. 2019;68(6):530-536.) เสริมการทำงานของ Barrier ผิวผ่าน Antimicrobial peptide ที่ชื่อ Defensin ซึ่งทำหน้าที่ปกป้องผิวตามธรรมชาติ และเสริมการสร้าง Filaggrin ซึ่งเป็นโปรตีนที่สำคัญตัวหนึ่งของผิว ไม่ว่าจะเป็น เป็นสารตั้งต้นของ NMF และ เป็นส่วนประกอบส่วนหนึ่งของ Cornified envelope ที่ให้ Corneocyte แข็งแรง ปกป้องผิวเราจากอันตรายต่างๆ ในสิ่งแวดล้อม ผลทั้งสองอย่างทดสอบในผิวหนังเพาะเลี้ยง และมีการทดสอบในอาสาสมัครโดยให้ทาตำรับที่มี Lactococcus วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 30 วัน พบว่าผิวหนังของอาสาสมัครมี Barrier ที่แข็งแรงขึ้น วัดจากค่าการระเหยของน้ำจากผิว (Trans-epidermal water loss; TEWL) ที่ลดลง และช่วยปรับสมดุลค่า pH ของผิว (Skin Pharmacol Physiol. 2019;32(2):72-80.)
  • สีบานเย็น เป็นพวกสารที่เสริมคุณสมบัติการเป็น Barrier ของผิว อย่างพวก Ceramide, Cholesterol และ Sphingoid base ที่เป็นโครงสร้างสำคัญของ Ceramide อย่าง Phytoshingosine
  • สีฟ้า เป็นกลุ่มของสารที่เติมน้ำและเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิว ซึ่งมีด้วยกันหลายตัว เช่น
    • Ectoine เป็นกรดอะมิโนชนิดพิเศษที่มีโครงสร้างเป็นวงกลม สร้างโดยแบคทีเรียบางสายพันธ์ที่อาศัยในสิ่งแวดล้อมที่ค่อนข้างโหดร้าย (Extremophile) ทำหน้าที่ปกป้องตัวเขาเองจากอันตรายภายนอก ไม่ว่าจะเป็นทั้งจากปัจจัยกายภาพและเคมี มีการพบว่าตัว Ectoine จะทำหน้าที่ดึงเอาน้ำมาเกาะไว้กับตัวเองแล้วกลายเป็นชั้นโครงสร้างที่ช่วยปกป้องโปรตีนองค์ประกอบต่างๆ ที่สำคัญของเซลล์เอาไว้ เรียกว่าเป็น Ectoine hydrocomplex (Clin Dermatol. 2008;26(4):326–633.) เจ้า Hydrocomplex ดังกล่าวส่งผลดีถึงองค์ประกอบทั้งเซลล์ คือปกป้องเซลล์นั้นให้มีปริมาณน้ำเหมาะสม และทำงานได้ตามปกติ แต่เมื่อปริมาณน้ำต่ำลง จะไปมีผลต่อระบบของการอักเสบทำให้เกิดอาการต่างๆ ตามมา ในกรณีของผิวหนัง การมี Ectoine จะช่วยให้ Lipid barrier ของผิวทำงานได้ตามปกติและมีความแข็งแรง ผิวจึงแข็งแรง และเก็บกักน้ำได้ดี (มีการระเหยของน้ำออกจากผิว/Transepidermal water loss; TEWL น้อย) (Biophys Chem. 2010;150(1–3):37–46.) มีการทดสอบประสิทธิภาพในทางผิวหนังอยู่หลายชิ้น ซึ่งได้กล่าวถึงในบทความวิชาการล่าสุดของ Kauth และ Truvosa (Dermatology and Therapy. 2022;12:295–313) ในภาพรวมคือ Ectoine ให้ประโยชน์ในการปกป้องผิวให้แข็งแรง ลดการระเหยของน้ำออกจากผิว ลดการอักเสบระคายเคือง รวมทั้งดูแลปัญหาผิวอักเสบและระคายเคืองต่างๆ (Skin Pharmacol Physiol. 2004; 17(5):232-7.) ยังมีการทดสอบพบว่า Ectoine ให้ประโยชน์เป็น Whitening ได้อีก โดยไป block ผลจาก MSH ไม่ให้กระตุ้นให้เกิดการสร้าง Melanin ออกมาเมื่อเจอรังสี UV (Antioxidants (Basel). 2020;9(1):63.)
    • Polyquaternium-51 ตัวนี้เป็น Polymer สังเคราะห์ที่มีโครงสร้างคล้ายกับไขมัน Phospholipid บนผิวของเรา ว่ากันว่านางจะเคลือบผิวและเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิว ข้อมูลจากผู้ผลิตวัตถุดิบกล่าวว่าประสิทธิภาพในการเพิ่มความชุ่มชื้นของนางดีกว่า Hyaluronic acid
    • Saccharide isomerate ที่เด่นเรื่องการจับน้ำให้ผิวได้อย่างยาวนาน เพราะน้องสามารถเกาะติดบนผิวได้ดีและอยู่บนผิวได้นาน ถ้าเราไม่ล้างออกไป
    • Betaine ซึ่งเป็นอนุพันธ์ของกรดอะมิโน Glycine ที่นอกจากจะเพิ่มความชุ่มชื้น ยังดูแลเรื่องการระคายเคืองผิว และปรับ Feeling ของสูตรให้ไม่เหนอะหนะไปพร้อมๆ กัน
    • กรดอะมิโน และสารอื่นที่จัดเป็น Natural moisturizing factor หรือ NMF มีคุณสมบัติในการจับน้ำให้แก่ผิว
  • สีเขียว คู่หูคู่ขวัญ Niacinamide (B3) + N-acetyl-D-glucosamine (NAG) เราคงไม่กล่าวถึงประโยชน์ของ B3 และ NAG แบบแยกกัน เพราะทั้ง 2 ตัวก็มีประโยชน์กับผิวมากโขอยู่ สำหรับการใช้ร่วมกันนั้นมีการศึกษาที่น่าสนใจโดย Kimball และคณะเมื่อปี 2010 ให้อาสาสมัครทาครีมที่มีส่วนผสมของ Niacinamide 4% + NAG 2% ในอาสาสมัครจำนวน 101 คน เป็นเวลา 10 สัปดาห์ เทียบกับครีมเปล่าที่ไม่มี B3+NAG พบว่ากลุ่มที่ได้รับครีม B3+NAG มีสีผิวที่สม่ำเสมอขึ้น จุดด่างดำต่างๆ แลดูจางลง (Br J Dermatol. 2010;162(2):435-41.)
  • สีน้ำเงิน สารบำรุงอื่นๆ ยกตัวอย่างบางตัวที่น่าสนใจ เช่น
    • Syn-Hycan (Tetradecyl Aminobutyroylvalylaminobutyric Urea Trifluoroacetate) สารชื่อยาวๆ นี้เป็นเปปไทด์สังเคราะห์ เทคโนโลยีสิทธิบัตร ซึ่งทางผู้ผลิตวัตถุดิบเคลมว่า มีคุณสมบัติในการเสริมการทำงานของ TGF-Beta ที่มีตามธรรมชาติของผิว ซึ่งส่งผลต่อไปให้มีการสังเคราะห์กลุ่มสาร Matrix จำพวก Hyaluron, Lumican และ Decorin ซึ่งมีคุณสมบัติให้ผิวกระชับ ยืดหยุ่น และมีความแข็งแรง รวมทั้งช่วยเสริมการเรียงตัวของคอลลาเจนเดิมในผิวให้อยู่ในโครงร่างที่แข็งแรง (ปกติเวลาเราอายุเพิ่มขึ้นสายเส้นใยของคอลลาเจนจะฉีกขาดไปตามกาลเวลา และมีการเรียงตัวที่ไม่สวยงามไม่เป็นระเบียบแบบเดิม ผิวเลยหย่อนคล้อย ไม่กระชับ)
    • สูตรผสมของ Water (and) Butylene Glycol (and) PEG-60 Almond Glycerides (and) Caprylyl Glycol (and) Glycerin (and) Carbomer (and) Nordihydroguaiaretic Acid (and) Oleanolic Acid รู้จักกันในนาม AC.NetTM จาก Croda ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่เบลนด์กันมาอย่างลงตัวเพื่อดูแลปัญหาสิว ผิวมัน และรูขุมขนกว้าง ข้อมูลจากผู้ผลิตวัตถุดิบยังระบุว่า สารชุดนี้ยังยับยั้งการเจริญของพวก C. acnes ที่ก่อสิว และ P. ovale ที่ก่อปัญหาผิวหลายประการ เช่น รูขุมขนอักเสบ
    • Ferulic acid กับ Resveratrol เป็น Antioxidant ที่น่าสนใจ
  • สีส้ม Hyaluron มากมายหลายรูปแบบ ที่มีประโยชน์ในการเติมน้ำให้กับผิวในหลายๆ ระดับ
  • สีชมพู กลุ่มสารที่ดูแลด้านการระคายเคืองผิว ให้ความรู้สึกสบายผิว (Soothing effect)

ในภาพรวมส่วนผสมของสารบำรุงที่ใส่ลงมาทำงานเสริมกันอย่างลงตัวทั้งในด้านการฟื้นฟู Barrier ผิว ไม่ว่าจะเป็นส่วนของไขมัน ส่วนของโปรตีน Filaggrin พวก NMF และยังดูแลเรื่อง Microbiome รวมทั้งเติมน้ำ ฟื้นฟู ดูแลปัญหาผิวมัน สิว รูขุมขนกว้าง ดูแลเรื่องการอักเสบระคายเคือง และให้ความรู้สึกสบายผิว (Soothing effect) ไปพร้อมๆ กัน สมกับที่เคลมว่าเป็น 6 in 1 Daily จริงๆ

มาให้คะแนนกันดีกว่านะคะ

  1. สารบำรุง หรือ Actives ก็ตามที่ได้เกริ่นไปในด้านบน คือ คุณเขาจัดมาเต็มมาก เอาไปเถอะ 5 ฟลาสก์
  2. ส่วนผสมอื่นๆ ไม่มีสารที่ไม่เป็นมิตรกับผิวอยู่เลย จึงไม่มีที่ให้หักคะแนน รับไป 5 ฟลาสก์
  3. การใช้งาน ก่อนอื่นต้องบอกเลยว่า ผลิตภัณฑ์เสริม Barrier ส่วนใหญ่เนื้อจะค่อนข้างหนัก แต่น้อง Brikk นั้นทำมาได้ดีมาก บางเบา ไม่เหนียวเหนอะหนะ คนที่มีผิวมันน่าจะชอบ ส่วนคนที่มีผิวแห้ง หรือผสม/แห้ง อาจจะต้องหาครีมมาทับอีกชั้นหนึ่งถึงจะเลิศเลอขั้นสูงสุด หลังจากที่ได้ลองใช้มาเกือบเดือนส่วนตัวคิดว่าน้องทำมาได้ดีจริงๆ ผลไม่ได้หวือหวาแบบค่ำคืนเดียวปิ๊ง แต่มันจะค่อยๆ รู้สึกไปเอง แบบใช้มาสักพัก เอ๊ะ ทำไมวันนี้หน้านุ่ม มันจะเป็นฟีลแบบอยู่ดีๆ รู้สึกตัวอีกทีก็ผิวดีอะไรแบบนี้ ให้ไป 5 ฟลาสก์

สุดท้ายนี้ต้องขอขอบคุณทางแบรนด์ The labatorian ด้วยนะคะ ที่ส่งผลิตภัณฑ์ดีๆ มาให้มี่ได้รู้จัก และขอบคุณทุกท่านด้วยนะคะ ที่ติดตามรับชมมาจนจบ

สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดต่อสอบถามได้ที่

IG : the_labatorian

Line official : @labatorian

Facebook : Labatorian

Disclaimer/conflict of interests: ผลิตภัณฑ์นี้ได้รับการสนับสนุนจากทางแบรนด์ The labatorian การรีวิวครั้งนี้เป็นการวิเคราะห์ส่วนผสม/วัตถุดิบตามหลักการทางวิทยาศาสตร์เครื่องสำอางและอาศัยความเห็นส่วนบุคคล และผู้เขียนไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเกี่ยวกับบริษัทเครื่องสำอางใดๆ โปรดใช้วิจารณญาณ

Image

รีวิว/วิเคราะห์ส่วนผสมเซรั่มบำรุงปรับสภาพผิว สำหรับผิวที่มีปัญหาจุดด่างดำ Clair Mediatone Intensive dark spot solution serum จาก The Labatorian

ก่อนหน้านี้มี่เอาบทวิเคราะห์ส่วนผสมของเซรั่มดูแลปัญหาสิวสำหรับผิวที่มีแนวโน้มเป็นสิวง่าย Agness จากแบรนด์ The labatorian มาแชร์ให้ทุกท่านได้อ่านกัน

ถ้าท่านใดสนใจ สามารถตามไปอ่านได้ที่ลิงค์นี้นะคะ
>>Click<<

วันนี้ขอหยิบเอาเซรั่มจากแบรนด์ The labatorian อีกสูตรมาให้ได้อ่านกันนะคะ
เซรั่มที่จะมารีวิววันนี้มีชื่อว่า Clair MediatoneTM Intensive dark spot solution serum ซึ่งมี่จะขอเรียกย่อๆ ว่า Clair นะคะ

น้องจะมาในหน้าตาคล้ายๆ กับ Agness แต่จะต่างกันในรายละเอียดเล็กน้อยค่ะ

ส่วนบรรจุภัณฑ์ด้านในจะคล้ายๆ กัน คือ มาในขวดปั๊มที่ปิดสนิท (Closed system)

เนื้อเซรั่มจะมาในอารมณ์แบบครีมเจล ไม่มีกลิ่นเพราะไม่มีส่วนผสมของน้ำหอม

เกลี่ยได้ค่อนข้างง่าย ให้สัมผัสนุ่มนวล ไม่เหนียวเหนอะหนะ เมื่อทิ้งไว้สักครู่จะรู้สึกเย็นสบายผิว และเรียบเนียน

สำหรับค่า pH ของน้องนั้นมี่ไม่ได้วัดให้นะคะ เนื่องจากเนื้อเซรั่มไม่เปียกบนกระดาษวัด pH ค่ะ

ส่วนของเรื่องการใช้งาน

หลังจากที่ได้ทดลองใช้มาราวๆ เกือบเดือน ร่วมกับผลิตภัณฑ์อื่นที่ใช้เป็น Routine อยู่ก่อนหน้า ส่วนตัวรู้สึกว่า ประโยชน์ในด้านของการดูแลสีผิวนี่ นางจะค่อยๆ มา ไม่ได้ขาวแบบเร็วเว่อร์ มันจะเน้นเรื่องของการปรับสมดุลสีผิวให้ดูสว่างกระจ่างใส มารู้สึกตัวอีกทีก็แบบ อุ๊ย ผิว Glow จัง อะไรประมาณนั้น

ก่อนจะไปดูรายละเอียดส่วนผสม ขอเล่าถึงจุดเด่นของน้อง Clair ให้ฟังก่อนนะคะ

  • น้องผ่านการทดสอบการแพ้และการระคายเคือง ด้วยวิธี Closed patch test ในอาสาสมัคร
  • น้องผ่านการตรวจสอบปริมาณจุลินทรีย์ปนเปื้อนด้วยวิธี Total aerobic plate count
  • น้องมีสารบำรุงหลายชนิดที่เสริมกันอย่างลงตัวเผื่อดูแลปัญหาสีผิวที่ไม่สม่ำเสมอ หมองคล้ำ และไม่กระจ่างใส
  • น้องเสริมสร้าง Barrier ผิวไปพร้อมกัน
  • Non-comedogenic ทดสอบแล้วว่าไม่อุดตันรูขุมขน

สำหรับส่วนผสมเป็นดังนี้นะคะ

ในส่วนผสมวันนี้มี่ทำไว้หลายสีอยู่นะคะ

เนื่องจากเป็นเซรั่มที่ดูแลปัญหาสีผิวไม่สม่ำเสมอ หมองคล้ำ ไม่กระจ่างใส เลยขอหยิบยกเอาส่วนผสมที่มีประโยชน์ในเชิงด้านของ Whitening/Brightening ขึ้นมาเล่า
ก่อนนะคะ ส่วนผสมเหล่านี้มี่แสดงไว้ด้วยสีม่วงค่ะ

ส่วนผสมที่มีประโยชน์ด้าน Whitening

  • Tranexamic acid เป็น Whitening ตัวหนึ่งที่ดูแลปัญหาด้านจุดด่างดำได้ค่อนข้างดี มีรายงานว่าสารนี้มีคุณสมบัติไปยับยั้งการสร้างเม็ดสีที่ต้นตอ คือ ไปยับยั้งสาร Plasmin ที่จะไปกระตุ้นฮอร์โมน α-MSH (Melanocyte stimulating hormone) ที่เป็นคุณแม่ของ Tyrosinase อีกที กล่าวง่ายๆ ว่า Tranexamic acid ไปยับยั้งการสร้างเม็ดสีที่ขั้นตอนแรกๆ เลยก็ว่าได้ (J Am Acad Dermatol 2011;October:699-714.)
  • Niacinamide ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของวิตามินบี 3 นางมีประโยชน์ที่ดีกับผิวหลายประการแต่ถ้าเป็นในด้านของ Whitening นางจะไปขัดขวางการส่งผ่านของเม็ดสีที่สร้างเสร็จแล้วไม่ให้ออกมาด้านนอก
  • Octadecenedioic acid หรือ เรียกย่อว่า ODA ที่มีกลไกการออกฤทธิ์ที่แตกต่างจาก Whitening ทั่วไป โดย ODA ออกฤทธิ์ที่ peroxisome proliferator-activated receptor (PPAR) ซึ่งเป็นตัวรับชนิดหนึ่งที่ เกี่ยวข้องกับระบบต่างๆของร่างกายหลายระบบ รวมทั้งการสังเคราะห์เมลานิน โดย ODA มีผลไปทำให้การสร้างเอนไซม์ Tyrosinase ลดลง จึงส่งผลให้เกิดการสร้างเม็ดสีได้น้อยลง ผิวจึงแลดูสว่างกระจ่างใส และ ODA ยังมีประโยชน์อื่นๆ เช่น มีคุณสมบัติในการชะลอวัย และการลดการอักเสบระคายเคือง (Int J Cosmet Sci. 2005; 27(2):123-32)
  • N-acetyl-D-glucosamine หรือ NAG น้องเป็นอนุพันธ์ของน้ำตาลชนิดหนึ่ง ที่พบเป็นหน่วยย่อยของ Hyaluronic acid มีประโยชน์ในการเพิ่มความชุ่มชื้นโดยการเติมน้ำให้แก่ผิวหนังและอาจจะเป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์ Hyaluronic acid ของผิว สำหรับด้าน Whitening มีรายงานว่า NAG ไปป้องกันไม่ให้เอนไซม์ pro-tyrosinase ที่ยังออกฤทธิ์ไม่ได้ กลายสภาพเป็น tyrosinase ที่มีฤทธิ์ จึงไม่มีการสร้างเม็ดสี และยังมีประโยชน์ในด้านของการปรับสมดุลการผลัดผิวแบบอ่อนโยน (Int J Cosmet Sci. 2010;32(3):234.) และถ้าใช้ร่วมกับ Niacinamide จะให้ผลลดจุดด่างดำได้ดีขึ้น (Br J Dermatol. 2010;162(2):435-41.) ซึ่งสูตรนี้ก็เป็นเช่นนั้น คือมี NAG+Niacinamide
  • Potassium 4-methoxy salicylate หรือ 4-MSK ร่วมกับ Arbutin, และสารสกัดจากรากชะเอม มีประโยชน์ในด้านของ Whitening ผ่านกระบวนการยับยั้งเอนไซม์ Tyrosinase
  • Undecylenoyl phenylalanine รู้จักกันในนาม Sepiwhite MSH มีประโยชน์เป็น Whitening โดยไปยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ alpha-MSH ซึ่งปกติมีหน้าที่กระตุ้นให้เอนไซม์ Tyrosinase ทำงาน และไปควบคุมกระบวนการ Melanosome transfer ไม่ให้ส่งผ่านเมลานินที่สร้างเสร็จแล้วให้ออกไปภายนอกจนเห็นเป็นสีผิว มีการศึกษาในอาสาสมัครชิ้นหนึ่งที่น่าสนใจ การทดสอบในอาสาสมัครที่ใช้สารนี้ในความเข้มข้น 1% ร่วมกับ Niacinamide 5% ให้ผลเป็น Whitening ที่ดีเมื่ออาสาสมัครใช้เป็นเวลา 8 สัปดาห์ (J Cosmet Dermatol. 2009;8(4):260-6.)

สีชมพู ป็นส่วนผสมที่มีประโยชน์ด้านการดูแลปัญหาการอักเสบระคายเคือง มีด้วยกันหลายตัว เช่น สารสกัดจากกุหลาบมอญ, Allantoin, Bisabolol สารสกัดจากว่านหางจระเข้ และ สารสกัดจากรากชะเอม จริงๆ เรื่องของปัญหาการอักเสบระคายเคืองก็เป็นปัญหาหนึ่งที่นำไปสู่การสร้างเม็ดสีที่ผิดปกติไป กลายเป็นจุดด่างดำได้ ดังนั้นจะกล่าวว่า สารสีชมพู เป็น Whitening อ้อมๆ ก็คงไม่ดูเกินจริง

สีเขียวสะท้อนแสง มี 2 รายการ ได้แก่

  • Soy isoflavone สารพฤกษเคมีในกลุ่ม Isoflavone มีประโยชน์เป็น antioxidant และมีคุณสมบัติคล้ายเอสโตรเจน เลยมีชื่อเรียกว่า Phytoestrogen คือ เอสโตรเจนจากพืช ซึ่งมีประโยชน์หลายประการ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของคุณสมบัติให้ผิวนุ่มฟู ยืดหยุ่น และแข็งแรง รวมไปถึงด้านการชะลอวัย และดูแลปัญหาริ้วรอย
  • Tropaeolum majus extract สารสกัดจากดอก Nasturtium ที่ประกอบด้วยสาร Polysaccharide ชื่อ Arabiongalactan เป็นสาระสำคัญ ออกฤทธิ์ผ่านกลไกที่ช่วยในการปรับสมดุลของผิวเพื่อแก้ปัญหาภาวะความเครียดเนื่องจากระดับของ Oxygen ต่ำ (Hypoxia) เมื่อเวลา Oxygen ต่ำ ผิวเราก็จะทำงานได้น้อยลง ทำให้ผิวหมองคล้ำ ไม่แข็งแรง ไม่นุ่มฟู ไม่ยืดหยุ่น ถ้าหากมีปริมาณของ Oxygen เพียงพอ ก็จะช่วยเสริมกระบวนการทำงานต่างๆ ของผิว จึงมีประโยชน์ในผิวนุ่มนวล เรียบเนียน แข็งแรง และมีสุขภาพดี ปรับ Complexion ของผิวให้มี Appearance แบบ Glow สุขภาพดีตามธรรมชาติ

สีฟ้า เป็นกลุ่มของสารไขมันทดแทน Barrier ผิวให้ผิวแข็งแรง

สีเขียวแก่ Boron nitride น้องเป็น Pigment ที่มีคุณสมบัติบางประการ แล้วแต่ชนิดและเกรดที่ใช้ น้องอาจจะไปช่วยเคลือบปกปิดริ้วรอยตื้นๆ ให้ผิวดูเรียบเนียน หรือ น้องมีความทึบแสง ช่วยอำพรางจุดด่างดำ หรือสีผิวที่ไม่สม่ำเสมอ ให้ดูสม่ำเสมอ และดูสว่างขึ้น แต่ไม่ถึงกับขาววอก หรือ ติด Undertone เทาแบบการใช้ Pigment บางตัว

สีส้ม คือ สารสกัดจากเปลือกต้น Willow ประกอบด้วย BHA จากธรรมชาติ

ในภาพรวมคือ Clair เป็นเซรั่มชิ้นหนึ่งที่ประกอบด้วยสารบำรุงที่ดูแลปัญหาสีผิวได้ครบทั้งวงจร ตั้งแต่ก่อนการสร้างเม็ดสี ขณะสร้างเม็ดสี และ หลังการสร้างเม็ดสีเสร็จแล้ว

นอกจากสารที่เป็น Whitening แล้วยังเสริมสารบำรุงมาอีกหลายชนิด ที่ให้ประโยชน์อีกหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการลดการอักเสบระคายเคือง ชะลอวัย ป้องกันริ้วรอย รวมถึงเสริมสร้างและฟื้นฟู Barrier ผิว เรียกได้ว่าค่อนข้างครบ

ในด้านของส่วนผสมอื่นๆ น้องจะมาในเบสที่เป็นกึ่งๆ Emulsion-gel จึงเป็นเนื้อคล้ายครีม แต่มีความเบา และเย็นสบายแบบเจล ไม่เหนียวเหนอะหนะแล้วหนักผิว

และสุดท้ายนี้ คือ ในเซรั่มไม่มีสารที่ไม่เป็นมิตรกับผิวเป็นส่วนผสม

มาให้คะแนนกันดีกว่าค่ะ

  1. สารบำรุง ตามที่ได้กล่าวไปในด้านบน ส่วนของ Whitening น้อง Clair ประกอบด้วยสารบำรุงที่ดูแลได้ครบทั้ง 3 ระดับของการสร้างเม็ดสีผิว และยังเสริมสารบำรุงอื่นๆ เข้ามา ให้ประโยชน์ครบ จบทุกปัญหาผิว ไม่ว่าจะเป็นการลดการอักเสบระคายเคือง ชะลอวัย ป้องกันริ้วรอย รวมถึงเสริมสร้างและฟื้นฟู Barrier ผิว เรียกได้ว่าค่อนข้างครบ ให้ไป 5 ฟลาสก์
  2. ส่วนผสมอื่นๆ ไม่มีสารที่ไม่เป็นมิตรกับผิวเป็นส่วนผสม จึงไม่มีจุดให้หักคะแนน เลยขอให้ไป 5 ฟลาสก์
  3. ด้านการใช้งาน ตามที่ได้กล่าวไปด้านบน จากที่ส่วนตัวลองใช้ คือ น้อง Clair จะเน้นเรื่องของการปรับสมดุลสีผิวให้ดูสว่างกระจ่างใส มารู้สึกตัวอีกทีก็แบบว่า อุ๊ย ผิวดูมี Complexion ที่สวยงามขึ้น มีความ Glow แต่สำหรับคนผิวแห้ง อาจจะต้องใช้มอยส์เจอไรเซอร์อื่นเสริมอีก ถ้าใช้ตัวนี้อย่างเดียวบ่ายๆ จะแห้งเล็กน้อย แต่คนผิวมันน่าจะชอบ จุดนี้ขอให้ไป 4 ฟลาสก์

สุดท้ายนี้ต้องขอขอบคุณทางแบรนด์ The labatorian ด้วยนะคะ ที่ส่งผลิตภัณฑ์ดีๆ มาให้มี่ได้รู้จัก และขอบคุณทุกท่านด้วยนะคะ ที่ติดตามรับชมมาจนจบ

Disclaimer/conflict of interests: ผลิตภัณฑ์นี้ได้รับการสนับสนุนจากทางแบรนด์ The labatorian การรีวิวครั้งนี้เป็นการวิเคราะห์ส่วนผสม/วัตถุดิบตามหลักการทางวิทยาศาสตร์เครื่องสำอางและอาศัยความเห็นส่วนบุคคล และผู้เขียนไม่ได้มีผลประโยชน์ใดๆในการขายสินค้า โปรดใช้วิจารณญาณ

Image

รีวิว/วิเคราะห์ส่วนผสม The Labatorian Agness เซรั่มบำรุงผิวเพื่อดูแลปัญหาสิวสำหรับผิวที่มีแนวโน้มเป็นสิวง่าย เซรั่มดีงามจากความใส่ใจของแบรนด์

สวัสดีค่ะ วันนี้มี่มีรีวิว/วิเคราะห์ผลิตภัณฑ์เซรั่มที่น่าสนใจมาฝากกันค่ะ

น้องเป็นเซรั่มบำรุงผิวเพื่อดูแลปัญหาสิว และปัญหากวนใจอื่นๆ ได้พร้อมกัน เรียกได้ว่า ดูแลครบ จบหมดทุกปัญหา สมชื่อของน้อง ที่บอกว่าเป็น The All-rounded solution เลยหละ

น้องมีชื่อว่า Agness จาก The Labatorian ค่ะ

น้องมาในหน้าตาแบบนี้นะคะ

ภาชนะบรรจุเป็นขวดปั๊มที่ปิดสนิท (Close system)

เนื้อเซรั่มเป็นเจลใส ความหนืดปานกลาง ไม่มีกลิ่น เนื่องจากไม่มีส่วนผสมของน้ำหอม

เกลี่ยง่าย ลื่น มีสัมผัสของฟิล์มนุ่มลื่นที่ให้ความชุ่มชื้น และความรู้สึกเย็นสบายผิวไปพร้อมๆ กัน เมื่อน้องแห้งไปเราจะรู้สึกเรียบ ตึง และกระชับ แต่ไม่ถึงกับแห้งจนไม่สบายผิว

ก่อนจะไปวิเคราะห์ส่วนผสม อยากเล่าจุดเด่นทั้ง 7 ประการของเซรั่มตัวนี้ก่อนนะคะ

  1. ปรับสมดุลการสร้างน้ำมัน Sebum และให้รูขุมขนแลดูกระชับ
  2. ดูแลปัญหาสิว
  3. Antioxidant และ ลดการอักเสบระคายเคืองให้ความรู้สึกสบายผิว จุดนี้มีประโยชน์ในด้านการดูแลรอยแดงจากสิว
  4. ฟื้นฟู Barrier ผิว
  5. ลดการอุดตัน
  6. ปรับสภาพสีผิวให้สม่ำเสมอ ดูแลปัญหารอยดำจากสิว
  7. เพิ่มความชุ่มชื้น ให้ผิวดูนุ่มนวล

ซึ่งส่วนตัวไม่ได้มีปัญหาสิวมาสักพักแล้ว จึงขอวิเคราะห์/วิจารณ์ส่วนผสม ตามหลักวิทยาศาสตร์เครื่องสำอางนะคะ สำหรับส่วนผสม ถือว่าค่อนข้างจัดหนักจัดเต็มอยู่ค่ะ เป็นดังภาพค่ะ

ในส่วนผสมวันนี้มี่ทำไว้หลายสีอยู่นะคะ

เนื่องจากเป็นเซรั่มที่ดูแลปัญหาสิว และปรับสภาพผิวที่เป็นสิวง่ายให้แข็งแรงขึ้น เลยจะขอเริ่มวิเคราะห์ส่วนผสมของกลุ่มที่มีประโยชน์ในด้านสิวก่อนนะคะ

  • กลุ่มของสีฟ้าสดใส ได้แก่ สารสกัดจากเห็ด Fomes, สารสกัดจากเปลือกต้น Willow, และ Oleanolic acid พวกนี้จะมีประโยชน์เด่นในการดูแลสิว โดยจะขอกล่าวทีละตัวแบบย่อนะคะ
  • สารสกัดจากเห็ด Fomes officinalis สารสกัดจากเห็ดนี้ประกอบด้วยสารพฤกษเคมีที่มีประโยชน์หลายชนิด จุดเด่นคือคุณสมบัติที่เรียกว่า Astringent มีความหมายในเชิงการกระชับรูขุมขน ทางผู้ผลิตวัตถุดิบได้ทดสอบประสิทธิภาพของสารสกัดเห็ด Fomes ในการกระชับรูขุมขนของหน้าผากอาสาสมัครพบว่ากระชับรูขุมขนได้ดี

(Image from BASF Personal care)

  • สูตรผสมของ Nordihydroguairetic acid กับ Oleanolic acid ในเบสจำเพาะ สูตรผสมชุดนี้ทางผู้ผลิตเคลมว่าเป็นสูตรผสมของสารบำรุงหลายชนิด ในเบสที่เป็น Osmogel ซึ่งจะสามารถยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ และอาศันประโยชน์ในการควบคุมการสร้างน้ำมัน หรือ Sebum ผ่านการยับยั้งเอนไซม์ 5α-reductase เอนไซม์ตัวนี้เปลี่ยนฮอร์โมน Testosterone เป็น Dihydrotestosterone ที่ทำให้การสร้างน้ำมันของต่อมไขมันมากขึ้นเกิดเป็นสภาพผิวมัน และเสี่ยงต่อการเกิดสิว สำหรับอีกตัวคือ Nordihydroguaiaretic acid ตัวนี้เป็น Antioxidant ที่ดี และมีคุณสมบัติในการปรับสมดุลการแบ่งตัวของผิว และลด/ป้องกันการอุดตันในรูขุมขน
  • Salix alba extract คือ สารสกัดจากเปลือกต้น Willow ประกอบด้วย Salicylic acid จากธรรมชาติ มีประโยชน์ในเชิงการลดการอุดตัน และ ลดการอักเสบระคายเคือง

  • กลุ่มของสารสีส้ม จะเป็นสารที่เด่นในด้านของการลดการอักเสบระคายเคือง และให้ความรู้สึกสบายผิว โดยจะขอเล่าถึง Ectoin และ สูตรผสมของสารสกัดจากถั่วเขียวกับข้าวโอ๊ต (Phaseolus Radiatus Seed Extract และ Avena Sativa (Oat) Meal Extract)
    • Ectoin เป็นสารที่ได้จากแบคทีเรียบางชนิด นางมีคุณสมบัติช่วยปกป้องตัวแบคทีเรียไม่ให้ตายเพราะสิ่งแวดล้อมที่อันตราย เช่น ความแห้ง อุณหภูมิที่สูงมากๆ โดยสารนี้มีการนำเอามาใช้ทางเครื่องสำอางเพื่อประโยชน์ในด้านของการดูแลปัญหาการอักเสบระคายเคือง และนอกจากนี้ Ectoine เองยังมีรายงานกล่าวว่า Ectioneมีคุณสมบัติกดการเกิดอนุมูลอิสระเพราะรังสี UVA และไปยับยั้งไม่ให้ฮอร์โมน α-MSH (Melanocyte stimulating hormone) ทำงาน จึงไม่เกิดการสังเคราะห์เม็ดสี ผลคือ ปกป้องผิวไม่ให้เกิดความคล้ำ (Antioxidants (Basel). 2020 Jan; 9(1): 63.) ซึ่งกรณีนี้ก็น่าจะให้ประโยชน์ด้านรอยดำที่เกิดจากการอักเสบ หรือ PIH (Post-inflammatory hyperpigmentation) ไปได้พร้อมๆ กัน
    • สูตรผสมของสารสกัดจากถั่วเขียว และ ข้าวโอ๊ต ในเบสที่เหมาะสม ทางผู้ผลิตวัตถุดิบกล่าวว่า มีคุณสมบัติในการลดการอักเสบระคายเคือง ป้องกันการเกิดการแพ้สารองค์ประกอบในตำรับ และยังช่วยเสริมการแบ่งตัวของ Fibroblast ให้ประโยชน์ในด้านของการชะลอวัย สำหรับในด้านของสิว ส่วนตัวมองว่าการเสริมการทำงานของ Fibroblast น่าจะมีประโยชน์ในการเสริมการสมานแผลให้หายไวขึ้น
  • สารสีเขียว เป็นกลุ่มของพวกสารเพิ่มความชุ่มชื้นผ่านกระบวนการเติมน้ำให้ผิว หรือ เรียกว่า Humectant ได้แก่ กลุ่มของ Hyaluron ทั้งหมด 4 ชนิด มีประโยชน์ในการเติมน้ำเสริมความชุ่มชื้นในหลายๆ ระดับชั้นผิว ร่วมกับพวก Trehalose และอื่นๆ
  • สีฟ้าอ่อนพาสเทล เป็นกลุ่มของไขมันที่ดูแลและฟื้นฟู Barrier ผิวให้แข็งแรง ซึ่งจะว่าไป ผิวของคนที่เป็นสิวเนี่ย ผ่านยามาหลายๆ ชนิด ซึ่งแต่ละชนิดเองก็ระคายเคือง และก่อให้เกิดความเสียหายให้แก่ผิวได้ทั้งนั้น ดังนั้นการเสริม Barrier ผิวให้แข็งแรง ก็จะช่วยลดการระคายเคือง และบ้างก็กล่าวว่า ถ้า Barrier แข็งแรง เจ้าจุลินทรีย์ Staphylococcus aureus ที่เป็นตัวก่อหนอง ก็จะเข้าไปโตได้ยากขึ้น
  • สีเขียวอ่อน Tranexamic acid เป็น Whitening ตัวหนึ่งที่ดูแลปัญหาด้านจุดด่างดำได้ค่อนข้างดี มีรายงานว่าสารนี้มีคุณสมบัติไปยับยั้งการสร้างเม็ดสีที่ต้นตอ คือ ไปยับยั้งสาร Plasmin ที่จะไปกระตุ้นฮอร์โมน α-MSH (Melanocyte stimulating hormone) ที่เป็นคุณแม่ของ Tyrosinase อีกที กล่าวง่ายๆ ว่า Tranexamic acid ไปยับยั้งการสร้างเม็ดสีที่ขั้นตอนแรกๆ เลยก็ว่าได้ (J Am AcadDermatol 2011;October:699-714.)
  • สีม่วง เป็นสารบำรุงอื่นๆ ที่ล้วนมีประโยชน์กับผิวที่มีปัญหาสิว และผิวที่มีแนวโน้มเกิดสิวได้ง่าย

ในภาพรวม คือ น้องจัดเต็มมาก ดูแลปัญหาสิว และผิวที่มีแนวโน้มเกิดสิวได้ง่ายได้อย่างครบวงจร ไม่ว่าจะเป็นต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ

ไม่มีส่วนผสมที่สุ่มเสี่ยงต่อการอุดตัน และไม่มีส่วนผสมของสารที่ไม่เป็นมิตรกับผิว

มาให้คะแนนกันดีกว่านะคะ

คะแนนวันนี้ขอแบ่งเป็น 2 หมวดนะคะ คือ ด้านสารบำรุง และ ส่วนผสมอื่นๆ

  1. สารบำรุง ตามที่ได้กล่าวไปในด้านบน คือ น้องจัดเต็มมาด้วยสารที่ดูแลครบจบทุกปัญหาสิว ไม่ว่าจะเป็น การปรับสมดุลการสร้างน้ำมัน หรือ Sebum จากต่อมไขมันในรูขุมขน การปรับสมดุลการแบ่งตัวของผิวในรูขุมขน ลดการอักเสบระคายเคือง ดูแลควบคุมจุลินทรีย์ที่อาจจะก่อให้เกิดสิว ดูแล/ป้องกันปัญหารอยแดง รอยดำ รอยแผลเป็น คือ ครบมากเวอร์ เอาไป 5 ฟลาสก์
  2. ส่วนผสมอื่นๆ น้องมาในเบสที่เป็นน้ำ (Water-based) ไม่มีส่วนผสมของน้ำมันที่สุ่มเสี่ยงต่อการอุดตัน ถึงแม้จะมีน้ำมัน แต่ก็จะเป็นน้ำมันที่เป็นส่วนประกอบในส่วนผสมอื่นๆ ซึ่งจุดนี้มันก็ไม่ได้มีระดับที่เยอะจนน่าวิตก สุดท้ายคือปราศจากสารที่ไม่เป็นมิตรกับผิว รับไป 5 ฟลาสก์

สุดท้ายนี้ต้องขอขอบคุณทางแบรนด์ The labatorian ด้วยนะคะ ที่ส่งผลิตภัณฑ์ดีๆ มาให้มี่ได้รู้จัก และขอบคุณทุกท่านด้วยนะคะ ที่ติดตามรับชมมาจนจบ

สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ทางแบรนด์โดยตรงเลยนะคะ

IG : the_labatorian

Line official : @labatorian

Facebook : Labatorian

Disclaimer/conflict of interests: ผลิตภัณฑ์นี้ได้รับการสนับสนุนจากทางแบรนด์ The labatorian การรีวิวครั้งนี้เป็นการวิเคราะห์ส่วนผสม/วัตถุดิบตามหลักการทางวิทยาศาสตร์เครื่องสำอางและอาศัยความเห็นส่วนบุคคล และผู้เขียนไม่ได้มีผลประโยชน์ใดๆในการขายสินค้า โปรดใช้วิจารณญาณ