Image

รีวิว/วิเคราะห์ส่วนผสม เซรั่มดูแลฝ้า ตัวตึง Game changer แห่งวงการ Cysteamine กับ Alphascience Melabright [C+]

ในที่สุดก็ได้เวลามารีวิว/วิเคราะห์ส่วนผสม Melabright เซรั่มดูแลฝ้าตัวตึงในตำนานจากแบรนด์ Alphascience ที่ได้นำมาเล่า มาโปรยไปตั้งแต่ช่วงปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมาซักทีค่ะ

เอาล่ะ ไม่พูดเยอะ เริ่มเลย

น้องจะมาในกล่องที่มีหน้าตาที่เป็น Signature ของแบรนด์ ประมาณนี้นะคะ

ตัวเซรั่มจะมาในแพคเกจแก้วทึบแสงสีขาวขุ่น พร้อมหลอดหยด

เนื้อเซรั่มมีความหนืดเล็กน้อย สีคล้ายชา มีกลิ่นเฉพาะตัวของวัตถุดิบ และสารสำคัญอย่าง Cysteamine ที่เป็นกลิ่นโทน Sulfur (อารมณ์แบบน้ำพุร้อน)

เกลี่ยได้อยู่ ให้ฟีลหนึบๆ นิดหน่อย ซึ่งมาจากเบสที่ใช้ เป็นพวก Humectant solvent อย่าง propylene glycol, isopentyldiol ที่มีความหนึบๆ ตามธรรมชาติ

น้องจะใช้เวลานิดหน่อยในการซึมค่ะ ตรงนี้จะเป็นภาพถ่ายแฟลชของเนื้อเซรั่มหลังเกลี่ย

ค่า pH วัดด้วยกระดาษวัด pH (Universal indicator) อยู่ที่ราวๆ 3 – 4 อาจจะมีคลาดเคลื่อนได้เล็กน้อยเนื่องจากเซรั่มเองก็มีสีค่ะ

ส่วนผสมเป็นดังนี้ค่ะ

สำหรับส่วนผสมวันนี้มีที่น่าสนใจอยู่หลายตัวค่ะ

Cysteamine HCl แทนด้วยสีน้ำเงิน

น้องเป็นนางเอกของผลิตภัณฑ์เลย โดย Cysteamine นี่ ร่างกายเราจะมีอยู่แล้วค่ะ เป็นผลพลอยได้มาจากการสลายตัวของ Coenzyme A เป็น วิตามินบี 5 (Pantothenic acid) กับ Cysteamine

ซึ่งตัวของ Cysteamine มีประโยชน์และมีคุณสมบัติที่ดีหลายประการเลยสำหรับร่างกายของเรา คือ เป็น Antioxidant ที่ดี ช่วยดูแลสมดุลการสร้างและกำจัดอนุมูลอิสระ (Redox homeostasis) ให้แก่ร่างกายเรา

ในด้านของผิวพรรณนั้น Cysteamine เป็น Whitening ที่ดีผ่านหลายกลไก ไม่ว่าจะเป็น

  • การยับยั้งเอนไซม์ Tyrosinase ที่เป็นตัวการในการสร้างเม็ดสี Melanin
  • ยับยั้งเอนไซม์ Peroxidase ที่เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างเม็ดสีชนิด Eumelanin ที่มีสีเข้ม
  • ผลัดผิว
  • ปกป้อง Glutathione ใน Melanocyte ซึ่งมีผลไปส่งเสริมให้ Melanocyte สร้างเม็ดสีอ่อนที่ชื่อ Pheomelanin
  • ต่อต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งจะไปกระตุ้นให้ Melanocyte ทำงานมากขึ้น
  • จับกับอิออนโลหะ ซึ่งมีผล 2 แบบ
    • แบบแรก อิออนโลหะจะไปกระตุ้นให้เกิดอนุมูลอิสระผ่าน Fenton reaction แล้วไปกระตุ้นให้ Melanocyte ทำงานมากขึ้น เมื่ออิออนโลหะโดนจับไว้ โอกาสเกิดอนุมูลอิสระก็จะน้อยลง
    • แบบที่สอง ไปจับกับอิออนโลหะ Copper ที่จำเป็นในการทำงานของเอนไซม์ Tyrosinase ซึ่งทำให้ Tyrosinase ทำงานไม่ได้

Cysteamine เป็นสารที่พบว่ามีประสิทธิภาพในการเป็น Whitening ที่ดีมาหลายปีดีดักแล้ว แต่มีปัญหาหลายอย่าง หลักๆ คือ เรื่องของความไม่คงตัว และกลิ่นของ Sulfur

แต่ในระยะหลังๆ มานี้ วงการเครื่องสำอางก็พบเจอวิธีที่สามารถเพิ่มความคงตัวให้กับ Cysteamine ได้หลายแบบ เลยมีความสนใจ และนำกลับมาศึกษาในการทดลองทางคลินิกหลายฉบับ เทียบกับสารมาตรฐาน (Gold standard) ในการรักษาฝ้าของแพทย์ผิวหนัง อย่าง Hydroquinone แล้วพบว่าให้ผลดีใกล้เคียงกัน และมีแนวโน้มว่าจะปลอดภัยกว่า แต่ก็เจอปัญหาเรื่องการระคายเคืองที่อาจจะเกิดขึ้นได้ และเรื่องกลิ่น เลยเป็นรูปแบบใช้แล้วล้างออก

จากการรวบรวมและวิเคราะห์งานวิจัยแบบ Systematic review โดย Ahramiyanpour และคณะ (2021) ที่รวบข้อมูลจากงานวิจัยเกี่ยวกับการทดสอบประสิทธิภาพของ Cysteamine ในอาสาสมัครที่เป็นฝ้า 8 ฉบับ พบว่า Cysteamine มีประสิทธิภาพในการลดจำนวนเม็ดสีผิว และอาสาสมัครมีความพึงพอใจในผลการใช้งาน (J Cosmet Dermatol. 2021;20:3593–3602.)

สำหรับประเด็นเรื่องความคงตัวของ Cysteamine นั้น ในสูตรของ Melabright ทาง Alphascience นี้ เขามีนวัตกรรมสิทธิบัตรที่เพิ่มความคงตัวให้แก่ Cysteamine ได้ ที่ระดับความเข้มข้น 3% และดูแลเรื่องความระคายเคืองได้ในระดับหนึ่ง จึงพัฒนาเป็นตำรับร่วมกับสารบำรุงอื่นๆ ที่ใช้แล้วสามารถทิ้งไว้บนผิวได้เลย โดยไม่ต้องล้างออก ซึ่งถือว่ามีความน่าสนใจมากเลยทีเดียว และสูตรผสมนี้มีการศึกษาเบื้องต้น (Pilot study) ในการดูแลฝ้าเทียบกับ Hydroquinone แล้วพบว่ามีประสิทธิภาพใกล้เคียงกัน

ซึ่ง Pilot study นี้ เป็นการทดสอบแบบแบ่งครึ่งใบหน้า เปรียบเทียบระหว่าง Melabright กับ Hydroquinone 4% ในอาสาสมัครจำนวน 25 คน เป็นเวลา 2 เดือน พบว่าให้ประสิทธิภาพที่ไม่ต่างกัน และไม่เกิดการระคายเคืองในอาสาสมัคร และยังได้ประโยชน์ในด้านของรูขุมขนกระชับขึ้น ความมันลดลง และริ้วรอยที่ดูตื้นขึ้น เสริมเข้ามา

สารบำรุงถัดมาเป็นกลุ่มสีชมพู ได้แก่

  • วิตามินซี ซึ่งใช้ในรูปแบบของ Ascorbic acid ที่ความเข้มข้น 8% ที่เสริมความคงตัวโดยเทคโนโลยีสิทธิบัตรของทาง Alphascience ที่ชื่อ Nextgen technology ผ่านระบบการปกป้องสารไม่ให้เกิดการแตกตัว (Ionization stabilization) ในสารละลาย และสามารถย้อนการแตกตัวของสารต้านอนุมูลอิสระกลับมาในรูปแบบที่ไม่แตกตัว ซึ่งมีความคงตัวสูงกว่า ช่วยปกป้องทั้งตัววิตซีเอง และ Cysteamine ให้คงตัวอยู่ได้

สำหรับประโยชน์ของวิตามินซีนั้นมีด้วยกันหลายประการ ได้แก่

  1. ยับยั้งเอนไซม์ Tyrosinase ที่สร้างเม็ดสีเมลานิน
  2. เป็น Antioxidant ที่ดี
  3. เป็นส่วนหนึ่งในการสังเคราะห์คอลลาเจนตามธรรมชาติของผิว
  4. ดูแลเรื่องการอักเสบระคายเคือง

สารสกัดจากใบแปะก๊วย (Ginkgo biloba leaf extract) เป็นสารสกัดเก่าแก่สารหนึ่งในวงการเครื่องสำอาง มีประโยชน์กับผิวหลายประการเช่นกัน

  • ประกอบด้วยสารในกลุ่ม Polyphenol และ Flavonoids หลายชนิด ที่ให้คุณสมบัติเป็น Antioxidant ที่ดี
  • การทดลองในหนูทดลองพบว่า เมื่อทาสารสกัดจากแปะก๊วย (ที่สกัดด้วย 50% ethanol) ให้ประโยชน์ในการปกป้องผิวจากรังสี UV และเสริมการสร้างเอนไซม์ที่เป็น Antioxidant ตามธรรมชาติในผิวอย่าง Superoxide dismutase (SOD) และ Catalase (Methods Find Exp Clin Pharmacol. 1997 Jul-Aug;19(6):367-71.)
  • ในใบแปะก๊วย มีสารพฤกษเคมีกลุ่ม Biflavone ที่ชื่อ Ginkgetin มีรายงานว่ามีคุณสมบัติในการลดการอักเสบระคายเคืองได้ผ่านหลายกลไก เช่น ยับยั้งเอนไซม์ Phospholipase A2;PLA2 (ซึ่งเป็นตัวแม่สุดเมื่อผิวเกิดความเสียหาย PLA2 จะไปย่อยไขมันฟอสโฟไลปิดที่เป็นองค์ประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ ได้กรดไขมัน Arachidonic acid ที่จะแประสภาพต่อไปผ่านเอนไซม์ Cyclooxegenase และ Lipoxygenase ทำให้เกิดสารที่นำไปสู่การอักเสบต่างๆ) ลดการสร้างเอนไซม์ Cyclooxgenase ซึ่งส่งผลต่อไปให้การสร้างสารก่อการอักเสบลดลง และการทดสอบในหนูทดลองพบว่า การทา Ginkgetin ลดการอักเสบของผิวหนังได้ (Planta Med. 2002;68(4):316-21.) การทดสอบในเซลล์ภูมิคุ้มกัน Mast cell ของหนู ระบุว่า Ginkgetin ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ Cyclooxegenase และ Lipoxygenase ซึ่งมีผลลดการอักเสบ (Biol Pharm Bull. 2005;28(12):2181-4.)
  • ปกป้องคอลลาเจน โดยไปยับยั้งเอนไซม์ MMP-1 ที่ไปย่อยสลายคอลลาเจน และสาร Ginkgolide A และ bilobalide ยังอาจมีคุณสมบัติเสริมการสร้างคอลลาเจน (Food Sci. Technol (Campinas). 2020;40(2))

สรุป สารสกัดจากใบแปะก๊วยดูแลผิวได้หลายด้าน ในแง่ของการดูแลเรื่องการอักเสบระคายเคือง ให้ความรู้สึกสบายผิว ต่อต้านอนุมูลอิสระ ปกป้องผิวจากรังสี UV และ ดูแลเรื่องริ้วรอย

  • Phytic acid เป็นสารที่มีประโยชน์หลายประการ ใช้เป็นสารจับโลหะในสูตรเครื่องสำอาง ใช้เสริมฤทธิ์กับ Antoxidant อื่นในสูตรเพื่อเสริมความคงตัวให้แก่ตำรับ ใช้เป็นสารบำรุงก็ดี ในแง่ของการบำรุงผิว Phytic acid มีฤทธิ์เป็น Antioxidant มีคุณสมบัติเป็น Whitening โดยไปจับ Copper ของเอนไซม์ Tyrosinase ทำให้การสร้างเม็ดสีเกิดขึ้นได้น้อยลง

Acetyl glycyl beta-alanine

          ตัวนี้เป็นเปปไทด์ที่รู้จักในชื่อทางการค้าว่า Genowhite ข้อมูลจากทางผู้ผลิตวัตถุดิบระบุว่าสารนี้มีคุณสมบัติในด้าน Whitening ผ่านหลายกลไก

  1. ลดการสร้างเม็ดสีผิวผ่านการยับยั้งตัวตั้งต้น MITF ที่จะไปกระตุ้นให้มีการสังเคราะห์เอนไซม์ Tyrosinase
  2. ลดการสร้าง Endothelin-1 ที่สร้างออกมาจากผนังหลอดเลือด ซึ่งจะไปกระตุ้นให้เซลล์สร้างเม็ดสี สร้างเมลานินออกมา
  3. ลดการส่งผ่านเมลานินที่สร้างเสร็จแล้วไม่ให้ออกไปข้างนอก (Melanosome transfer) ผ่านการลดการสังเคราะห์โปรตีน Melanophillin ที่เป็นตัวสำคัญในขั้นตอนนี้

(Image from Corum)

มีการศึกษาในอาสาสมัครโดยบริษัท พบว่าสาร Genowhite มีความสามารถในการดูแลจุดด่างดำตามอายุ (Age spot)

สำหรับตัวเบส(เนื้อหลักของผลิตภัณฑ์) จะเป็น Humectant solvent เป็นเบสหลัก เพื่อเสริมความคงตัวให้แก่ Vitamin C อาจจะมีความหนึบๆ หรือกระตุ้นการระคายเคืองได้ในคนที่พึ่งเริ่มใช้ ความเห็นส่วนตัวคิดว่า อาจจะใช้วิธีผสมกับครีม/เซรั่มอื่นที่ใช้อยู่ก่อนแล้ว วอร์มบนมือ แล้วทาบนใบหน้า เพื่อให้ผิวปรับสภาพ ก่อนที่จะค่อยๆ เพิ่มปริมาณแล้วลงผิวได้เลย

ในด้านของลำดับการลง (Skincare regimen) อาจจะเอาไว้หลังเสร็จกลุ่มน้ำ ก่อนทาน้ำนม ก็ได้อยู่

ส่วนผสมอื่นๆ ขอกล่าวถึงส่วนของสารสีเขียวที่ทำไว้อย่าง Isopentyldiol และ Etoxydiglycol นั้นมีคุณสมบัติเป็น Penetration enhancer ที่เสริมการซึมผ่านของสารบำรุงเข้าสู่ผิว

และมีระบบบัฟเฟอร์อย่าง Citric acid กับ Sodium citrate ที่ช่วยควบคุมค่า pH ของตำรับให้คงที่เพื่อเสริมความคงตัว

นอกจากนั้น ส่วนผสมที่เหลืออื่นๆ ก็เลือกมาเท่าที่จำเป็น และไม่มีสารที่ไม่เป็นมิตรกับผิว

มาให้คะแนนกันดีกว่าค่ะ

  1. สารบำรุง เน้นไปที่การดูแลเรื่องการสร้างเม็ดสีผิวเป็นหลัก ที่เสริมฤทธิ์กันผ่านหลายเสต็ปในการสร้างเม็ดสีผิว เสริมมาด้วยการดูแลเรื่องการระคายเคืองผิว ต่อต้านอนุมูลอิสระ ดูแลเรื่องริ้วรอย และปกป้องผิวจาก UV ให้ไป 5 ฟลาสก์
  2. ส่วนผสมอื่นๆ ไม่มีสารที่ไม่เป็นมิตรกับผิว และสารอื่นที่ใส่มาก็คือผ่านการเลือกมาเป็นอย่างดี เลยไม่มีจุดที่ให้หักคะแนน รับไป 5 ฟลาสก์
  3. การใช้งาน ในเรื่องของเนื้อเบสที่มาใน Humectant solvent นั้นอาจจะหนึบๆ ไม่ค่อยถูกใจเท่าไหร่ แต่ถ้าลงเซรั่มอื่นๆ เรียบร้อยแล้ว ทาเสร็จแล้วทาครีมทับ หรือผสมลงครีมแล้ววอร์มก่อนทาก็ถือว่าพอได้อยู่ค่ะ สำหรับเรื่องกลิ่น ส่วนตัวเป็นคนที่คุ้นชินกับกลิ่นของสาร Sulfur อยู่แล้ว เลยไม่ได้รู้สึกว่าเป็นปัญหาอะไร ในด้านของสีผิว ส่วนตัวไม่ได้มีปัญหาฝ้าหรือจุดด่างดำ หรือปัญหาสีผิวไม่สม่ำเสมอมากนัก แต่ได้ใช้แล้วก็รู้สึกว่าผิวเรียบ ละเอียด และแต่งหน้าได้ติดทนนานมากขึ้น ให้ไป 5 ฟลาสก์

สุดท้ายนี้ขอขอบคุณทางแบรนด์ AlphaScience สาขาประเทศไทยด้วยนะคะ ที่จัดส่งสินค้าดีๆ มาให้ได้ทดลองใช้ และขอบคุณทุกท่านด้วยค่ะที่ติดตามรับชมมาจนจบ

สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ทางแบรนด์โดยตรงได้เลยค่ะ

https://www.facebook.com/AlphascienceThailand

สำหรับท่านที่สนใจสามารถติดตามเข้าไปดูที่ Official mall ได้ตามลิงค์ด้านล่างนี้ได้เลยค่ะ

Lazada: https://invol.co/cla9tuw

Shopee: https://invol.co/cla9tvv

Disclaimer: ผลิตภัณฑ์นี้ได้รับการสนับสนุนจากทางแบรนด์ AlphaScience สาขาประเทศไทย การรีวิวครั้งนี้เป็นการวิเคราะห์ส่วนผสม/วัตถุดิบตามหลักการทางวิทยาศาสตร์เครื่องสำอางและอาศัยความเห็นส่วนบุคคล และผู้เขียนไม่ได้มีผลประโยชน์ใดๆในการขายสินค้า โปรดใช้วิจารณญาณ

Image

รีวิว/วิเคราะห์ส่วนผสมเซรั่มไฮยาจากฝรั่งเศส ที่มีฟีลลิ่งสุดปัง Alphascience HA Booster serum

หลายๆ ท่าน ชอบใช้เซรั่มไฮยา แต่ก็เหนื่อยใจกับฟีลลิ่งเหนียวๆ หนึบๆ

วันนี้ทางเพจมีบทวิเคราะห์ส่วนผสมเซรั่มไฮยาที่เนื้อบางเบา ไม่เหนียวเหนอะหนะ และมีส่วนผสมที่น่าสนใจมาฝากกันค่ะ

น้องเป็นเซรั่มที่มีชื่อว่า HA Booster serum จากแบรนด์ Alphascience ประเทศฝรั่งเศสซึ่งมาในหน้าตาแบบนี้

มาในขวดแก้วแบบมีดรอปเปอร์

สำหรับจุดเด่นของผลิตภัณฑ์จากแบรนด์ Alphascience คือ ขวดจะผ่านการซีลมาเป็นอย่างดี จึงมั่นใจได้ว่าสินค้าไม่ได้ถูกแกะ ไม่ผ่านมือใครมาก่อนถึงมือเราแน่นอน

เนื้อเซรั่มเป็นเนื้อที่มีความข้นหนืดนิดหน่อย เนื่องจากทางแบรนด์ไม่ได้ใส่น้ำหอม เราเลยจะได้กลิ่นจางๆ ของวัตถุดิบอยู่ค่ะ

เกลี่ยได้ง่าย ไม่เหนียว ไม่หนึบ ซึมไว แห้งไว

ภาพแรกเป็นลักษณะหลังเกลี่ย ถ่ายด้วยแสงแฟลช

เราจะเห็นความเงาวาวของเนื้อเซรั่มอยู่

เมื่อทิ้งไว้ประมาณ 3 นาที จะค่อนข้างซึมไปเยอะเลย

ค่า pH อยู่ที่ราวๆ 5 ซึ่งใกล้เคียงกับผิว

สำหรับส่วนผสมเป็นดังนี้

สำหรับส่วนผสมค่อนข้างเรียบง่าย แต่มาแบบเน้นๆ ปังๆ

เริ่มด้วยสีน้ำเงิน Silanetriol ซึ่งคือ Organic silicium ซึ่งมีส่วนประกอบของธาตุ Silicon ค่ะ

          สำหรับประโยชน์ของ Silicon นั้นจะมีคุณสมบัติเด่นๆ หลายประการ ได้แก่ เสริมการทำงานของผิว เสริมให้ผิวกระชับ ยืดหยุ่น และเสริมการติดต่อสื่อสารกันระหว่างผิว ซึ่งจะส่งผลให้ผิวเราปรับตัวต่อมลภาวะและสิ่งต่างๆ ทั้งจากสิ่งแวดล้อมและความเครียด

  • Silicon กระตุ้นการทำงานของเซลล์ผิวในชั้นหนังกำพร้า (Keratinocyte) ช่วยปกป้อง เสริมการอุ้มน้ำ และช่วยให้สีผิวสม่ำเสมอ

(Image from Exsymol Monaco)

  • Silicon จะไปจับกับช่องว่างระหว่างเส้นใย Fiber ที่เป็น Matrix ต่างๆ ใน Dermis ให้ผิวเรามีความนุ่มแน่น แข็งแรง

(Image from Exsymol Monaco)

  • เมื่อเราอายุเพิ่มขึ้น ปริมาณของ Silicon จะลดลง อาจจะเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เส้นใยต่างๆ ในผิวไม่กระชับ เกิดริ้วรอยขึ้นมา
  • การเสริม Silicon ก็อาจจะมีคุณสมบัติเสริมการทำงานของ Fibroblast เสริมการสังเคราะห์คอลลาเจน ให้ผิวกระชับ แข็งแรง

(Image from Exsymol Monaco)

  • ระหว่างชั้นหนังกำพร้า กับหนังแท้ มันจะมีโครงสร้างที่เรียกว่า Dermal-Epidermal Junction หรือ DEJ ซึ่งสำคัญมาก เพราะจะพยุงเอาโครงสร้างผิวเอาไว้ พอเราอายุเพิ่มขึ้น DEJ จะยุบ แล้วทำให้เกิดริ้วรอยร่องลึกขึ้นมา

(Roig-Rosello, E.; Rousselle, P. The Human Epidermal Basement Membrane: A Shaped and Cell Instructive Platform That Aging Slowly Alters. Biomolecules 2020, 10, 1607. https://doi.org/10.3390/biom10121607)

  • เจ้า Silicon นี้ยังไปช่วยให้ชั้น DEJ มีความแข็งแรงขึ้นด้วย

(Image from Exsymol Monaco)

สำหรับสูตรผสมของ Silanetriol กับ Hyaluronic acid นั้นมีชื่อทางการค้าว่า Epidermosil ซึ่งเอา Silanetriol มาเป็นระบบนำส่งให้ Hyaluronic acid เข้าผิวได้ดีขึ้นค่ะ

ทางแบรนด์ได้ทำแผนภาพจำลองเพื่อเปรียบเทียบว่า การใช้ Silicium มาเป็นระบบนำส่งนั้น ช่วยเสริมให้ Hya เข้าไปที่ชั้นลึกของหนังกำพร้าได้ดีขึ้น

(Image from Exsymol Monaco)

ซึ่งทางผู้ผลิตวัตถุดิบบริษัท Exsymol Monaco ได้ทดสอบประสิทธิภาพในอาสาสมัคร โดยให้อาสาสมัครทาผลิตภัณฑ์ที่มี Epidermosil 5% (ซึ่งเป็นความเข้มข้นเดียวกับใน HA Booster serum) วันละ 2 ครั้งเป็นเวลา 28 วันพบว่าอาสาสมัครมีริ้วรอยที่ตื้นขึ้น ผิวเรียบเนียนขึ้น และมีความชุ่มชื้นเพิ่มขึ้น

(Image from Exsymol Monaco)

แค่ส่วนผสมชุดแรกก็ปังแล้ว ยังเสริมมาด้วย

  • Betaine ซึ่งเป็นอนุพันธ์ของกรดอะมิโน Glycine มีประโยชน์ที่ดีกับผิวหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการให้ความรู้สึกที่ดีกับผิว ลดการระคายเคือง มีรายงานวิจัยทดสอบประสิทธิภาพในระดับเซลล์เพาะเลี้ยง พบว่า Betaine มีคุณสมบัติในการลดการสร้างเม็ดสี Melanin (Cho et al., Food Sci Biotechnol. 2017;26(5):1391-1397.) มีอีกงานหนึ่งทดสอบประสิทธิภาพในระดับเซลล์เพาะเลี้ยงเช่นกัน พบว่าการทาสารในกลุ่ม Osmolyte อย่าง Betaine นั้นมีประโยชน์ในการเสริมความแข็งแรงให้แก่ Barrier ผิว โดยไปเพิ่มการทำงานของ Tight junction ที่เป็นช่องแคบๆ ระหว่างเซลล์ ทำหน้าที่ปกป้องไม่ให้สิ่งไม่ดีจากภายนอกเข้าสู่ในผิว และลดการเสียน้ำและ NMF ตัวเล็กๆ ออกไปภายนอก (El-Chami et al., Br J Dermatol. 2021;184(3):482-494. doi: 10.1111/bjd.19162.)
  • Jania rubens extract เป็นสารสกัดจากสาหร่ายสีแดง พอได้ไปตามอ่านข้อมูลจากผู้ผลิตวัตถุดิบ Actiporine 8.G ของบริษัท Codif ประเทศฝรั่งเศส (ประกอบด้วย Glycerin (and) Water (and) Jania Rubens extract) เลยพบว่าน้องมีกลไกที่น่าสนใจมากเว่อร์ คือ น้องไปกระตุ้นให้เกิดการสร้างประตูขนส่งกลุ่ม Aquaporin-8 (AQP8) ขึ้นมา ปกติถ้าพูดถึง AQP เรามักจะพูดถึง AQP3 ซึ่งเป็น AQP ที่เป็นประตูส่งน้ำและ Glycerin เข้าเซลล์ผิว ให้ผิวเราชุ่มชื้น แข็งแรง ส่วนเจ้า AQP8 นั้นมีการพูดถึงว่าเป็นตัวขนส่งแอมโมเนีย เพื่อให้ผิวเราเอาไปสร้าง Urea ที่เป็น 1 ในสารจับน้ำตามธรรมชาติ (Natural moisturizing factor; NMF) ของผิวเรา

หน้าตาของสาหร่าย Jania rubens

เป็นตัวน้อยกลมๆ

(Image from Codif)

ทีนี้ความน่าสนใจอยู่ที่ว่า Codif ไปเจอว่า AQP8 นั้น นอกจากช่วยขนส่งแอมโมเนียแล้ว น้องยังไปช่วยผลักเอา Hydrogen peroxide ออกจากผิว ซึ่งในเซลล์เรานี่จะมีหน่วยที่ชื่อ Mitochondria ที่ทำหน้าที่สร้างพลังงานอยู่ตลอดเวลา เป็นเหมือนโรงไฟฟ้าของเซลล์ (เรียกกันสวยๆ ในวงการว่า Power house of cell) เวลาน้องทำงานมันก็จะได้พวกอนุมูลอิสระต่างๆ ออกมา ร่างเราก็จะมีกลไกในการกำจัดอนุมูลอิสระ แต่ถ้าอนุมูลอิสระมันมากไป มันก็จะไปทำลายเซลล์เรา แล้วตัวที่โดนทำลายแรกๆ ก็คือเจ้า Mitochondria นี่แหละ ถ้าไม่มีน้อง เซลล์ก็ไม่มีพลังงาน อยู่ไม่ได้ แก่ตายไป

วัตถุดิบนี้ ไปเสริมการสร้าง AQP8 ที่ไปช่วยผลักเอา Hydrogen peroxide ทิ้งไป Mitochondria เลยรอด เราก็รอดด้วย

ซึ่งทางบริษัท Codif ก็มีการทดสอบประสิทธิภาพทั้งในระดับเซลล์เพาะเลี้ยงและในอาสาสมัคร ก็เจอว่าให้ประโยชน์ที่ดีในด้านของการชะลอวัย ลดเลือนริ้วรอย

โดยรวมส่วนผสมของสารบำรุงที่ใส่มาใน HA booster serum นี่คือตัวตึงด้านการเติมน้ำ ผิวกระชับ แข็งแรง และดูแลผิวด้านริ้วรอย ชะลอวัย อาจจะได้เรื่องความรู้สึกสบายผิว การระคายเคือง และ whitening อยู่ด้วย

และไม่มีส่วนผสมของสารที่ไม่เป็นมิตรกับผิว

มาให้คะแนนกันดีกว่าค่ะ

  1. สารบำรุง ถ้ามองในแง่ของการเป็นเซรั่มไฮยาชิ้นหนึ่ง คือ น้องทำมาได้จัดเต็มมาก ไม่ใช่แค่เติมน้ำ แต่มันมีมิติอื่นซ่อนไปมากกว่านั้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้เทคนิค Silicium delivery หรือการเลือกใช้สารที่มาเสริมกันอย่างลงตัว เพื่อดูแลริ้วรอย ให้ไป 5 ฟลาสก์
  2. ส่วนผสมอื่นๆ ไม่มีสารที่ไม่เป็นมิตรกับผิว เลยไม่มีที่ให้หักคะแนน รับไป 5 ฟลาสก์
  3. การใช้งาน ส่วนตัวค่อนข้างชอบความบางเบาของเนื้อ ไม่เหนียวหนึบ ลงแล้วทาสกินแคร์ตัวอื่นต่อไปได้เลยไม่ต้องรอนาน ในแง่ของด้านผิวกระชับ ริ้วรอย ส่วนตัวยังไม่ได้มีปัญหาด้านนี้เลยยังฟันธงชัดเจนไม่ได้ แต่ก็ได้ความรู้สึกว่าผิวดีขึ้นจากการใช้มาเดือนกว่าๆ รับไป 5 ฟลาสก์

สุดท้ายนี้ขอขอบคุณทางแบรนด์ AlphaScience สาขาประเทศไทยด้วยนะคะ ที่จัดส่งสินค้าดีๆ มาให้ได้ทดลองใช้ และขอบคุณทุกท่านด้วยค่ะที่ติดตามรับชมมาจนจบ

สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ทางแบรนด์โดยตรงได้เลยค่ะ

https://www.facebook.com/AlphascienceThailand

สำหรับท่านที่สนใจสามารถติดตามเข้าไปดูที่ Official mall ได้ตามลิงค์ด้านล่างนี้ได้เลยค่ะ

Lazada: https://invol.co/cla9tuw

Shopee: https://invol.co/cla9tvv

Disclaimer: ผลิตภัณฑ์นี้ได้รับการสนับสนุนจากทางแบรนด์ AlphaScience สาขาประเทศไทย การรีวิวครั้งนี้เป็นการวิเคราะห์ส่วนผสม/วัตถุดิบตามหลักการทางวิทยาศาสตร์เครื่องสำอางและอาศัยความเห็นส่วนบุคคล และผู้เขียนไม่ได้มีผลประโยชน์ใดๆในการขายสินค้า โปรดใช้วิจารณญาณ

Image

รีวิว/วิเคราะห์ส่วนผสมมูสโฟมล้างหน้านุ่มแน่น Cloud จาก The Labatorian

ก่อนหน้านี้ทางเพจได้นำเสนอมูสโฟมล้างหน้าชิ้นหนึ่งที่มีฟองโฟมมูสแน่นนุ่มสู้มือไป วันนี้ขอหยิบเอาส่วนผสมของน้องมาวิเคราะห์กันต่อ

ผลิตภัณฑ์มูสโฟมนี้มีชื่อว่า Cloud Fluffy amino gentle barrier cleanser จากแบรนด์ the Labatorian ซึ่งมีผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจหลายๆ ชิ้น และทางเพจได้เคยนำเสนอไปก่อนหน้านี้

สำหรับท่านที่พลาด สามารถรับชมรีวิว/วิเคราะห์ส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจจากทางแบรนด์ได้ตามลิงค์เลยนะคะ

เซรั่มสำหรับดูแลผิวที่เป็นสิวง่าย Agness >>Click

เซรั่มสำหรับดูแลผิวที่มีปัญหาจุดด่างดำ Clair >>Click

และเซรั่มดูแล Barrier ผิวสุดปัง Brikk ที่พึ่งเปิดตัวไม่นานมานี้ >>Click

วันนี้ถึงคิวของน้อง Cloud แล้วค่ะ ขอแอบอวดความน่ารักของ Box set ที่ทางแบรนด์ส่งมาให้สักหน่อย

น่ารักเนอะ

สำหรับตัวมูสนี้มาในกระป๋องอะลูมิเนียมแบบอัดก๊าซ ซึ่งเรียกตำรับแบบนี้กันว่า Aerosol ค่ะ

เนื้อโฟมก็นุ่มแน่นสู้มือสุดๆ

ลองวัดค่า pH หลังละลายมูสในน้ำได้อยู่ที่ราวๆ 5 ซึ่งถือว่าทำมาได้ใกล้เคียงกับค่า pH ของผิว

รายการส่วนผสมเป็นดังนี้นะคะ

สำหรับส่วนผสมวันนี้มี่ทำไว้ สีตามกลุ่ม ประโยชน์และวัตถุประสงค์ในการใช้

เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจึงขอเปิดประเดิมด้วยกลุ่มสารทำความสะอาดค่ะ

  • กลุ่มสารทำความสะอาดแทนด้วยสีส้ม ซึ่งมีด้วยกัน 3 ชนิด คือ Lauryl hydroxysultaine, Disodium cocoyl glutamate และ Caprylyl/capryl glucoside ซึ่งเป็นสารทำความสะอาดชนิดที่อ่อนโยนกับผิวทั้ง 3 ตัว
    • ขอ Focus ที่ Lauryl hydroxysultaine ซึ่งเป็นสารทำความสะอาดที่น่าสนใจตัวหนึ่ง มีความอ่อนโยนที่ดี ทำความสะอาดดี ฟองดี และยังมีความคงตัวสูง ไม่สลายตัวปลดปล่อยสารที่ไม่เป็นมิตรออกมาง่ายๆ
    • Disodium cocoyl glutamate เป็นสารทำความสะอาดชนิดอ่อนโยนที่ดัดแปลงจากกรดอะมิโน Glutamic acid มีความอ่อนโยนเช่นกัน
    • ส่วน Caprylyl/capryl glucoside นั้นเป็นสารทำความสะอาดชนิดไม่มีประจุ มีความอ่อนโยนเช่นเดียวกัน
  • กลุ่มสารที่ดูแลเรื่องการระคายเคือง แทนด้วยสีฟ้า ซึ่งมีด้วยกัน 4 ตัว ขอเลือกกล่าวถึงตัวที่น่าสนใจ 2 ตัว คือ
    • Acetyl dipeptide-1 cetyl ester น้องเป็นเปปไทด์ที่เด่นในแง่ของการลดความรู้สึกระคายเคือง ซึ่งมีการศึกษารองรับในอาสาสมัคร โดยให้อาสาสมัครทา Capsaicin เพื่อเกิดการระคายเคือง แล้วทาผลิตภัณฑ์ที่มีสารตัวนี้ลงไป พบว่า สารนี้สามารถลดการระคายเคืองและความรู้สึกแสบร้อนที่เกิดขึ้น (J Eur Acad Dermatol Venereol. 2016;30 Suppl 1:18-20.)
    • Hydroxyacetophenone มีชื่อทางการค้าว่า Symsave H เป็นสาร Muti-functional ให้ประโยชน์เป็นสารเพิ่มประสิทธิภาพของสารกันเสีย ให้คุณสมบัติเสริมในด้านการลดการระคายเคือง และเป็น Antioxidant
  • สีชมพู O-cymen-5-Ol มีอีกชื่อว่า Isopropyl methylphenol เรียกกันย่อๆ ว่า IPMP น้องเป็นสารกลุ่ม Terpenes ที่พบได้ในพืชหลายๆชนิด มีรายงานการวิจัยสนับสนุนถึงคุณสมบัติระงับเชื้อราและแบคทีเรียบางชนิด (Int Dent J. 2011;61 Suppl 3:33-40.) ข้อมูลจากผู้ผลิตวัตถุดิบระบุว่าสารนี้ใช้เป็น Preservative booster ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของสารระงับเชื้อชนิดอื่นๆในตำรับ และมีคุณสมบัติในการควบคุมความมัน และลดจำนวนเชื้อก่อโรคสิว (Ref: TDS ParbFree® IPMP100)
  • สีม่วง คือ วิตามินอี ซึ่งเป็น Antioxidant ที่ละลายได้ในไขมัน

อีกจุดที่น่าสนใจคือในตำรับมีการใช้ Buffer เพื่อควบคุมค่า pH ให้คงที่ โดยใช้ Citric acid คู่กับ Sodium citrate และมีรายงานว่าการใช้ Buffer กรดอ่อนมีประโยชน์ในการดูแลผิว (แต่ทั้งนี้ขึ้นกับค่า pH ของตำรับด้วย)

ในภาพรวมคือเป็น Cleanser ชิ้นหนึ่งที่ทำมาได้น่าสนใจ เลือกใช้สารทำความสะอาดที่อ่อนโยน แต่คงไว้ซึ่งฟองโฟมหนานุ่มแน่น และเสริมสารบำรุงที่ดูแลผิวได้ในหลายๆ ด้าน ถึงแม้ว่าพวก Cleanser จะสัมผัสผิวไม่นาน การมีสารบำรุงอยู่ก็น่าจะดีกว่าไม่มี และสารลดระคายเคืองอย่าง Acetyl dipeptide-1 cetyl ester ก็อาจจะให้ประโยชน์ในการลดการระคายเคืองจากการล้างหน้าได้

มาให้คะแนนกันดีกว่าค่ะ

เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดขอปรับหัวข้อการให้คะแนนเล็กน้อยนะคะ

  1. สารทำความสะอาด เป็นเหมือนหัวใจหลักของ Cleanser ซึ่งทางแบรนด์เลือกใช้มาอย่างดี เป็นชนิดที่อ่อนโยนหมด ส่วนเรื่องฟองก็แจ่ม ดังนั้นใครสายฟองแต่กลัว surfactant แรงๆ ตัวนี้ก็น่าจะเป็นทางเลือกที่ดี ให้ไป 5 ฟลาสก์
  2. สารบำรุงและส่วนผสมอื่นๆ สารบำรุงที่ใส่ลงมามีประโยชน์หลายอย่าง เช่น ดูแลเรื่องการระคายเคือง ให้ความรู้สึกสบายผิว ดูแลเรื่องสิวและเรื่องของความชุ่มชื้นผิว สำหรับส่วนผสมอื่นๆ นั้น ไม่มีสารที่ไม่เป็นมิตรกับผิว รับไป 5 ฟลาสก์เช่นกัน
  3. การใช้งาน ส่วนตัวเป็นคนบ้าฟองอยู่แล้ว ดังนั้นตัวนี้คือตอบโจทย์ค่ะ คนผิวแห้งแบบดิฉันอย่านวดนานจนเพลิน จะรู้สึกแห้งตึงได้ ครั้งแรกๆ ดิฉันนวดสนุกมากยิ่งนวดฟองยิ่งแน่นยิ่งนุ่ม กลายเป็นนวดเพลินไป หน้าแห้ง ให้ลองนวดประมาณ 30 วิ พอสนุกสนานก็ไปล้างออก ก็ไม่แห้งตึงระคายเคืองแล้วค่ะ สำหรับผิวมันก็เพิ่มเวลาใช้งานไปตามความเหมาะสมค่ะ ให้ไป 5 ฟลาสก์

สุดท้ายนี้ต้องขอขอบคุณทางแบรนด์ The labatorian ด้วยนะคะ ที่ส่งผลิตภัณฑ์ดีๆ มาให้ได้รู้จัก และขอบคุณทุกท่านด้วยนะคะ ที่ติดตามรับชมมาจนจบ

สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดต่อสอบถามได้ที่

IG : the_labatorian

Line official : @labatorian

Facebook : Labatorian

Disclaimer/conflict of interests: ผลิตภัณฑ์นี้ได้รับการสนับสนุนจากทางแบรนด์ The labatorian การรีวิวครั้งนี้เป็นการวิเคราะห์ส่วนผสม/วัตถุดิบตามหลักการทางวิทยาศาสตร์เครื่องสำอางและอาศัยความเห็นส่วนบุคคล และผู้เขียนไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเกี่ยวกับบริษัทเครื่องสำอางใดๆ โปรดใช้วิจารณญาณ

Image

รีวิวเซรั่มฟื้นฟู Barrier ที่เนื้อบางเบาอย่างไม่น่าเชื่อ กับ Brikk 6 in 1 daily skin barrier treatment essence จาก The labatorian

สำหรับ Content นี้จะมาเล่าถึงเซรั่มที่น่าสนใจ ซึ่งทางแบรนด์ออกแบบมาเพื่อฟื้นฟู Barrier ผิวในทุกมิติ จากแบรนด์ The Labatorian ซึ่งทางเพจเราได้นำเสนอบทวิเคราะห์ส่วนผสมของผลิตภัณฑ์หลายๆ ชิ้นไปก่อนหน้านี้ค่ะ

วันนี้จะมาวิเคราะห์เซรั่มน้องใหม่ของทางแบรนด์ ที่พึ่งเปิดตัวเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมานี้ค่ะ

เซรั่มน้องใหม่นี้มีชื่อว่า Brikk ซึ่งว่ากันว่ากว่าทางแบรนด์จะได้สูตรนี้มานั้นผ่านการปรับสูตรมามากกว่า 50 สูตรเลยทีเดียวจนกว่าจะได้สูตรที่ดีงามขนาดนี้

น้องใหม่ Brikk มีหน้าตาประมาณนี้นะคะ

ตัวแพคเกจนั้นมาในขวดแก้วที่ด้านในเป็นฝาปั๊มค่ะ

เนื้อเซรั่มเป็นเนื้อแบบใส จะได้กลิ่นหอมของกุหลาบจางๆ ซึ่งมาจาก Rose water ที่ทางแบรนด์เลือกใช้ นอกจากจะให้ความรู้สึกสบายผิว (Soothing effect) แล้วก็ยังได้กลิ่นหอมด้วย

เกลี่ยได้ค่อนข้างง่าย แรกๆ จะให้สัมผัสลื่นๆ ผิว แต่เมื่อทิ้งไว้สักพัก ไม่ถึง 1 นาที ตัวเซรั่มจะซึม/แห้งไป ให้ความรู้สึกนุ่มนวล ชุ่มชื้น และไม่เหนียวเหนอะหนะ

ค่า pH นั้นอยู่ที่ประมาณ 5 นะคะ ซึ่งถือว่าใกล้เคียงกับค่า pH ของผิว

รายการส่วนผสมนั้นเรียกได้ว่าจัดเต็มคาราเบลมาเกินเบอร์เกินหน้าเกินตาความเป็นเซรั่มใสมาก

ก่อนจะไปดูที่ส่วนผสม เรามาลอง Revised trend ใหม่ล่าสุดของ Barrier ผิวกันค่ะ

ในสมัยก่อนเรากล่าวกันว่า Barrier ผิวประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน คือ

  1. ไขมันที่อยู่ระหว่างเซลล์ Corneocytes (เซลล์ในชั้น Stratum corneum)
  2. Natural moisturizing factor (NMF)
  3. ตัวเซลล์ Corneocyte เองที่เรียงตัวแบบคดเคี้ยว และในเซลล์มีโปรตีน Keratin ที่อัดกันแน่น ทำหน้าที่ปกป้อง Lipid barrier อีกชั้นหนึ่ง ตัวเซลล์ Corneocyte เอง จะมีเปลือกที่เป็นโปรตีนเชิงซ้อน ที่เรียกว่า Cornified envelope หรือ Corneocyte envelope เคลือบอยู่อีกชั้น เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้อีกชั้นหนึ่ง

เราเรียกโมเดลที่แสดงถึงสิ่ง 3 สิ่งนี้ว่า Brick-wall model ตามภาพค่ะ

ทีนี้ถ้าเราย้อนกลับไป เราแบ่ง Barrier ของผิวออกเป็นกลุ่มๆ ค่ะ

  1. Physical barrier คือ ตัวผิวเอง โครงสร้างที่สมบูรณ์ของผิวหนังเป็นตัวปกป้องไม่ให้ของดีๆ ภายในออกไปข้างนอก และป้องกันไม่ให้อันตรายจากภายนอกเข้ามาข้างใน
  2. Chemical barrier คือ พวกสารเคมีต่างๆ ที่ผิวเราสร้างขึ้นมา การรักษาสภาวะ pH ให้เป็นกรดอ่อนๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อก่อโรคโตได้ บางที่อาจจะนับรวม Biochemical barrier เข้ามาไว้ด้วย คือพวก Antimicrobial peptide ที่ผิวเราสร้างขึ้นมาระงับเชื้อก่อโรคต่างๆ ตัวที่ดังๆ ก็เช่น Defensin
  3. Immunological barrier คือ ระบบภูมิคุ้มกันของผิวเรานั่นเอง ที่คอยปกป้องผิวจากทั้งสารเคมี และพวกจุลินทรีย์ต่างๆ
  4. และล่าสุด เราเริ่มมีการพูดถึง Microbiological barrier คือ พวกจุลินทรีย์หลากหลายชนิด และเจ้าแมลง Dermodex ที่อาศัยกันเป็นชุมชน Microbiome น้องมีปฏิกิริยากับผิวเราทำให้ Immune ของผิวเราทำงานอยู่ตลอดเวลา เป็นเหมือนการซ้อมรบ และเป็นเหมือนการกระตุ้นให้ผิวเราสร้างสารต่างๆ ออกมา เพื่อทำหน้าที่ในชีวิตประจำวัน

เจ้า Microbiological barrier นี่แหละ ที่เป็นที่มาของเทรนด์การเลือกใช้ Pre-pro-post biotics ในทางเครื่องสำอางเพื่อสุขภาพที่ดี เพราะถ้า Microbiome ของเราอยู่ในสภาวะสมดุลดี ผิวเราก็จะสมดุลดีไปด้วย

โดยตัว Brikk นั้นเคลมว่าเป็น 6 in 1 Daily ที่ดูแลผิวเสมือนรวมเอาเซรั่ม 6 ขวดเข้าไว้ด้วยกัน ดังนี้

  • Antioxidant ด้วยส่วนผสมของ Antioxidant ชั้นเลิศอย่าง Resveratrol กับ Ferulic acid
  • Anti-pollution ตัวที่น่าสนใจก็คือ Ectoine กับพวกสารที่ฟื้นฟู Barrier ผิวให้แข็งแรง
  • Microbiome ดูแลด้วย Prebiotics
  • Lipid & NMF ฟื้นฟู Barrier ผิวให้แข็งแรง
  • Soothing ให้ความรู้สึกสบายผิว
  • Hydration เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวอย่างยาวนาน

เราลองมาดูส่วนผสมของ Brikk กันนะคะว่าดูแล Barrier ผิวได้ในทุกมิติ และเป็นเซรั่ม 6 ขวดในขวดเดียวกันได้ อย่างไร

ส่วนผสมเป็นดังนี้ค่ะ

สำหรับส่วนผสมของ Brikk นั้นมีใช้หลายสีเพื่อแบ่งกลุ่มนะคะ เรามาลองดูตัวที่น่าสนใจกันค่ะ

  • กลุ่ม Microbiome ใช้แทนด้วยสีเขียวมะกอก
    • ในกลุ่มนี้ประกอบด้วย Prebiotic 2 ชนิด ได้แก่ Inulin และ Beta-glucan และ Post-biotic อย่าง Lactococcus ferment lysate
    • Inulin เป็น Polysaccharide ที่พบได้ในพืชหลายชนิด เช่น Chicory, artichoke ซึ่งจัดเป็น Prebiotic ชนิดหนึ่ง น้องเป็นอาหารของจุลินทรีย์ชนิดดีที่เรียกกันว่า Probiotic ในทางเครื่องสำอางมีการใช้ Inulin เพื่อเป็น Moisturizer โดยข้อมูลจากผู้ผลิตวัตถุดิบกล่าวว่า Inulin มีความสามารถในการเป็น Moisturizer ที่ดีกว่า Hyaluronic acid (Ref: TDS preBIULIN AGA)
    • Beta-glucan เป็น Polysaccharide ที่พบได้ในสิ่งมีชีวิตหลายชนิด และในพืชบางชนิด เช่น Oat ซึ่งนอกจากความสามารถในการเป็น Prebiotic แล้ว ยังมีประโยชน์ในด้านการเป็น Moisturizer และให้ความรู้สึกสบายผิว (Soothing effect
    • Lactococcus ferment lysate เป็นกลุ่มสารที่ได้จากการย่อยระบบที่เลี้ยงจุลินทรีย์ Probiotic อย่าง Lactoccus เราเลยเรียกว่า Postbiotic ข้อมูลจากวัตถุดิบ ProRenew Complex CLR™ กล่าวว่าใช้จุลินทรีย์สายพันธุ์ Lactococcus lactis ซึ่งมีรายงานงานวิจัยสนับสนุนถึงประโยชน์ที่ดีหลายชนิด เช่น คุณสมบัติในการลดการอักเสบของผิวในผิวหนังเพาะเลี้ยง (Lett Appl Microbiol. 2019;68(6):530-536.) เสริมการทำงานของ Barrier ผิวผ่าน Antimicrobial peptide ที่ชื่อ Defensin ซึ่งทำหน้าที่ปกป้องผิวตามธรรมชาติ และเสริมการสร้าง Filaggrin ซึ่งเป็นโปรตีนที่สำคัญตัวหนึ่งของผิว ไม่ว่าจะเป็น เป็นสารตั้งต้นของ NMF และ เป็นส่วนประกอบส่วนหนึ่งของ Cornified envelope ที่ให้ Corneocyte แข็งแรง ปกป้องผิวเราจากอันตรายต่างๆ ในสิ่งแวดล้อม ผลทั้งสองอย่างทดสอบในผิวหนังเพาะเลี้ยง และมีการทดสอบในอาสาสมัครโดยให้ทาตำรับที่มี Lactococcus วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 30 วัน พบว่าผิวหนังของอาสาสมัครมี Barrier ที่แข็งแรงขึ้น วัดจากค่าการระเหยของน้ำจากผิว (Trans-epidermal water loss; TEWL) ที่ลดลง และช่วยปรับสมดุลค่า pH ของผิว (Skin Pharmacol Physiol. 2019;32(2):72-80.)
  • สีบานเย็น เป็นพวกสารที่เสริมคุณสมบัติการเป็น Barrier ของผิว อย่างพวก Ceramide, Cholesterol และ Sphingoid base ที่เป็นโครงสร้างสำคัญของ Ceramide อย่าง Phytoshingosine
  • สีฟ้า เป็นกลุ่มของสารที่เติมน้ำและเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิว ซึ่งมีด้วยกันหลายตัว เช่น
    • Ectoine เป็นกรดอะมิโนชนิดพิเศษที่มีโครงสร้างเป็นวงกลม สร้างโดยแบคทีเรียบางสายพันธ์ที่อาศัยในสิ่งแวดล้อมที่ค่อนข้างโหดร้าย (Extremophile) ทำหน้าที่ปกป้องตัวเขาเองจากอันตรายภายนอก ไม่ว่าจะเป็นทั้งจากปัจจัยกายภาพและเคมี มีการพบว่าตัว Ectoine จะทำหน้าที่ดึงเอาน้ำมาเกาะไว้กับตัวเองแล้วกลายเป็นชั้นโครงสร้างที่ช่วยปกป้องโปรตีนองค์ประกอบต่างๆ ที่สำคัญของเซลล์เอาไว้ เรียกว่าเป็น Ectoine hydrocomplex (Clin Dermatol. 2008;26(4):326–633.) เจ้า Hydrocomplex ดังกล่าวส่งผลดีถึงองค์ประกอบทั้งเซลล์ คือปกป้องเซลล์นั้นให้มีปริมาณน้ำเหมาะสม และทำงานได้ตามปกติ แต่เมื่อปริมาณน้ำต่ำลง จะไปมีผลต่อระบบของการอักเสบทำให้เกิดอาการต่างๆ ตามมา ในกรณีของผิวหนัง การมี Ectoine จะช่วยให้ Lipid barrier ของผิวทำงานได้ตามปกติและมีความแข็งแรง ผิวจึงแข็งแรง และเก็บกักน้ำได้ดี (มีการระเหยของน้ำออกจากผิว/Transepidermal water loss; TEWL น้อย) (Biophys Chem. 2010;150(1–3):37–46.) มีการทดสอบประสิทธิภาพในทางผิวหนังอยู่หลายชิ้น ซึ่งได้กล่าวถึงในบทความวิชาการล่าสุดของ Kauth และ Truvosa (Dermatology and Therapy. 2022;12:295–313) ในภาพรวมคือ Ectoine ให้ประโยชน์ในการปกป้องผิวให้แข็งแรง ลดการระเหยของน้ำออกจากผิว ลดการอักเสบระคายเคือง รวมทั้งดูแลปัญหาผิวอักเสบและระคายเคืองต่างๆ (Skin Pharmacol Physiol. 2004; 17(5):232-7.) ยังมีการทดสอบพบว่า Ectoine ให้ประโยชน์เป็น Whitening ได้อีก โดยไป block ผลจาก MSH ไม่ให้กระตุ้นให้เกิดการสร้าง Melanin ออกมาเมื่อเจอรังสี UV (Antioxidants (Basel). 2020;9(1):63.)
    • Polyquaternium-51 ตัวนี้เป็น Polymer สังเคราะห์ที่มีโครงสร้างคล้ายกับไขมัน Phospholipid บนผิวของเรา ว่ากันว่านางจะเคลือบผิวและเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิว ข้อมูลจากผู้ผลิตวัตถุดิบกล่าวว่าประสิทธิภาพในการเพิ่มความชุ่มชื้นของนางดีกว่า Hyaluronic acid
    • Saccharide isomerate ที่เด่นเรื่องการจับน้ำให้ผิวได้อย่างยาวนาน เพราะน้องสามารถเกาะติดบนผิวได้ดีและอยู่บนผิวได้นาน ถ้าเราไม่ล้างออกไป
    • Betaine ซึ่งเป็นอนุพันธ์ของกรดอะมิโน Glycine ที่นอกจากจะเพิ่มความชุ่มชื้น ยังดูแลเรื่องการระคายเคืองผิว และปรับ Feeling ของสูตรให้ไม่เหนอะหนะไปพร้อมๆ กัน
    • กรดอะมิโน และสารอื่นที่จัดเป็น Natural moisturizing factor หรือ NMF มีคุณสมบัติในการจับน้ำให้แก่ผิว
  • สีเขียว คู่หูคู่ขวัญ Niacinamide (B3) + N-acetyl-D-glucosamine (NAG) เราคงไม่กล่าวถึงประโยชน์ของ B3 และ NAG แบบแยกกัน เพราะทั้ง 2 ตัวก็มีประโยชน์กับผิวมากโขอยู่ สำหรับการใช้ร่วมกันนั้นมีการศึกษาที่น่าสนใจโดย Kimball และคณะเมื่อปี 2010 ให้อาสาสมัครทาครีมที่มีส่วนผสมของ Niacinamide 4% + NAG 2% ในอาสาสมัครจำนวน 101 คน เป็นเวลา 10 สัปดาห์ เทียบกับครีมเปล่าที่ไม่มี B3+NAG พบว่ากลุ่มที่ได้รับครีม B3+NAG มีสีผิวที่สม่ำเสมอขึ้น จุดด่างดำต่างๆ แลดูจางลง (Br J Dermatol. 2010;162(2):435-41.)
  • สีน้ำเงิน สารบำรุงอื่นๆ ยกตัวอย่างบางตัวที่น่าสนใจ เช่น
    • Syn-Hycan (Tetradecyl Aminobutyroylvalylaminobutyric Urea Trifluoroacetate) สารชื่อยาวๆ นี้เป็นเปปไทด์สังเคราะห์ เทคโนโลยีสิทธิบัตร ซึ่งทางผู้ผลิตวัตถุดิบเคลมว่า มีคุณสมบัติในการเสริมการทำงานของ TGF-Beta ที่มีตามธรรมชาติของผิว ซึ่งส่งผลต่อไปให้มีการสังเคราะห์กลุ่มสาร Matrix จำพวก Hyaluron, Lumican และ Decorin ซึ่งมีคุณสมบัติให้ผิวกระชับ ยืดหยุ่น และมีความแข็งแรง รวมทั้งช่วยเสริมการเรียงตัวของคอลลาเจนเดิมในผิวให้อยู่ในโครงร่างที่แข็งแรง (ปกติเวลาเราอายุเพิ่มขึ้นสายเส้นใยของคอลลาเจนจะฉีกขาดไปตามกาลเวลา และมีการเรียงตัวที่ไม่สวยงามไม่เป็นระเบียบแบบเดิม ผิวเลยหย่อนคล้อย ไม่กระชับ)
    • สูตรผสมของ Water (and) Butylene Glycol (and) PEG-60 Almond Glycerides (and) Caprylyl Glycol (and) Glycerin (and) Carbomer (and) Nordihydroguaiaretic Acid (and) Oleanolic Acid รู้จักกันในนาม AC.NetTM จาก Croda ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่เบลนด์กันมาอย่างลงตัวเพื่อดูแลปัญหาสิว ผิวมัน และรูขุมขนกว้าง ข้อมูลจากผู้ผลิตวัตถุดิบยังระบุว่า สารชุดนี้ยังยับยั้งการเจริญของพวก C. acnes ที่ก่อสิว และ P. ovale ที่ก่อปัญหาผิวหลายประการ เช่น รูขุมขนอักเสบ
    • Ferulic acid กับ Resveratrol เป็น Antioxidant ที่น่าสนใจ
  • สีส้ม Hyaluron มากมายหลายรูปแบบ ที่มีประโยชน์ในการเติมน้ำให้กับผิวในหลายๆ ระดับ
  • สีชมพู กลุ่มสารที่ดูแลด้านการระคายเคืองผิว ให้ความรู้สึกสบายผิว (Soothing effect)

ในภาพรวมส่วนผสมของสารบำรุงที่ใส่ลงมาทำงานเสริมกันอย่างลงตัวทั้งในด้านการฟื้นฟู Barrier ผิว ไม่ว่าจะเป็นส่วนของไขมัน ส่วนของโปรตีน Filaggrin พวก NMF และยังดูแลเรื่อง Microbiome รวมทั้งเติมน้ำ ฟื้นฟู ดูแลปัญหาผิวมัน สิว รูขุมขนกว้าง ดูแลเรื่องการอักเสบระคายเคือง และให้ความรู้สึกสบายผิว (Soothing effect) ไปพร้อมๆ กัน สมกับที่เคลมว่าเป็น 6 in 1 Daily จริงๆ

มาให้คะแนนกันดีกว่านะคะ

  1. สารบำรุง หรือ Actives ก็ตามที่ได้เกริ่นไปในด้านบน คือ คุณเขาจัดมาเต็มมาก เอาไปเถอะ 5 ฟลาสก์
  2. ส่วนผสมอื่นๆ ไม่มีสารที่ไม่เป็นมิตรกับผิวอยู่เลย จึงไม่มีที่ให้หักคะแนน รับไป 5 ฟลาสก์
  3. การใช้งาน ก่อนอื่นต้องบอกเลยว่า ผลิตภัณฑ์เสริม Barrier ส่วนใหญ่เนื้อจะค่อนข้างหนัก แต่น้อง Brikk นั้นทำมาได้ดีมาก บางเบา ไม่เหนียวเหนอะหนะ คนที่มีผิวมันน่าจะชอบ ส่วนคนที่มีผิวแห้ง หรือผสม/แห้ง อาจจะต้องหาครีมมาทับอีกชั้นหนึ่งถึงจะเลิศเลอขั้นสูงสุด หลังจากที่ได้ลองใช้มาเกือบเดือนส่วนตัวคิดว่าน้องทำมาได้ดีจริงๆ ผลไม่ได้หวือหวาแบบค่ำคืนเดียวปิ๊ง แต่มันจะค่อยๆ รู้สึกไปเอง แบบใช้มาสักพัก เอ๊ะ ทำไมวันนี้หน้านุ่ม มันจะเป็นฟีลแบบอยู่ดีๆ รู้สึกตัวอีกทีก็ผิวดีอะไรแบบนี้ ให้ไป 5 ฟลาสก์

สุดท้ายนี้ต้องขอขอบคุณทางแบรนด์ The labatorian ด้วยนะคะ ที่ส่งผลิตภัณฑ์ดีๆ มาให้มี่ได้รู้จัก และขอบคุณทุกท่านด้วยนะคะ ที่ติดตามรับชมมาจนจบ

สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดต่อสอบถามได้ที่

IG : the_labatorian

Line official : @labatorian

Facebook : Labatorian

Disclaimer/conflict of interests: ผลิตภัณฑ์นี้ได้รับการสนับสนุนจากทางแบรนด์ The labatorian การรีวิวครั้งนี้เป็นการวิเคราะห์ส่วนผสม/วัตถุดิบตามหลักการทางวิทยาศาสตร์เครื่องสำอางและอาศัยความเห็นส่วนบุคคล และผู้เขียนไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเกี่ยวกับบริษัทเครื่องสำอางใดๆ โปรดใช้วิจารณญาณ

Image

รีวิว/วิเคราะห์ส่วนผสมมอยส์เจอไรเซอร์บำรุงผิวกาย CeraVe Moisturizing Lotion (revised 12/2022)

เชื่อว่าหลายๆ ท่านน่าจะคุ้นตา คุ้นชิน แล้วก็อาจจะเคยใช้มอยส์เจอไรเซอร์บำรุงผิวกายของ CeraVe กันมาบ้างแล้วนะคะ

แบรนด์ CeraVe นี่เป็นแบรนด์เวชสำอางบำรุงผิวที่พัฒนาร่วมกับแพทย์ผิวหนังชั้นน้ำของอเมริกา มีราคาที่จับต้องได้ หาซื้อได้ง่าย และเป็นที่นิยมทั่วโลกเลยทีเดียวค่ะ

แบรนด์ CeraVe นั้นเป็นเวชสำอางแบรนด์อันดับ 1 ที่แพทย์ผิวหนังในอเมริกาแนะนำ

ซึ่งสูตรที่ทางบริษัท L’oreal Thailand นำเข้ามาจำหน่ายในไทยนั้น ก็ได้ผ่านการวิจัยและปรับสูตรเพื่อให้เหมาะกับการใช้ในอากาศบ้านเราด้วยค่ะ

ซึ่งก็มีด้วยกันหลายสูตร ท่านที่สนใจสามารถติดตามรับชมได้ที่บน Official website ของทางแบรนด์ CeraVe ประเทศไทยได้เลยค่ะ

(Image from CeraVe Thailand Official Website)

สำหรับ Content นี้เราจะมาอัพเดทและวิเคราะห์ส่วนผสมของ CeraVe Moisturizing Lotion กันอีกครั้งนะคะ

สำหรับหน้าตาน้องก็จะเป็นแบบนี้ค่ะ

ก็จะขอเล่าเรื่องของปราการผิว (Skin Barrier) ของเรา แล้วก็เทคโนโลยี MVE ของทางแบรนด์เล็กน้อยก่อนไปวิเคราะห์ส่วนผสมนะคะ

ในผิวชั้นนอกของเรา จะมีส่วนประกอบที่สำคัญอยู่ 3 อย่าง ที่ทำหน้าที่เป็นตัวปกป้องรักษาความชุ่มชื้นให้คงอยู่ในผิว และป้องกันไม่ให้สารอันตรายต่างๆเข้ามาในผิว ที่เราเรียกกันว่า Barrier ผิวค่ะ

สิ่งเหล่านี้ได้แก่

  1. ไขมันที่เรียงตัวเป็นชั้นๆ หรือ Lipid lamellar
  2. สารชอบน้ำ ที่เรียกว่า Natural moisturizing factor เช่น พวกกรดอะมิโน น้ำตาล ยูเรีย และอิออนบางชนิด
  3. โปรตีนเคราติน และการเรียงตัวแบบสลับซับซ้อนของเซลล์ผิวที่ตายแล้วในชั้นนอก ที่ชื่อ Corneocyte

ว่ากันว่า ไขมันนั้นสำคัญที่สุดในการเป็น Barrier ของผิวนะคะ

แน่นอนว่า ไขมันนี้ เป็นคนละชนิดกับ น้ำมัน Sebum ที่หลั่งออกมาจากต่อมไขมันในรูขุมขน

ไขมันส่วนนี้อยู่ในผิวชั้นนอกของเรา เรียงตัวเป็นชั้นๆ ประกอบด้วยไขมัน 3 ชนิดหลักๆ คือ Ceramide, Cholesterol และ กรดไขมันค่ะ

และองค์ประกอบที่พบมากที่สุดในไขมันนี้ก็คือ Ceramide ที่พบได้เกือบถึง 50% เลยทีเดียว และนางก็มีความสำคัญมากกับความแข็งแรงของ Barrier ผิว

Ceramide นั้นมีหลายชนิดค่ะ แต่ชนิดที่มีความสำคัญคงหนีไม่พ้น Ceramide 1 แต่ทางเครื่องสำอางเราไม่ค่อยนำมาใช้กัน เพราะปัญหาเรื่องความคงตัว เลยหยิบเอา Ceramide 3 ที่คงตัวดีกว่ามาใช้กันเสียมากกว่า

ข้อดีอย่างหนึ่งของ CeraVe ก็คือ ใช้ Ceramide 3 ชนิด คือ Ceramide 1, Ceramide 3 และ Ceramide 6-II ในสัดส่วนที่เหมาะสมเพื่อเสริมการฟื้นฟู Barrier ผิวของเราได้อย่างลงตัวค่ะ

ส่วนเทคโนโลยี MVE นั้น เป็นเทคโนโลยีที่ทางแบรนด์เลือกใช้ในการนำส่งสารบำรุงเข้าสู่ผิวค่ะ

MVE นั้นย่อมาจาก Multivesicular emulsion ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่มีทั้งสิทธิบัตร และงานวิจัยรองรับรับ โดยเป็นระบบนำส่งที่มีรูปร่างเป็นทรงกลมที่มีหลายๆชั้น คล้ายหัวหอม เวลาลงผิว ก็จะค่อยๆปลดปล่อยออกมาทีละชั้น ทำให้สารเพิ่มความชุ่มชื้นต่างๆอยู่ในผิวได้นานขึ้น (Ref: J Clin Aesthet Dermatol. 2016; 9(12): 26–32.)

(Image from CeraVe Thailand)

ซึ่งตรงนี้ทางแบรนด์เองก็มีผลการทดสอบประสิทธิภาพด้านความชุ่มชื้นในอาสาสมัครด้วยนะคะ

สำหรับส่วนผสมเป็นดังนี้ค่ะ

จากส่วนผสมวันนี้ทำสีของสารบำรุงไว้ 2 สีค่ะ

ในส่วนของสารบำรุงสีม่วงจะเป็นส่วนของสารไขมันที่เป็นองค์ประกอบของ Barrier ผิวค่ะ ซึ่งได้แก่

  • Ceramides ทั้ง 3 ชนิด คือ Ceramide 1, 3 และ 6-II ซึ่งถือว่าเป็นการเลือกเซราไมด์ได้อย่างชาญฉลาด ผิวหนังของคนเราประกอบด้วย Ceramides อยู่หลายชนิดก็จริง อันนี้ขอลงลึกนิดหน่อย ถ้าแบ่งแบบง่ายๆ เราสามารถแบ่ง Ceramides ในผิวได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ ตามชนิดของกรดไขมันที่เป็นองค์ประกอบในโมเลกุล คือ Ceramides กลุ่ม N เป็น Ceramide ที่มีกรดไขมันชนิดปกติ กลุ่ม A มีกรดไขมันที่มีหมู่ Hydroxyl ที่ตำแหน่ง alpha-carbon และกลุ่ม EO มีกรดไขมันชนิดที่มีการ Esterified บริเวณ Hydroxyl ตำแหน่ง Omega ว่ากันว่า เซราไมด์กลุ่ม EO จะมีความสำคัญมากที่สุดในการทำให้ Barrier ของผิวแข็งแรง และผิวเราต้องมีสัดส่วนของ Ceramide A, N และ EO ที่เหมาะสมถึงมีผิวแข็งแรง ทีนี้ทางแบรนด์ก็เลยหยิบเอาเซราไมด์ตัวแทนจากแต่ละกลุ่มมาใส่ในครีม ถึงบอกว่านี่คือการใช้ได้อย่างชาญฉลาด
  1. Ceramide AP เป็น Ceramide ในกลุ่ม A มีชื่ออีกชื่อว่า Ceramide 6 II
  2. Ceramide NP เป็น Ceramide ในกลุ่ม N มีชื่ออีกชื่อว่า Ceramide 3 ตัวนี้เป็นเซราไมด์ชนิดที่พบมากที่สุดในผิวเรา
  3. Ceramide EOP เป็น Ceramide ในกลุ่ม EO ที่มีกรดไขมันสายยาวๆอยู่ แต่จากแหล่งข้อมูล มี่ก็ยังมีความสับสนอยู่ เพราะ Ceramide 1 ที่แท้ทรูคือ Ceramide EOS
  • Cholesterol เป็นอีก 1 องค์ประกอบที่สำคัญของ Barrier ผิว
  • Phytosphingosine เป็นเบสชนิดหนึ่งกลุ่ม Sphingoide ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในโครงสร้างของ Ceramide

ตัว Phytosphingosine ของมันเองก็มีประโยชน์ที่ดีกับผิวหลายประการ และมีการศึกษาวิจัยรองรับอยู่หลายชิ้น ที่น่าสนใจคือ น้องมีคุณสมบัติที่ดีในการดูแลการอักเสบและระคายเคืองผิว และเสริมการบวนการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างหน้าที่ (Differentiation) ของเซลล์ผิวในชั้นหนังกำพร้า (Keratinocyte) ให้ทำงานได้สมบูรณ์และโตเต็มไว (Mol Med. 2006; 12(1-3): 17–24.)

  • Caprylic/capric glycerides เป็นไขมันชนิด Triglycerides ซึ่งผิวเราสามารถย่อยสลายแปรสภาพได้เป็นกรดไขมัน กับ Glycerin

สีฟ้า เป็นสารบำรุงอื่นๆ ที่ไม่ได้จัดเข้ากับ Barrier lipid ได้แก่

  • Sodium hyaluronate ซึ่งมีประโยชน์ในการเพิ่มความชุ่มชื้น
  • Tocopherol หรือวิตามินอี เป็น antioxidant

ในภาพรวมจึงเน้นไปที่ความแข็งแรงของผิว และเสริมความชุ่มชื้น

และในสูตรไม่มีส่วนผสมสารที่ไม่เป็นมิตรกับผิว

มาให้คะแนนดีกว่าค่ะ วันนี้ส่วนผสมมีไม่ค่อยเยอะมาก ขอแบ่งให้คะแนนเป็น 2 หมวดนะคะ

  1. ส่วนผสม ถ้าพิจารณาในด้านของส่วนประกอบที่เกี่ยวข้องกับ Barrier ผิวทั้งหมด ตัวนี้ยังถือว่าขาดกลุ่ม NMF ที่เป็นสารโมเลกุลเล็กอยู่นะคะ แต่ถ้าพิจารณาในด้านของสารไขมันที่เสริมสร้าง Barrier ผิวทั้งหมด ตัวนี้ถือว่าทำมาได้ดี และมีความชาญฉลาด ที่เลือกใช้เซราไมด์ทั้ง 3 กลุ่มหลัก คือ A, N และ EO ตามชนิดที่เป็นองค์ประกอบของ Barrier ผิว ส่วนผสมทุกตัวที่ใส่มามีความเป็นมิตรกับผิวดีค่ะ และอย่าลืมประเด็นของเรื่อง MVE technology ด้วย จุดนี้ขอให้คะแนนแบบในภาพรวมที่ 4 ฟลาสก์
  2. การใช้งาน น้องเป็นโลชั่นที่ให้สัมผัสที่ค่อนข้างบางเบามาก ซึมไว แห้งไว ไม่เหนอะหนะ ในส่วนของสัมผัสหลังใช้ก็ถือว่าค่อนข้างดีค่ะ เบาสบายผิว เอามาทาได้ทั้งหน้าและตัวค่ะ ขวดเดียวครบจบทั้งหน้าตัว ระหว่างวันถ้าเหงื่อออกก็ไม่ได้เยิ้มหรือรู้สึกเหนียวเหนอะหนะไม่สบายตัว รับไป 5 ฟลาสก์

สุดท้ายนี้ต้องขอขอบคุณทางแบรนด์ CeraVe ประเทศไทย ด้วยนะคะที่ส่งผลิตภัณฑ์ดีๆมาให้มี่ได้ทดลองใช้ และขอบคุณทุกท่านด้วยค่ะที่ติดตามรับชมมาจนจบ

สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ทางแบรนด์ CeraVe ได้โดยตรงเลยนะคะ

https://www.facebook.com/CeraveThailandOfficial/

หรือจะตามไปส่องอัพเดทโปรโมชั่นใหม่ๆ ก็สามารถทำได้ตามสะดวกเลยค่ะ

Shopee Mall: https://invl.io/clfdg1w

Laz Mall: https://invol.co/clfdg2j

Disclaimer/conflict of interests: ผลิตภัณฑ์นี้ได้รับมาจากทางแบรนด์ CeraVe การรีวิวครั้งนี้เป็นการวิเคราะห์ส่วนผสมตามหลักการทางวิทยาศาสตร์เครื่องสำอางและอาศัยความเห็นส่วนบุคคล โปรดใช้วิจารณญาณ ผู้เขียนไม่ได้รับค่าตอบแทนในการเขียนรีวิวนี้และไม่ได้มีผลประโยชน์ใดๆ ในการขายสินค้า แต่ผู้เขียนอาจได้รับส่วนแบ่งจากการคลิ้กลิงค์ไปยังร้านค้า

Image

รีวิว/วิเคราะห์ส่วนผสมครีมวิตามินซีสุดเนี้ยบด้วยเทคโนโลยีนำส่ง MVP และ MLE กับ ครีม Intensive Repair-C จากแบรนด์ Zeroid

เชื่อว่าหลายคนกำลังให้ความสนใจกับครีมวิตามินซี Intensive Repair-C จาก Zeroid ที่มาในสูตรสุดปังที่กำลังโด่งดังอยู่ ณ ขณะนี้

คอนเทนท์นี้จึงขอหยิบเอาครีมวิตามินซีตัวนี้มาวิเคราะห์ส่วนผสม และเล่ารายละเอียด MVP Technology ที่ทางแบรนด์เลือกใช้ในการรักษาความคงสภาพและนำส่งวิตามินซีเข้าสู่ผิวได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นมิตรกับผิวค่ะ

สำหรับครีม Intensive Repair-C นี้มาในหน้าตาประมาณนี้ และเนื่องจากอยู่ในไลน์ Intensive จึงเป็นธีมสีเขียวมะกอกค่ะ

โดยตัวแพคเกจหลักจะเป็นแบบหลอดบีบ ก้นกว้างที่สามารถตั้งวางบนโต๊ะเครื่องแป้งได้อย่างสะดวก มาในขนาด 50 ml ไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป และพกพาสะดวกยามจำเป็นต้องเดินทาง

เนื้อครีมค่อนข้างข้น ตามสไตล์ของไลน์ Intensive และเนื่องจากไม่มีส่วนผสมของน้ำหอม เราเลยจะได้กลิ่นของส่วนผสมอยู่จางๆ

ถึงแม้ว่าเนื้อจะดูเหมือนข้น เหนอะหนะ แต่ความจริงไม่ได้เหนอะหนะหรือหนักผิวเลย เกลี่ยได้ค่อนข้างง่าย ซึมไวแห้งไว ทิ้งฟิล์มบางๆ เคลือบผิวให้ความรู้สึกนุ่ม เนียน ชุ่มชื้นได้อย่างยาวนาน

ถ่ายด้วยแสงแฟลชเพื่อดูความชุ่มชื้นของเนื้อครีม

มาดูส่วนผสมกันดีกว่าค่ะ

สำหรับส่วนผสมวันนี้ขอแบ่งเป็นกลุ่มๆ 4 กลุ่มค่ะ

สีเขียว คือ สูตรผสม Combination ของ MVP technology ที่ทางแบรนด์เลือกใช้ในการนำส่งและรักษาความคงตัวของวิตามินซีค่ะ

โดยอาศัยอนุภาคของ Colloidal gold เป็นแกนกลางของ Carrier ให้วิตามินซีในรูปแบบของ Ascorbic acid (AA) มายึดเกาะ และรอบๆ AA มี Glutathione มาเกาะอยู่ ซึ่งเจ้า Glutathione นี่แหละที่จะช่วยเป็นตัวปกป้อง AA ของเรา และช่วย Recycle AA ที่โดน Oxidized ถูกทำลายไปด้วยอนุมูลอิสระต่างๆ ให้กลับมาอยู่ในสภาพเดิม เรียกได้ว่ามีความพัฒนาระบบ Carrier นี้ออกมาได้อย่างลงตัวเลยทีเดียว

(Image from Zeroid Official)

จึงไม่แปลกใจเลยที่ว่าระบบนี้จะสามารถรักษาความคงสภาพของ AA ไว้ได้เป็นอย่างดี

เมื่อทดสอบฤทธิ์ในการต่อต้านอนุมูลอิสระ โดยใช้สาร DPPH ซึ่งเป็นสารมาตรฐานในงานวิจัยเกี่ยวกับการทดสอบฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระที่ได้รับการยอมรับในวงการวิชาการ พบว่าเทคโนโลยี MVP ที่มีทองคำ-AA-GSH 3 อย่างจะทำงานได้ดีกว่าการใช้ AA เดี่ยวๆ GSH เดี่ยวๆ หรือแค่เอาทองมาจับกับ AA หรือ GSH เฉยๆ

เพราะ GSH จะช่วย Recycle AA กลับมาให้อยู่ในรูปแบบที่ Active อีกครั้ง วนไปวนมาแบบนี้เรื่อยๆ

และเมื่อทดสอบเทียบกับ Ascorbyl glucoside กับ Sodium ascorbyl phosphate ก็พบว่าเทคโนโลยี MVP ที่มีทองคำ-AA-GSH 3 อย่าง ทำงานได้ดีกว่า

(Image from Zeroid Official)

เมื่อทดสอบประสิทธิภาพการกระตุ้นการสังเคราะห์คอลลาเจนในเซลล์เพาะเลี้ยงเมื่อเทียบกับ AA พบว่า เทคโนโลยี MVP สามารถกระตุ้นการสังเคราะห์คอลลาเจนได้ดีกว่า AA รูปแบบดั้งเดิม

ภาพ a คือ control เป็นเซลล์ Fibroblast เพาะเลี้ยงเปล่าๆ ใช้เป็นตัวควบคุม Fibroblast ด้วยเทคนิคนี้จะย้อมติดสีฟ้า

ภาพ b เป็นการใช้ AA ที่ความเข้มข้น 0.003% สังเกตว่าเมื่อย้อมสีคอลลาเจน ในเทคนิคนี้จะติดสีเขียว จะมีคอลลาเจนอยู่นิดหน่อย

ข้ามมาที่ภาพ d ซึ่งใช้เทคโนโลยี MVP ที่ความเข้มข้น 0.003% เท่ากับภาพ b จะเห็นว่าปริมาณของคอลลาเจนมีมากกว่ามาก และถ้าเจือจางลงไปอีก 10 เท่า ที่ความเข้มข้น 0.0003% ก็ยังให้ผลที่ดีกว่า AA จะกล่าวโดยนัยว่าฤทธิ์ดีขึ้น 10 เท่าก็คงไม่เกินจริงนัก

(Image from Zeroid Official)

ทดสอบในเซลล์เพาะเลี้ยงไปแล้ว การดูดซึมล่ะ เป็นอย่างไรบ้าง บอกเลยว่าผลการดูดซึมก็ไม่เบา เมื่อทดสอบการดูดซึมผ่านผิวหนัง (Percutaneous absorption) ด้วยอุปกรณ์ Franz cell พบว่าน้อง MVP สามารถดูดซึมได้ โดยเริ่มพบว่าลงไปที่ชั้นหนังกำพร้า (Epidermis) ได้ตั้งแต่ 30 นาที ถือว่าเป็นอะไรที่น่าสนใจมากเลยทีเดียว

(Image from Zeroid Official)

สำหรับประสิทธิภาพในการปกป้องผิวจากมลภาวะ (โดยใช้ Ozone เป็นตัวแทน) รังสี UV และ Visible light โดยให้อาสาสมัครทาครีมที่มีวิตามินซีในรูปแบบ AA หรือ MVP ความเข้มข้น 0.5% แล้ววัดการเรืองแสงของ Betacarotene ในชั้นผิวด้วยเทคนิค Skin autoflorescence ซึ่งปกติเวลาผิวเราเสียหายเพราะรังสี UV หรืออนุมูลอิสระ Betacarotene จะถูกทำลายและมีปริมาณลดลง โดยพบว่า การใช้วิตามินซีรูปแบบ MVP มีข้อดีและปกป้อง Betacarotene ในผิวไม่ให้ถูกทำลายได้ดีกว่ารูปแบบ AA

(Image from Zeroid Official)

ถัดมาจะเป็นกลุ่มของสารบำรุงเด่นๆ แทนด้วยสีน้ำตาลนะคะ

  • Methyl caprooyl tyrosinate ตัวนี้มีชื่อทางการค้าว่า Defensamide มีรายงานว่าไปกระตุ้นเอนไซม์ Sphingosine Kinase 1 (SPHK1) ที่ Keratinocyte (เซลล์ผิวในชั้นหนังกำพร้า) ซึ่งไปมีผลเพิ่มการสังเคราะห์ Antimicrobial peptides (AMP) ตามธรรมชาติของผิว จึงส่งเสริมและปกป้องผิวจากเชื้อจุลินทรีย์ และเสริมภูมิคุ้มกันให้แก่ผิว (Ref: Medchem Express; J Dermatol Sci. 2015;79(3):229-34.; J Immunol. 2018; 200(1 Supplement):170.14) นอกจากนี้ผู้ผลิตวัตถุดิบยังกล่าวว่า มีคุณสมบัติเพิ่มความชุ่มชื้น ลดการอักเสบระคายเคือง และลดการระเหยของน้ำออกจากผิว ไปพร้อมๆกัน

(Image source: Medchem Express)

  • สารสกัดจาก Northern Truffle (Albatrellus confluens Extract) วัตถุดิบนวัตกรรมเหรียญทองแดงจากงาน in-cosmetics ประกอบด้วยสารพฤษเคมี grifolin, neogrifolin and scutigeral ที่ไปยับยั้งการนำส่งสัญญาณผ่านระบบ TRPV1 ซึ่งเป็นตัวรับความรู้สึกร้อนของผิว ที่เกี่ยวข้องกับอาการระคายเคือง พอยับยั้งไปแล้วก็จะไม่เกิดนำส่งสัญญาณ เลยไม่รู้สึกระคายเคือง จะรู้สึกสบายผิวแทน และตัววัตถุดิบเองยังมีข้อมูลว่ามีคุณสมบัติเป็น Antioxidant ดูแลผิวที่แดงและระคายเคืองง่าย และลดรอยแดง (Ref: Rahn AG) มีรายงานการวิจัยที่ทดสอบสาร Grifolin ซึ่งแยกออกมาจากเห็ด Albatrellus ovinus เพื่อยืนยันความสามารถในการยับยั้ง TRPV1 และมีการทดสอบประสิทธิภาพในอาสาสมัครพบว่า ครีมที่มีสารสกัดเห็ดนี้ที่ความเข้มข้น 3% ทำให้อาสาสมัครรู้สึกระคายเคืองและแสบผิวลดลง มีรอยแดงลดลง และเมื่อกระตุ้นด้วย Capsaicin จากพริก หรือความร้อน อาสาสมัครจะรู้สึกระคายเคืองและแสบผิวน้อยลง เพราะว่าสาร Grifolin นั้นไปยับยั้งการส่งสัญญาณผ่าน TRPV1 ไปเลยรู้สึกเคืองผิวน้อยลงนั่นเอง (Int J Cosmet Sci. 2017;39(4):379-385.)
  • Acetyl Dipeptide-1 Cetyl Ester ตัวนี้อาจจะดูคล้ายว่าจะเป็น Calmosensine™ ที่เด่นเรื่องการ calm ผิวแต่ดูจากส่วนผสมที่เขาเรียงมาในลิสท์แล้วคาดว่าน่าจะเป็น Idealift™ (Butylene Glycol (and) Aqua (and) Sorbitan Laurate (and) Hydroxyethylcellulose (and) Acetyl Dipeptide-1 Cetyl Ester) เพราะ Breakdown ออกมาแล้วตรงกันพอดี ตัว IdealiftTM นี่เด่นเรื่องของการเสริมการสังเคราะห์พวกเส้นใยที่เกี่ยวข้องกับความยืดหยุ่นของผิว ยกให้ผิวกระชับ ยืดหยุ่น ลดเลือนริ้วรอย

สีม่วงจะเป็นกลุ่มของไขมันที่ดูแล Barrier ผิว และให้ผิวนุ่มชุ่มชื้น ก็จะมีกลุ่มของ MLE และสารที่เป็นประโยชน์ในการดูแลเรื่องความชุ่มชื้นผิว

สีน้ำเงินจะเป็นกลุ่มของสารบำรุงอื่นๆ ซึ่งก็มีอยู่หลายตัวและเสริมกันอย่างลงตัว

  • วิตามินบี 3 ที่ดูแลผิวได้หลายด้าน ไม่ว่าจะเป็น Whitening การดูแลเรื่องการฟื้นฟู Barrier ผิวตามธรรมชาติผ่านการสังเคราะห์ไขมัน รวมไปถึงการอักเสบและระคายเคือง และด้วยความเข้มข้นที่ใส่มา 5% ตามแบรนด์เคลมก็อาจจะให้ประโยชน์ดูแลเรื่องสิวไปด้วย
  • วิตามินบี 5 ดูแลด้านความชุ่มชื้น และความรู้สึกสบายผิว
  • วิตามินอี เป็น Antioxidant
  • Madecassoside ที่ได้จากบัวบก ก็เด่นไม่แพ้กันในด้านของการดูแลเรื่องริ้วรอย
  • และสารบำรุงอื่นๆ อีกหลายชนิด

โดยรวมจึงเป็นครีมวิตามินซี ที่ไม่ใช่แค่วิตามินซีธรรมดา แต่ดูแลผิวได้ครบจบทุกปัญหา และยังดูแล Barrier ผิวไปพร้อมๆ กันอย่างลงตัว

สำหรับส่วนผสมอื่นๆ ก็ทำมาได้ค่อนข้างดีเลย ไม่มีสารที่ไม่เป็นมิตรกับผิวเป็นส่วนประกอบ

มาให้คะแนนกันดีกว่าค่ะ

  1. Active หรือสารบำรุง ตามที่ได้กล่าวไปด้านบน ทั้งในด้านของเทคโนโลยีที่น่าสนใจอย่าง MVP technology ที่เอามาผสานรวมกับ MLE และนวัตกรรมอื่นๆ ไหนจะทรัฟเฟิลเอย Defensamide เอย วิตามินอื่นๆ เอย จึงออกมาเป็นส่วนผสมที่ดูแลผิวได้ครบจบทุกปัญหา เป็นวิตามินซีที่ไม่ใช่แค่วิตามินซีธรรมดา รับไป 5 ฟลาสก์
  2. ส่วนผสมอื่นๆ ไม่มีสารที่ไม่เป็นมิตรกับผิว เลยขอให้ไป 5 ฟลาสก์
  3. การใช้งาน ส่วนตัวพึ่งได้ลองใช้มาประมาณ 2 อาทิตย์ (ข้อมูล ณ 10 พ.ย. 65) ด้านของ Whitening หรือ จุดด่างดำนั้น ส่วนตัวไม่ได้มีปัญหาในขณะนี้ เลยยังตอบไม่ได้ แต่ในด้านของความสบายผิว ความนุ่มนวล Texture ผิวที่ดูและความรู้สึกเมื่อสัมผัสผิว การแต่งหน้าติดทน ค่อนข้างไปในทิศทางที่ดี และไม่ได้รู้สึกระคายเคืองผิว จุดนี้ค่อนข้างชอบ และคิดว่าถ้าใช้ต่อไปเรื่อยๆ น่าจะเห็นอะไรๆ ชัดเจนขึ้น ขอให้ไป 5 ฟลาสก์ค่ะ

สุดท้ายนี้ต้องขอขอบคุณทางแบรนด์ Zeroid สาขาประเทศไทยด้วยนะคะ ที่ส่งผลิตภัณฑ์ดีๆ เพียบพร้อมด้วยเทคโนโลยีอันเลอค่ามาให้ได้รู้จักและทดลองใช้ และขอบคุณทุกท่านด้วยค่ะที่ติดตามรับชมมาจนจบ

สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ทางแบรนด์ Zeroid โดยตรงเลยนะคะ

Facebook https://www.facebook.com/ZeroidThailand

LazMall https://invol.co/clez4ss

ShopeeMall https://invl.io/clez4ue

Disclaimer/Conflict of interest: ผลิตภัณฑ์นี้ได้รับการสนับสนุนจากทางแบรนด์ Zeroid การรีวิวครั้งนี้เป็นการวิเคราะห์ส่วนผสมตามหลักการทางวิทยาศาสตร์เครื่องสำอางและอาศัยความเห็นส่วนบุคคล ผู้เขียนไม่ได้มีผลประโยชน์ใดๆในการขายสินค้า โปรดใช้วิจารณญาณ

#Zeroid #ผิวแพ้ง่ายไว้ใจZeroid

#Repair –C  #MLE

Image

รีวิว/วิเคราะห์ส่วนผสมเวชสำอางสุดเนี้ยบจาก แบรนด์ Herbitage กับ Be-Barrier 24.7 Restoring serum และ Concentrate 25.8 Serum booster

สวัสดีค่ะ วันนี้มีรีวิว/บทวิเคราะห์ส่วนผสมผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางแบรนด์ไทยแบรนด์หนึ่งที่น่าสนใจมาฝากกันค่ะ

เป็นผลิตภัณฑ์เซรั่ม 2 สูตร จากแบรนด์ Herbitage ที่มีชื่อว่า Be-Barrier 24.7 Restoring serum และ Concentrate 25.8 Serum booster นะคะ

ก่อนอื่นขอแนะนำแบรนด์ Herbitage ซักหน่อยนะคะ

แบรนด์ HERBITAGE เป็นผลิตภัณฑ์ของบริษัท เดอะ เฮอร์บิเทจ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ซึ่งมีความมุ่งมั่นที่จะสร้างสรรค์สกินแคร์ที่เหมาะกับผิวของคนไทย ด้วยการใช้สารสกัดธรรมชาติของไทย และสารออกฤทธิ์ทางวิทยาศาสตร์ที่มีงานวิจัยรับรอง โดยทางแบรนด์ได้ทำการพัฒนาผลิตภัณฑ์ร่วมกับสถาบัน KAPI (Kasetsart Agricultural and Agro-Industrial Product Improvement Institute) หรือ สถาบันผลิตผลเกษตรฯ ของทาง ม.เกษตรศาสตร์ เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์สกินแคร์จากสารสกัดธรรมชาติขั้นสูง (Purified Natural Extracts) ที่มีประสิทธิภาพและความปลอดภัย

เซรั่มที่จะนำมาวิเคราะห์ส่วนผสมทั้ง 2 ตัวในวันนี้ มีหน้าตาประมาณนี้ค่ะ

ตัวเซรั่ม Be-Barrier 24.7 เป็นเซรั่มสำหรับใช้ทั้งกลางวันและกลางคืน มาในโทนสีน้ำเงิน

บรรจุภัณฑ์เป็นขวดปั๊มแบบ Airless ค่ะ

เนื้อเซรั่มเป็นเนื้อสีขาวน้ำนม เนื้อบางเบา

เกลี่ยได้ค่อนข้างง่าย เนื้อบางเบา เมื่อทาทิ้งไว้ประมาณ 2 นาทีจะระเหยและซึมซาบไปจนหมด

ค่า pH อยู่ที่ราวๆ 5 – 6 ซึ่งถือว่าใกล้เคียงกับผิวดี

สำหรับสูตร 25.8 เป็นเซรั่มสำหรับกลางคืน จะมาในโทนสีเขียวนะคะ

บรรจุภัณฑ์เป็นขวดปั๊มแบบ Airless เช่นกันค่ะ

เนื้อเซรั่มจะมีสีเหลืองนวล ซึ่งคาดว่ามาจากสีของวิตามินเอ

เกลี่ยได้ค่อนข้างง่าย เนื้อบางเบา เมื่อทาทิ้งไว้ประมาณ 2 นาทีจะระเหยและซึมซาบไปจนหมดเช่นกัน

ค่า pH อยู่ที่ราวๆ 5 – 6 เช่นกัน

ก่อนไปวิเคราะห์ส่วนผสม อยากเล่าให้ฟังก่อนว่า ทางแบรนด์มีการทดสอบประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ทั้ง 2 ชนิด เมื่อใช้ร่วมกันในอาสาสมัครชาวไทย จำนวน 30 คน เป็นเวลา 28 วัน ผ่านทางคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พบว่าการใช้เซรั่มทั้ง 2 สูตรร่วมกันมีประโยชน์ดังนี้ค่ะ

  • อาสาสมัครมีค่าความชุ่มชื้นของผิวเพิ่มมากขึ้น (เมื่อวัดด้วยเครื่องมือ Corneometer)
  • อาสาสมัครมีริ้วรอยที่แลดูตื้นขึ้น ทั้งตำแหน่งรอยตีนกา และริ้วรอยบริเวณขอบปาก (Marionette’s line)
  • อาสาสมัครมีผิวที่กระจ่างใสขึ้น (เมื่อเทียบจากค่า Luminousity)
  • ทั้ง 2 ตำรับไม่พบว่าก่อการระคายเคืองในอาสาสมัคร

ส่วนนี้จะเป็นผลการทดลองที่น่าสนใจนะคะ

(Image from Herbitage)

สำหรับผลิตภัณฑ์เซ็ตนี้ส่วนตัวได้ให้คุณแม่ทดลองใช้เป็นเวลา 3 อาทิตย์ ตัวคุณแม่เองก็ชื่นชอบและกล่าวว่ารู้สึกผิวนุ่มกระชับและเรียบเนียนขึ้นค่ะ

จากภาพถ่ายถึงแม้ว่าตัวโทนสีผิวจะดูเหมือนสว่างและมี undertone ไปในโทนอมชมพูมากขึ้น แต่เนื่องจากการถ่ายภาพแม้จะใช้แสงแฟลชเป็นตัวควบคุมให้สภาวะแสงเท่ากันแล้ว แต่อาจมีปัจจัยอื่นๆ มารบกวนได้ จึงยังไม่สามารถฟันธง หรือบอกได้ชัดเจนว่าใช้เซรั่มแล้วดูขาวขึ้น

เราลองมาดูส่วนผสมกันบ้างนะคะ โดยจะขอวิเคราะห์ไปทีละตัวค่ะ

ส่วนผสม Be-Barrier 24.7

สำหรับส่วนผสมของตัว 24.7 นี้ ถ้าอิงตามแบรนด์เคลมก็คือ ส่วนผสมของสารบำรุงทั้งหมดรวมกันอยู่ที่ 24.7% ส่วนตัวได้แบ่งเป็นสีๆ และจะกล่าวถึงทีละกลุ่มสีนะคะ

ขอเริ่มที่ Bromelain ก่อนนะคะ

  • Bromelain เป็นเอนไซม์ชนิดหนึ่งที่พบได้ในสับปะรด มีคุณสมบัติในการย่อยโปรตีน ซึ่งถ้าเอามาใช้ทางผิวหนัง เอนไซม์นี้จะไปย่อยสลายเศษขี้ไคลอย่างอ่อนโยน จุดที่สำคัญของทางแบรนด์ Herbitage คือ Bromelain นี้ เป็นเอนไซม์บริสุทธิ์จากเหง้าสับปะรด ที่ผ่านการวิจัยและควบคุมธรรมชาติโดยม.เกษตรศาสตร์

ถัดมาเป็นกลุ่มของสารไขมันต่างๆ ใช้สีเขียวมะกอกแทนนะคะ

  • Cholesterol, Ceramide NP, Phytosphingosine เป็นไขมันที่สำคัญในการเป็นองค์ประกอบของ Barrier ผิว เสริมมาด้วยน้ำมันจากมะกอก และ Caprylic/capric triglycerides ที่ให้กรดไขมันแก่ผิว
  • Shea butter มีประโยชน์ที่ดีกับผิวหลายอย่าง ทั้งในด้านของความชุ่มชื้น และมีส่วนประกอบของสารกลุ่ม Phytosterol ที่ดูแลการอักเสบระคายเคืองผิว
  • Squalane เคลือบปกป้องผิว

ซึ่งกลุ่มของ Ceramides complex นี้มีอยู่ที่ความเข้มข้น 10% ในตำรับ

สีเขียวแก่ เป็นกลุ่มของสาร Natural moisturizing factor (NMF) ที่พบได้ตามธรรมชาติในผิว ซึ่งมีทั้งกรดอะมิโน Sodium PCA ที่เป็นอนุพันธ์ของกรดอะมิโน และ น้ำตาล Glucose

สีน้ำเงิน เป็นกลุ่มของสารเพิ่มความชุ่มชื้นเช่นกัน ขอหยิบเอามากล่าวบางตัว

  • Hyaluronic acid และอนุพันธ์ต่างๆ รวม 8 ตัว การเลือกใช้ Hya ในหลายๆ รูปแบบให้ประโยชน์ในการปกป้องและดูแลเรื่องความชุ่มชื้นผิวในหลายๆ ระดับชั้น
  • Glyceryl glucoside เป็นสารที่ประกอบด้วยโครงสร้างของ Glycerin จับกับน้ำตาล พบได้ในธรรมชาติ มีรายงานกล่าวถึงคุณสมบัติในการเสริมสร้าง Aquaporin-3 ซึ่งเป็นช่องทางที่มีประโยชน์ในการช่วยเก็บกักน้ำให้แก่ผิว และเมื่อใช้ร่วมกับ Glycerin จะมีประสิทธิภาพในการดูแลเรื่องความชุ่มชื้นเพิ่มขึ้น
  • สารสกัดจากสาหร่าย Chondrus crispus extract ตัวนี้ขอหยิบมาไว้ในสีน้ำเงินด้วย เพราะประกอบด้วยสารในกลุ่ม Polysaccharide ที่มีประโยชน์ในการเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวเช่นกัน

สีชมพู เป็นสารบำรุงที่น่าสนใจ

  • Tranexamic acid ตัวนี้เมื่อก่อนเคยใช้เป็นยาห้ามเลือด แต่เจอว่ามีผลในเชิง Whitening เลยมีการเอามาทำวิจัยต่อยอด พบว่า Tranexamic acid ออกฤทธิ์โดยไปยับยั้ง Plasmin ซึ่งเป็นตัวตั้งต้นที่ไปกระตุ้นฮอร์โมน alpha-MSH (Melanocyte stimulating hormone) ที่ไปกระตุ้นให้หน่วยสร้างเม็ดสี หรือ เมลาโนไซท์ทำงาน สร้างเมลานินและส่งผ่านออกมาภายนอกมากขึ้น เมื่อไปยับยั้งผลคือ มีการสร้างและส่งผ่านเมลานินออกมาน้อยลง (J Am AcadDermatol 2011;October:699-714.) มีการศึกษาประสิทธิภาพของ Tranexamic acid เข้มข้น 3 % ในอาสาสมัคร พบว่าให้ผลในการลดเลือนรอยฝ้าเทียบเท่าสูตรผสมของ Hydroquinone กับ Dexamethasone แต่ผลข้างเคียงต่ำกว่ามาก (J Res Med Sci. 2014;19(8):753-7.) ตัวนี้จัดมาในตำรับที่ 3%
  • Ectoine เป็นกรดอะมิโนชนิดพิเศษที่มีโครงสร้างเป็นวงกลม สร้างโดยแบคทีเรียบางสายพันธ์ที่อาศัยในสิ่งแวดล้อมที่ค่อนข้างโหดร้าย (Extremophile) ทำหน้าที่ปกป้องตัวเขาเองจากอันตรายภายนอก ไม่ว่าจะเป็นทั้งจากปัจจัยกายภาพและเคมี มีการพบว่าตัว Ectoine จะทำหน้าที่ดึงเอาน้ำมาเกาะไว้กับตัวเองแล้วกลายเป็นชั้นโครงสร้างที่ช่วยปกป้องโปรตีนองค์ประกอบต่างๆ ที่สำคัญของเซลล์เอาไว้ เรียกว่าเป็น Ectoine hydrocomplex (Clin Dermatol. 2008;26(4):326–633.) เจ้า Hydrocomplex ดังกล่าวส่งผลดีถึงองค์ประกอบทั้งเซลล์ คือปกป้องเซลล์นั้นให้มีปริมาณน้ำเหมาะสม และทำงานได้ตามปกติ แต่เมื่อปริมาณน้ำต่ำลง จะไปมีผลต่อระบบของการอักเสบทำให้เกิดอาการต่างๆ ตามมา ในกรณีของผิวหนัง การมี Ectoine จะช่วยให้ Lipid barrier ของผิวทำงานได้ตามปกติและมีความแข็งแรง ผิวจึงแข็งแรง และเก็บกักน้ำได้ดี (มีการระเหยของน้ำออกจากผิว/Transepidermal water loss; TEWL น้อย) (Biophys Chem. 2010;150(1–3):37–46.) มีการทดสอบประสิทธิภาพในทางผิวหนังอยู่หลายชิ้น ซึ่งได้กล่าวถึงในบทความวิชาการล่าสุดของ Kauth และ Truvosa (Dermatology and Therapy. 2022;12:295–313) ในภาพรวมคือ Ectoine ให้ประโยชน์ในการปกป้องผิวให้แข็งแรง ลดการระเหยของน้ำออกจากผิว ลดการอักเสบระคายเคือง รวมทั้งดูแลปัญหาผิวอักเสบและระคายเคืองต่างๆ

สีม่วง เป็นสารบำรุงที่มีประโยชน์ในการดูแลด้านความรู้สึกระคายเคืองของผิว ได้แก่ Bisabolol, Allantoin, Panthenol และ Betaine

ในภาพรวมส่วนผสมต่างๆ ที่มีในเซรั่ม 24.7 นี้ ให้ความโดดเด่นในแง่ของการดูแล Barrier ผิว ปกป้องให้ผิวแข็งแรง ฟื้นฟู ให้ประโยชน์ครอบคลุมไปถึงการผลัดผิวแบบอ่อนๆ และ Whitening

อีกตัวเป็นสูตรสีเขียว 25.8 ค่ะ

ส่วนผสม

สูตรสีเขียวจะประกอบด้วยสารบำรุงหลายชนิดเหมือนกันนะคะ ถ้าอิงตามแบรนด์เคลมก็คือ ส่วนผสมของสารบำรุงทั้งหมดรวมกันอยู่ที่ 25.8% พอดี

สำหรับ Bromelain ก็ดังที่ได้กล่าวไปก่อนในสูตร 24.7 นะคะ

ในสูตร 25.8 มีเพิ่มส่วนผสมของสารสีส้มมาอีกชุด คือ Lactobacillus/Pumpkin fruit ferment filtrate ซึ่งเป็น สารที่ได้จากการหมักฟักทองด้วยจุลินทรีย์ Lactobacillus ข้อมูลจากผู้ผลิตวัตถุดิบระบุว่า เมื่อหมักฟักทองด้วยกรรมวิธีพิเศษแล้วจะสามารถแยกเอากลุ่มสารที่มีคุณสมบัติเป็นเอนไซม์ที่ย่อยสลายโปรตีน ซึ่งเวลาใช้งานเอนไซม์นี้จะไปย่อยสลายเศษขี้ไคลอย่างอ่อนโยน รวมถึงพวกเศษซากจุลินทรีย์ที่เกาะอยู่บนขี้ไคลเหล่านั้น ส่งผลให้ผิวแลดูกระจ่างใส และเสริมกระบวนการผลัดผิวใหม่ตามธรรมชาติ ด้วยความที่นางมีประโยชน์คล้ายกัน เลยขอแบ่งไว้ในกลุ่มสีเดียวกัน

สำหรับในแง่ของสารบำรุงหลัก

เริ่มเปิดมาที่สีเขียวขี้ม้า Bakuchiol ซึ่งเป็นสารพฤกษเคมีที่พบได้ในพืชหลายชนิด มาในความเข้มข้น 1% มีคุณสมบัติและกลไกการออกฤทธิ์คล้ายกับพวกวิตามินเอ แต่มีความปลอดภัยสูงกว่า มีประโยชน์ในด้านของการชะลอวัย ลดเลือนริ้วรอย และดูแลปัญหาสิว

ถัดมาจะเป็นกลุ่มของวิตามินที่แทนด้วยสีส้มอ่อน ได้แก่ วิตามินเอ อี ซี บี3 กล่าวกันจริงๆ การมีเพียงวิตามินเหล่านี้ก็ดูแลปัญหาผิวได้เกือบครบจบทุกปัญหา ขอกล่าวแบบสรุปๆ นะคะ

  • วิตามินเอ ในที่นี้ทางแบรนด์ใช้ในรูปแบบ Retinaldehyde หรือ Retinal ในความเข้มข้น 0.1% ซึ่งมีประสิทธิภาพที่ดีในการดูแลปัญหาริ้วรอย ผิวหย่อนคล้อย ไม่กระชับ รวมถึงเรื่องของปัญหาสิวและรูขุมขน
  • วิตามินอี ใช้ในรูปแบบ Tocopheryl acetate เป็น Antioxidant ที่ละลายไขมัน ปกป้องส่วนของน้ำมันของผิวไม่ให้ถูกทำร้ายจากอนุมูลอิสระ และช่วยปกป้องสารไขมันรวมถึงสารอื่นในตำรับไม่ให้เสื่อมสภาพเพราะ Oxygen
  • วิตามินซี ใช้ในรูปแบบ Ascorbyl glucoside ในความเข้มข้น 4% มีประโยชน์ที่ดีกับผิวหลายทาง ไม่ว่าจะเป็นการชะลอวัย โดยเป็น Antioxidant เป็น Whitening ผ่านการยับยั้งเอนไซม์ Tyrosinase ที่ใช้สังเคราะห์เมลานิน ลดการอักเสบระคายเคือง และเป็นส่วนหนึ่งของการสังเคราะห์คอลลาเจนตามธรรมชาติ
  • วิตามินบี 3 มาในความเข้มข้น 10% มีประโยชน์กับผิวหลายประการเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นด้านของ Whitening ที่ดูแลไป ณ กระบวนการส่งผ่านเม็ดสีที่สร้างเสร็จแล้วไม่ให้ออกมาด้านนอก การอักเสบระคายเคือง ปัญหาสิว และ เสริมการสังเคราะห์ไขมันที่เป็น Barrier ผิวให้ผิวแข็งแรง

สีน้ำเงินป็นกลุ่มของสารเพิ่มความชุ่มชื้น ผ่านกระบวนการดูดจับน้ำ และเก็บกักน้ำ ได้แก่ น้ำตาล Trehalose, Hya และ Polyquaternium-51 ที่ให้คุณสมบัติปกป้องและให้ความรู้สึกสบายผิวไปในตัว

สีบานเย็น เป็นกลุ่มของสารบำรุงที่โดดเด่นด้านการดูแลปัญหาการระคายเคือง ได้แก่ Bisabolol, Allantoin, Dipotassium glycyrrhizate และ สารสกัดจาก Portulaca

สีฟ้าอ่อน เป็นสารบำรุงอื่นๆ ขอหยิบยกมากล่าวเพียงบางตัวนะคะ

  • Gossypium herbaceum extract ข้อมูลจากผู้ผลิตวัตถุดิบได้กล่าวว่า สารสกัดจากเมล็ดฝ้ายมีประโยชน์ที่ดีกับผิวหลายประการ ไม่ว่าจะเป็น เรื่องของการควบคุมความมันส่วนเกินในขณะที่เพิ่มความชุ่มชื้นไปด้วย ลดการอักเสบระคายเคือง ให้ความรู้สึกสบายผิว (Soothing effect)
  • สารสกัดจากบัวบก ก็มีประโยชน์ที่ดีและโดดเด่นหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นด้านของการชะลอวัย การดูแลปัญหาเรื่องริ้วรอย รวมไปถึงปัญหาด้านการอักเสบและระคายเคือง และเป็น Antioxidant
  • สารสกัดจากต้นหลิว Salix alba extract ประกอบด้วย BHA ธรรมชาติ ในรูปของ Salicin ซึ่งเมื่อลงผิวจะเปลี่ยนเป็น Salicylic acid ที่มีประโยชน์ในการดูแลปัญหาการอุดตันของผิว
  • Gluconolactone จัดเป็น PHA มีประโยชน์ในด้านของการเติมน้ำให้ผิว และผลัดผิวอย่างอ่อนโยน และอาจจะได้ประโยชน์ในการดูแลปัญหาสิว

ในภาพรวม เซรั่ม 25.8 นี้ เน้นไปในด้านของริ้วรอยเป็นหลัก รองๆ มา จะเป็นเรื่องของการชะลอวัย Whitening และให้ประโยชน์ในเรื่องของปัญหาสิว ถือว่าดูแลปัญหาผิวได้อย่างครอบคลุม

มาให้คะแนนกันนะคะ

  1. สารบำรุง ในด้านของสารบำรุง ตัวเซรั่มทั้ง 2 ผลิตภัณฑ์เรียกได้ว่าจัดมาได้ค่อนข้างครบถ้วนสมบูรณ์และดูแลปัญหาผิวได้อย่างครอบคลุม ตามที่ได้กล่าวไปด้านบน ขอให้ไป 5 ฟลาสก์
  2. ส่วนผสมอื่นๆ ไม่มีส่วนผสมของสารที่ไม่เป็นมิตรกับผิว เลยขอให้ไป 5 ฟลาสก์
  3. การใช้งาน ในส่วนของการใช้งานผลิตภัณฑ์ชุดนี้ ส่วนตัวได้ให้คุณแม่ทดลองใช้ จากการสัมภาษณ์คุณแม่ค่อนข้างพึงพอใจในตัวผลิตภัณฑ์นะคะ ทั้งในแง่ของความชุ่มชื้น ความกระชับ และความเรียบเนียนของผิวเป็นหลักค่ะ จุดนี้คุณแม่ให้คะแนนเต็มที่ 5 ฟลาสก์

สุดท้ายนี้ต้องขอขอบคุณทุกท่านด้วยนะคะที่ติดตามรับชมมาจนจบ และขอบคุณทางแบรนด์ Herbitage ค่ะที่ได้ส่งผลิตภัณฑ์ดีๆ ที่พัฒนามาจากงานวิจัย และยังผ่านการทดสอบประสิทธิภาพในอาสาสมัครมาให้ได้เปิดหูเปิดตาและได้ทดลองใช้

สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่ทางแบรนด์ Herbitage โดยตรงเลยนะคะ

Facebook fanpage https://www.facebook.com/HerbitageThailand

Official store ของแบรนด์

Shopee : https://bit.ly/2PmOxy7

Lazada : https://bit.ly/3fzwrUy

Disclaimer/conflict of interests: ผลิตภัณฑ์นี้ได้รับการสนับสนุนจากทางแบรนด์ Herbitage การรีวิวครั้งนี้เป็นการวิเคราะห์ส่วนผสม/วัตถุดิบตามหลักการทางวิทยาศาสตร์เครื่องสำอางและอาศัยความเห็นส่วนบุคคล และผู้เขียนไม่ได้มีผลประโยชน์ใดๆในการขายสินค้า โปรดใช้วิจารณญาณ

Image

รีวิว/วิเคราะห์ส่วนผสมครีมกันแดดนวัตกรรมสุดล้ำ กับ Foto Ultra Age Repair Fusion Water SPF 50 จากแบรนด์ ISDIN

สวัสดีค่ะ สำหรับคอนเทนท์นี้ขอหยิบเอาผลิตภัณฑ์ป้องกันแสงแดด (ใน Content จะขอย่อว่ากันแดดนะคะ) อีกชิ้นหนึ่งจากแบรนด์ ISDIN แบรนด์เวชสำอางจากสเปนมาวิเคราะห์ส่วนผสมให้ได้ติดตามกันต่อนะคะ

ก่อนหน้านี้ส่วนตัวได้วิเคราะห์ส่วนผสมตัวกันแดดในรุ่น Active Unify fusion fluid ไป วันนี้จะหยิบเอาอีกรุ่นหนึ่งคือ Age repair fusion water มาวิเคราะห์ส่วนผสมต่อ

โดยมีชื่อเต็มๆ ว่า Foto Ultra Age Repair Fusion Water SPF 50

(สำหรับท่านที่พลาดไปสามารถติดตามรับชมได้ที่ https://miyeonthereviewer.com/2022/02/15/isdin-activeunify/)

ตัวนี้มาในขวดแบบปั๊ม

สูตรนี้ ถ้าอิงตามที่แบรนด์เคลมจะมีจุดเด่นอยู่ 5 ด้าน ได้แก่

  • ปกป้องผิวจากรังสี UV ได้ดี
  • ไม่ระคายเคืองต่อดวงตา
  • เหมาะกับทุกสภาพผิว เพราะมีเนื้อสัมผัสที่บางเบา ซึมซาบไว และให้ความชุ่มชื้นแก่ผิว
  • ทาได้บนผิวที่เปียก
  • เป็นมิตรกับท้องทะเล

ว่าแล้วก็ต้องเอาไปใช้ที่ริมทะเล (ไม่ได้ลงไปเล่นน้ำให้เปียกถึงใบหน้า) ส่วนตัวค่อนข้างประทับใจกับสิ่งที่ได้ คือ ผิวไม่แสบร้อน ไม่ระคายเคือง ไม่แดง (สัมผัสแดดบริเวณชายหาดช่วงประมาณ 11 โมง อยู่กลางแดดประมาณ 1 – 2 ชั่วโมง)

เนื้อสัมผัสจะบางเบากว่าตัว Active unify ซึ่งในจุดนี้อธิบายได้ด้วยเทคโนโลยี Fusion water ซึ่งเป็น เทคโนโลยีเนื้อสัมผัสที่ผลิตตำรับให้มีลักษณะการไหลแบบพิเศษที่ในทางเภสัชกรรมเรียกว่า Thixotropy หมายความว่า ความหนืดของตำรับจะเปลี่ยนไปตามแรงที่ให้ คือ ถ้าเราไปเกลี่ยไปทา ตัวตำรับจะมีความหนืดลดลงทำให้เราเกลี่ยได้ง่าย แต่พอตั้งทิ้งไว้เฉยๆ ตัวความหนืดจะกลับขึ้นมาคืนค่าเดิมไม่ให้ไหลหกเลอะเทอะ

โดยสูตร Fusion water จะมีน้ำเป็นองค์ประกอบหลักในปริมาณที่สูงกว่า และจะมีความหนืดมากกว่า Fusion fluid

เกลี่ยได้ง่ายเหมือนเดิม แต่สัมผัสตัวนี้จะแห้งไวกว่าตัว Active unify และรู้สึกเบาผิวกว่า

ลักษณะปรากฏที่ได้จะค่อนไปในทาง Matte มากกว่า

ส่วนผสมเป็นดังนี้

จากส่วนผสม ในภาพรวม ผลิตภัณฑ์นี้เป็นกันแดดเคมี ที่มาในเบสของอิมัลชั่นที่มีส่วนผสมของน้ำ และซิลิโคน ไม่มีส่วนผสมของน้ำมันและแอลกอฮอล์

ในด้านของสารบำรุง และสารที่มีประโยชน์ในการบำรุงผิวทำไว้ในหลายสีเช่นเคย และด้วยความที่เป็นผลิตภัณฑ์ป้องกันแสงแดด จึงขอเริ่มกล่าวถึงกลุ่มของสารกันแดด ซึ่งแทนด้วยสีฟ้า

  • Butyl methoxydibenzoyl methane (BMDBM, Avobenzone) เป็น Chemical sunscreen ที่เด่นในการกรองรังสี UVA เป็นหลัก เสริมความคงตัวมาด้วยคู่หูของนางคือ Octocrylene
  • Ethylhexyl salicylate หรืออีกชื่อคือ Octisalate ตัวนี้เด่นในการกรองรังสี UVB
  • Phenylbenzimidazole sulfonic acid (PBSA) จุดเด่นของน้องคือเป็นกันแดดเคมีที่ละลายน้ำได้ เน้นกรองรังสี UVB เป็นหลัก กรองรังสี UVA ได้ในช่วงน้อยๆ ข้อมูลความคงตัวและความปลอดภัยค่อนข้างดี เวลาใช้ร่วมกันกับกันแดดเคมีตัวอื่นๆ จะช่วยเสริมประสิทธิภาพในการป้องกันรังสี UV ได้ดี รวมถึงช่วยเสริมความคงตัวให้แก่ Avobenzone และกันแดดเคมีตัวอื่นๆ ในตำรับ ให้สลายตัวได้ช้าลง
  • Bis-Ethylhexyloxyphenol methoxyphenyl triazine (Bemotrizinol, BEMT, Tinosorb S) เป็น Chemical sunscreen ที่เด่นในการกรองรังสี UVA เป็นหลัก แต่ครอบคลุม Spectrum UVA ตัวน้องละลายในไขมันได้ดีกว่าสารกันแดดเคมีกลุ่มเก่าๆ เวลาเราทานางจะพร้อมออกฤทธิ์ปกป้องแสงแดดได้เร็วกว่าตัวปกติ มีความคงตัวต่อแสงแดดดีขึ้นเมื่อเทียบกับตัวเก่าๆ
  • สำหรับ Polysilicone-15 นั้นให้อารมณ์เหมือนเป็นกันแดดอ้อมๆ มาช่วยเสริมความคงตัวให้กับกันแดดเคมีตัวอื่นๆ อีกทีหนึ่ง

เสร็จจากสารกันแดดขอกล่าวถึงพระเอกของเรา ถึงแม้ว่าจะชื่อ Plankton extract แต่จริงๆ แล้ว นางเป็นสารนวัตกรรมสิทธิบัตรของทาง ISDIN โดยมีการเตรียม Plankton extract ด้วยกรรมวิธีพิเศษ ภายใต้ชื่อ DNA Repairsomes® จะมีเอนไซม์ที่ชื่อ Photolyase ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติของเรา เอนไซม์นี้มีหน้าที่คอยสอดส่องหาองค์ประกอบของผิวที่ถูกทำลายไปเพราะรังสี UV จากแสงแดดและเข้ามาฟื้นฟู โดยอาศัยพลังงานจากแสงสีน้ำเงิน (Blue light) เป็นตัวกระตุ้น (Kavakli, et al., in Advances in Protein Chemistry and Structural Biology, 2019) มีผู้เสนอชื่อให้กระบวนการนี้ว่า Photorepair หรือ Photoreactivation

โดยการเกิด Photorepair นั้นจะเกิดที่ตำแหน่ง cyclobutane pyrimidine dimer (CPD) และ pyrimidine-pyrimidone (6–4) photoproduct (6–4PP) ที่เกิดขึ้นมาเพราะรังสี UV ไปทำลายองค์ประกอบในสาย DNA (Liu, et al. Phys Chem Chem Phys. 2015; 17(18): 11933–11949.) ซึ่งถือว่าเป็นประเด็นที่น่าสนใจสำหรับวงการเครื่องสำอาง โดยมีการกล่าวถึงในบทความว่า การฟื้นฟูความเสียหายดังกล่าวจะช่วยชะลอการเกิดริ้วรอย (Aging) รวมไปถึงมะเร็งผิวหนัง (Dermatol Ther (Heidelb) 9, 103–115 (2019))

ถัดมาเป็นสารบำรุงในกลุ่มของเปปไทด์ที่แทนด้วยสีม่วง ซึ่งมีด้วยกัน 3 ตัวหลักๆ โดยจะขอเลือกกล่าวถึงเปปไทด์ที่มีชื่อว่า Pentapeptide-34 Trifluoroacetate ซึ่งมีชื่อทางการค้าว่า peptide q10™ biofunctional ของบริษัท Ashland chemicals โดยนางมีคุณสมบัติพิเศษ คือ ไปเสริมกระบวนการสังเคราะห์ Coenzyme Q10 ตามธรรมชาติของผิว ซึ่งปกติแล้ว Q10 เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูงมาก การมี Q10 อยู่ ก็หมายความว่าผิวเราจะมีความสามารถในการกำจัดอนุมูลอิสระที่ดีขึ้นนั่นเอง นอกจากนี้ตัวเปปไทด์นี้ยังเสริมการสังเคราะห์สารพลังงานสูง ATP และลดเลือนริ้วรอยให้แลดูจางลงไปพร้อมๆ กัน

สีชมพูเป็น Antioxidant vitamin อย่างวิตามินซี และ อี

มี Hyaluron ช่วยดูแลเรื่องความชุ่มชื้น

สีเขียว Silica ให้ประโยชน์ในการควบคุมและดูดซับความมันส่วนเกินบนผิว อาจจะทำงานร่วมกับ Polymethyl Methacrylate เพื่อให้สัมผัสที่นวลเนียน แห้งสบายเมื่อทา

และสีส้ม Tropolone เป็น Antioxidant สังเคราะห์ที่ช่วยปกป้องเนื้อสารในตำรับไม่ให้เสื่อมสภาพ

แน่นอนว่าพอเป็นแบรนด์ ISDIN ทางแบรนด์มีการทดสอบประสิทธิภาพและความปลอดภัยของตำรับอยู่หลายชิ้นมากๆ 

โดยขอยกตัวอย่างการทดสอบประสิทธิภาพในการฟื้นฟูผิวของตำรับนี้ ที่ได้ตีพิมพ์ลงวารสาร โดยเป็นการศึกษาประสิทธิภาพในการปกป้องผิวจากรังสี UV ของตำรับกันแดดเบสน้ำที่มีส่วนผสมของ เอนไซม์ Photolyase encapsulated in liposome, Active biopeptides, Antioxidants, และ hyaluronic acid ทั้งในระดับเซลล์เพาะเลี้ยง ผิวหนังเลี้ยง จนไปถึงในอาสาสมัคร พบว่าให้ผลในการปกป้องและฟื้นฟูผิวได้ดี ทั้งจากแสงแดดและมลภาวะต่างๆ (Narda, et al. Clin Cosmet Investig Dermatol. 2019; 12: 533–544.)

อีกจุดที่ส่วนตัวค่อนข้างประทับใจ คือไม่ใช่แค่สารบำรุงเท่านั้นที่มีประโยชน์ที่ดีกับผิว สารก่อฟิล์มในตำรับยังสามารถเคลือบปกป้องผิว และลดการเกาะติดของมลภาวะต่างๆ บนผิว โดยทางแบรนด์ได้ทำการทดสอบด้วยการเอาผง Carbon มาทาทับบริเวณที่ทาตำรับ เทียบกับบริเวณที่ไม่ได้ทาแล้วล้างออก พบว่าบริเวณที่ทาตำรับ มีปริมาณของผง Carbon เหลืออยู่น้อยมากๆ เมื่อเทียบกับไม่ได้ทา

(Image from ISDIN)

มาให้คะแนนกันดีกว่าค่ะ

สำหรับผลิตภัณฑ์นี้ส่วนตัวให้คะแนนดังนี้ค่ะ

  1. สารกันแดดและสารบำรุงอื่นๆ เรียกได้ว่าทำมาได้ไม่มีที่ติตามที่ได้กล่าวไปในด้านบน และตรงตามคอนเซปท์ ป้องกัน ฟื้นฟู และ ดูแลไปพร้อมๆ กัน ให้ไป 5 ฟลาสก์
  2. ส่วนผสมอื่นๆ ไม่มีสารที่ไม่เป็นมิตรกับผิว ได้รับไป 5 ฟลาสก์
  3. การใช้งาน อันนี้ต้องบอกเลยว่าขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ เพราะตอนเอาไปใช้ที่กทม. นั้นคือ ฟีลแบบดีงามมาก ทาแล้วค่อนข้างเบาสบายผิว แต่ไม่ถึงกับเรียบเนียนผ่องเหมือนรุ่น Active Unify จะให้ความรู้สึกที่ค่อนไปทาง Matte มากกว่า แต่ถ้าเอามาใช้ที่ทางเชียงใหม่เชียงราย ตัวนี้จะรู้สึกมีอาการผิวแห้งระหว่างวันได้ในบางวัน แต่เรื่องของรอยแดง หรือการระคายเคืองหลังจากออกแดด ทั้งรุ่นนี้และรุ่น Active Unify คือทำมาได้ดีไม่แพ้กัน รับไป 5 ฟลาสก์

สําหรับรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ทางแบรนด์ ISDIN สาขาประเทศไทย ได้โดยตรงเลยนะคะ

Facebook https://www.facebook.com/ISDINTHAILAND/

“Flagship Store” ShopeeMall https://invol.co/clb1zun

“Flagship Store” LazMall : https://invol.co/clb1ztm

Disclaimer/conflict of interests: ผลิตภัณฑ์นี้ได้รับการสนับสนุนจากทางแบรนด์ ISDIN ประเทศไทย การรีวิวครั้งนี้เป็นการวิเคราะห์ส่วนผสม/วัตถุดิบตามหลักการทางวิทยาศาสตร์เครื่องสำอางและอาศัยความเห็นส่วนบุคคล และผู้เขียนไม่ได้มีผลประโยชน์ใดๆในการขายสินค้า โปรดใช้วิจารณญาณ

Image

รีวิว/วิเคราะห์ส่วนผสมเซรั่มบำรุงที่พัฒนาไปอีกขั้น ATG rejuvenating serum จากแบรนด์ dermArtlogy

สวัสดีค่ะ วันนี้ขอมาอัพเดท รีวิว และวิเคราะห์ส่วนผสมเซรั่มในไลน์ใหม่ของทางแบรนด์ dermArtlogy ของบริษัท Neopharm ประเทศเกาหลีกันนะคะ

เรียกได้ว่าเซรั่มของแบรนด์ dermArtlogy นั้น มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดและทันสมัย

ล่าสุดทางแบรนด์ก็ได้พัฒนาสูตรใหม่ ATG rejuvenating serum ออกมาสำเร็จ จนกลายเป็นเซรั่มตัว Top สุด และได้วางจำหน่ายในบ้านเราเมื่อปลายปี 2564 ที่ผ่านมา

สำหรับท่านที่สนใจรายละเอียดของแบรนด์และเซรั่มสูตร Ageless potent rejuvenating serum สูตรก่อนหน้า และสูตร Gel สามารถติดตามได้ที่ Link ด้านล่างนี้ค่ะ

ช่องทางตามไปอ่าน Ageless potent rejuvenating serum https://miyeonthereviewer.com/2020/10/09/dermatlogy-agelesspotent/

ช่องทางตามไปอ่าน Link Gel moisturizerhttps://miyeonthereviewer.com/2021/01/25/dermartlogy-gelmoist/

สำหรับสูตร Top สุด ณ ขณะนี้ คือตัว ATG ที่จะมาเล่าให้ฟังในวันนี้มีหน้าตาประมาณนี้ค่ะ

น้องมาในดีไซน์ที่เป็น Signature ของทางแบรนด์ โดยรุ่นนี้จะเป็นขวดปั๊มแบบสุญญากาศ Airless pump ค่ะ

เนื้อเซรั่มเป็นประมาณนี้นะคะ มาในรูปแบบ Translucent กึ่งใสกึ่งขุ่น แสงยังผ่านได้

เช่นเคย เนื่องจากไม่มีส่วนผสมของน้ำหอม เราเลยจะยังได้กลิ่นของวัตถุดิบอยู่จางๆ เนื้อรุ่นนี้เกลี่ยได้ง่าย ให้ความรู้สึกชุ่มชื้น เบา สบายผิว ไม่เหนอะหนะ และไม่แห้งจนเกินไป

ตัวนี้ส่วนตัวมี่โอกาสได้ทดลองใช้ตั้งแต่ผลิตภัณฑ์ยังไม่ออกสู่ท้องตลาดจนปัจจุบันก็ปาเข้าไปน่าจะครึ่งปีได้

ช่วง 2 เดือนแรก จะทาเฉพาะบริเวณใบหน้าด้านซ้ายที่ไม่ได้ใช้พวก retinoid ในด้านของความสบายผิว ความชุ่มชื้น ความแดงที่เป็น undertone บริเวณแก้มดูเหมือนจะลดลง รูขุมขนดูละเอียดขึ้น

หลังจากนั้นก็ทาทั้งสองฝั่งแบบจริงจังจนถึงปัจจุบันน่าจะเกิน 3 เดือนไปแล้ว ที่รู้สึกชอบมากคงหนีไม่พ้นเรื่องของความแข็งแรงของผิว และความรู้สึกดีหลังใช้งาน อารมณ์แบบรักผิวตอนนี้มาก แม้จะมีปัญหากับการใส่ Mask บ้างก็ตาม

ค่า pH อยู่ที่ราวๆ 4 – 5 นะคะ

สำหรับส่วนผสมเป็นดังนี้ค่ะ

ในภาพรวมแม้ส่วนผสมจะดูเหมือนค่อนข้างเยอะชนิด แต่ส่วนใหญ่เป็นสารบำรุงที่มีประโยชน์ต่อผิวในด้านต่างๆ เรียกได้ว่าดูแลปัญหาผิวได้อย่างครอบคลุมเลยทีเดียว

วันนี้แบ่งส่วนผสมไว้เป็นสีๆ ตามกลุ่มของการออกฤทธิ์นะคะ

โดยขอเริ่มที่กลุ่มสีชมพู กลุ่มของไขมัน และสารที่ใช้ทำ MLETM (Multi-lamellar emulsion) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีสิทธิบัตรของทาง Neopharm ประเทศเกาหลี

  • MLETM ปกติแล้วในผิวเราจะมีไขมันที่ทำหน้าที่เป็น Barrier ผิว ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 3 กลุ่ม คือ Ceramide + Cholesterol และ Fatty acid ไขมันเหล่านี้มันจะเรียงตัวกันอย่างเป็นระเบียบซึ่งมีด้วยกันหลายรูปผลึก ส่วนหนึ่งเป็นรูปแบบ Liquid crystal
  • เจ้า MLETM นี่เป็นสูตรผสมของ Pseudoceramide (Myristoyl/palmitoyl oxostearamide/arachamide MEA หรือ PC-9S) ร่วมกับ Cholesterol, Phytosterol, rapeseed sterols และกรดไขมัน Stearic acid กับกรดไขมันใน น้ำมันจากแมคคาเดเมีย และ Caprylic/capric triglycerides ซึ่งเรียงตัวในรูปแบบที่คล้ายกับ Liquid crystral ของผิว เลยสามารถทำหน้าที่ปกป้องผิวทดแทน Barrier ของผิว อีกตัวที่เป็นส่วนประกอบของ MLE คือ Dihydroxyisopropyl capryloylcaprilamide หรือ PC-5SP ซึ่งพอเอามารวมกับ PC-9S และสารอื่นๆ ในสัดส่วนที่เหมาะสมจะเกิดเป็นโครงสร้างรูปแบบ Liquid crystal ที่เวลาดูภายใต้กล้องจุลทรรศน์ Polarized microscope จะเห็นเป็นลักษณะพิเศษที่เรียกว่า Maltese cross ซึ่งเหมือนกับการเรียงตัวของ Barrier ผิว ตามภาพ
(Image from Neopharm)
  • Phytosterols และ Rapeseed sterols ที่เสริมเข้ามายังมีประโยชน์เพิ่มเติมในด้านการดูแลปัญหาการอักเสบและระคายเคืองของผิว

ถัดมาจะเป็นกลุ่มของ Peptide ต่างๆ ที่เป็นอักษรสีส้มนะคะ

Heptasodium hexacarboxymethyl dipeptide-12 ตัวนี้คือ Aquatide ที่เป็นตัวหลักตัวหนึ่ง โดยมีประโยชน์ในการเสริมกระบวนการ Autophagy ที่เกิดขึ้นภายในผิว ซึ่งเป็นเสมือนกระบวนการที่ผิวเรารีไซเคิลเอาองค์ประกอบที่มันเสื่อมสภาพมาสร้างและฟื้นฟูเป็นองค์ประกอบใหม่ ให้ผิวเราทำงานได้ดีเหมือนเดิม ขอใช้รูปเก่ามาประกอบค่ะ

สำหรับท่านที่สนใจเรื่อง Aquatide สามารถตามไปอ่านเรื่องของ Aquatide แบบละเอียดได้ที่ลิงค์นี้นะคะ (https://cosmeknowledge.wordpress.com/2019/06/11/spotlight-aquatide/)

Tetracarboxymethyl hexanoyl dipeptide-12 ตัวนี้มีชื่อทางการค้าว่า AdiposolTM ซึ่งข้อมูลจากผู้ผลิตวัตถุดิบกล่าวว่าน้องไปมีผลกระตุ้น Adiponectin ซึ่งเป็น Peptide hormone ชนิดหนึ่งที่สร้างจากเซลล์ไขมัน (Adipocyte) ปกติ Adiponectin จะมีบทบาทในระดับร่างกาย แต่ก็มีการพบว่า Adiponectin นั้นมีประโยชน์กับผิวหลายประการ ไม่ว่าจะเป็น การเสริมสร้างการสังเคราะห์ไขมันที่เป็น Barrier ผิว การแบ่งตัวเพิ่มจำนวนของเซลล์ผิว เสริมการสังเคราะห์คอลลาเจนและ Hyaluron ในธรรมชาติของผิว และลดการอักเสบระคายเคือง (Oh, et al., Biomol Ther (Seoul). 2021; Sep 28. doi: 10.4062/biomolther.2021.089.)

ทีนี้ปัญหาอยู่ที่ว่ารังสี UV และปัจจัยจากสิ่งแวดล้อม อย่างมลภาวะ ไปกดการสร้าง Adiponectin เลยทำให้กระบวนการต่างๆ เหล่านี้หายไป นอกจากนี้รังสี UV ยังไปทำให้เอนไซม์ MMP มาย่อยสลายคอลลาเจนเกิดความเหี่ยวขึ้นมาอีกต่อหนึ่ง

ในจุดนี้ข้อมูลจากผู้ผลิตวัตถุดิบ AdiopSOL กล่าวว่า สารนี้ยังเสริมกระบวนการ Autophagy ลดการสร้างเอนไซม์ MMP และลดการอักเสบในระดับหลอดทดลอง และลดรอยแดงของผิวในอาสาสมัคร

(Image from Incospharm และ AH&NS)

Pentasodium tetracarboxymethyl palmitoyl dipeptide-12 ตัวนี้มีชื่อย่อว่า PTPD เป็นเปปไทด์ที่พัฒนามาเพื่อเสริมกระบวนการ Autophagy ซึ่งมีการทดสอบประสิทธิภาพในอาสาสมัครที่เป็นโรคผิวหนังชนิด Atopic dermatitis เป็นเวลา 4 สัปดาห์ พบว่าอาสาสมัครมีอาการระคายเคือง คัน ลดลง และมีความชุ่มชื้นของผิวเพิ่มขึ้น (Kwon, et al. J Dermatolog Treat. 2019;30(6):558-564.) นอกจากนี้ข้อมูลจากผู้ผลิตวัตถุดิบกล่าวว่า PTPD ยังมีคุณสมบัติลดปริมาณของเม็ดสีผิว ผ่านการเสริมการเกิด Autophagy ของแหล่งสร้างเม็ดสีผิวอย่าง Melanocyte

(Image from dermArtlogy)

Acetyl dipeptide-1 cetyl ester ตัวนี้เป็น Peptide ตัวหนึ่งที่เราเจอกันค่อนข้างบ่อย น้องเด่นในแง่ของการลดความรู้สึกระคายเคือง ซึ่งมีการศึกษารองรับในอาสาสมัคร โดยให้อาสาสมัครทา Capsaicin เพื่อเกิดการระคายเคือง แล้วทาผลิตภัณฑ์ที่มีสารตัวนี้ลงไป พบว่า สารนี้สามารถลดการระคายเคืองและความรู้สึกแสบร้อนที่เกิดขึ้น (J Eur Acad Dermatol Venereol. 2016;30 Suppl 1:18-20.) สำหรับกลไกในการออกฤทธิ์จะเกิดผ่านระบบของ Opioid โดยไปลดการนำส่งสัญญาณกระแสประสาทที่ให้เกิดความรู้สึกแสบร้อน

กล่าวถึงระบบของ Opioid ในผิวหนังเรานั้น เป็นระบบที่ควบคุมการสื่อสารทางระบบประสาทภายในผิว (Skin neuroendocrine system) จะมีสารที่ชื่อว่า met-Enkephalin สร้างออกมาจากเซลล์เมล็ดเลือดขาว monocyte ทำหน้าที่หลักในการรักษาสมดุลของผิวผ่านการควบคุมกระบวนการอักเสบของผิวและการแบ่งตัวเพิ่มจำนวน/เปลี่ยนแปลงโครงสร้างของเซลล์ในชั้นหนังกำพร้า รวมไปถึงเสริมการฟื้นฟูตัวเองเมื่อเกิดความเสียหายขึ้น (Bigliardi, et al. Exp Dermatol. 2016;25:586-591.)

ซึ่ง Acetyl dipeptide-1 cetyl ester จะไปเหนี่ยวนำให้เกิด met-Enkephalin ที่ไปจับกับตัวรับของ Opioid ซึ่งมีผลลดการระคายเคือง เสริมการฟื้นฟูผิว และทำให้ผิวแข็งแรงในระยะต่อมา

กลุ่มของสารเพิ่มความชุ่มชื้นแทนด้วยสีบานเย็น จะเป็นตัว Hyaluronic acid รูปแบบดั้งเดิม และ Hydrolyzed hyaluronic acid ที่ผ่านการย่อยให้มีขนาดเล็กลง กรดอะมิโน Arginine และวัตถุดิบอีกชิ้นที่เรียกว่าเป็น Exclusive ingredient ของทางแบรนด์ คือ Dihydroxyisopropyl capryloylcaprilamide

  • Dihydroxyisopropyl capryloylcaprilamide มีชื่อย่อว่า K6-PC5 มีคุณสมบัติในการเสริมความแข็งแรงของผิวแบบอ้อมๆ ผ่านการเสริมการสร้างสาร Sphingosine ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญใน Ceramide และ Sphingosine ยังควบคุมกระบวนการทำงานต่างๆ ของผิว โดยรวมจะช่วยให้ผิวเราเก็บกักและอุ้มน้ำไว้ได้ดีขึ้น

ถัดมาเป็นกลุ่มของสารที่ลดการอักเสบและระคายเคืองผิว รวมถึงสารบำรุงอื่นๆ ซึ่งมีด้วยกันหลายชนิด อย่างวิตามินบี 3 บี 5 Betaine, Dipotassium glycyrrhizate, Allantoin และอีกตัวที่น่าสนใจ

  • Caprylamide MEA หรือ Dualguard-7TM สารนี้มีคุณสมบัติดูแลเรื่องการอักเสบระคายเคืองโดยไปลดการสร้างสารเหนี่ยวนำการอักเสบในกลุ่มของ Interleukin-17 (IL-17) เสริมกระบวนการ Autophagy ผ่านการยับยั้งโปรตีน p62 ซึ่งเป็นตัวต่อต้านการเกิด Autophagy และเสริมการสังเคราะห์คอลลาเจน

ปิดท้ายด้วยสีเขียวเป็นกลุ่มของบัวบกและคณะ เป็นสารสกัดจากบัวบก ที่มีประโยชน์ต่อผิวในหลายประการ ตัวนี้ทางแบรนด์เคลมว่าเป็นสารสกัดจากบัวบกในรูปแบบ Medical grade ในความเข้มข้นสูงถึง 50% และยังเสริมสารบริสุทธิ์ที่เป็นสารพฤกษเคมีหลัก (Active phytochemicals) ในบัวบก อย่าง Madecassoside, Asiaticoside, Madecassic acid, และ Asiatic acid เข้ามา ซึ่งสารเหล่านี้มีประโยชน์ในด้านการลดการอักเสบ เสริมการสมานแผล ชะลอวัยลดเลือนริ้วรอย เป็น Antioxidant และอื่นๆอีกหลายด้าน

สารเพิ่มความชุ่มชื้นผิวมากขนาดนี้ผิวจะมันไหม?

ในจุดนี้ทางแบรนด์วางแผนการตั้งตำรับมาอย่างรอบคอบโดยการเสริมเอา Zinc PCA เข้ามา ซึ่งเจ้า Zinc PCA เป็นสารลูกผสมของ Zinc กับ Pyrollidone carboxylic acid (PCA) มีรายงานการวิจัยกล่าวว่านอกจากคุณสมบัติในการกระชับรูขุมขนควบคุมความมัน (Astringent) แล้ว Zinc PCA ยังมีรายงานว่ามีประโยชน์ในการปกป้องผิวหนังจากรังสี UVA และลดผลเสียจากรังสี โดยไปลดการสร้าง Activator protein 1 ที่จะไปเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบต่อ และ MMP-1 ที่เป็นเอนไซม์ที่ทำลายคอลลาเจนในผิว (Int J Cosmet Sci. 2012; 34(1):23-8.)

สำหรับส่วนผสมอื่นๆ นั้นถือว่าเป็นมิตรกับผิวทั้งหมด

ให้คะแนนกันดีกว่าค่ะ

  1. สารบำรุง ในภาพรวมนอกจากความโดดเด่นในแง่ของด้าน Autophagy ที่มีประโยชน์ทั้งการชะลอวัย เสริมความแข็งแรงให้กับผิวแล้ว ยังเสริมมาด้วยสารบำรุงอีกหลายชนิดที่ดูแลผิวได้อย่างครอบคลุมจบทุกปัญหา และช่วยให้ผิวมีสุขภาพดี ให้ไป 5 ฟลาสก์
  2. ส่วนผสมอื่นๆ เลือกมาได้ค่อนข้างดี ไม่มีสารที่ไม่เป็นมิตรกับผิวเลยขอให้ไป 5 ฟลาสก์
  3. การใช้งาน ถ้าเทียบกับในไลน์ของ Autophagy ที่ออกมาทั้ง 4 สูตร รวมตัวนี้ ส่วนตัวชอบตัวนี้มากที่สุด ทั้งในแง่ของความรู้สึกเบาสบายผิว เรื่องของอาการแดงและคันระคายเคืองผิว สำหรับกลางวันคือ perfect มาก แต่ถ้าเป็นตอนกลางคืนส่วนตัวจะรู้สึกว่าความชุ่มชื้นตัวเนื้อเซรั่มอาจจะยังน้อยไปนิดหน่อยสำหรับบริเวณที่มีปัญหาผิวแห้งจริงๆ อย่างบริเวณแก้ม แต่เอาครีมมอยส์เจอร์อื่นมาทับไว้อีกชั้นหนึ่งคือสมบูรณ์แบบมาก จากที่ได้ทดลองใช้มาตั้งแต่ก่อนผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด จนถึงตอนนี้ก็ประมาณ 3 เดือน สิ่งที่ดีงามคือ สุขภาพผิวโดยรวมดีขึ้นมาก ตามที่ได้กล่าวไปในด้านบน ขอให้ไป 5 ฟลาสก์

สุดท้ายนี้ขอขอบคุณทางแบรนด์ DermArtlogy ด้วยนะคะ ที่ส่งสินค้าดีๆมาให้มี่ได้ทดลองใช้ และขอบคุณทุกๆท่านด้วยค่ะที่ติดตามรับชมมาจนจบค่ะ

สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ทางแบรนด์ DermArtlogy โดยตรงเลยนะคะ

https://www.facebook.com/DermArtlogyThailand/

📲 𝐋𝐢𝐧𝐞 𝐎𝐟𝐟𝐢𝐜𝐢𝐚𝐥 : @dermskintech หรือคลิก https://bit.ly/2ZWhJB1
📲 𝐋𝐚𝐳𝐚𝐝𝐚 : https://bit.ly/3pVBtOO
📲 𝐒𝐡𝐨𝐩𝐞𝐞 : https://shp.ee/34de5z5

Disclaimer/conflict of interests: ผลิตภัณฑ์นี้ได้รับการสนับสนุนจากทางแบรนด์ DermArtlogy การรีวิวครั้งนี้เป็นการวิเคราะห์ส่วนผสมตามหลักการทางวิทยาศาสตร์เครื่องสำอางและอาศัยความเห็นส่วนบุคคล ผู้เขียนไม่ได้มีผลประโยชน์ใดๆในการขายสินค้า โปรดใช้วิจารณญาณ

Image

รีวิว/วิเคราะห์ส่วนผสมผลิตภัณฑ์ป้องกันแสงแดดสุดล้ำค่าจาก ISDIN รุ่น FOTO ULTRA100 สูตร Active Unify fusion fluid

สวัสดีค่ะ สำหรับคอนเทนท์นี้ขอหยิบเอาผลิตภัณฑ์ป้องกันแสงแดด (ใน Content จะขอย่อว่ากันแดดนะคะ) จากแบรนด์ ISDIN แบรนด์เวชสำอางจากสเปนมาวิเคราะห์ส่วนผสมให้ได้ติดตามกันนะคะ

ถ้ากล่าวถึงกันแดดตอนนี้ที่ดังมากๆ และโดดเด่นด้วยเทคโนโลยีของ Texture คงหนีไม่พ้นกันแดดจากแบรนด์ ISDIN  

กันแดดของทางแบรนด์ที่ส่วนตัวได้รับมามีด้วยกันหลายสูตร แต่จะขอหยิบเอา 2 สูตรมารีวิว คือ Active unify fusion fluid และ Age repair fusion water นะคะ

โดย content แรกนี้จะขอเน้นวิเคราะห์ส่วนผสมของสูตร Active unify ซึ่งเป็นครีมกันแดดที่พัฒนามาเป็นพิเศษสำหรับผิวพรรณที่มีปัญหาฝ้า หมองคล้ำ และจุดด่างดำก่อนค่ะ

น้องมาในหน้าตาประมาณนี้นะคะ

สำหรับแพคเกจจะเป็นรูปแบบขวดที่มีปากด้านในเป็นปลายแหลมไว้หยดเนื้อผลิตภัณฑ์ออกมา

เนื้อมาในเนื้อโลชั่นที่มีความหนืดปานกลาง ซึ่งส่วนหนึ่งน่าจะเป็นเพราะตัวผลิตภัณฑ์มีค่า SPF ค่อนข้างสูง (จากข้อมูลที่ได้รับและค้นคว้าเพิ่มเติม คือ ตัวผลิตภัณฑ์นี้มีค่า SPF มากกว่า 100)

สัมผัสค่อนข้างชุ่มชื้นแต่ไม่ถึงกับเหนอะหนะ เกลี่ยได้ง่าย ไม่ทิ้งคราบขาว ซึ่งต่างจากที่ตัวเองคิดไว้ลิบลับเลย ตอนแรกพอดูจากส่วนผสมแล้วคิดว่าจะออกมาแห้งหน่อย แต่พอได้ใช้จริงคือดีงาม ไม่แห้งและไม่เยิ้มในระหว่างวัน

ถ้าดูใต้แสงแฟลช จะสังเกตเห็นว่ามีความมันวาวอยู่บ้างเล็กน้อย

จากที่ได้ลองเนื้อสัมผัส จุดที่ติดใจ คือ น้องช่วยปรับผิวให้แลดูเรียบเนียนขึ้น อารมณ์คล้ายๆ การทา Primer ก่อนการแต่งหน้าเลยทีเดียว

ถ้าพูดถึงปัญหา Sensitive skin บ้านเรามักจะเรียกแบบเหมารวมว่าเป็นผิวบอบบางแพ้ง่าย แต่จริงๆ แล้วคำว่า Sensitive skin นั้นมีความหมายค่อนข้างกว้าง และใช้รวมถึงสภาพผิวที่มีแนวโน้มเกิดปัญหาต่างๆ ได้ง่ายกว่าผิวปกติ ปัญหาเหล่านี้เช่น

  • การระคายเคือง
  • การเกิดสิวอุดตัน
  • การเกิดรอยแดง
  • การเกิดจุดด่างดำ รวมทั้งจุดด่างดำหลังกระบวนการอักเสบที่เรียกว่า Post-inflammatory hyperpigmentation (PIH)

โดยตัว Active unify นี้ทางแบรนด์ออกแบบมาเพื่อใช้สำหรับผิวบอบบางชนิดที่มีปัญหาฝ้า และผิวไวต่อแดด โดยเมื่อออกแดด หรือสัมผัสแสงแดดเป็นเวลานานแล้วอาจจะเกิดการระคายเคือง จุดด่างดำต่างๆ ได้ง่ายกว่าผิวปกติ โดยในส่วนผสมจะมีสารที่ให้คุณสมบัติดูแลด้านการอักเสบและระคายเคือง รวมถึงดูแลเรื่องปัญหาจุดด่างดำจากแดดที่เรียกว่า Sun spot

สำหรับกลไกในการเกิดจุดด่างดำจากรังสี UV นั้นมี 2 แบบ ได้แก่ แบบแรก รังสี UV ไป Oxidize เมลานินที่มีอยู่เดิมให้มีสีเข้มข้น ผลนี้จะเกิดขึ้นได้รวดเร็ว ทำให้เราพบว่าสีผิวมักจะคล้ำขึ้นหลังจากออกแดดไปไม่นาน

อีกแบบ รังสี UV จะไปเสริมการสร้างยีนที่มีชื่อว่า POMC ซึ่งจะไปทำให้ปริมาณของฮอร์โมน alpha-MSH ซึ่งเป็นเหมือนคุณแม่แห่งการสร้างเมลานิน ที่จะลงไปสั่งงานให้ Melanocyte สร้างเมลานินออกมา ทำให้สีผิวเข้มข้น ผลนี้จะใช้เวลานานกว่า ภาพด้านล่างนี้ส่วนตัวลองทำมาเพื่ออธิบายผลของรังสี UV ที่เกิดผ่านระบบ POMC ค่ะ

จริงๆ เรื่องของรังสี UV และการสร้างเม็ดสียังมีรายละเอียดอีกเยอะนะคะ แต่ขอละเว้นไว้ก่อนนะคะ

ก่อนไปดูส่วนผสม อยากเล่าถึงเทคโนโลยีของ Fusion fluid และ Fusion water อีกนิดหน่อย ว่าเทคโนโลยีเนื้อสัมผัส หรือ Texture เหล่านี้ของทาง ISDIN มันเป็นอย่างไร จากที่ได้ลองค้นข้อมูลเพิ่มเติมพอจะสรุปความได้ว่า ทั้งตำรับที่เป็น Fusion fluid และ Fusion water เป็นเทคโนโลยีหนึ่งของแบรนด์ที่ผลิตตำรับให้มีลักษณะการไหลแบบพิเศษที่ในทางเภสัชกรรมเรียกว่า Thixotropy หมายความว่า ความหนืดของตำรับจะเปลี่ยนไปตามแรงที่ให้ คือ ถ้าเราไปเกลี่ยไปทา น้องจะมีความเหลวมากขึ้นทำให้เราเกลี่ยได้ง่าย แต่พอตั้งทิ้งไว้เฉยๆ น้องจะมีความหนืดที่สูงในระดับหนึ่ง

ซึ่งตัวที่เป็น Fusion fluid จะมีความหนืดกว่าตัวที่เป็น Fusion water เล็กน้อย

และแน่นอนว่าพอเป็น ISDIN จะมาแบบธรรมดาๆ ไม่ได้ และใช่ค่ะ น้องผ่านการทดสอบประสิทธิภาพและความปลอดภัยทั้งในระดับหลอดทดลองและในอาสาสมัครมาเรียบร้อย โดยขอหยิบยกเอางานหนึ่งมาเล่าให้ฟังค่ะ

เป็นการทดสอบประสิทธิภาพในการป้องกันแสงแดดและความปลอดภัยของตำรับ Unify ในอาสาสมัครที่มีปัญหาฝ้าในความรุนแรงระดับเล็กน้อยและปานกลาง เป็นเวลา 84 วัน ความน่าสนใจอยู่ที่ หลังการใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าว อาสาสมัครมีคะแนนความรุนแรงของฝ้าลดลง เมื่อประเมินด้วย MASI score (Melasma area and severity index) ซึ่งการประเมินด้วย MASI จะมีวิธีคำนวณให้ออกมาเป็นตัวเลข

(Image from ISDIN)

มาดูกันที่ส่วนผสมดีกว่าค่ะ

สำหรับส่วนผสมเป็นดังนี้

สำหรับส่วนผสมวันนี้ทำไว้อยู่หลายหมวดสีนะคะ

เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ป้องกันแสงแดดเลยขอโฟกัสที่สีฟ้า กลุ่มของสารกันแดดก่อน

  • Butyl methoxydibenzoyl methane (BMDBM, Avobenzone) เป็น Chemical sunscreen ที่เด่นในการกรองรังสี UVA เป็นหลัก เสริมความคงตัวมาด้วยคู่หูของนางคือ Octocrylene
  • Bis-Ethylhexyloxyphenol methoxyphenyl triazine (Bemotrizinol, BEMT, Tinosorb S) เป็น Chemical sunscreen ที่เด่นในการกรองรังสี UVA เป็นหลัก แต่ครอบคลุม Spectrum UVA ตัวน้องละลายในไขมันได้ดีกว่าสารกันแดดเคมีกลุ่มเก่าๆ เวลาเราทานางจะพร้อมออกฤทธิ์ปกป้องแสงแดดได้เร็วกว่าตัวปกติ มีความคงตัวต่อแสงแดดดีขึ้นเมื่อเทียบกับตัวเก่าๆ
  • Titanium dioxide ตัวนี้เป็นกันแดดแบบกายภาพ ที่กันได้ค่อนข้างกว้างทั้ง UVA, UVB และมีความคงตัวที่ดีกว่ากันแดดกลุ่มเคมี

สูตรกันแดด Active Unify นี้ทางแบรนด์เคลมที่การเลือกใช้ส่วนผสมของสารบำรุง 3 ชนิด ภายใต้ชื่อ DP3 Unify complex ซึ่งประกอบด้วย Tetrapeptide-30, Phenylethyl resorcinol และ Niacinamide มาดูรายละเอียดทีละตัวเลยนะคะ

  • Tetrapeptide-30 ตัวนี้รู้จักกันในหลายชื่อ เช่น PKEK หรือ TEGO® Pep 4-Even ซึ่งเป็นเปปไทด์สิทธิบัตรที่มีประโยชน์ที่ดีกับผิวหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของปัญหาจุดด่างดำ สีผิวที่ผิดปกติ เรื่องของการอักเสบระคายเคือง และปัญหาสิว โดยหลักๆ น้องจะเด่นในเรื่องของการปรับโทน และ Complexion ของผิวให้มีสีสม่ำเสมอ ดูมีสุขภาพดี ทางผู้ผลิตวัตถุดิบได้ทดสอบประสิทธิภาพของเปปไทด์ดังกล่าวหลายอย่างทั้งในระดับหลอดทดลองและในอาสาสมัคร

ขอหยิบการทดสอบชิ้นหนึ่งมาเล่าให้ฟังนะคะ การทดสอบนี้ให้อาสาสมัครทาตำรับที่มี Tetrapeptide-30 แล้วสัมผัส UVB ก่อนจะไปทำ Biopsy เอาชิ้นเนื้อมาตรวจวัดหายีนบางชนิดหลังจากโดน UVB ไป 24 ชั่วโมง ได้ผลตามรูปค่ะ

(Image from Evonik Nutrition & Care GmbH, 2011)

จากภาพเราจะเห็นว่า

  1. ปริมาณของ POMC gene ลดลง จากที่ได้เกริ่นไปก่อนหน้าว่า POMC ที่เพิ่มขึ้นจากรังสี UVB จะทำให้เกิดการสร้างเม็ดสี และทำให้ผิวคล้ำ กรณีนี้พบว่า POMC ที่เพิ่มมาน้อยกว่าครีมเปล่า ก็แปลว่า เวลาโดนแดดสีผิวก็จะไม่คล้ำขึ้นมากเหมือนไม่ได้ทาอะไร
  2. ปริมาณของ Tyrosinase gene ที่เพิ่มขึ้นน้อยกว่าครีมเปล่า นั่นคือ ผิวก็จะไม่คล้ำขึ้นมากเหมือนไม่ได้ทาอะไร
  3. ส่วนของ COX-2 เป็นยีนที่สร้างเอนไซม์ COX-2 ที่เกี่ยวกับการอักเสบ และ TNF-a เองก็เป็นยีนที่สร้างสาร Cytokine ที่ทำให้เกิดการอักเสบต่อไป

ผลชุดนี้พอจะสรุปได้คร่าวๆ ว่า Tetrapeptide-30 มีประโยชน์ปกป้องผิวไม่ให้สีผิวคล้ำขึ้น และป้องกันการอักเสบ (เมื่อเทียบกับไม่ได้ทา)

  • Phenylethyl resorcinol เรารู้จักน้องในชื่อของ Symwhite® 377 น้องเป็น Whitening ที่มีประโยชน์ในการยับยั้งเอนไซม์สร้างเม็ดสีอย่าง Tyrosinse โดยตรง มีการศึกษาในอาสาสมัคร โดยให้ใช้ครีมที่มีส่วนผสมของสารนี้กับสาร Whitening อื่นๆ เป็นเวลา 12 สัปดาห์ พบว่าผิวขาวขึ้น (J Cosmet Dermatol. 2013;12(1):12-7.) อีกการทดสอบพบว่าอาสาสมัครที่ใช้ครีมที่มีส่วนผสมของสารนี้พบว่ามีรอยฝ้าจางลง (J Cosmet Dermatol. 2011;10(3):189-96.)
  • Niacinamide น้องคือเจ้าหญิงแห่งวงการความงามที่แท้จริง ไม่ต้องพูดเยอะ น้องมีประโยชน์โดดเด่นกับผิวหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการลดการอักเสบระคายเคือง ความเป็น Whitening โดยไปลดการส่งผ่าน Melanin ที่สร้างเสร็จแล้วไม่ให้ออกไปสู่ด้านนอก รวมไปถึงเรื่องการดูแลและฟื้นฟู Barrier ผิว

ซึ่งสารทั้ง 3 ในสูตร DP3 นี้ทำงานร่วมกันได้อย่างลงตัว เสมือนเป็นผลิตภัณฑ์ Whitening ขนาดย่อม ตามภาพที่ทางแบรนด์เสนอไว้ค่ะ

(Image from ISDIN)

  1. ก่อนการสร้างเมลานิน: Tetrapeptide-30 ไปชะลอไม่ให้ Melanocyte ถูกกระตุ้นให้ทำงาน
  2. Symwhite 337 ไปป้องกันไม่ให้เกิดการสร้างเมลานิน ผ่านการยับยั้งเอนไซม์ Tyrosinase
  3. หลังการสร้างเมลานิน: Niacinamide ป้องกันการส่งผ่านของเม็ดสีที่สร้างเสร็จแล้วไม่ให้ออกไปด้านนอก

ที่รู้สึกว่าหลังทาแล้วให้ความเรียบเนียนเหมือนเป็น Primer น่าจะมาจาก Nylon-12 ที่ตัวเขาเองเป็นอนุภาคทรงกลมที่มีคุณสมบัติอำพรางรูขุมขนและริ้วรอยตื้นๆ ให้สัมผัสนุ่มนวล ร่วมกับความสามารถในการดูดซับน้ำมันจาก Silica

ส่วนผสมอื่นๆ เรียกได้ว่าเลือกมาได้อย่างดิบดี แต่จะติก็ตรงแอบมี Alcohol ติดมาหน่อย ซึ่งจุดนี้ส่วนตัวยอมรับว่าค่อนข้าง Surprise เพราะเนื้อไม่ได้แห้งตามที่คิดไว้เลย ชุ่มชื้นมากเสียด้วยซ้ำ

มาให้คะแนนดีกว่าค่ะ

  1. สารกันแดดและสารบำรุง ให้น้องไปเถอะค่ะ ทั้งในแง่ของสารกันแดดที่เพียบพร้อมในการดูแลปกป้องผิวจาก UVB, UVA และสารบำรุงที่มาดูเรื่องของการอักเสบระคายเคือง และดูแลเรื่องของเม็ดสีไปพร้อมๆ กัน จัดไป 5 ฟลาสก์
  2. ส่วนผสมอื่นๆ มีความจำเป็นจะต้องตัดคะแนนเพราะมี Alcohol ไป 1 คะแนน แต่เอาจริงๆ คือ แทบไม่รู้สึกว่ามี Alcohol เลย ออกจะชุ่มชื้นเสียด้วยซ้ำ ให้ไป 4 ฟลาสก์
  3. การใช้งาน ตามที่ได้เล่าให้ฟังว่าส่วนตัวค่อนข้างชอบเนื้อกันแดดสูตร Unify นี้มากๆ เพราะนางค่อนข้างชุ่มผิว และให้ความรู้สึกที่แบบว่าทาแล้วดู Rich เอาไปใช้จริงที่ทะเลมาก็รู้สึกว่าทางแบรนด์ทำมาได้ค่อนข้างดี แม้จะอยู่กลางแดดนานในระดับหนึ่งแต่ก็ไม่รู้สึกแสบ ร้อน หรือระคายเคืองผิวเพราะโดนแดดแต่อย่างใด ให้ไป 5 ฟลาสก์

สําหรับรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ทางแบรนด์ ISDIN สาขาประเทศไทย ได้โดยตรงเลยนะคะ ตอนนี้ทางแบรนด์มีแคมเปญเดือนแห่งความรักด้วยค่ะ

Facebook https://www.facebook.com/ISDINTHAILAND/

“Flagship Store” ShopeeMall https://invol.co/clb1zun

“Flagship Store” LazMall : https://invol.co/clb1ztm

Disclaimer/conflict of interests: ผลิตภัณฑ์นี้ได้รับการสนับสนุนจากทางแบรนด์ ISDIN ประเทศไทย การรีวิวครั้งนี้เป็นการวิเคราะห์ส่วนผสม/วัตถุดิบตามหลักการทางวิทยาศาสตร์เครื่องสำอางและอาศัยความเห็นส่วนบุคคล และผู้เขียนไม่ได้มีผลประโยชน์ใดๆในการขายสินค้า โปรดใช้วิจารณญาณ