Image

รีวิว/วิเคราะห์ส่วนผสมมอยส์เจอไรเซอร์บำรุงผิวกาย CeraVe Moisturizing Lotion (revised 12/2022)

เชื่อว่าหลายๆ ท่านน่าจะคุ้นตา คุ้นชิน แล้วก็อาจจะเคยใช้มอยส์เจอไรเซอร์บำรุงผิวกายของ CeraVe กันมาบ้างแล้วนะคะ

แบรนด์ CeraVe นี่เป็นแบรนด์เวชสำอางบำรุงผิวที่พัฒนาร่วมกับแพทย์ผิวหนังชั้นน้ำของอเมริกา มีราคาที่จับต้องได้ หาซื้อได้ง่าย และเป็นที่นิยมทั่วโลกเลยทีเดียวค่ะ

แบรนด์ CeraVe นั้นเป็นเวชสำอางแบรนด์อันดับ 1 ที่แพทย์ผิวหนังในอเมริกาแนะนำ

ซึ่งสูตรที่ทางบริษัท L’oreal Thailand นำเข้ามาจำหน่ายในไทยนั้น ก็ได้ผ่านการวิจัยและปรับสูตรเพื่อให้เหมาะกับการใช้ในอากาศบ้านเราด้วยค่ะ

ซึ่งก็มีด้วยกันหลายสูตร ท่านที่สนใจสามารถติดตามรับชมได้ที่บน Official website ของทางแบรนด์ CeraVe ประเทศไทยได้เลยค่ะ

(Image from CeraVe Thailand Official Website)

สำหรับ Content นี้เราจะมาอัพเดทและวิเคราะห์ส่วนผสมของ CeraVe Moisturizing Lotion กันอีกครั้งนะคะ

สำหรับหน้าตาน้องก็จะเป็นแบบนี้ค่ะ

ก็จะขอเล่าเรื่องของปราการผิว (Skin Barrier) ของเรา แล้วก็เทคโนโลยี MVE ของทางแบรนด์เล็กน้อยก่อนไปวิเคราะห์ส่วนผสมนะคะ

ในผิวชั้นนอกของเรา จะมีส่วนประกอบที่สำคัญอยู่ 3 อย่าง ที่ทำหน้าที่เป็นตัวปกป้องรักษาความชุ่มชื้นให้คงอยู่ในผิว และป้องกันไม่ให้สารอันตรายต่างๆเข้ามาในผิว ที่เราเรียกกันว่า Barrier ผิวค่ะ

สิ่งเหล่านี้ได้แก่

  1. ไขมันที่เรียงตัวเป็นชั้นๆ หรือ Lipid lamellar
  2. สารชอบน้ำ ที่เรียกว่า Natural moisturizing factor เช่น พวกกรดอะมิโน น้ำตาล ยูเรีย และอิออนบางชนิด
  3. โปรตีนเคราติน และการเรียงตัวแบบสลับซับซ้อนของเซลล์ผิวที่ตายแล้วในชั้นนอก ที่ชื่อ Corneocyte

ว่ากันว่า ไขมันนั้นสำคัญที่สุดในการเป็น Barrier ของผิวนะคะ

แน่นอนว่า ไขมันนี้ เป็นคนละชนิดกับ น้ำมัน Sebum ที่หลั่งออกมาจากต่อมไขมันในรูขุมขน

ไขมันส่วนนี้อยู่ในผิวชั้นนอกของเรา เรียงตัวเป็นชั้นๆ ประกอบด้วยไขมัน 3 ชนิดหลักๆ คือ Ceramide, Cholesterol และ กรดไขมันค่ะ

และองค์ประกอบที่พบมากที่สุดในไขมันนี้ก็คือ Ceramide ที่พบได้เกือบถึง 50% เลยทีเดียว และนางก็มีความสำคัญมากกับความแข็งแรงของ Barrier ผิว

Ceramide นั้นมีหลายชนิดค่ะ แต่ชนิดที่มีความสำคัญคงหนีไม่พ้น Ceramide 1 แต่ทางเครื่องสำอางเราไม่ค่อยนำมาใช้กัน เพราะปัญหาเรื่องความคงตัว เลยหยิบเอา Ceramide 3 ที่คงตัวดีกว่ามาใช้กันเสียมากกว่า

ข้อดีอย่างหนึ่งของ CeraVe ก็คือ ใช้ Ceramide 3 ชนิด คือ Ceramide 1, Ceramide 3 และ Ceramide 6-II ในสัดส่วนที่เหมาะสมเพื่อเสริมการฟื้นฟู Barrier ผิวของเราได้อย่างลงตัวค่ะ

ส่วนเทคโนโลยี MVE นั้น เป็นเทคโนโลยีที่ทางแบรนด์เลือกใช้ในการนำส่งสารบำรุงเข้าสู่ผิวค่ะ

MVE นั้นย่อมาจาก Multivesicular emulsion ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่มีทั้งสิทธิบัตร และงานวิจัยรองรับรับ โดยเป็นระบบนำส่งที่มีรูปร่างเป็นทรงกลมที่มีหลายๆชั้น คล้ายหัวหอม เวลาลงผิว ก็จะค่อยๆปลดปล่อยออกมาทีละชั้น ทำให้สารเพิ่มความชุ่มชื้นต่างๆอยู่ในผิวได้นานขึ้น (Ref: J Clin Aesthet Dermatol. 2016; 9(12): 26–32.)

(Image from CeraVe Thailand)

ซึ่งตรงนี้ทางแบรนด์เองก็มีผลการทดสอบประสิทธิภาพด้านความชุ่มชื้นในอาสาสมัครด้วยนะคะ

สำหรับส่วนผสมเป็นดังนี้ค่ะ

จากส่วนผสมวันนี้ทำสีของสารบำรุงไว้ 2 สีค่ะ

ในส่วนของสารบำรุงสีม่วงจะเป็นส่วนของสารไขมันที่เป็นองค์ประกอบของ Barrier ผิวค่ะ ซึ่งได้แก่

  • Ceramides ทั้ง 3 ชนิด คือ Ceramide 1, 3 และ 6-II ซึ่งถือว่าเป็นการเลือกเซราไมด์ได้อย่างชาญฉลาด ผิวหนังของคนเราประกอบด้วย Ceramides อยู่หลายชนิดก็จริง อันนี้ขอลงลึกนิดหน่อย ถ้าแบ่งแบบง่ายๆ เราสามารถแบ่ง Ceramides ในผิวได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ ตามชนิดของกรดไขมันที่เป็นองค์ประกอบในโมเลกุล คือ Ceramides กลุ่ม N เป็น Ceramide ที่มีกรดไขมันชนิดปกติ กลุ่ม A มีกรดไขมันที่มีหมู่ Hydroxyl ที่ตำแหน่ง alpha-carbon และกลุ่ม EO มีกรดไขมันชนิดที่มีการ Esterified บริเวณ Hydroxyl ตำแหน่ง Omega ว่ากันว่า เซราไมด์กลุ่ม EO จะมีความสำคัญมากที่สุดในการทำให้ Barrier ของผิวแข็งแรง และผิวเราต้องมีสัดส่วนของ Ceramide A, N และ EO ที่เหมาะสมถึงมีผิวแข็งแรง ทีนี้ทางแบรนด์ก็เลยหยิบเอาเซราไมด์ตัวแทนจากแต่ละกลุ่มมาใส่ในครีม ถึงบอกว่านี่คือการใช้ได้อย่างชาญฉลาด
  1. Ceramide AP เป็น Ceramide ในกลุ่ม A มีชื่ออีกชื่อว่า Ceramide 6 II
  2. Ceramide NP เป็น Ceramide ในกลุ่ม N มีชื่ออีกชื่อว่า Ceramide 3 ตัวนี้เป็นเซราไมด์ชนิดที่พบมากที่สุดในผิวเรา
  3. Ceramide EOP เป็น Ceramide ในกลุ่ม EO ที่มีกรดไขมันสายยาวๆอยู่ แต่จากแหล่งข้อมูล มี่ก็ยังมีความสับสนอยู่ เพราะ Ceramide 1 ที่แท้ทรูคือ Ceramide EOS
  • Cholesterol เป็นอีก 1 องค์ประกอบที่สำคัญของ Barrier ผิว
  • Phytosphingosine เป็นเบสชนิดหนึ่งกลุ่ม Sphingoide ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในโครงสร้างของ Ceramide

ตัว Phytosphingosine ของมันเองก็มีประโยชน์ที่ดีกับผิวหลายประการ และมีการศึกษาวิจัยรองรับอยู่หลายชิ้น ที่น่าสนใจคือ น้องมีคุณสมบัติที่ดีในการดูแลการอักเสบและระคายเคืองผิว และเสริมการบวนการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างหน้าที่ (Differentiation) ของเซลล์ผิวในชั้นหนังกำพร้า (Keratinocyte) ให้ทำงานได้สมบูรณ์และโตเต็มไว (Mol Med. 2006; 12(1-3): 17–24.)

  • Caprylic/capric glycerides เป็นไขมันชนิด Triglycerides ซึ่งผิวเราสามารถย่อยสลายแปรสภาพได้เป็นกรดไขมัน กับ Glycerin

สีฟ้า เป็นสารบำรุงอื่นๆ ที่ไม่ได้จัดเข้ากับ Barrier lipid ได้แก่

  • Sodium hyaluronate ซึ่งมีประโยชน์ในการเพิ่มความชุ่มชื้น
  • Tocopherol หรือวิตามินอี เป็น antioxidant

ในภาพรวมจึงเน้นไปที่ความแข็งแรงของผิว และเสริมความชุ่มชื้น

และในสูตรไม่มีส่วนผสมสารที่ไม่เป็นมิตรกับผิว

มาให้คะแนนดีกว่าค่ะ วันนี้ส่วนผสมมีไม่ค่อยเยอะมาก ขอแบ่งให้คะแนนเป็น 2 หมวดนะคะ

  1. ส่วนผสม ถ้าพิจารณาในด้านของส่วนประกอบที่เกี่ยวข้องกับ Barrier ผิวทั้งหมด ตัวนี้ยังถือว่าขาดกลุ่ม NMF ที่เป็นสารโมเลกุลเล็กอยู่นะคะ แต่ถ้าพิจารณาในด้านของสารไขมันที่เสริมสร้าง Barrier ผิวทั้งหมด ตัวนี้ถือว่าทำมาได้ดี และมีความชาญฉลาด ที่เลือกใช้เซราไมด์ทั้ง 3 กลุ่มหลัก คือ A, N และ EO ตามชนิดที่เป็นองค์ประกอบของ Barrier ผิว ส่วนผสมทุกตัวที่ใส่มามีความเป็นมิตรกับผิวดีค่ะ และอย่าลืมประเด็นของเรื่อง MVE technology ด้วย จุดนี้ขอให้คะแนนแบบในภาพรวมที่ 4 ฟลาสก์
  2. การใช้งาน น้องเป็นโลชั่นที่ให้สัมผัสที่ค่อนข้างบางเบามาก ซึมไว แห้งไว ไม่เหนอะหนะ ในส่วนของสัมผัสหลังใช้ก็ถือว่าค่อนข้างดีค่ะ เบาสบายผิว เอามาทาได้ทั้งหน้าและตัวค่ะ ขวดเดียวครบจบทั้งหน้าตัว ระหว่างวันถ้าเหงื่อออกก็ไม่ได้เยิ้มหรือรู้สึกเหนียวเหนอะหนะไม่สบายตัว รับไป 5 ฟลาสก์

สุดท้ายนี้ต้องขอขอบคุณทางแบรนด์ CeraVe ประเทศไทย ด้วยนะคะที่ส่งผลิตภัณฑ์ดีๆมาให้มี่ได้ทดลองใช้ และขอบคุณทุกท่านด้วยค่ะที่ติดตามรับชมมาจนจบ

สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ทางแบรนด์ CeraVe ได้โดยตรงเลยนะคะ

https://www.facebook.com/CeraveThailandOfficial/

หรือจะตามไปส่องอัพเดทโปรโมชั่นใหม่ๆ ก็สามารถทำได้ตามสะดวกเลยค่ะ

Shopee Mall: https://invl.io/clfdg1w

Laz Mall: https://invol.co/clfdg2j

Disclaimer/conflict of interests: ผลิตภัณฑ์นี้ได้รับมาจากทางแบรนด์ CeraVe การรีวิวครั้งนี้เป็นการวิเคราะห์ส่วนผสมตามหลักการทางวิทยาศาสตร์เครื่องสำอางและอาศัยความเห็นส่วนบุคคล โปรดใช้วิจารณญาณ ผู้เขียนไม่ได้รับค่าตอบแทนในการเขียนรีวิวนี้และไม่ได้มีผลประโยชน์ใดๆ ในการขายสินค้า แต่ผู้เขียนอาจได้รับส่วนแบ่งจากการคลิ้กลิงค์ไปยังร้านค้า

Image

รีวิว/วิเคราะห์ส่วนผสมออยล์บำรุงผิวกาย Derma:B Intensive barrier multi-oil

เปิด Blog ด้วยคำโปรยสวยๆ “คงจะดี ถ้ามี Body oil ดีๆ สักชิ้น ที่ไม่ใช่แค่ทาแล้วเคลือบ (Occlusive) ผิวเฉยๆ แต่ให้คุณสมบัติในการทดแทนไขมันธรรมชาติคืนให้แก่ผิว และดูแลปัญหาเรื่องความแห้งกร้าน หยาบกระด้างไปพร้อมๆ กัน”

ถ้าเราแบ่งประเภทของสาร Moisturizer ในเครื่องสำอางเฉพาะกลุ่มของน้ำมัน เราจะแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ Occlusive กับ Emollient

2 ตัวนี้ต่างกันตรงนี้ สารกลุ่ม Occlusive จะไปเคลือบปกป้องผิว ลดการระเหยของน้ำออกจากผิว (Trans-epidermal water loss; TEWL) ในขณะที่สารกลุ่ม Emollient มักจะซึมลงไปในผิว และไม่ค่อยมีผลลดค่า TEWL (แต่ Emollient บางตัวก็ลดค่า TEWL ได้นะ ก็จะเรียกเป็น Semi-occlusive)

Emollient ส่วนมากจะเป็นไขมันที่พบได้ในร่างกายเรา บ้างก็เรียกเป็น Physiological lipids ซึ่งจะมีประโยชน์ในการทดแทนไขมันในผิวหนัง ยามที่ผิวเราขาด

ตัวอย่าง Emollient เช่น น้ำมันจากพืชธรรมชาติ รวมไปถึงพวก Physiological lipids อย่าง Ceramide, Cholesterol, fatty acids

วันนี้ขอหยิบเอา Body oil จากแบรนด์ Derma:B ที่เคยเกริ่นไปใน Blog ก่อน ตามลิงค์นี้ค่ะ

https://miyeonthereviewer.com/2022/03/20/brand-update-dermab/

แบรนด์ Derma:B เป็นแบรนด์ในเครือของบริษัท Neopharm ที่เน้นไปที่ผลิตภัณฑ์กลุ่มดูแลผิวกายโดยเฉพาะ

Body oil ที่หยิบมารีวิวใน Blog นี้มีชื่อว่า Intensive barrier multi-oil

สำหรับเนื้อสัมผัส ตัวน้องจะเป็นน้ำมันที่เหลวหน่อย มีกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์เป็นโทนดอกไม้หวานๆ ซึ่งทางแบรนด์ได้เบลนด์กลิ่นนี้ขึ้นมาโดยเฉพาะ

เกลี่ยได้ค่อนข้างง่าย จะมีความเงาวาวเหมือนเราใช้น้ำมันทาผิว เพียงแต่จะไม่เหนียวหนึบ ไม่เหนอะหนะและหนักผิว

ส่วนนี้จะเป็น Profile กลิ่นของน้ำมันสูตรนี้ซึ่งเบลนด์มาในโทน Sweet/Citrus/Floral นะคะ

(Image from Derma:B)

สำหรับส่วนผสมเป็นดังนี้ค่ะ

ขอแบ่งกลุ่มส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ชิ้นนี้เป็น 5 สี ซึ่งจะกล่าวถึงทีละสีนะคะ

  • สีชมพู เป็นกลุ่มของน้ำมันจากธรรมชาติ ซึ่งถ้านับรวมน้ำมันพื้นฐานแล้ว ก็มีด้วยกัน 15 ชนิด ซึ่งทางแบรนด์จะเคลมน้ำมันที่หายาก ซึ่งมีมูลค่าสูง ประกอบด้วยสารพฤกษเคมีที่มีประโยชน์มากมาย อย่างน้ำมันจากเมล็ดบรอกโคลี แครอท Black currant เมล็ดมะเขือเทศ เมล็ดชาเขียว (คนละชนิดกับเมล็ดของชาน้ำมัน Camellia oleifera ที่พบเจอกันทั่วไปนะคะ) ซึ่งข้อมูลจากผู้ผลิตวัตถุดิบกล่าวว่าน้ำมันจาก C. sinensis มีประโยชน์ที่ดีหลายด้านทั้งในด้านของ Antioxidant, การลดการอักเสบระคายเคืองและให้ความรู้สึกสบายผิว

ภาพของฝักและเมล็ดชาเขียว (Image from Derma:B Official Website)

ส่วนตัวขออนุญาตกล่าวถึงในภาพรวม ปกติกลุ่มของน้ำมันจากธรรมชาติก็จะประกอบด้วยกรดไขมันจำเป็น และสารที่มีประโยชน์ในกลุ่มที่เรียกว่า Unsaponifiables ที่หมายถึง สารอื่นในน้ำมันที่ไม่สามารถทำปฏิกิริยา Saponification กับด่างได้ ตัวอย่างเช่น พวก Tocopherol, Carotenoids, Phytosterols เป็นต้น พวกนี้มีประโยชน์ต่างๆ มากมายต่อผิว เช่น เป็น Antioxidant และลดอาการอักเสบระคายเคือง

  • สีม่วงบานเย็น เป็นกลุ่มของ Pseudoceramide อย่าง Myristoyl/palmitoyl oxostearamide/arachamide MEA ร่วมกับ Ceramide NP และ Phytosterols ที่เสริมเข้ามา
    • สำหรับ Myristoyl/palmitoyl oxostearamide/arachamide MEA มีชื่อเล่นว่า PC9S ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่เป็นเป็นสิทธิบัตรของทาง Neopharm อิงตามสิทธิบัตรอเมริกา US patent US6221371B1 ของปี 2001 Claim ว่าให้ประโยชน์ในการเหนี่ยวนำให้ผิวสร้างไขมันใหม่ออกมาฟื้นฟู Barrier ผิวที่เสียหาย มีรายงานการวิจัยทดสอบประสิทธิภาพของสารนี้ในหนูทดลอง พบว่า ตัวนี้เมื่อใช้ร่วมกับไขมันชนิดที่มีในผิว (Physiological lipids) สามารถกระตุ้นให้ผิวเรามีการสร้าง Receptor ในกลุ่ม PPAR-α ซึ่งมีประโยชน์ในการลดการอักเสบของผิว และเสริมกระบวนการสังเคราะห์ไขมันที่เป็น Barrier ผิวตามธรรมชาติ (Arch Dermatol Res. 2015 Nov;307(9):781-92.)
    • PC9S ร่วมกับสารอื่นๆ ในสัดส่วนที่เหมาะสมจะเรียงตัวอยู่ในรูปแบบของ MLE ซึ่งมีประโยชน์ในการเสริมความแข็งแรงให้แก่ Barrier ของผิว (สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดตามอ่านต่อได้ที่ https://miyeonthereviewer.com/2022/03/03/dermartlogy-atg/)
  • สีเขียว Acetyl glutamine เป็นอนุพันธ์ของกรดอะมิโน Glutamine ที่มีความคงตัวดีขึ้น ข้อมูลจากทางผู้ผลิตวัตถุดิบระบุว่า Glutamine เป็นกรดอะมิโนที่เรามีอยู่แล้วเพื่อใช้ตอบสนองต่อความเครียด โดยเมื่อเกิดสภาวะเครียดขึ้น จะมีการเหนี่ยวนำให้ Glutamine เข้าไปในเซลล์ แล้วส่งผลให้เกิดการปรับสมดุลตัวเองเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
(Image from DAMY CHEMICAL CO., LTD.)

โดยทางบริษัทได้ศึกษาพบว่าเมื่อมีระดับของ Glutamine เพิ่มขึ้น ก็จะมีปริมาณของ ATP เพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลให้การทำงานต่างๆ ของผิวเกิดได้ตามปกติ นอกจากนี้ทางบริษัทยังมีการศึกษาในอาสาสมัคร พบว่า Acetyl glutamine มีประสิทธิภาพที่ดีหลายประการ เช่น

  1. เสริมความชุ่มชื้น
  2. เสริมสร้าง Barrier ผิวให้แข็งแรงขึ้น
  3. ปรับ Texture ผิวให้เรียบเนียน
  • สีน้ำเงินเข้ม กลุ่มของพวก Peptide และ Folic acid ซึ่งเป็น Combination ที่โดดเด่นและมีประโยชน์ต่อผิวในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านของการเสริมกระบวนการทำงานตามธรรมชาติของผิว ดูแลเรื่องของการชะลอวัย ลดเลือนริ้วรอย ปัญหาของสีผิวไม่สม่ำเสมอ รวมไปถึงด้านการอักเสบระคายเคืองผิว และต่อต้านอนุมูลอิสระ
    • Combination นี้ทางแบรนด์เรียกว่าเป็น Bio-placentaTM ซึ่งชุดของส่วนผสมก็จะคล้ายๆ กับวัตถุดิบ Bio-placenta ที่มีผ่านการทดสอบประสิทธิภาพในอาสาสมัครแล้วเช่นกัน (ข้อมูลจาก DAMY CHEMICAL CO., LTD.)
  • สีฟ้า เป็นสารเติมน้ำอย่าง Sodium hyaluronate และ Panthenol ที่นอกจากเพิ่มความชุ่มชื้นแล้วยังมีประโยชน์ในเชิงด้านการดูแลปัญหาการอักเสบระคายเคืองของผิว

ในภาพรวมคือน้องเป็น Body oil ที่ไม่ใช่แค่ Oil ที่มาทาเคลือบผิว หรือเรียกเป็น Occlusive ธรรมดา แต่น้องเป็นน้ำมันที่เสริมสารบำรุงมาหลายชนิด ให้ประโยชน์ในการดูแลปัญหาผิวรูปแบบต่างๆ โดยไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความแข็งแรงของผิว ดูแลเรื่อง Barrier ผิว เพราะมีส่วนประกอบของทั้ง MLE, Ceramide และสารไขมันทดแทนจากน้ำมันพืชพรรณต่างๆ ให้ความรู้สึกสบายผิว และยังได้ประโยชน์ไปในถึงด้านการชะลอวัย ปรับสภาพผิวให้เรียบเนียนน่าสัมผัส

มาให้คะแนนกันดีกว่าค่ะ

  1. สารบำรุง ตามที่ได้กล่าวไปด้านบน นอกจากน้องจะมีส่วนประกอบของน้ำมันจากธรรมชาติแล้ว ยังเสริมมาด้วยส่วนผสมของสารบำรุงผิวต่างๆ ที่ให้ประโยชน์ได้หลายด้าน ทั้งในด้านของการชะลอวัย ดูแลเรื่องปัญหาริ้วรอย ความรู้สึกไม่สบายผิว ความแข็งแรงของ Barrier ผิว ปรับสมดุลของผิวและปกป้องผิวจากปัญหาที่เกิดจากความเครียดภายนอก เช่น พวกมลภาวะต่างๆ รวมถึงอาจจะได้ในด้านความสม่ำเสมอของสีผิว หรือเชิง Whitening ไปอีก ขอให้คะแนน 5 ฟลาสก์
  2. ส่วนผสมอื่นๆ ไม่มีสารที่ไม่เป็นมิตรกับผิว เลยไม่มีที่ให้หักคะแนน รับไป 5 ฟลาสก์
  3. การใช้งาน เริ่มที่เนื้อสัมผัสก่อน ส่วนตัวค่อนข้างชอบความบางเบา ไม่เหนอะหนะ ไม่เหนียวในระหว่างวัน ตามมาด้วยกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ให้ความรู้สึกสบายและผ่อนคลาย ถึงแม้จะเป็นช่วงที่อากาศร้อนชื้นยังรู้สึกว่าไม่ได้เหนอะหนะจนรู้สึกรำคาญตัว เผลอๆ เบากว่า Body lotion บางชิ้นเสียอีก อีกจุดที่น่าสนใจคือไม่เลอะเทอะเปรอะเปื้อนเสื้อผ้า ให้ไป 5 ฟลาสก์

สุดท้ายนี้ต้องขอขอบคุณทางแบรนด์ Derma:B สาขาประเทศไทยด้วยนะคะที่ส่งสินค้าดีๆ มาให้ได้ทดลองใช้ และขอขอบคุณทุกท่านที่ติดตามรับชมมาจนจบ

สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ทางแบรนด์โดยตรงเลยนะคะ

https://www.facebook.com/DermaBThailand

หรือ สามารถตามไปส่องร้านค้า Official ของทางแบรนด์ได้เลยนะคะ

Lazada: https://invol.co/claix7f

Shopee: https://invol.co/claix96

Disclaimer/conflict of interests: ผลิตภัณฑ์นี้ได้รับการสนับสนุนจากทางแบรนด์ Derma:B สาขาประเทศไทย การรีวิวครั้งนี้เป็นการวิเคราะห์ส่วนผสม/วัตถุดิบตามหลักการทางวิทยาศาสตร์เครื่องสำอางและอาศัยความเห็นส่วนบุคคล และผู้เขียนไม่ได้มีผลประโยชน์ใดๆในการขายสินค้า โปรดใช้วิจารณญาณ

Image

[Beauty Update] Introduction to Derma:B และ Derma:B มีตัวแทนจำหน่ายในไทยแล้วนะ

แบรนด์ Derma:B เป็นแบรนด์เวชสำอางบำรุงผิวกายในเครือ Neopharm แบรนด์หนึ่ง ที่น่าสนใจค่ะ

ส่วนตัวมีโอกาสได้รู้จักกับสินค้าในแบรนด์ Derma:B มาพักใหญ่ๆ ตั้งแต่ปี 2019 ตอนนั้นไปเกาหลีพอดี เป็นช่วงเดือนเมษายน

ยังผิวแห้งแตกลอกมาก จำเป็นต้องไปหาซื้อ Body lotion ในร้าน Olive young มาใช้ประทังชีวิต

คิดถึง Olive Young จัง ป่านนี้จะเป็นอย่างไรบ้างนะ

แล้วก็สะดุดเข้ากับ Body lotion ของแบรนด์ Derma:B ส่วนหนึ่งก็เพราะช่วงนั้นเราใช้ของของเครือ Neopharm อยู่หลายชิ้น เลยค่อนข้างไว้ใจแบรนด์ในเครือค่ะ

Derma:B ขวดแรกในชีวิต สอยมาจาก Olive Young ที่ปูซาน

กลับมาที่แบรนด์ Derma:B นอกจากประเด็นเรื่องการใช้ส่วนผสมของ MLE ที่เป็นเทคโนโลยีสิทธิบัตรของทาง Neopharm แล้ว ผลิตภัณฑ์แต่ละตัวยังมีการเสริมเอาสารบำรุงอื่นๆ เข้ามาเพื่อช่วยดูแล ฟื้นฟู และปกป้องผิวให้แข็งแรง โดยทาง Derma:B มีหลักการ ที่มีชื่อว่า “Simple & Perfect” ด้วยการดูแลผิว 3 ขั้นตอน

เทคโนโลยี MLE ย่อมาจาก Multi-lamellar emulsion ซึ่งเป็นระบบนำส่งรูปแบบหนึ่งที่พัฒนามาให้มีโครงสร้างของสารไขมันเรียงตัวกันเป็นผนัง 2 ชั้น ซ้อนกันหลายๆ ชุด

โดยในโครงสร้างของสารไขมันนี้จะประกอบด้วยส่วนที่ชอบน้ำ และ ส่วนที่ชอบน้ำมัน ในส่วนที่ชอบน้ำก็จะสามารถเก็บเอาสารที่ชอบน้ำเอาไว้ได้ อย่างของ Derma:B ก็เก็บเอา Panthenol เอาไว้ ส่วนของฝั่งที่ชอบไขมันก็จะเก็บเอาพวกสารที่ละลายน้ำมันเอาไว้ได้ เช่นพวกน้ำมันจากธรรมชาติต่างๆ

ซึ่งการเรียงตัวแบบนี้จะคล้ายกับโครงสร้างของไขมันที่เป็น Barrier ผิวเราตามธรรมชาติ ทำให้สามารถแทรกซึมและปกป้องผิวให้ความชุ่มชื้นได้ยาวนาน จุดนี้ผ่านการทดสอบว่าช่วยผิวเก็บกักน้ำได้ถึง 48 ชั่วโมง

สำหรับ Body Lotion ของแบรนด์ ติดอันดับสินค้าขายดีของร้าน Olive young มา 4 ปีซ้อนด้วยนะคะ

(Image from Derma:B Korea Official Website)

Image

รีวิว/วิเคราะห์ส่วนผสม Body lotion สำหรับผิวแห้งมากๆ ผิวลอกเป็นขุย กับ UreaRepair Plus 5% urea lotion จากแบรนด์ Eucerin

สวัสดีค่ะ วันนี้มีบทวิเคราะห์ส่วนผสมและรีวิวผลิตภัณฑ์จากแบรนด์ Eucerin มาฝากอีกชิ้นหนึ่ง

น้องเป็นโลชั่นสำหรับทาตัวที่เด่นมากสำหรับดูแลปัญหาผิวแห้ง ที่มาพร้อมกับเนื้อที่บางเบา ไม่เหนียวเหนอะหนะ

ผลิตภัณฑ์โลชั่นที่จะมาวิเคราะห์ส่วนผสมครั้งนี้มีชื่อว่า Eucerin UreaRepair Plus ขอย่อว่า URP นะคะ

ชื่อเต็มๆ จะพ่วงว่า 5% Urea lotion 48H long-lasting hydration ที่มีเคลมว่าสามารถเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวได้ยาวนานถึง 48 ชั่วโมงเลยทีเดียว

โลชั่นตัวนี้มาในหน้าตาแบบนี้นะคะ

ตัวขวดโลชั่นเป็นประมาณนี้ค่ะ

เนื้อโลชั่นค่อนข้างเบา ดูจากลำดับส่วนผสม และอ่านจากแบรนด์เคลม ก็คือ น้องเป็นเบสอิมัลชั่นชนิดน้ำมันในน้ำ (o/w emulsion) ที่จะบางเบา แต่ด้วยส่วนผสมของสารดูแลผิวเรื่องความชุ่มชื้นหลายตัว เลยเก็บความชุ่มชื้นไว้ได้ค่อนข้างนาน

ซึ่งจุดนี้ส่วนตัวชอบนะคะ เพราะโลชั่นที่ใช้ส่วนใหญ่จะหนักหน่อย และเวลาเหงื่อออกมันจะลื่นๆ ไม่ค่อยสบายผิว

น้องมาในกลิ่นหอมอ่อนๆ ประโยคนี้หลายคนอาจจะแบบว่า “เอ๊ะ ยังไง โลชั่นสำหรับผิวบอบบางแพ้ง่ายไม่ควรใส่น้ำหอมป่ะ” จริงค่ะ ไม่เถียง แต่ถ้าน้ำหอมนั้นปราศจากสารก่อการแพ้ (Allergen free) ก็น่าจะสามารถใช้ได้ค่ะ และที่สำคัญ ประเด็นที่น่าสนใจคือ น้ำหอม/สารหอมที่ทาง Eucerin URP ตัวนี้เลือกใช้ มีคุณสมบัติในการลดการอักเสบระคายเคืองในระดับหลอดทดลอง

(Image from Eucerin)

ส่วนสัมผัสหลังเกลี่ยก็จะค่อนข้างบางเบา ไม่เหนอะหนะ แต่ชุ่มชื้น และให้ความรู้สึกสบายผิว

ส่วนตัวมีอยู่ช่วงหนึ่งที่ไปห้างแห่งหนึ่งที่เชียงใหม่ที่มีข่าวคนติดเชื้อโควิด มันก็จะตระหนก กังวลนิดหน่อย เลยล้างมือถี่มาก ผลคือ แห้งลอกเป็นขุยตามระเบียบ พอใช้เจ้านี่ทาก็จะดีขึ้น ซึ่งตรงนี้ตรงกับคอนเซปท์ของมอยส์เจอไรเซอร์ คือ สามารถลดการแห้งได้อย่างรวดเร็วเมื่อทาครั้งแรก

ถึงแม้ว่า ถ้าเราทิ้งไว้ราวๆ 1 – 2 ชั่วโมง ขุยก็จะกลับมาใหม่ แต่พอทาบ่อยๆ วันรุ่งขึ้นก็ดีขึ้น ไม่มีขุยแล้ว

ก่อนไปดูส่วนผสมอยากบอกอีกนิดว่าทางแบรนด์ได้ทดสอบประสิทธิภาพในอาสาสมัครแล้วพบว่าครีมมีประโยชน์ดูแลเรื่องความชุ่มชื้นได้ถึง 48 ชั่วโมงเลยทีเดียว

(Image froo

มาดูส่วนผสมกันบ้างนะคะ

วันนี้ส่วนผสมมีหลายสีเหมือนเช่นเคย

ขอเปิดประเดิมด้วยสีน้ำเงิน คู่หูสูตรผสมกันของ Glycerin + Glyceryl glucoside ถ้าอิงตามลำดับส่วนผสม ส่วนตัวคิดว่าจะเป็น Glycerin 6.5% + Glyceryl glucoside 5% ซึ่งคู่ผสมนี้มีการทดสอบประสิทธิภาพในการเพิ่มความชุ่มชื้น และลดการระเหยของน้ำออกจากผิว (Transepidermal water loss; TEWL) ของอาสาสมัคร เมื่อใช้เป็นเวลา 3 สัปดาห์ ซึ่งการลดลงของค่า TEWL จะสื่อความหมายได้ว่า Barrier ของผิวแข็งแรงขึ้น (Schrader, et al. Skin Pharmacol Physiol 2012;25:192–199)

ขอแยกกล่าวเฉพาะตัว Glyceryl glycoside อีกรอบ น้องเป็นสารที่พบได้ในธรรมชาติ ตัวโครงสร้างน้องเป็นรูปแบบของสารกลุ่ม Glycoside ที่มีน้ำตาลเกาะอยู่บนตัว Glycerin สารนี้มีการทดสอบในระดับหลอดทดลองว่ามีประสิทธิภาพในการเสริมการสังเคราะห์ Aquaporin-3 ซึ่งเป็นช่องทางหนึ่งที่ผิวเราใช้ในการเก็บกักน้ำ และสารที่ละลายน้ำได้ตัวเล็กๆ เพื่อรักษาความชุ่มชื้นเอาไว้ จะกล่าวว่า Aquaporin เป็นอีกส่วนเล็กๆ ของ Barrier ผิวก็ว่าได้

การทำงานของ Aquaporin จะมีอารมณ์ประมาณภาพนี้ค่ะ

ถ้าเรามี Aquaporin ที่สมบูรณ์และแข็งแรง ผิวเราก็จะมีความชุ่มชื้น ดังนั้นจึงคาดเดาได้ว่าถ้าผิวมีการสร้าง Aquaporin มากขึ้น ความสามารถในการเก็บน้ำก็น่าจะมีมากขึ้น

ถัดมา สีบานเย็น Urea ตามแบรนด์เคลมว่าใช้ในความเข้มข้นที่ 5% ซึ่งเป็นความเข้มข้นที่มีการทดสอบแล้วว่ามีประโยชน์กับผิวแห้ง

ถึงแม้ Urea จะเป็นสารพื้นๆ ที่อาจจะเก่าแก่ ดูโบราณไปนิด แต่น้องจัดเป็นสารที่ใช้เป็นตัวเลือกแรกๆ (Gold standard) ในการดูแลปัญหาผิวแห้ง

ว่าแล้วก็ ขอเล่าเรื่อง Urea แบบย่อๆ สักหน่อย

จริงๆ แล้วในผิวเราก็มีส่วนประกอบของเจ้า Urea นี่รวมเป็นกลุ่มสารที่เพิ่มความชุ่มชื้นตามธรรมชาติ (Natural moisturizing factor; NMF)

ต่อมามีการค้นพบว่า Urea มีประโยชน์มากมายกับผิวหนัง ตัวอย่างเช่น

  • เสริมการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและหน้าที่ของ Keratinocyte (เซลล์ผิวในชั้นหนังกำพร้า) ให้โตเต็มไว มีความแข็งแรง
  • เสริมการสังเคราะห์ไขมันที่เป็นองค์ประกอบของ Barrier ผิว
  • เสริมภูมิคุ้มกันของผิว โดยไปเสริมการสร้าง Peptide ที่มีฤทธิ์ต่อต้านจุลชีพตามธรรมชาติบนผิว

ถ้าสนใจเกี่ยวกับ Urea สามารถตามไปอ่านบทความของ Dirschka T. เขาเขียนไว้ได้ค่อนข้างดี อ่านไม่ยากนัก และบทความนี้ดาวน์โหลดมาอ่านได้ฟรีค่ะ

>>> https://doi.org/10.1111/ijcp.13569

สารกลุ่มสีเขียวแก่ เป็นส่วนของกรดอะมิโน ร่วมกับ Lactic acid และ Sodium lactate เป็นกลุ่มของสาร NMFs ที่ช่วยกักเก็บน้ำให้ผิว

ส่วนของ Carnitine ที่ใส่เข้ามา ก็อาจจะได้ประโยชน์เรื่องของการดูแล Metabolism ของไขมันต่างๆ

สารสีส้ม Chondrus crispus extract เป็นสารสกัดจากสาหร่าย ประกอบด้วย Carrageenan ที่นอกจากจะดูแลเรื่องของสัมผัสของเนื้อครีมแล้ว ตัวมันเองก็มีการเคลมว่ามีประโยชน์ในการเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิว สารสีเขียวมะกอก เป็นกลุ่มของไขมันจากธรรมชาติต่างๆ

ซึ่งถ้าดูจากส่วนผสมของ URP แล้ว มันจะมีงานวิจัยอยู่ชิ้นหนึ่งที่เปรียบเทียบประสิทธิภาพของ Urea cream กับ Urea cream ที่มี NMF + ceramides + Glyceryl glucoside ในอาสาสมัครเด็กไทยที่มีสภาวะผิวแห้ง จากโรคไตเรื้อรัง พบว่าสูตรผสม มีประสิทธิภาพที่ดีในด้านของการดูแลปัญหาขุยผิวแห้ง เพิ่มความชุ่มชื้น และเพิ่มความสามารถในการเป็น Barrier ของผิวได้ดีกว่า Urea cream อย่างเดียว (Wananukul, S. et al. J Med Assoc Thai 2017;100(6):638-43)

งานอีกชิ้นเป็นการทดสอบประสิทธิภาพของครีมที่มี 5% Urea + Ceramide NP + Lactate ในอาสาสมัครสูงอายุ ก็พบว่าให้ประสิทธิภาพที่ดีเช่นกัน (Danby, et al. Skin Pharmacol Physiol 2016;29:135–147)

ส่วนอีกงานวิจัยทดสอบประสิทธิภาพของตำรับที่มีส่วนผสมของ NMF + ceramides + Glyceryl glucoside ก็พบว่าอาสาสมัครก็มีความชุ่มชื้นของผิวเพิ่มขึ้นเช่นกัน (Weber, et al. Journal of Clinical and Aesthetic Dermatology. 2012;5(8):30-39.)

ในภาพรวมจึงถือว่า URP เป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจสำหรับการดูแลผิวแห้ง

ส่วนตัวมองว่าถ้ามองจากส่วนผสม และการศึกษาก่อนหน้า นั้นมีความเห็นว่าเหมาะกับกรณีของผิวแห้งในผู้สูงอายุ จากโรคเรื้อรังทั้งในเด็ก และผู้ใหญ่ รวมถึงผิวแห้งอักเสบแบบ Atopic ซึ่งเกิดในเด็กเป็นส่วนมาก โดยผิวแห้งเหล่านี้อาจจะแห้งน้อย จนถึงแห้งมากแตกลอกเป็นขุย ก็น่าจะชอบ URP ตัวนี้

ส่วนเรื่องของน้ำหอมก็ตามที่ได้เกริ่นไปว่าน้ำหอมที่ทางแบรนด์เลือกใช้ยังมีประโยชน์ในการลดการอักเสบระคายเคือง

มาให้คะแนนกันดีกว่าค่ะ

  1. สารบำรุง เรียกได้ว่า Eucerin ยังคงความสมบูรณ์แบบของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการพัฒนาสูตร และเลือกใช้ส่วนผสมที่ไม่ได้ดูหวือหวาเว่อวัง แต่สารบำรุงทุกตัวมีรายงานถึงประสิทธิภาพรองรับ จึงถือว่าเป็นมอยส์เจอไรเซอร์ชิ้นหนึ่งที่น่าเก็บไว้ในอ้อมใจของคนผิวแห้ง ให้ไป 5 ฟลาสก์
  2. ส่วนผสมอื่นๆ ไม่ได้มีพิษมีภัยอะไร แถมน้ำหอมที่ใส่ก็มีคุณสมบัติพิเศษคือ ผ่านการทดสอบว่าไม่ก่อการแพ้และการระคายเคือง และยังมีประโยชน์เสริมกับสารบำรุงได้อย่างลงตัว ให้ไป 5 ฟลาสก์
  3. การใช้งาน ส่วนตัวได้ทดลองใช้มาประมาณ 3 อาทิตย์ ด้วยความที่ช่วงนี้ที่เชียงใหม่/เชียงรายอากาศยังไม่แห้งมากนัก + เป็นช่วงฤดูฝน ส่วนตัวเลยไม่ได้มีปัญหาผิวแห้งมากนัก แต่ก็ขอยอมรับว่า การใช้ URP ช่วยให้ผิวนุ่มเนียน สัมผัสแล้วเย็น คืออธิบายไม่ถูกเหมือนกัน อารมณ์เย็นๆ สบายผิว คงชุ่มชื้นได้ทั้งวัน จนกระทั่งอาบน้ำตอนกลางคืน แต่ก็ต้องขอบอกตามจริงว่ากลิ่นของ URP แม้มันจะหอมละมุนให้ความรู้สึกเหมือนเป็นเด็กน้อย แต่ไม่ใช่น้ำหอมที่ตรงจริตของเราเท่าไหร่ แต่ถ้าวัดเรื่องการใช้งาน และสิ่งที่ได้ ขอให้ไป 5 ฟลาสก์

สุดท้ายนี้ต้องขอขอบคุณทางแบรนด์ Eucerin ด้วยนะคะที่ส่งผลิตภัณฑ์ดีๆ มาให้ได้รู้จักและทดลองใช้ และขอขอบคุณทุกท่านด้วยค่ะที่ติดตามรับชมมาจนจบ

สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ทางแบรนด์โดยตรงนะคะ

UreaRepair Plus 5% urea lotion ขนาด 250ml ราคา 690 บาท

รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถอ่านได้จาก

https://www.eucerin.co.th/products/hypersensitive-skin/urea-repair-plus-5-urea-lotion-48h-long-lasting-hydration-250ml

สถานที่จัดจำหน่าย  ร้านวัตสัน ร้านบู๊ทส์ ร้านขายยาขนาดใหญ่ และโรงพยาบาลชั้นนำทั่วไป

ทางไป Shopping

Lazada: https://invol.co/cla9uek

Shopee: https://invol.co/cla9uew

Disclaimer/Conflict of interest: ผลิตภัณฑ์นี้ได้รับการสนับสนุนจากทางแบรนด์ Eucerin การรีวิวครั้งนี้เป็นการวิเคราะห์ส่วนผสม/วัตถุดิบตามหลักการทางวิทยาศาสตร์เครื่องสำอางและอาศัยความเห็นส่วนบุคคล และผู้เขียนไม่ได้มีผลประโยชน์ใดๆในการขายสินค้า โปรดใช้วิจารณญาณ

Image

Mini Review โรลออนแบบแท่งสูตรธรรมชาติ ปราศจาก Aluminium จากแบรนด์ Schmidt กลิ่น Lavender + Sage

สวัสดีค่ะ

วันนี้ขอหยิบเอาผลิตภัณฑ์สำหรับระงับกลิ่นกายใต้วงแขนมาเล่าสู่กันฟังบ้างนะคะ

ด้วยความที่ส่วนตัวมีปัญหาผิวแห้ง ในบางครั้งการใช้โรลออนทั่วไปที่มีพวกสารระงับเหงื่อกลุ่ม Aluminium ก็จะทำให้เกิดการระคายเคือง คันใต้วงแขนอยู่บ่อยๆ แต่ก็ไม่ถึงขั้นแพ้ เลยพยายามลองเปลี่ยนไปเรื่อยๆ จนไปเจอกับแบรนด์ Schmidt บนเว็บของ iHerb เลยลองสั่งมาค่ะ พอได้ใช้อยู่เกือบเดือนก็คือแบบว่า รู้สึกดี ไม่แห้ง ไม่คันเหมือนเมื่อก่อน นานๆ ทีถึงจะแห้งคันขึ้นมา

ทีนี้ก่อนไปพูดเรื่องผลิตภัณฑ์ อยากเล่าให้ฟังถึงกลไกหลักในการระงับเหงื่อก่อนนะคะ

หลายคน (รวมทั้งตัวเองเมื่อก่อน) อาจจะคิดว่า โรลออนก็คือโรลออน จะอะไรนักหนา จริงๆ แล้ว ผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้เราแบ่งเป็น 2 กลุ่มย่อยๆ คือ พวกระงับเหงื่อ กับ ระงับกลิ่น

โดยการระงับกลิ่นจะมีหลายรูปแบบ เช่น กำจัดแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของกลิ่น ใช้สารกำจัดกลิ่น หรือ กลบกลิ่นด้วยกลิ่นที่แรงกว่า เป็นต้น

ในขณะที่การระงับเหงื่อจะอาศัยสารประกอบของ Aluminium หรือ Zirconium ไปอุดรูของต่อมเหงื่อไว้ ไม่ให้เหงื่อไหลออกมา ซึ่งก็อาจจะทำให้เกิดการระคายเคืองได้ ทั้งจากกลไกของเขาเอง และค่า pH ค่อนข้างต่ำของผลิตภัณฑ์(ส่วนใหญ่)

อย่างถ้าพูดถึงตัวโบราณๆ ที่ยังคงใช้กันก็นึกถึงสารส้ม (Potassium aluminium sulfate หรือ Alum) ทุกวันนี้บางคนก็ใช้ ส่วนตัวเองก็เคยใช้ แล้วรู้สึกว่าดีด้วยหละ ราคาก็ไม่แพง

โดยตัวพื้นฐานที่เป็นที่นิยม และพบได้บ่อยมากกว่า 80% ในท้องตลาดคือ Aluminium chlorohydrate ซึ่งนางเองก็มีประสิทธิภาพสูงในการระงับเหงื่อ ซึ่งมีทั้งในรูปแบบของโรลออน และ สเปรย์

ทีนี้หลังๆมา ก็เริ่มมีกระแสว่า แกร Aluminium มันไม่ดีนะ นู่นนี่นั่น

เลยมีพวก Natural ออกมามากขึ้นเรื่อยๆ

ส่วนตัวแอบสนใจผลิตภัณฑ์ระงับเหงื่อแบบ Natural มาซักพักแล้วหละ ตามที่บ่นๆ ไปด้านบน ทีนี้เจ้าแบรนด์ Schmidt’s นี่ก็เป็นแบรนด์หนึ่งที่น่าสนใจเพราะได้รางวัลยอดนิยมมาหลายชิ้น รวมถึงรีวิวจากผู้บริโภคก็ค่อนข้างอยู่ในเกณฑ์ดี

นางมีหลายกลิ่นอยู่นะคะ และใช้น้ำมันหอมระเหยจากธรรมชาติเป็นตัวแต่งกลิ่นหลัก ตัวที่สนใจจริงๆ คือ Rose + Vanilla แต่ในเว็บ iHerb นางไม่เอาเข้ามาขาย เลยสั่ง Lavender + Sage มาแทน (ตอนนี้ในเว็บ iHerb ก็เอานางออกแล้ว แต่บน Official ของเพจ Schmidt’s ยังมีอยู่)

มาในรูปแบบแท่ง หน้าตาประมาณนี้ค่ะ

ตัวที่มี่มีเป็นแพคเกจรุ่นเก่านะคะ ตอนนี้แพคเกจใหม่เปลี่ยนเป็นประมาณนี้ค่ะ

(Image from Schmidt’s official website)

ด้านหลังก็จะมีเคลมเกี่ยวกับความเป็นมิตรกับสัตว์โลก เพราะเป็นสูตร Vegan และไม่ใช้สัตว์ทดลองค่ะ

ส่วนผสมเป็นดังภาพค่ะ

ส่วนผสมหลัก นางอาศัยแป้ง Arrowroot ที่รู้จักกันในชื่อภาษาไทยว่า แป้งท้าวยายม่อม เป็นองค์ประกอบหลัก เอามาขึ้นรูปด้วยน้ำมันและไขมันจากธรรมชาติ แต่งกลิ่นด้วยน้ำมันหอมระเหยตามสูตร

ตอนแรกที่เราคิดไว้ก็คือเวลาทา มันจะต้องสากๆ แต่ไม่นะคะ มันทาได้ไม่สาก เพียงแต่มันจะมีก้อนๆ ของแป้งอยู่นิดหน่อย แต่พอวอร์มโดยการเอาแปะไว้ใต้วงแขนสักครู่ ก่อนจะลากไปมา นางก็เคลือบผิวได้โดยไม่ทิ้งคราบขาว ไม่ทำให้เสื้อขาวเหลือง และไม่ทำให้เสื้อดำเป็นสีขาว คือ เรียกได้ว่ารักเลยหละ อีกอย่างที่คิดไว้คือ นางน่าจะระงับเหงื่อได้ไม่ดี ใช้ไปนี่บ่ายๆ จั๊กเปียกแน่ๆ อันนี้เดี๊ยนก็เดาผิด กลายเป็นว่า เอ้อแกร แห้งสนิท ไม่ระคายเคือง ไม่คัน ผิวไม่แห้งเหมือนตอนใช้พวก Aluminium เหมือนเมื่อก่อน คือสุดท้ายก็รักเลยหละ

สำหรับวันนี้ก็มาแบบสั้นๆ ไว้พบกันใหม่ในโอกาสถัดไปค่ะ

Disclaimer/conflict of interests: ผลิตภัณฑ์นี้ซื้อด้วยตนเอง การรีวิวครั้งนี้เป็นการวิเคราะห์ส่วนผสม/วัตถุดิบตามหลักการทางวิทยาศาสตร์เครื่องสำอางและอาศัยความเห็นส่วนบุคคล และผู้เขียนไม่ได้มีผลประโยชน์ใดๆในการขายสินค้า โปรดใช้วิจารณญาณ

Image

รีวิว/วิเคราะห์ส่วนผสมเจลอาบน้ำผสานพลังน้ำมันหอมระเหยสูตรธรรมชาติ จากแบรนด์ Piti กับผลิตภัณฑ์ Rosemary Natural body shower gel

สวัสดีค่ะ

วันนี้มี่มีรีวิวเจลอาบน้ำจากแบรนด์ไทยคุณภาพแบรนด์หนึ่ง ที่มี่เคยเอาโลชั่นมารีวิวให้ทุกท่านได้ชมไปในช่วงก่อนมาฝากกันค่ะ

เป็นเจลอาบน้ำจากแบรนด์ปิติ ซึ่งผลิตสินค้าออกมาภายใต้ความคิดริเริ่มมาจากความต้องการทำโลชั่นเพื่อดูแลผิวคุณพ่อคุณแม่ของเจ้าของแบรนด์ ซึ่งมีผิวแห้งมาก จนรบกวนคุณภาพชีวิตประจำวัน พอคุณพ่อคุณแม่ใช้แล้วดีมีความสุข ทางแบรนด์ก็เลยอยากส่งต่อ ความรักและความสุขจากการใช้ผลิตภัณฑ์นี้ให้กับทุกคนค่ะ นอกจากโลชั่น ตอนนี้ทางแบรนด์ก็ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่สำหรับอาบน้ำมาด้วยค่ะ

สำหรับรีวิวโลชั่น ใครที่พลาดไป สามารถกลับไปตามได้ที่ลิงค์นี้นะคะ

(>>>Link review Piti lotion<<<)

ผลิตภัณฑ์มีชื่อเต็มๆว่า Extra moisturizer for dry skin Rosemary Natural body shower gel ซึ่งมีหน้าตาเป็นแบบนี้นะคะ

piti 1

ตัวเจลอาบน้ำมีเนื้อเป็นเจลใสที่ค่อนข้างข้นนะคะ

piti 3

ในด้านของฟอง ส่วนตัวค่อนข้างชอบเลยค่ะ มีฟองแบบที่ชอบเลย

piti 2

ค่า pH หลังละลายน้ำอยู่ที่ราวๆ 6 ซึ่งเป็นกรดอ่อนๆ ซึ่งเหมาะกับผิวของเราดีนะคะ เพราะปกติผลิตภัณฑ์อาบน้ำส่วนใหญ่จะมีค่า pH ค่อนไปทางด่าง ซึ่งอาจจะทำให้ผิวแห้งและระคายเคืองได้ง่าย

piti 4

สำหรับส่วนผสมเป็นดังนี้ค่ะ

สผส piti

จากส่วนผสมมี่ทำสีไว้อยู่ 5 สี นะคะ

เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด เลยขอเริ่มที่ส่วนของสารทำความสะอาดก่อนเลย

ส่วนของสารทำความสะอาดแทนที่ด้วยสีฟ้าอ่อนค่ะ เปิดมาจะเป็นสารทำความสะอาดหลักอย่าง Ammonium lauryl sulfate (ALS) ซึ่งตัวนี้จริงๆอาจจะไม่ได้อ่อนโยนมากนัก แต่เรื่องของฟอง คือดีงาม แต่ก็เสริมมาด้วยสารทำความสะอาดอีกหลายตัว ที่ช่วยปรับความอ่อนโยนให้ระบบอ่อนโยนมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเสริมสารทำความสะอาดกลุ่ม Glutamate ที่มีความอ่อนโยนสูง และทางผู้ผลิตวัตถุดิบเองก็เคลมว่า ถ้าใช้คู่กับพวก SLS/SLES จะช่วยลดการเกาะติดผิวของ SLS/SLES ได้ แต่ในเคสนี้เป็น ALS ก็เลยคิดว่าน่าจะช่วยได้เหมือนกัน (คหสต.) และยังมี Cocamidopropyl betaine กับ Cocoglucoside ซึ่งมีความอ่อนโยน

ในด้านของสารบำรุง วันนี้มี 3 สีค่ะ

  1. สีเขียวมะกอก เป็นกลุ่มของสารไขมัน ที่ช่วยลดความรู้สึกผิวแห้งตึงหลังอาบน้ำ
  2. สีเขียวแก่ Hydroxyethyl urea เป็นตัวเพิ่มความชุ่มชื้น
  3. สีชมพู เป็นกลุ่มของสารสกัดจากพืช ซึ่งอัดแน่นมาด้วยกันหลายชนิดเลย บางตัวก็จะคล้ายๆกับสูตรของโลชั่นที่มี่เคยรีวิวไว้นะคะ
  • สารสกัดจากเมล็ด Evening primrose ข้อมูลจากผู้ผลิตวัตถุดิบระบุว่า มีคุณสมบัติในการเพิ่มความชุ่มชื้น ลดการอักเสบและระคายเคือง ทางผู้ผลิตกล่าวว่าให้ผลดีในอาสาสมัครที่มีอาการผิวอักเสบแบบ Atopic
  • Rehmannia chinensis extract สารสกัดจากต้น Chinese fox glove เป็นพืชพื้นบ้านของที่ชาวญี่ปุ่นใช้เป็นยาทาภายนอกมาตั้งแต่สมัยโบราณ ข้อมูลจากผู้ผลิตวัตถุดิบระบุว่าเป็นสารเพิ่มความชุ่มชื้น ลดการอักเสบระคายเคือง และช่วยให้ผิวนุ่มนวล สารสกัดจากใบพีช ผู้ผลิตวัตถุดิบระบุว่าสารสกัดจากใบมีประโยชน์ในการชะลอวัย ลดริ้วรอย
  • Prunus persica leaf extract คือ สารสกัดจากใบพีช มีข้อมูลเกี่ยวกับคุณสมบัติในการลดการอักเสบระคายเคือง และให้ความรู้สึกสบายผิว
  • Phellodendron amurense bark extract สารสกัดจากพืชในตำรับยาจีนชนิดหนึ่ง มีรายงานเกี่ยวกับคุณสมบัติในการต้านการอักเสบ (Int Immunopharmacol. 2014; 19(2):214-20.) ข้อมูลจากผู้ผลิตวัตถุดิบระบุว่า ประกอบด้วยสารอัลคาลอยด์ที่มีชื่อว่า Berberine มีประโยชน์ในการลดการอักเสบ และต่อต้านเชื้อจุลินทรีย์ และเป็น Antioxidant
  • สารสกัดจากสาหร่าย (Algae extract) ซึ่งสาหร่ายมีหลายสายพันธุ์จึงไม่สามารถฟันธงในรายละเอียดได้ โดยรวมสาหร่ายมีประโยชน์ในการเพิ่มความชุ่มชื้น และเป็น antioxidant
  • สารสกัดจากพลูคาว (Houttuynia cordata extract) ข้อมูลจากผู้ผลิตวัตถุดิบระบุว่ามีประโยชน์ ลดการอักเสบระคายเคือง และ ช่วยในการสมานผิว
  • สารสกัดจากกระเจี๊ยบ (Hibiscus esculentus fruit extract) ประกอบด้วยสารในกลุ่ม Polysaccharide ที่มีประโยชน์ในการเพิ่มความชุ่มชื้น
  • สารสกัดจากอาร์ติโช๊ค (Cynara scolymus leaf extract) ข้อมูลจากผู้ผลิตวัตถุดิบระบุว่ามีประโยชน์ ลดการอักเสบระคายเคือง และต่อต้านจุลินทรีย์
  • สารสกัดจากผลเกรฟฟรุ๊ต (Citrus junos fruit extract) มีประโยชน์ในการเพิ่มความชุ่มชื้นและเป็น antioxidant

 

ส่วนที่เป็นสีฟ้าอ่อนจะเป็นน้ำมันหอมระเหยจากพืชค่ะ ซึ่งมีด้วยกัน 4 ชนิด ได้แก่ Rosemary, Eucalyptus Lavender และ Patchouli ค่ะ

 

มาให้คะแนนกันดีกว่านะคะ วันนี้ขอแบ่งเป็น 3 หมวด คือ สารทำความสะอาด ส่วนผสมอื่นๆ และ การใช้งานค่ะ

  1. สารทำความสะอาด แม้สารทำความสะอาดหลักจะเป็น Ammonium lauryl sulfate ที่มีความสามารถในการทำความสะอาดค่อนข้างดี แต่ก็อาจจะทำให้ผิวแห้งได้บ้าง ซึ่งในจุดนี้ทางแบรนด์มีการเสริมเอาสารทำความสะอาดเข้ามาอีก 3 ชนิด เพื่อปรับปรุงให้มีความอ่อนโยนเพิ่มขึ้น ส่วนตัวหลังใช้ก็ไม่ได้รู้สึกว่าแห้งตึงนะคะ จุดนี้ขอให้ 4 ฟลาสก์
  2. ส่วนผสมอื่นๆ มีการใช้สารบำรุงเข้ามาเสริมหลายชนิด โดยหลักๆจะเน้นไปในเชิงด้านของความชุ่มชื้น การลดการอักเสบระคายเคือง และให้ความรู้สึกสบายผิว ซึ่งก็ถือว่าทำมาได้ค่อนข้างดี แม้ว่าพวก Cleansing จะสัมผัสผิวไม่นาน เราคงจะหวังผลจากสารบำรุงมากไม่ได้ แต่การมีพวกสารลดการระคายเคือง และเพิ่มความชุ่มชื้นอยู่ก็น่าจะมีประโยชน์มากกว่า นอกจากนี้ส่วนของสารที่เป็นพวกไขมันที่ใส่มา ก็ช่วยลดการผิวแห้งหลังล้างได้ด้วย จุดนี้ขอให้ 5 ฟลาสก์
  3. การใช้งาน ส่วนตัวค่อนข้างชอบเลยค่ะ ตั้งแต่ก่อนใช้ คือเวลาตีฟองกับน้ำอุ่น เราจะได้กลิ่นของน้ำมันหอมระเหย ที่ทางแบรนด์เบลนด์มาเป็นอย่างดี โทนหลักจะเป็น Rosemary รองๆจะมีกลิ่นของ Herb และกลิ่นแนวเย็นๆ แฝงอยู่ ให้ความรู้สึกค่อนข้างสดชื่น ตอนใช้เรื่องของฟอง ก็ทำมาได้โดนจริตดี และในด้านของความรู้สึกหลังใช้ก็จะไม่ได้แห้งตึง และก็ไม่ได้เยิ้มฉ่ำแบบมีเมือกเคลือบ จุดนี้ค่อนข้างชอบ ให้ไป 5 ฟลาสก์

 

piti wash

สุดท้ายนี้ต้องขอขอบคุณทางแบรนด์ Piti ด้วยนะคะ ที่ส่งผลิตภัณฑ์ดีๆมาให้มี่ได้ทดลองใช้ และขอบคุณทุกๆท่านด้วยค่ะ ที่ติดตามรับชมมาจนจบ

 

สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ทางแบรนด์โดยตรงเลยนะคะ

Line ID : @piti

https://www.facebook.com/pitidryskinexpert/

http://www.pitidryskinexpert.com

 

Disclaimer/conflict of interests: ผลิตภัณฑ์นี้ได้รับการสนับสนุนจากทางแบรนด์ Piti การรีวิวครั้งนี้เป็นการวิเคราะห์ส่วนผสมตามหลักการทางวิทยาศาสตร์เครื่องสำอางและอาศัยความเห็นส่วนบุคคล และผู้เขียนไม่ได้มีผลประโยชน์ใดๆในการขายสินค้า โปรดใช้วิจารณญาณ

Image

รีวิว/วิเคราะห์ส่วนผสม มอยส์เจอไรเซอร์นี้ที่รอคอยมานาน กับ CeraVe Moisturizing lotion และ cream

สวัสดีค่ะ

เชื่อว่าหลายๆท่านน่าจะรู้จักสกินแคร์ชื่อดังอย่าง CeraVe มากันบ้างแล้วนะคะ นางเป็นแบรนด์เวชสำอางชื่อดังจากอเมริกา ซึ่งในสมัยก่อนเราจะต้องหิ้ว หรือสั่งจากเว็บอย่าง iHerb เอานะคะ ตอนนี้ทางบริษัทL’oreal Thailand ก็ได้นำเอาสินค้าในแบรนด์ CeraVe เข้ามาจำหน่ายในไทยแล้วค่ะ ไม่ต้องสั่งบนเว็บ ไม่ต้องหิ้วให้เหนื่อยต่อไป

แบรนด์ CeraVe นี่เป็นแบรนด์เวชสำอางบำรุงผิวที่พัฒนาร่วมกับแพทย์ผิวหนังชั้นน้ำของอเมริกา มีราคาที่จับต้องได้ หาซื้อได้ง่าย และเป็นที่นิยมทั่วโลกเลยทีเดียวค่ะ

ซึ่งส่วนตัวมี่มีโอกาสได้ไปร่วมงานเปิดตัวของ CeraVe ในไทยเมื่อช่วงปลายเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมาค่ะ

แอบกระซิบว่าบางสูตรที่เข้าไทย ผ่านการวิจัยและปรับสูตรเพื่อให้เหมาะกับการใช้ในอากาศบ้านเราด้วยค่ะ

หลังจากลองใช้สูตรใหม่มาซักพัก วันนี้เลยอยากขอเอาหยิบเอากลุ่มบำรุงมาวิเคราะห์ส่วนผสมให้ได้ชมกันค่ะ

วันนี้ขอเปิดฉากการวิเคราะห์ส่วนผสมด้วยผลิตภัณฑ์สูตรบำรุงที่เรียกได้ว่าเป็นตัวเด่นของ CeraVe ที่เปิดตัวในครั้งนี้ จะเป็นตัว Moisturizing lotion ที่มาในเนื้อโลชั่น และ Moisturizing  cream ที่มาในเนื้อครีมเข้มข้นค่ะ

หน้าตาเป็นแบบนี้นะคะ

cera 1

ในสูตรโลชั่น นางจะมาใน 2 ขนาด คือ ขนาดเล็ก 88 ml และขนาดใหญ่ 473 ml ค่ะ

ตัวที่มี่ได้มาจะเป็นขนาดใหญ่ที่มาในขวดแบบปั๊มค่ะ ใช้กันจุใจมาก

cera 2

เนื้อสัมผัสจะเป็นเนื้อโลชั่น ไม่มีน้ำหอม อาจจะได้กลิ่นจางๆของวัตถุดิบอยู่ค่ะ

cera 5

เกลี่ยได้ง่าย ลื่น สบายผิว

cera 6

ซึมค่อนข้างไว ให้สัมผัสบางเบา ไม่เหนอะหนะ

cera 7

ส่วนสูตรครีม ก็มาด้วยกัน 2 ขนาด เช่นกัน ขนาดเล็กเป็นแบบหลอดบีบ 50 ml และขนาดใหญ่ 454 กรัม

ที่มี่ได้มาจะเป็นขนาดใหญ่นะคะ ใช้กันจุใจเช่นเคย

cera 3

ในส่วนของตัวครีมเนื้อจะข้นกว่าค่ะ แต่ก็ไม่ได้เหนอะหนะ หรือมันเยิ้มจนรำคาญผิวเลย

cera 4

ทั้งสองสูตรมีเนื้อสัมผัสที่ต่างกันเล็กน้อยค่ะ โดยตัวครีมเนื้อจะเข้มข้นกว่าเนื้อโลชั่นค่ะ

cera 8

ถึงจะดูข้น แต่ก็เกลี่ยง่าย และไม่เหนอะหนะ หนักผิว

cera 9

ส่วนผสมก็จะค่อนข้างคล้ายกัน ต่างกันที่สารขึ้นเนื้อครีมที่ใช้ค่ะ

 

ก่อนไปดูวิเคราะห์ส่วนผสม มี่อยากเล่าให้ฟังถึงองค์ประกอบของ Barrier ผิวเรา และเทคโนโลยี MVE ที่ทางแบรนด์ใช้ซักหน่อยนะคะ

 

ในผิวชั้นนอกของเรา จะมีส่วนประกอบที่สำคัญอยู่ 3 อย่าง ที่ทำหน้าที่เป็นตัวปกป้องรักษาความชุ่มชื้นให้คงอยู่ในผิว และป้องกันไม่ให้สารอันตรายต่างๆเข้ามาในผิว ที่เราเรียกกันว่า Barrier ผิวค่ะ

สิ่งเหล่านี้ได้แก่

  1. ไขมันที่เรียงตัวเป็นชั้นๆ หรือ Lipid lamellar
  2. สารชอบน้ำ ที่เรียกว่า Natural moisturizing factor เช่น พวกกรดอะมิโน น้ำตาล ยูเรีย และอิออนบางชนิด
  3. โปรตีนเคราติน และการเรียงตัวแบบสลับซับซ้อนของเซลล์ผิวที่ตายแล้วในชั้นนอก ที่ชื่อ Corneocyte

 

ว่ากันว่า ไขมันนั้นสำคัญที่สุดในการเป็น Barrier ของผิวนะคะ

แน่นอนว่า ไขมันนี้ เป็นคนละชนิดกับ น้ำมัน Sebum ที่หลั่งออกมาจากต่อมไขมันในรูขุมขนนะคะ

ไขมันส่วนนี้อยู่ในผิวชั้นนอกของเรา เรียงตัวเป็นชั้นๆ ประกอบด้วยไขมัน 3 ชนิดหลักๆ คือ Ceramide, Cholesterol และ กรดไขมันค่ะ

และองค์ประกอบที่พบมากที่สุดในไขมันนี้ก็คือ Ceramide ที่พบได้เกือบถึง 50% เลยทีเดียว และนางก็มีความสำคัญมากกับความแข็งแรงของ Barrier ผิว

Ceramide นั้นมีหลายชนิดค่ะ แต่ชนิดที่มีความสำคัญคงหนีไม่พ้น Ceramide 1 แต่ทางเครื่องสำอางเราไม่ค่อยนำมาใช้กัน เพราะปัญหาเรื่องความคงตัว เลยหยิบเอา Ceramide 3 ที่คงตัวดีกว่ามาใช้กันเสียมากกว่า

ข้อดีอย่างหนึ่งของ CeraVe ก็คือ ใช้ Ceramide 3 ชนิด คือ Ceramide 1, Ceramide 3 และ Ceramide 6-II ในสัดส่วนที่เหมาะสมเพื่อเสริมการฟื้นฟู Barrier ผิวของเราได้อย่างลงตัวค่ะ

ส่วนเทคโนโลยี MVE นั้น เป็นเทคโนโลยีที่ทางแบรนด์เลือกใช้ในการนำส่งสารบำรุงเข้าสู่ผิวค่ะ

MVE นั้นย่อมาจาก Multivesicular emulsion ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่มีทั้งสิทธิบัตร และงานวิจัยรองรับรับ โดยเป็นระบบนำส่งที่มีรูปร่างเป็นทรงกลมที่มีหลายๆชั้น คล้ายหัวหอม เวลาลงผิว ก็จะค่อยๆปลดปล่อยออกมาทีละชั้น ทำให้สารเพิ่มความชุ่มชื้นต่างๆอยู่ในผิวได้นานขึ้น (Ref: J Clin Aesthet Dermatol. 2016; 9(12): 26–32.)

หน้าตาก็จะประมาณนี้ค่ะ

MVE

(Image source: Draelos ZD in Cosmetic Dermatology: Products and Procedures)

 

ถึงเวลาของช่วงวิเคราะห์ส่วนผสมแล้วค่ะ

เริ่มที่ตัว lotion

สผส lotion

ต่อด้วยตัว cream

สผส cream

จากส่วนผสมมี่ได้ทำแถบสีเอาไว้นะคะ ซึ่งทั้งสองสูตรก็ทำมาคล้ายๆกัน ต่างแค่ที่สัดส่วนของสารขึ้นเนื้อครีมเฉยๆ

ในส่วนของสารบำรุงสีม่วงจะเป็นส่วนของสารไขมันที่เป็นองค์ประกอบของ Barrier ผิวค่ะ ซึ่งได้แก่

  • Ceramides ทั้ง 3 ชนิด คือ Ceramide 1, 3 และ 6-II ซึ่งถือว่าเป็นการเลือกเซราไมด์ได้อย่างชาญฉลาด ผิวหนังของคนเราประกอบด้วย Ceramides อยู่หลายชนิดก็จริง อันนี้ขอลงลึกนิดหน่อย ถ้าแบ่งแบบง่ายๆ เราสามารถแบ่ง Ceramides ในผิวได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ ตามชนิดของกรดไขมันที่เป็นองค์ประกอบในโมเลกุล คือ Ceramides กลุ่ม N เป็น Ceramide ที่มีกรดไขมันชนิดปกติ กลุ่ม A มีกรดไขมันที่มีหมู่ Hydroxyl ที่ตำแหน่ง alpha-carbon และกลุ่ม EO มีกรดไขมันชนิดที่มีการ Esterified บริเวณ Hydroxyl ตำแหน่ง Omega ว่ากันว่า เซราไมด์กลุ่ม EO จะมีความสำคัญมากที่สุดในการทำให้ Barrier ของผิวแข็งแรง และผิวเราต้องมีสัดส่วนของ Ceramide A, N และ EO ที่เหมาะสมถึงมีผิวแข็งแรง ทีนี้ทางแบรนด์ก็เลยหยิบเอาเซราไมด์ตัวแทนจากแต่ละกลุ่มมาใส่ในครีม ถึงบอกว่านี่คือการใช้ได้อย่างชาญฉลาด
  1. Ceramide AP เป็น Ceramide ในกลุ่ม A มีชื่ออีกชื่อว่า Ceramide 6 II
  2. Ceramide NP เป็น Ceramide ในกลุ่ม N มีชื่ออีกชื่อว่า Ceramide 3 ตัวนี้เป็นเซราไมด์ชนิดที่พบมากที่สุดในผิวเรา
  3. Ceramide EOP เป็น Ceramide ในกลุ่ม EO ที่มีกรดไขมันสายยาวๆอยู่ แต่จากแหล่งข้อมูล มี่ก็ยังมีความสับสนอยู่ เพราะ Ceramide 1 ที่แท้ทรูคือ Ceramide EOS
  • Cholesterol เป็นอีก 1 องค์ประกอบที่สำคัญของ Barrier ผิว
  • Caprylic/capric glycerides เป็นไขมันชนิด Triglycerides ซึ่งผิวเราสามารถย่อยสลายแปรสภาพได้เป็นกรดไขมัน กับ Glycerin

สีฟ้า เป็นสารบำรุงอื่นๆ ได้แก่

  • Sodium hyaluronate ซึ่งมีประโยชน์ในการเพิ่มความชุ่มชื้น
  • Tocopherol หรือวิตามินอี เป็น antioxidant ที่น่าจะใส่ลงมาเพื่อปกป้องสารไขมันในสูตรไม่ให้เสื่อมสภาพ

 

ส่วนของเนื้อหลัก มาในรูปแบบของอิมัลชั่น ประกอบด้วย น้ำ สารดูดน้ำเพิ่มความชุ่มชื้น และ สารไขมัน ไม่มีส่วนผสมของ Alcohol

 

มาถึงตรงนี้หลายคนอาจจะเกิดคำถาม กฺ็ชั้นเห็นอยู่ทนโท่ตำตา ว่ามี Cetyl aclhol, Stearyl alcohol และ Cetearyl alcohol ทำไมมียอนถึงบอกว่าไม่มี Alcohol

นั่นก็เพราะว่า ชื่อ Alcohol สั้นๆ แบบนี้ในทางเครื่องสำอาง เราจะหมายถึง Ethyl alcohol หรือ Ethanol ที่มีผสมในไวน์ เหล้า รวมถึงที่เราเอามาเช็ดฆ่าเชื้อ

Alcohol นี้ จริงๆในเครื่องสำอางใส่ลงไปเพื่อให้ความรู้สึกสดชื่น และรู้สึกแห้ง เบาสบายผิว แต่ข้อเสียของเค้าคือ นางอาจจะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวได้ในบางคนค่ะ

ส่วน Cetyl alcohol, Stearyl alcohol และ Cetearyl alcohol นั้นจะเป็น Alcohol ที่มีขนาดใหญ่ มีจำนวน Carbon ที่สูง กลายเป็นสารในกลุ่มไขมัน ที่เรียกว่า Fatty alcohol ไปแล้ว ไม่ละลายในน้ำเหมือนเจ้า Ethyl alcohol ตัวเล็กๆ

ในทางเครื่องสำอางเราเอา Fatty alcohol มาใช้ในเชิงการเพิ่มเนื้อให้ครีมข้น สวยงาม นางยังให้ประโยชน์ในการเพิ่มความคงตัวให้กับเนื้อครีม และในด้านผิวพรรณ นางยังให้คุณสมบัติเพิ่มความชุ่มชื้นแก่ผิวเราด้วย

 

ทีนี้หลายคนเห็น Dimethicone อาจจะเริ่มคิดว่าอีเจ้านี่เป็น Silicone จะดีหรือ? จริงๆ Dimethicone นี่เป็น Silicone ตัวพื้นฐานที่ค่อนข้างมีประโยชน์ และมีข้อมูลความปลอดภัยที่ดีนะคะ นางมีขนาดที่ใหญ่มาก ไม่ดูดซึมลงไปในผิว จึงมีความเสี่ยงต่ำในการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ นางมีความสามารถในการเคลือบปกป้องผิวไม่ให้น้ำระเหยออกจากผิว และมีสัมผัสที่บางเบานุ่มนวล ไม่เหนอะหนะ

 

มาให้คะแนนดีกว่าค่ะ วันนี้ส่วนผสมมีไม่ค่อยเยอะมาก ขอแบ่งให้คะแนนเป็น 2 หมวดนะคะ

  1. ส่วนผสม ถ้าพิจารณาในด้านของส่วนประกอบที่เกี่ยวข้องกับ Barrier ผิวทั้งหมด ตัวนี้ยังถือว่าขาดกลุ่ม NMF อยู่นะคะ แต่ถ้าพิจารณาในด้านของสารไขมันที่เสริมสร้าง Barrier ผิวทั้งหมด ตัวนี้ถือว่าทำมาได้ดี และมีความชาญฉลาด ที่เลือกใช้เซราไมด์ทั้ง 3 กลุ่มหลัก คือ A, N และ EO ตามชนิดที่เป็นองค์ประกอบของ Barrier ผิว ส่วนผสมทุกตัวที่ใส่มามีความเป็นมิตรกับผิวดีค่ะ และอย่าลืมประเด็นของเรื่อง MVE technology ด้วย จุดนี้ขอให้คะแนนแบบในภาพรวม ขอให้ไป 4 ฟลาสก์
  2. การใช้งาน ถ้าดูจากส่วนผสมของสูตรครีม จะเห็นว่ามีส่วนผสมของ Petrolatum อยู่ด้วย ซึ่งสารนี้เป็นสารที่ดีมากในการเคลือบปกป้องผิว แต่ข้อเสียของนางคือมีความเหนอะหนะสูง เราก็คิดว่าจะเหนอะหนะ แต่พอใช้จริงไม่เลย นางซึมไวให้สัมผัสที่บางเบามาก ไม่เหนอะหนะเลย ในส่วนของสัมผัสหลังใช้ก็ถือว่าค่อนข้างดีค่ะ เบาสบายผิว เอามาทาได้ทั้งหน้าและตัวค่ะ ส่วนตัวมี่มีผิวผสม/แห้งลองใช้แล้วก็ถือว่าชอบนะคะ ระหว่างวันไม่มันเยิ้ม และก็ไม่แห้งตึงจนเกินไป แต่หน้าหนาวอาจจะเอาไม่อยู่ ไว้จะมาอัพเดทกันอีกทีค่ะ ตอนนี้ขอให้ 5 ฟลาสก์ไปก่อนนะคะ

 

คะแนน CeraVe

สุดท้ายนี้ต้องขอขอบคุณทางแบรนด์ CeraVe ด้วยนะคะที่ส่งผลิตภัณฑ์ดีๆมาให้มี่ได้ทดลองใช้ และขอบคุณทุกท่านด้วยค่ะที่ติดตามรับชมมาจนจบ

สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ทางแบรนด์ CeraVe ได้โดยตรงเลยนะคะ

https://www.facebook.com/CeraveThailandOfficial/

 

พบกันใหม่โอกาสถัดไป สวัสดีค่ะ

Disclaimer/conflict of interests: ผลิตภัณฑ์นี้ได้รับมาจากทางแบรนด์ CeraVe การรีวิวครั้งนี้เป็นการวิเคราะห์ส่วนผสมตามหลักการทางวิทยาศาสตร์เครื่องสำอางและอาศัยความเห็นส่วนบุคคล และผู้เขียนไม่ได้มีผลประโยชน์ใดๆในการขายสินค้า โปรดใช้วิจารณญาณ

Image

รีวิว/วิเคราะห์ส่วนผสม ครีมบำรุงผิวกาย เพื่อผิวขาวกระจ่างใส Lansley Cinderella aura bright Overnight body cream

สวัสดีค่ะ

วันนี้ลองปรับโหมดมาดูรีวิวผลิตภัณฑ์ Body care บ้างนะคะ

เรียกได้ว่าการจะหาครีมบำรุงผิวตัวที่ใส่สารบำรุงมาแน่นๆนี่หายากนะคะ ส่วนมากจะเป็นกลุ่มของสารไขมันทั่วไป กับสารดูดน้ำเฉยๆ ทาแล้วผิวนุ่มเนียนก็จบ

วันนี้มี่เลยขอเอาครีมบำรุงผิวตัวสำหรับกลางคืน อารมณ์คล้ายๆ Sleeping mask สำหรับผิวตัวมาฝากกันค่ะ

เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อว่า Cinderella aura bright จากไลน์ Lansley ของแบรนด์ Beauty Buffet นั่นเองค่ะ

มาด้วยคอนเซปท์ “กู้ผิวโทรม ปลอดประโลมผิวสวย ชั่วข้ามคืน”

 

หน้าตาเป็นแบบนี้ค่ะ

 

cin 3.JPG

ตัวครีมมาในกระปุกสีชมพูสวยงามค่ะ

cin 4

เนื้อครีมค่อนข้างข้น สีชมพูอ่อน กลิ่นหอมนวลๆค่ะ

cin 1

ถึงจะดูข้น แต่กลับเกลี่ยง่าย ซึมไวมาก ถ้าใครผิวมันแรกๆอาจจะหนึบๆนิดหน่อย แต่ผิวแห้งนี่คือโอเคเลย

cin 2

ตัวนี้ไม่ได้วัดค่า pH ให้นะคะ ตัวครีมน่าจะมีออยล์อยู่ในระดับหนึ่ง กระดาษวัด PH ไม่เปียก ไม่เปลี่ยนสี เลยวัดค่าไม่ได้ค่ะ

 

มาดูส่วนผสมกันดีกว่าค่ะ

ส่วนผสมเป็นตามรูปเลยค่ะ

สผส cin

วันนี้ส่วนผสมมีความหลากสีอีกแล้วหละ ถ้าเราดูที่ความหลากสีจะเห็นว่ามีสารบำรุงอยู่หลายชนิดเหมือนกันนะ

  • ขอเริ่มจากสีชมพู เป็นกลุ่มของสารสกัดจากไข่มุก และผงไข่มุก ซึ่งทางแบรนด์เคลมว่าใช้ไข่มุกรวมกัน 3 ชนิด คือ มุกขาว มุกดำ และมุกอโกย่าจากญี่ปุ่น บนกล่องเราก็จะเห็นว่ามีรูปไข่มุกอยู่ 3 เม็ด ซึ่งไข่มุกก็จะประกอบด้วยแร่ธาตุหลายชนิดที่ช่วยบำรุงผิว
    • ตัวมุกอโกย่า ทางแบรนด์เคลมว่า ประกอบด้วยโปรตีน Conchiolin protein ที่มีกรดอะมิโนหลายชนิด และยังมีแร่ธาตุอีกหลายชนิด ช่วยให้ผิวดูมีสุขภาพดี
  • สีเขียว เป็นกลุ่มของสารบำรุงที่มีประโยชน์ด้าน Whitening
    • ตัวที่น่าสนใจคือ สารสกัดจาก Wild thyme (Thymus serpillum extract) ตัวนี้เป็นวัตถุดิบที่มีชื่อว่า Cinderella care ของญี่ปุ่น ผู้ผลิตวัตถุดิบเคลมว่ามีผลออกฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของโปรตีน Kinesin ที่ทำหน้าที่ส่งผ่านเมลานินที่สร้างเสร็จแล้วออกไปยังด้านนอกให้เรามองเห็นเป็นสีผิว ทางผู้ผลิตทำการทดสอบประสิทธิภาพในอาสาสมัครเป็นเวลา 2 สัปดาห์ พบว่า มีจุดด่างดำที่จางลง
    • Diglucosyl gallic acid (DGA) ตัวนี้เป็นวัตถุดิบที่ได้รับรางวัลเหรียญทองจากงาน in-cosmetics เมื่อปี 2015 ผู้ผลิตวัตถุดิบ Claim ว่าเป็นสารที่เรียกว่า Skin complexion optimizer ช่วยปรับสมดุลให้ผิวกระจ่างใส มีกลไกการออกฤทธิ์ที่สลับซับซ้อนโดยสาร Diglucosyl gallic acid จะถูกแปรสภาพโดยจุลินทรีย์เจ้าบ้าน (หรือ Normal flora) บริเวณผิวชั้นนอก ให้ได้เป็นสารออกฤทธิ์ที่ให้ผลลดการอักเสบ ลดการสร้างเม็ดสี
    • Glutathione เป็น peptide ที่นอกจากคุณสมบัติ Antioxidant แล้ว ยังสามารถยับยั้งการสร้างเม็ดสีได้
    • Niacinamide เป็นรูปแบบหนึ่งของวิตามินบี 3 สารตัวนี้สามารถเป็น Whitening ช่วยปรับสภาพสีผิวให้สม่ำเสมอ โดยไปรบกวนการส่งผ่านของเมลานินที่สร้างเสร็จแล้ว ลดการอักเสบในผิว เพิ่มการไหลเวียนเลือด ช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้ผิวโดยไปกระตุ้นการสร้าง Ceramides กรดไขมัน และไขมันชนิดต่างๆในหนังกำพร้า และยังเป็น Antioxidant ด้วย (Int J Cosmet Sci 2005; 27:255–261)
  • สีน้ำตาล เป็นกลุ่มของสารสกัดจากผลไม้ อย่าง อ้อย ส้ม มะนาว และแอปเปิ้ล มีวิตามิน AHA จากธรรมชาติ และน้ำตาล ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิว
  • สีน้ำเงิน Melanin ข้อมูลจากผู้ผลิตวัตถุดิบระบุว่าสารนี้ให้คุณสมบัติในการปกป้องผิวจากแสงสีน้ำเงิน (Blue light) ที่มาพร้อมกับแสงอาทิตย์ และจากแหล่งอื่นๆ เช่น จอคอมพิวเตอร์ จอโทรศัพท์
  • สีฟ้า เป็นกลุ่มของสารบำรุงอื่นๆค่ะ ซึ่งมีประโยชน์รวมหลายด้านเลยทีเดียว

 

โดยรวม สารบำรุงที่ใส่มามีประโยชน์หลายๆด้าน ไม่ว่าจะเป็น Whiteing, ลดการอักเสบระคายเคือง เพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิว

ถ้าพิจารณาที่ด้าน Whitening สารบำรุงที่ใส่มาออกฤทธิ์เสริมกันผ่าน 2 กลไก คือ ยับยั้งการสร้างเม็ดสี + ยับยั้งการส่งผ่านเม็ดสีที่สร้างเสร็จแล้วไม่ให้ออกไปด้านนอก

 

ตัวเบสมาในเบสแบบอิมัลชั่น ประกอบด้วยน้ำ น้ำมันและซิลิโคน ไม่มีสารที่ไม่เป็นมิตรกับผิว

มาให้คะแนนกันดีกว่าค่ะ

 

  1. สารบำรุง หรือ Actives มีสารบำรุงหลายชนิด มีประโยชน์โดยรวมในด้าน Whitening ลดการอักเสบระคายเคืองให้ความรู้สึกสบายผิว เพิ่มความชุ่มชื้น และปกป้องผิวจาก Blue light ที่อาจจะมากับหน้าจอคอม หรือโทรศัพท์ ถ้าพิจารณาด้าน Whitening เฉยๆ ถือว่าทำมาได้ผ่าน 2 กลไก จุดนี้ขอให้ 4 ฟลาสก์
  2. ส่วนผสมอื่นๆ ตัวเบสเป็นเนื้อแบบอิมัลชั่น ประกอบด้วย น้ำ น้ำมัน และซิลิโคน ไม่มีส่วนผสมของสารอื่นที่ไม่เป็นมิตรกับผิว ให้ไป 5 ฟลาสก์
  3. การใช้งาน ถึงแม้เนื้อครีมจะค่อนข้างข้น แต่เกลี่ยได้ค่อนข้างง่าย ซึมไวแห้งไวไม่เหนอะหนะ ให้ความชุ่มชื้นผิวได้นานตลอดทั้งคืน กลิ่นค่อนข้างหอมละมุน ส่วนเรื่อง Whitening ถือว่าทำมาได้ดี ส่วนตัวมี่หลังใช้มาประมาณเกือบเดือน คิดว่าจุดด่างดำต่างๆบนแขนนั้นดูสม่ำเสมอขึ้นค่ะ ให้ไป 5 ฟลาสก์

 

คะแนน cin.jpg

สุดท้ายนี้ต้องขอขอบคุณทางแบรนด์ Beauty buffet ด้วยนะคะที่ส่งผลิตภัณฑ์ดีๆมาให้มี่ทดลองใช้ และขอบคุณทุกท่านด้วยค่ะที่ติดตามรับชมมาจนจบ

พบกันใหม่โอกาสถัดไป สวัสดีค่ะ

Disclaimer/conflict of interests: ผลิตภัณฑ์นี้ได้รับมาจากทางแบรนด์ การรีวิวครั้งนี้เป็นการวิเคราะห์ส่วนผสมตามหลักการทางวิทยาศาสตร์เครื่องสำอางและอาศัยความเห็นส่วนบุคคล ผู้เขียนไม่ได้มีผลประโยชน์ใดๆในการขายสินค้าและไม่ได้รับค่าตอบแทนในการรีวิว โปรดใช้วิจารณญาณ

Image

รีวิว/วิเคราะห์ส่วนผสม โลชั่นบำรุงผิวกายงานดีย์สำหรับผิวแห้ง และผิวผู้สูงอายุ จากแบรนด์ Piti dry skin expert

สวัสดีค่ะ

ผิวแห้งถือเป็นอีกปัญหาที่รบกวนใจหลายคน ผิวแห้งไม่ใช่ว่าจะดี เพราะตอนผิวแห้งจะมีการเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบต่างๆตามมา ทำให้เกิดอาการคัน แดง และถ้าเรายิ่งไปเกาก็จะเสี่ยงติดเชื้อ อันตรายขึ้นไปอีก

หนึ่งในหลายๆวิธีการที่ง่ายที่สุดในการดูแลผิวแห้งก็คือการใช้ Moisturizer ทาเข้าไปเพื่อเติมน้ำ และไขมันคืนให้ผิว

วันนี้มี่เลยขอหยิบเอาโลชั่นเพิ่มความชุ่มชื้นที่น่าสนใจจากฝีมือคนไทย แบรนด์ปิติ Piti Dry skin expert ที่มีความคิดริเริ่มมาจากความต้องการทำโลชั่นเพื่อดูแลผิวคุณพ่อคุณแม่ของเจ้าของแบรนด์ ซึ่งมีผิวแห้งมาก จนรบกวนคุณภาพชีวิตประจำวัน พอคุณพ่อคุณแม่ใช้แล้วดีมีความสุข ทางแบรนด์ก็เลยอยากส่งต่อ ความรักและความสุขจากการใช้ผลิตภัณฑ์นี้ให้กับทุกคนค่ะ

ปิติ เป็นโลชั่นที่น่าสนใจ เพราะนอกจากส่วนผสมจะทำมาได้ดีแล้ว ในเรื่องของสัมผัส และเนื้อผลิตภัณฑ์ก็ทำมาได้ดีด้วย และยังผสานด้วยกลิ่นที่เป็นน้ำมันหอมระเหยแท้ๆ มีประโยชน์ในการเป็น Aromatherapy ช่วยให้ความผ่อนคลายระหว่างใช้ด้วยค่ะ

โลชั่นของปิติมีด้วยกัน 4 สูตรค่ะ

piti 1.JPG

สีเขียว กลิ่น Florest

สีฟ้า กลิ่น Breezy

สีชมพู กลิ่น Rose geranium

สีส้ม กลิ่น Orangery

 

มาในขวดปั๊ม ตอนเปิดขวดใหม่ๆจะแอบปั๊มยากนิดนึง เพราะตัวเนื้อโลชั่นค่อนข้างข้นค่ะ ด้วยส่วนผสมของน้ำมันและไขมันที่ค่อนข้างเยอะ เลยได้เนื้อโลชั่นที่ข้น แต่ความข้นนี้ก็มีประโยชน์ในการดูแลเคลือบปกป้องผิวให้ชุ่มชื้นได้ยาวนานค่ะ

 

กลิ่นของทั้ง 4 สูตร จะต่างกันตามชื่อกลิ่นค่ะ

piti 3

สีเขียว กลิ่น Florest มีส่วนผสมของน้ำมันหอมระเหย Lavender, กระดังงา และ Geranium เปิดมาด้วยกลิ่นโทน Herb ของ Geranium ผสานกับกลิ่นของ Lavender และตัดให้อ่อนโยนลงด้วยกระดังงา ให้ความรู้สึกผ่อนคลายและสดชื่น

สีชมพู กลิ่น Rose geranium มีส่วนผสมของน้ำมันหอมระเหยจาก Geranium ตัดให้ละมุนด้วยสารหอม Citronellol กับ Geraniol ที่ให้กลิ่นไปในโทนกุหลาบที่มีความ Green แบบสมุนไพรหน่อยๆ ให้ความรู้สึกผ่อนคลาย

piti 2

สีฟ้า กลิ่น Breezy มีส่วนผสมของน้ำมันหอมระเหย Lavender, Lemongrass, Peppermint ตัดให้หวานขึ้นด้วยสารหอม Linalool ที่มีกลิ่นดอกไม้ ถือเป็นการเลือก Blend น้ำมันหอมระเหยได้ลงตัว เปิดมาด้วยความหวานซ่อนเปรี้ยวของ Lemongrass ตามมาด้วยกลิ่นเย็นๆสดชื่นของ Mint แฝงด้วยความนุ่มนวลในโทนดอกไม้ของ Lavender และ Linalool

 

สีส้ม กลิ่น Orangery มีส่วนผสมของน้ำมันหอมระเหยจากมะนาว ส้ม Grapefruit, Lavender, และ Sandalwood และ ขิง เปิดมาด้วยกลิ่นในโทนตระกูลส้ม แต่ไม่ได้ส้มแบบหวานแหลม เป็นส้มแบบผู้ดีที่ตัดมาด้วยกลิ่นของ Lavender กลิ่นเย็นๆของ Sandalwood และกลิ่นอบอุ่นของขิง กลายเป็น signature blend ที่น่าสนใจตัวหนึ่งเลย

 

เนื้อโลชั่นมาในเนื้อสีขาว ดูข้นหน่อยๆ คล้ายครีม มีกลิ่นหอมตามสูตรค่ะ

piti 4

ตัวโลชั่นถึงแม้จะดูข้น แต่กลับเกลี่ยง่าย ไม่เป็นปื้นขาวบนผิว และซึมไว ไม่เหนอะหนะ แต่มีฟิล์มบางๆเคลือบผิวให้ผิวนุ่มชุ่มชื้น

piti 5

ในด้านของค่า pH วันนี้ไม่ได้วัดให้นะคะ ตัวโลชั่นมีออยล์ค่อนข้างมาก กระดาษวัด pH ไม่เปียกและเปลี่ยนสีเลยค่ะ

 

มาดูส่วนผสมกันดีกว่าค่ะ

มี่ขอยกสูตรที่ชอบที่สุด คือ Breezy มาวิเคราะห์ส่วนผสมให้ชมกันนะคะ

ส่วนผสม

สผส piti

จากส่วนผสมวันนี้มี่ทำสีของสารบำรุงไว้ 4 สี นะคะ จะเห็นว่า ส่วนผสมส่วนใหญ่เป็นน้ำมันธรรมชาติ และสารบำรุงผิว แต่งกลิ่นด้วยน้ำมันหอมระเหยและสารหอมจากธรรมชาติค่ะ ไม่มีส่วนผสมของสารที่ไม่เป็นมิตรกับผิวเลย

ในด้านของสารบำรุงขอเปิดด้วย

  • สีฟ้า: Hydroxyethyl urea ตัวนี้เป็นอนุพันธ์ของ Urea มีคุณสมบัติที่ดีในการเพิ่มความชุ่มชื้น ลดการแห้งเป็นขุย เพิ่มความยืดหยุ่น และช่วยให้สัมผัสเรียบเนียน
  • สีม่วง: เป็นกลุ่มของน้ำมันจากธรรมชาติ ประกอบด้วย Caprylic/capric triglycerides ซึ่งเป็นไขมันที่มีสายยาวไม่มากนัก และ น้ำมันจากพืชอีก 4 ชนิด ได้แก่ มะพร้าว รำข้าว มะกอก และ Shea butter
  • สีเขียว: สารบำรุง และสารสกัดพืช ซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด ได้แก่
    • สารสกัดจากเมล็ด Evening primrose ข้อมูลจากผู้ผลิตวัตถุดิบระบุว่า มีคุณสมบัติในการเพิ่มความชุ่มชื้น ลดการอักเสบและระคายเคือง ทางผู้ผลิตกล่าวว่าให้ผลดีในอาสาสมัครที่มีอาการผิวอักเสบแบบ Atopic
    • Rehmannia Chinensis extract สารสกัดจากต้น Chinese fox glove เป็นพืชพื้นบ้านของที่ชาวญี่ปุ่นใช้เป็นยาทาภายนอกมาตั้งแต่สมัยโบราณ ข้อมูลจากผู้ผลิตวัตถุดิบระบุว่าเป็นสารเพิ่มความชุ่มชื้น ลดการอักเสบระคายเคือง และช่วยให้ผิวนุ่มนวล สารสกัดจากใบพีช ผู้ผลิตวัตถุดิบระบุว่าสารสกัดจากใบมีประโยชน์ในการชะลอวัย ลดริ้วรอย
    • Phellodendron amurense bark extract สารสกัดจากพืชในตำรับยาจีนชนิดหนึ่ง มีรายงานเกี่ยวกับคุณสมบัติในการต้านการอักเสบ (Int Immunopharmacol. 2014; 19(2):214-20.) ข้อมูลจากผู้ผลิตวัตถุดิบระบุว่า ประกอบด้วยสารอัลคาลอยด์ที่มีชื่อว่า Berberine มีประโยชน์ในการลดการอักเสบ และต่อต้านเชื้อจุลินทรีย์ และเป็น Antioxidant
    • สารสกัดจากสาหร่าย (Algae extract) ซึ่งสาหร่ายมีหลายสายพันธุ์จึงไม่สามารถฟันธงในรายละเอียดได้ โดยรวมสาหร่ายมีประโยชน์ในการเพิ่มความชุ่มชื้น และเป็น antioxidant
    • สารสกัดจากพลูคาว (Houttuynia cordata extract) ข้อมูลจากผู้ผลิตวัตถุดิบระบุว่ามีประโยชน์ ลดการอักเสบระคายเคือง และ ช่วยในการสมานผิว
    • สารสกัดจากกระเจี๊ยบ (Hibiscus esculentus fruit extract) ประกอบด้วยสารในกลุ่ม Polysaccharide ที่มีประโยชน์ในการเพิ่มความชุ่มชื้น
    • สารสกัดจากอาร์ติโช๊ค (Cynara scolymus leaf extract) ข้อมูลจากผู้ผลิตวัตถุดิบระบุว่ามีประโยชน์ ลดการอักเสบระคายเคือง และต่อต้านจุลินทรีย์
    • สารสกัดจากผลเกรฟฟรุ๊ต (Citrus junos fruit extract) มีประโยชน์ในการเพิ่มความชุ่มชื้นและเป็น antioxidant
    • Tocopheryl acetate คือรูปแบบหนึ่งของวิตามินอี มีประโยชน์เป็น Antioxidant แต่น่าจะช่วยปกป้องน้ำมันในผลิตภัณฑ์ไม่ให้เสื่อม
    • Biosaccharide gum-1 คาร์โบไฮเดรตที่ได้จากการหมักจุลินทรีย์ ผู้ผลิตวัตถุดิบระบุว่ามีคุณสมบัติเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิวได้ค่อนข้างนาน สารนี้มีคุณสมบัติก่อฟิล์มให้ความรู้สึกชุ่มชื้นนุ่มนวล ไม่เหนอะหนะ ไม่มัน
  • สีน้ำเงิน: สารหอม และน้ำมันหอมระเหย ได้แก่ สารหอม Linalool ที่มีกลิ่นหอมหวานในโทนดอกไม้ ร่วมกับ น้ำมันหอมระเหยจากลาเวนเดอร์ ตะไคร้ และ เปปเปอร์มินท์ ให้ความรู้สึกสดชื่นและผ่อนคลาย นอกจากนี้ในทาง Aromatherapy เชื่อว่า น้ำมันหอมระเหยเหล่านี้มีประโยชน์ในการบำรุงผิว ลดการอักเสบและระคายเคือง และช่วยในการสมานผิว

 

ตัวเบสเป็นเบสแบบอิมัลชั่น ประกอบด้วยน้ำ และน้ำมัน มีทั้งสารเติมน้ำ เติมน้ำมัน และสารไขมันเคลือบปกป้องผิว ถือเป็นโลชั่น Moisturizer ที่ทำมาได้ครบ ที่สำคัญคือไม่มีส่วนผสมของซิลิโคน และแอลกอฮอล์ และไม่มีสารที่ไม่เป็นมิตรกับผิว

 

ให้คะแนนกันดีกว่านะคะ

  1. สารบำรุง เป็นกลุ่มของสารสกัดจากพืช ซึ่งส่วนใหญ่นำเข้ามาจากต่างประเทศ เน้นประโยชน์ไปในด้านลดการอักเสบและระคายเคืองของผิว พร้อมๆกับการเพิ่มความชุ่มชื้น ซึ่งเป็นปัญหาที่สำคัญปัญหาหนึ่งของคนที่มีผิวแห้ง เสริมมาด้วยน้ำมันจากพืช ที่เป็นตัวทดแทนไขมันคืนให้แก่ผิว เวลาเราอายุเพิ่มขึ้น การสังเคราะห์ไขมันที่เป็น Barrier ผิวจะทำได้ลดลง การเติมพวกนี้เข้าไปก็เหมือนเป็นการช่วยผิวอีกทางหนึ่ง และในน้ำมันจากพืชก็จะมีสารที่เป็นพวก Phytosterol ที่ให้ประโยชน์ในการลดการอักเสบและระคายเคืองได้อีกทอดหนึ่ง โดยรวมถือว่าทำมาได้ดีและเหมาะกับผิวแห้งและผิวของผู้สูงอายุ แต่ไม่ใช่ว่าจะต้องมารอสูงอายุถึงจะมาใช้ได้ เด็กๆ วัยรุ่นที่มีปัญหาผิวแห้ง ก็สามารถใช้ได้ค่ะ ส่วนตัวมี่เองอายุยังแค่ต้นๆเลข 3 ก็ยังใช้เป็นประจำเลย ตอนเช้าหลังอาบน้ำเสร็จ ในด้านสารบำรุงขอให้ไป 5 ฟลาสก์
  2. ส่วนผสมอื่นๆ ตัวเบสเป็นเบสแบบอิมัลชั่น เนื้อจะค่อนข้างข้น สมกับคำเคลมของแบรนด์ที่บอกว่า “เป็นโลชั่นระยะสุดท้ายก่อนจะกลายเป็นครีม” นั่นเพราะมีส่วนผสมของสารไขมันค่อนข้างเยอะ ตัวครีมเลยข้น แต่ถึงจะข้น ก็ยังให้สัมผัสบางเบา และไม่เกิดปื้นขาวตอนทา ตัวเบสไม่มีแอลกอฮอล์ ไม่มีซิลิโคน และไม่มีสารที่ไม่เป็นมิตรกับผิว ให้ไป 5 ฟลาสก์
  3. การใช้งาน ตอนแรกที่ลอง อิชั้นแอบชอบกลิ่น Rose geranium นะ ไปๆมาๆ กลับชอบกลิ่น Breezy มากกว่าค่ะ ทุกๆกลิ่นนาง Blend มาได้ค่อนข้างดี และเป็นเอกลักษณ์ ประหนึ่งทาน้ำหอมคุณภาพ โดยเฉพาะกลิ่น Orangery ที่เป็นการ Blend ระหว่าง กลิ่นในโทนซิตรัส (พืชตระกูลส้ม) ขิง ลาเวนเดอร์ และกลิ่นไม้จันทน์ เป็นกลิ่นที่เราหาดมได้ยากค่ะ เดี๋ยวจะหาว่าชอบแต่กลิ่น Texture ของตัวโลชั่นเขาก็ทำมาดีค่ะ เพียงแต่ในวันที่หนาวมากๆ (มีวันหนึ่งที่เชียงราย 8 องศา) ตัวโลชั่นมันก็จะเกลี่ยยากหน่อยๆ ต้องวอร์มบนมือซักพัก ให้ไออุ่นจากมือช่วยให้นางหลอมลง ก่อนละเลงบนตัว ทาเช้า ผิวชุ่มชื้นไปถึงเย็น ไม่ต้องอาบน้ำกลางคืน (อุ๊ยสกปรก 55) ก็นอนไปทั้งอย่างนั้นได้เลย ไม่เหนอะหนะ ไม่ลื่นไม่เมือก ส่วนเรื่องเหงื่อออกแล้วจะลื่นหรือเยิ้มไหม อันนี้มี่ยังไม่มีเหงื่อค่ะ ช่วงนี้แถวบ้านค่อนข้างเย็น ไว้จะมาอัพเดทอีกทีเนอะ ในด้านของคะแนนการใช้งานก็ขอให้ไป 5 ฟลาสก์ เช่นกันค่ะ

 

คะแนน piti

สุดท้ายนี้ขอขอบคุณทางแบรนด์ Piti ปิติ ด้วยนะคะ ที่ส่งผลิตภัณฑ์ดีๆมาให้มี่ได้ทดลองใช้ และขอบคุณทุกๆท่านด้วยค่ะที่ติดตามรับชมมาจนจบ

สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ทางแบรนด์โดยตรงเลยนะคะ

Line ID : @piti

https://www.facebook.com/pitidryskinexpert/

www.pitidryskinexpert.com

 

Disclaimer/conflict of interests: ผลิตภัณฑ์นี้ได้รับการสนับสนุนจากทางแบรนด์ Piti การรีวิวครั้งนี้เป็นการวิเคราะห์ส่วนผสมตามหลักการทางวิทยาศาสตร์เครื่องสำอางและอาศัยความเห็นส่วนบุคคล และผู้เขียนไม่ได้มีผลประโยชน์ใดๆในการขายสินค้า โปรดใช้วิจารณญาณ

Image

รีวิว/วิเคราะห์ส่วนผสมเจลว่านหางจระเข้ Arosha Aloe vera soothing gel อโลเจลสูตรผสมสารสกัดพืชหลายชนิด

สวัสดีค่ะ

วันนี้มี่มีรีวิวเจลว่านหางจระเข้ หรือที่มี่ชอบเรียกว่า Aloe gel มาฝากกันค่ะ

เป็นของแบรนด์ Arosha Aloe vera soothing gel นะคะ

มาดูหน้าตากันก่อนเลยค่ะ

 

arosha.JPG

 

นางจะมาในหลอดบีบที่มีฝาปิดเป็นไม้นะคะ

 

 

 

เนื้อเจลเป็นเจลใสสีเขียว มีกลิ่นหอมอ่อนๆ

 

arosha-2

 

เกลี่ยได้ค่อนข้างง่าย มีความลื่น ชุ่มชื้น และเคลือบปกป้องผิวได้ค่ะ

 

arosha-3

 

มาทั้งทีไม่วิเคราะห์ส่วนผสมคงไม่ได้ มาดูส่วนผสมกันดีกว่าค่ะ

 

%e0%b8%aa%e0%b9%88%e0%b8%a7%e0%b8%99%e0%b8%9c%e0%b8%aa%e0%b8%a1-arosha

 

จากส่วนผสมตรงนี้ จะเห็นว่า ทางแบรนด์เลือกใช้ Niacinamide โดยใส่มาป็นลำดับ 3 ก่อนสารดูดน้ำอย่าง Glycerin เชียวค่ะ

ลำพังเจ้า Niacinamide นี้ก็ให้ประโยชน์หลายอย่างกับผิวแล้วหล่ะ

ผลของ Niacinamide ที่มีรายงานไว้ คือ เป็น Whitening ช่วยปรับสภาพสีผิวให้สม่ำเสมอ โดยไปรบกวนการส่งผ่านของเมลานินที่สร้างเสร็จแล้ว ลดการอักเสบในผิว ช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้ผิวโดยไปกระตุ้นการสร้าง Ceramides กรดไขมัน และไขมันชนิดต่างๆในหนังกำพร้า และยังเป็น Antioxidant ได้ด้วย (Int J Cosmet Sci 2005; 27:255–261)

เสริมมาด้วยสารสกัดจากพืชอีกหลายชนิด คือ

  • ว่านหางจระเข้ มีบทบาทด้านความชุ่มชื้น และให้ความรู้สึกสบายผิว (Soothing effect)
  • ชาเขียว เป็น Antioxidant ที่ดี สารสกัดจากชาเขียวเองก็เป็นสิ่งที่มีรายงานไว้ค่อนข้างเยอะเหมือนกันค่ะ เช่น เป็น antioxidant เป็น Moisturizer ให้ผลด้านการลดริ้วรอย เพิ่มความยืดหยุ่นให้แก่ผิว (Dermatol Ther. 2013;26(3):267-71.)
  • เปปเปอร์มินท์ ตัวนี้มี่หาข้อมูลเจอแต่ด้าน Antioxidant นะคะ อาจจะให้ความเย็นกับผิวก็ได้ ไม่แน่ใจค่ะ
  • Opuntia streptacantha stem extract เป็นสารสกัดจากต้นกระบองเพชรชนิดหนึ่ง เป็นชื่อพ้องของ Ountia ficus-indica เข้าใจว่าเป็นวัตถุดิบ Aquacacteen ของสวิตเซอร์แลนด์ ผู้ผลิตวัตถุดิบ Claim ว่าให้ผลลดการอักเสบ ให้ความรู้สึกสบายผิว และเพิ่มความชุ่มชื้น
  • Dioscorea villosa extract สารสกัดจาก Wild yam ข้อมูลจากผู้ผลิตวัตถุดิบระบุว่าประกอบด้วยสารกลุ่ม Saponin ที่ให้ผลลดการอักเสบ และให้ความรู้สึกสบายผิว

และยังมี Allantoin ที่ให้ผลด้าน Soothing เช่นกัน โดยรวมเราจะเห็นว่ากลุ่มของสารสกัดที่ใช้จะเน้นไปที่ด้านของการลดการอักเสบ และเป็น Soothing effect รวมทั้ง เพิ่มความชุ่มชื้น และเป็น Antioxidant

 

อีกจุดที่น่าสนใจคือ วัตถุดิบ Propanediol นั้น ผู้ผลิตวัตถุดิบ Claim ว่า ถ้าใช้ร่วมกับ Glycerin จะให้ผลเสริมฤทธิ์กันในการเพิ่มความชุ่มชื้นได้ดียิ่งขึ้น

 

ส่วนผสมอื่นๆยังไม่มีสารที่ไม่เป็นมิตรกับผิว

มาให้คะแนนกันดีกว่าค่ะ เนื่องจากส่วนผสมไม่ได้เยอะมาก มี่ขอแบ่งเกณฑ์เป็น 2 ข้อนะคะ

  1. ส่วนผสม อุดมด้วยสารสกัดจากพืชที่ให้ผลด้าน Soothing effect เพิ่มความชุ่มชื้น และอาศัยคุณสมบัติจากวิตามินบี 3 ให้ผลที่ดีกับผิวในหลายๆด้าน ไม่ว่าจะเป็น ลดการระคายเคือง ชุ่มชื้น ผิวแข็งแรง และ Whitening ซึ่งน่าจะครอบคลุมไปถึงรอยดำจากการอักเสบได้ด้วย ดูเป็นเจลอโลที่มีสารหลายชนิดแย่งกันเป็นพระเอกแทนอโล แต่ก็โอเคนะ เพราะทุกตัวก็มาในแนวทางเดียวกัน ไม่ได้มีอะไรมาหักล้างกันและกัน สารอื่นๆนั้นไม่มีสารที่ไม่เป็นมิตรกับผิว เลยขอให้ 5 ฟลาสก์
  2. การใช้งาน เป็นเจลที่เกลี่ยง่าย เคลือบผิวได้ดี และให้ความชุ่มชื้นได้ยาวนาน มี่เคยลองเอามาทาหลังออกแดดจัดๆ แล้วรู้สึกผิวร้อนๆ ก็ให้ผลที่ประทับใจอยู่ค่ะ ส่วนด้านความชุ่มชื้น ถ้าลองแบ่งมาใส่ถ้วยเล็กๆ แล้วไปแช่เย็น ก่อนจะเอาสำลีชุบมาโปะบนหน้านี่จะฟินมาก จุดนี้ถือว่าค่อนข้างชอบค่ะ ให้ไป 5 ฟลาสก์

 

%e0%b8%84%e0%b8%b0%e0%b9%81%e0%b8%99%e0%b8%99-arosha

 

สุดท้ายนี้ต้องขอขอบคุณทางแบรนด์ arosha ด้วยนะคะที่ส่งผลิตภัณฑ์ดีๆมาให้มี่ได้ทดลองใช้ และขอบคุณทุกๆท่านด้วยค่ะที่ติดตามมาจนจบ พบกันใหม่โอกาสถัดไป สวัสดีค่ะ

 

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมนั้นสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ทางแบรนด์โดยตรงเลยนะคะ

http://www.facebook.com/aroshathailand

 

 

Discliamer/conflict of interests: ผลิตภัณฑ์นี้ได้รับการสนับสนุนจากทางแบรนด์ Arosha การรีวิวครั้งนี้เป็นการวิเคราะห์ส่วนผสมตามหลักการทางวิทยาศาสตร์เครื่องสำอางและอาศัยความเห็นส่วนบุคคล ผู้เขียนไม่ได้รับค่าตอบแทนในการรีวิว และผู้เขียนไม่ได้มีผลประโยชน์ใดๆในการขายสินค้า โปรดใช้วิจารณญาณ