Image

[Skincare diet theory] การลดการใช้เครื่องสำอางจะช่วยให้สุขภาพผิวเราดีขึ้นจริงไหม ??

Disclaimer: บทความนี้เขียนขึ้นจากประสบการณ์ส่วนตัว ทั้งทางตรงและทางอ้อม และการอ่านจากบทความและ Blog ของต่างประเทศ ไม่มีหลักฐานทางวิชาการรองรับแบบแน่ชัด โปรดใช้วิจาณญาณในการรับชม และขอสงวนลิขสิทธิ์ในบทความทุกประการ

 

เชื่อว่าหลายๆท่านน่าจะเคยได้ยินเรื่องของ Skincare diet หรือ การลดการใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงเพื่อให้ผิวมีสุขภาพดีขึ้น

รวมไปถึงมีกระแส การหยุดใช้ Skincare ทุกชนิด เพื่อ Reset ผิว ให้กลับมาฟื้นฟูตัวเอง

 

เทรนด์เรื่องของ Skincare diet นี้เริ่มมาตั้งแต่ช่วงปลายปี 2018 มี Blogger และ Youtuber จากต่างประเทศหลายท่านนำเสนอ Skincare regimen ใหม่ ที่มีเพียงการบำรุงแค่ 2-3 ขั้นตอนแค่นั้นเอง การบำรุงผิวแบบนี้มีข้อดีข้อเสียอย่างไรถ้าเทียบกับการใช้การบำรุงผิวตามแบบฉบับของ K-beauty จากเกาหลี ซึ่งมีการบำรุงผิวหลายขั้นตอน จนมีชื่อเล่นในวงการว่า 10-steps skincare regimen

เชื่อว่าการทำ Skincare diet น่าจะมีรากฐานมาจากการบำรุงผิวแบบ J-beauty ที่มาจากญี่ปุ่น โดยคนญี่ปุ่นใช้ผลิตภัณฑ์เพียงน้อยชนิด ส่วนมากเป็นผลิตภัณฑ์สารพัดประโยชน์ หรือพวก All-in-one เพื่อลดเวลาการบำรุงผิวในช่วงเวลาอันเร่งด่วน

ส่วนตัวมี่เองในช่วงก่อนก็เริ่มมาจาก J-beauty ก่อนเปลี่ยนเป็น K-beauty ในช่วงปี 2015 และมาใช้ J-beauty ในช่วง 2018 ก่อนจะกลับมาเป็น K-beauty อีกครั้งในช่วงปีก่อน

ทีนี้การสร้าง Skincare regimen เราทำกันอย่างไร ???

สามารถตามไปอ่านแบบละเอียดได้ที่ Blog เรื่อง Skincare regimen ก่อนหน้านี้นะคะ >>Click<<

ซึ่งมีขอสรุปสั้นๆ ให้จบภายใน 3 ข้อค่ะ

  1. Skincare regimen แบ่งเป็น สิ่งที่เราทำทุกวัน เรียกว่า Routine care กับสิ่งที่ทำแค่ไม่กี่ครั้งใน 1 สัปดาห์ หรือ 1 เดือน เรียกว่า Special care
  2. สำหรับ Routine care เราจะเรียงตามหลักการพื้นฐาน คือ Clean-Care-Protect-Decorate
  3. สำหรับการบำรุง หรือ Care เราจะเรียงตามเนื้อเบาไปหาหนัก

 

ก่อนจะไปดู Skincare regimen ของทั้งสองแบบ มี่ขอทำตารางสรุปความแตกต่างระหว่าง J-beauty กับ K-beauty ให้ได้ชมกันก่อนนะคะ

JK 1

J-beauty จะค่อนข้างเรียบง่าย ซึ่งส่วนตัวมี่ขณะใช้ J-beauty Skincare regimen เป็นตัวบำรุงชุดนี้ค่ะ

แบบที่ 1: ใช้ All-in-one เป็นตัวหลักในการบำรุง

J-beauty 3

เริ่มจากการใช้น้ำตบ DHC F1 lotion ตามด้วยทา All-in-one gel

แบบที่ 2: เสริม Serum น้ำผึ้งของ Herbery earth เข้ามา

J-beauty 1

พอเราเริ่มรู้สึกว่าผิวเราไม่นุ่ม ไม่เด้ง เริ่มกรอบ ก็จะใช้เซรั่มน้ำผึ้งที่มีประโยชน์เติมน้ำเข้ามาเสริมค่ะ

แบบที่ 3: ช่วงผิวเริ่มมัน เปลี่ยน All-in-one gel เป็น Holika Holika skin & Good cera all-in-one master

J-beauty 2

สิ่งที่สัมผัสได้ในช่วงที่ลดการใช้สกินแคร์ลงคือ

  1. ผิวดูมีสุขภาพดีขึ้น สว่าง ไม่หมองคล้ำ จับแล้ว นุ่มนวล ละเอียด รูขุมขนแลดูกระชับ
  2. ระหว่างวันไม่มันเยิ้ม รองพื้นไม่ดรอป เมคอัพไม่เลือนหาย แลดูสดเหมือนพึ่งแต่ง

แต่จะมีบางช่วงที่เรารู้สึกว่าผิวขาดน้ำคือ สัมผัสแล้วกระด้าง ตบแล้วไม่เด้ง เหี่ยว เราก็จะปรับ Regimen ใหม่อีกครั้ง

 

ต่อมาจะเป็นการยกตัวอย่าง K-beauty ของมี่นะคะ

K-beauty 1

มีอยู่ทั้งหมด ขั้นตอนค่ะ

  1. BHA Toner
  2. DHC F1 fresh lotion
  3. Eye cream
  4. Marine collagen serum
  5. Serum น้ำผึ้ง
  6. It’s Skin GF effector
  7. โลชั่นน้ำดอกมะลิ
  8. ครีมปลาดาว
  9. โทนเนอร์นมแพะ (อันนี้ถึงจะชื่อโทนเนอร์ แต่เนื้อเป็นแบบครีม ค่อนข้างมัน)

ถ้าเป็นกลางวันจะจบด้วยนมแพะ แล้วทากันแดดค่ะ

ถ้าเป็นกลางคืน จะทาต่อด้วย

  1. Real barrier cream
  2. Olive oil ของ Watsons จีน
  3. Mamonde rose pack เป็นบางวัน (Special care)

 

ช่วงนี้ผิวจะนุ่มลื่มชุ่มชื้นค่อนข้างมาก แต่ใช้เวลากับการบำรุงผิวค่อนข้างนานเหมือนกันค่ะ

 

เอาหละ เราลองมาดูหลักการพื้นฐานของการทำ Skincare diet นะคะ

Skincare diet ที่เป็นที่นิยม ทำได้ 2 แบบใหญ่ๆ

  1. หยุดทุกอย่าง เพื่อ Reset ผิว ทาแค่กันแดดในตอนกลางวัน (ส่วนตัวไม่แนะนำเพราะว่า หลังล้างหน้า ไขมันที่ดี และสารอุ้มน้ำจากผิวจะถูกชะล้างออกไปด้วย เราควรเติมน้ำและน้ำมันคืนให้ผิว)
  2. ลดจำนวนลง เหลือแค่ราวๆ 2 – 3 ชิ้น ตามความต้องการผิว (ไม่นับยาที่ต้องใช้ตามแพทย์/เภสัชกร)

 

เพราะฉะนั้นการจะเริ่ม Skincare diet สิ่งที่เราต้องทำก่อน คือ โฟกัส หาปัญหาผิวของเราก่อน ว่าเราอยากบำรุง หรือ มีปัญหา มีความต้องการอะไรเป็นพิเศษไหม ก่อนค่อยมาเลือกสกินแคร์ค่ะ

เช่น

  • ผิวแห้ง: Hyaluron + Ceramide
  • ไวท์เทนนิ่ง: วิตามินซี บี3 และสาร Whitening ต่างๆ
  • ริ้วรอย: วิตามินซี บี3 เอ และสารบำรุงต่างๆที่ช่วยดูแลเรื่องริ้วรอย
  • สิว: BHA toner หรือ Witch hazel + ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารกระชับรูขุมขน
  • รอยแดง: กลุ่มเติมน้ำ และ กลุ่ม Soothing เช่น ว่านหางจระเข้ Rose water
  • ผิวบอบบางแพ้ง่าย: Hyaluron + Ceramide

 

สำหรับประโยชน์และข้อจำกัดของ Skincare diet เท่าที่มี่พยายามรวบรวมมาคือ

ประโยชน์

  1. ใช้เวลาในการดูแลผิวลดลง
  2. ประหยัดเงินในการซื้อสกินแคร์มากขึ้น
  3. สภาพผิวดีขึ้น (สำหรับบางคน)
  4. ลดการสัมผัสสารเคมีที่ไม่จำเป็นกับผิว ทำให้สุขภาพผิวดีขึ้น

ข้อจำกัด

  1. ผลิตภัณฑ์เพียงไม่กี่อย่างอาจไม่ตอบโจทย์ทุกปัญหาผิว
  2. ผิวอาจแห้งระหว่างวัน

 

สำหรับส่วนตัวมี่มีมุมมองเกี่ยวกับเรื่อง Skincare diet คือ ถ้ามีปัญหาผิวแห้ง จะใช้วิธีนี้ได้ค่อนข้างยากค่ะ เพราะเราอาจจะรู้สึกว่า มอยส์เจอร์ที่ใช้อาจจะยังไม่เพียงพอ

ส่วนคนที่มีปัญหาผิวมัน อาจจะรู้สึกว่า ลดจำนวนชิ้นของ Skincare ลงแล้วสบายผิวมากขึ้น

  1. สุดท้ายนี้อยากบอกว่า การตอบสนองของแต่ละคนต่อเครื่องสำอางจะไม่เหมือนกันนะคะ บางคนใช้แล้วดี แต่บางคนอาจจะไม่ดีก็ได้
  2. การแพ้ การระคายเคือง การอุดตัน เป็นเรื่องที่ไม่สามารถคาดเดาได้แบบ 100% แต่การอ่านส่วนผสมและเลี่ยงสารที่เคยเกิดปัญหาให้เรา จะช่วยลดโอกาสเกิดอาการเหล่านี้ได้ โดยหลักการพื้นฐานคือ คนที่เคยแพ้ส่วนผสมหนึ่งๆ มักจะเกิดการแพ้ซ้ำๆ กันได้อีกกับสารเดิม หรือ สารที่มีโครงสร้างคล้ายๆกัน (ชื่อคล้ายๆกัน)
  3. การเลือกผลิตภัณฑ์ บางทีก็เหมือนเป็นการลองผิดลองถูก เราอาจจะต้องลองดูว่า แบบไหนถึงจะได้ผลิตภัณฑ์ และ Regimen ที่ดี และเหมาะสมกับผิวเรามากที่สุด

 

 

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s