Image

รีวิว/วิเคราะห์ส่วนผสมเจลบำรุงปรับสภาพผิว DrGL Restore gel mask

สวัสดีค่ะ

วันนี้มี่มีรีวิว/วิเคราะห์ส่วนผสมของ Gel Mask ชื่อดังจากเกาหลีของแบรนด์ Dr.GL มาฝากกันค่ะ

แบรนด์ Dr.GL นี้เป็นแบรนด์ที่พัฒนามาจากประสบการณ์ทางด้านความงาม และการรับฟัง Feedback จากคนไข้ต่างๆ ของคุณหมอท่านหนึ่งที่เกาหลี และเลือกใช้ส่วนผสมที่มีประสิทธิภาพในปริมาณที่เหมาะสม และไม่ใช้ส่วนผสมมากชนิดเกินไปค่ะ อย่างปกติที่เราเห็นสกินแคร์ของเกาหลี คือพี่ท่านมักจะอัดเต็ม ใส่ส่วนผสมสารพัดลงไป แต่แบรนด์นี้จะมาแบบเรียบ แต่จบครบ ตามคอนเซปท์ของผลิตภัณฑ์แต่ละชิ้นค่ะ

คอนเซปท์ของแบรนด์คือ “maximum efficacy minimum fuzz”

จะกล่าวง่ายๆ ว่า เป็นแบรนด์เวชสำอางสายคลีนก็ว่าได้

(Image from DrGL official Korea Website)

อย่างวันนี้ตัวที่หยิบมารีวิว/วิเคราะห์ส่วนผสมจะเป็นผลิตภัณฑ์ Restore gel mask ค่ะ

มีหน้าตาแบบนี้นะคะ

สำหรับเนื้อของผลิตภัณฑ์ก็จะมาในรูปแบบของ Gel สีฟ้าอมน้ำเงิน ซึ่งสีฟ้าอมน้ำเงินตัวนี้ไม่ได้เป็นสีสังเคราะห์แต่อย่างใด แต่เกิดจากสารธรรมชาติที่มีชื่อว่า Guaizulene ที่ปกติเราเจอในน้ำมันหอมระเหยของคาโมมายล์ แต่ว่าทางแบรนด์เลือกเป็น Guaizulene ที่ได้มาจากเห็ดสีน้ำเงิน ที่มีชื่อว่า Lactarius indigo ค่ะ

เกลี่ยง่าย ให้ความรู้สึกสบายผิว มีกลิ่นหอมแนวธรรมชาติ (แต่เป็น Fragrance นะคะ) ซึมไหว หนึบๆ นิดหน่อย แต่พอทิ้งไว้สักพักก็จะซึมลงไปจนหมด

เจลตัวนี้มีวิธีใช้ได้หลายแบบนะคะ

  • เอามาผสมกับ Product อื่นๆ ในแบรนด์ Dr.GL เพื่อเพิ่มคุณสมบัติพิเศษ เช่น เอาเจลนี้ 2 ปั๊ม มาผสมกับ Essence Anti-aging ก็จะได้คุณสมบัติด้าน Anti-aging เข้ามาค่ะ
  • ใช้เป็น Moisturizer ทั่วไป ก็ปั๊มออกมาราวๆ 1 ปั๊ม วอร์ม แล้วเกลี่ยลงบนหน้า จบค่ะ
  • ใช้เป็น Intensive mask ก็ปั๊มออกมาสักราวๆ 3 – 4 ปั๊ม พอกไปบนหน้า ทิ้งไว้สัก 20 นาทีก่อนเช็ดเจลส่วนเกินออก ทางแบรนด์บอกว่าเช็ดออก แต่ส่วนตัวไม่ได้เช็ดออกนะคะ ผ่านไปแป๊บเดียวผิวดิฉันก็กระหายกินมันไปจนหมด

สำหรับส่วนผสมเป็นดังนี้ค่ะ

ส่วนผสมวันนี้มี่ทำสีไว้ 5 สีค่ะ

สีชมพู ส่วนตัวมองว่าเป็นตัวเอกของผลิตภัณฑ์ค่ะ

  • Sodium guaiazulene sulfonate ตัวนี้เป็นสารพฤกษเคมีที่ปกติพบในน้ำมันหอมระเหยของคาโมมายล์ แต่ตามที่แบรนด์เคลมคือสกัดมาจากเห็ดสีฟ้า มีคุณสมบัติเด่นในแง่การลดการอักเสบระคายเคือง และให้ความรู้สึกสบายผิว
  • Rutin เป็นสารในกลุ่ม Flavonoid ที่มีประโยชน์หลายอย่างไม่ว่าจะเป็นด้าน Antioxidant รวมไปถึงด้านการลดการอักเสบระคายเคือง

สีม่วง เป็นกลุ่มของสารที่เด่นในด้านของการลดการอักเสบระคายเคือง และให้ความรู้สึกสบายผิว ก็จะเป็นขาประจำ กับตัวที่มีความ Rare หน่อย ดังนี้ค่ะ

  • ขาประจำอย่าง สารสกัดจากชะเอม คาโมมายล์ และ Beta-glucan
  • สารสกัดจากผล Gardenia multiflora ตัวนี้ทางผู้ผลิตเคลมว่าประกอบด้วยสารในกลุ่มของ Flavonoid และ Ferulic acid ที่เป็น Antioxidant และมีประโยชน์ในด้านของการลดการอักเสบระคายเคือง และให้ความรู้สึกสบายผิว รวมถึงลดการบวม ซึ่งส่วนตัวมองว่า เหมาะเอามาใช้เป็น Soothing หลังออกแดด หรือหลังทำทรีทเมนท์ค่ะ (แต่ทางนี้ไม่เคยทำนะคะ เลยไม่รู้ว่าจะ work ไหม แต่ทาหลังออกแดดนานๆ คือ ปลื้มปริ่มอยู่ โดยเฉพาะถ้ายิ่งเอาไปแช่เย็น)
  • Menadione เป็นรูปแบบหนึ่งของวิตามินเค ซึ่งมีประโยชน์ในการดูแลผู้ที่มีปัญหาเรื่องเส้นเลือดฝอย อย่างภาวะ Couperosis หรือ ภาวะ Rosacea (Lautenschläger, H. Kosmetik International. 2005; 7:89)

สีฟ้า Lactobacillus ferment อันนี้เคลมไปในเชิงของ Probiotic/Postbiotic ที่เสริมภูมิคุ้มกันของผิวหนัง ช่วยให้ผิวแข็งแรง

สีส้ม เป็นกลุ่มของสารที่มีประโยชน์ในเชิงการป้องกันริ้วรอย

สีเขียวแก่ เป็นกลุ่มของสารพฤกษเคมีที่พบได้ในบัวบก อย่าง Asiaticoside, Asiatic acid, Madecassic acid ซึ่งโดดเด่นหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นด้านของ Antioxidant ลดการอักเสบระคายเคืองให้ความรู้สึกสบายผิว และเสริมการสังเคราะห์คอลลาเจน การสมานแผล

เจลมาในเบสแบบน้ำ ไม่มีส่วนผสมของน้ำมัน แอลกอฮอล์ และซิลิโคน รวมถึงสารที่ไม่เป็นมิตรกับผิวอื่นๆ

มาให้คะแนนกันดีกว่าค่ะ

  1. สารบำรุง ตัวนี้โดดเด่นในแง่ของการลดการระคายเคือง ให้ความรู้สึกสบายผิว เน้น Soothing effect สมกับชื่อ Restore ของผลิตภัณฑ์ รวมไปถึงพวก Antioxidant ชะลอวัย และช่วยให้ผิวแข็งแรง ถ้ามองแค่ความเป็น Soothing/Anti-irritant ถือว่าน้องทำมาได้ดีมาก จัดไป 5 ฟลาสก์
  2. ส่วนผสมอื่นๆ นางไม่มีส่วนผสมของสารที่ไม่เป็นมิตรกับผิว ไม่มีจุดให้หักคะแนน รับไป 5 ฟลาสก์
  3. การใช้งาน ส่วนตัวค่อนข้างชอบ Feeling ของเจลนะคะ ด้วยความบางเบา แต่ถ้าเอามาใช้อย่างเดียวเพื่อเป็น Sleeping mask ด้วยความที่มี่มีผิวผสม/แห้ง รู้สึกได้เลยว่าไม่พอ ยังต้องทาครีมทับอีกชั้นหนึ่ง ขอให้ไป 4 ฟลาสก์

Disclaimer/conflict of interests: ผลิตภัณฑ์นี้ได้รับมาจากเพื่อน การรีวิวครั้งนี้เป็นการวิเคราะห์ส่วนผสม/วัตถุดิบตามหลักการทางวิทยาศาสตร์เครื่องสำอางและอาศัยความเห็นส่วนบุคคล ผู้เขียนไม่ได้มีผลประโยชน์ใดๆในการขายสินค้า โปรดใช้วิจารณญาณ

[Cosme-Diagnosis] รีวิวจัดเต็ม ไวท์เทนนิ่งไทยๆ Skin secret ดีงามไม่แพ้ของนอก

[Cosme-Diagnosis] รีวิวจัดเต็ม ไวท์เทนนิ่งไทยๆ Skin secret ดีงามไม่แพ้ของนอก

วันนี้มี่แวะมารีวิวไวท์เทนนิ่งของคนไทย ที่ส่วนผสมหรูหราไม่แพ้ของนอกให้ชมกันค่ะ

ผลิตภัณฑ์ที่จะรีวิววันนี้มีชื่อว่า Skin Secret Brightening serum ค่ะ

ผลิตภัณฑ์ตัวนี้ออกแบบมาสำหรับทุกสภาพผิว ไม่มีส่วนผสมของน้ำหอม และสารกันเสียกลุ่ม Parabens ซึ่ง สารกันเสียกลุ่มนี้หลายๆประเทศ Ban เพราะเคยมีรายงานว่าสารพวกนี้ไปเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งบางประเภทได้

มาดูกันดีกว่าค่ะ

ss 1

ตัวผลิตภัณฑ์บรรจุในกล่องกระดาษ เรียบง่าย ดูหรูหรา สะอาดตา มีคำโปรยบนกล่องว่า “Correcting the uneven skin tone, dark spots, and acne clear. Restores skin health and scar from photodamage” แปลเป็นไทยว่า ช่วยปรับสีผิวให้สม่ำเสมอ ลดจุดด่างดำ ลดสิว ช่วยฟื้นฟูสุขภาพผิวและริ้วรอยที่เกิดจากแสงแดด

ขวดเป็นขวดทรงกระบอกสี่เหลี่ยม น่าจะเป็นอคริลิกใสคล้ายคริสตัล ข้างในมีกระบอกสีเงินอุ้มผลิตภัณฑ์ข้างในไว้อีกชั้นหนึ่ง

ss 2

ลักษณะเนื้อผลิตภัณฑ์จะเป็นซีรัมใสๆ มีกลิ่นหอมอ่อนๆ เกลี่ยง่าย ดูดซึมไวค่ะ

ss 6

พอดูดซึมหมด ก็จะไม่ทิ้งร่องรอยอะไรไว้บนผิว

ss 3

ค่า pH ก็กำลังดีกับผิวพอดี อยู่ที่ประมาณ 5

ss 4

ลองมาดูส่วนผสมกันดีกว่านะคะ

ss 5

จากลำดับส่วนผสมจะเห็นว่า Niacinamide หรือวิตามินบี 3 มาเป็นลำดับที่ 3 ก่อน Propanediol กับ Glycerin ที่เป็นสารดูดน้ำเสียอีก สารอื่นๆก็ให้ผลเรื่องของการเป็นไวท์เทนนิ่งได้ดี

ปกติเราจะแบ่งสารส่วนผสมในเครื่องสำอางเป็น 3 กลุ่ม ค่ะ

1. Actives หรือ สารออกฤทธิ์ เป็นสารที่ทำให้เครื่องสำอางมีคุณสมบัติพิเศษต่างๆ

2. Base หรือ ส่วนเนื้อของผลิตภัณฑ์ เป็นตัวอุ้มและเก็บสารออกฤทธิ์ไว้

3. Additives หรือ ส่วนของสารเติมแต่ง เป็นตัวเติมแต่งให้ผลิตภัณฑ์มีความน่าใช้ มีความปลอดภัย เช่น พวกสารกันเสีย พวกน้ำหอม พวกซิลิโคน ตัวเพิ่มความหนืด ฯลฯ

ลองมาไล่ไปทีละตัวเลยดีกว่า

คุณสมบัติสารแต่ละตัวแยกตามหน้าที่

1.Actives ได้แก่
– Niacinamide เป็นรูปแบบหนึ่งของวิตามินบี 3 มีรายงานว่า สารตัวนี้สามารถเป็น Whitening ช่วยปรับสภาพสีผิวให้สม่ำเสมอ โดยไปรบกวนการส่งผ่านของเมลานินที่สร้างเสร็จแล้ว ลดการอักเสบในผิว เพิ่มการไหลเวียนเลือด ช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้ผิวโดยไปกระตุ้นการสร้าง Ceramides กรดไขมัน และไขมันชนิดต่างๆในหนังกำพร้า (Int J Cosmet Sci 2005; 27:255–261
– Undecylenoyl phenylalanine มีชื่อทางการค้าว่า Sepiwhite MSH ของบริษัท Seppic มีประโยชน์เป็น Whitening โดยไปยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ alpha-MSH ซึ่งปกติมีหน้าที่กระตุ้นให้ไทโรซิเนสทำงาน ให้มีการสร้างเมลานินมากขึ้น และไปกระตุ้นกระบวนการ Melanosome transfer ซึ่งเป็นกระบวนการสุดท้ายที่เอาเมลานินที่สร้างเสร็จเข้าสู่เซลล์ผิวและเห็นเป็นสีผิว ตัวนี้มีเทคโนโลยี Vectorized amino acid ที่เอากรดอะมิโนมาจับกับโครงสร้างอื่นที่เป็นสายยาวๆ เพื่อให้โมเลกุลละลายในไขมันได้มากขึ้น เพิ่มความคงตัวและการดูดซึมเข้าผิว ข้อมูลจากบริษัท ชี้ว่า มีประสิทธิภาพสูงมากในการยับยั้งกระบวนการสร้างเมลานินแบบครบวงจรเมื่อยืนยันกับข้อมูลจากงานวิจัยสองฉบับ คือ J Cosmet Dermatol. 2009;8(4):260-6. ทดสอบประสิทธิภาพในอาสาสมัคร เป็นเวลา 8 สัปดาห์ พบว่าประสิทธิภาพในการช่วยให้ผิวขาวจะดีขึ้นเมื่อใช้ร่วมกับ Niacinamide กับอีกงานวิจัยที่ทดสอบกับอาสาสมัคร เป็นเวลา 12 สัปดาห์ พบว่ามีประสิทธิภาพทำให้จุดด่างดำต่างๆจางลง (Clin Exp Dermatol. 2010;35(5):473-6)
– Mandelic acid เป็นสารในกลุ่ม AHA ชนิดหนึ่ง ให้ผลเร่งการผลัดเซลล์ผิว บางแหล่งข้อมูลบอกว่าให้ผลลดการอักเสบ และมีคุณสมบัติระงับเชื้อได้ด้วย มีการทดสอบเชิงคลินิกกับอาสาสมัครที่เป็นสิว พบว่าถ้าใช้ Mandelic acid ร่วมกับ Salicylic acid จะให้ผลลดสิว และรอยจากสิวได้เป็นอย่างดี (Dermatol Surg. 2009;35(1):59-65.)
– Aminobutyric acid ปกติสารนี้ในรูปแบบของ Gamma-aminobutyric acid (GABA) เป็นสารสื่อประสาทที่สร้างในสมอง ทำหน้าที่เป็นตัวระงับการทำงานที่มากเกินไป การใช้รูปแบบทาภายนอกมีรายงานกล่าวว่า สามารถฟื้นฟู Barrier ผิวที่เสียหายไปได้ (J Invest Dermatol. 2002;119(5):1041-7.) ลดการอักเสบ และช่วยเร่งการสมานแผล (J Microbiol Biotechnol. 2007;17(10):1661-9.) ผู้ผลิตวัตถุดิบ Claim ว่าการใช้ GABA ในเครื่องสำอางสำหรับทาภายนอก จะช่วยคลายกล้ามเนื้อ ให้ผลคล้าย Botox ได้ แต่ยังไม่มีรายงานการวิจัยรองรับ
– Lactic acid สารในกลุ่ม AHA ที่ได้จากการหมักนมด้วยจุลินทรีย์บางชนิด การออกฤทธิ์ขึ้นกับค่า pH โดยอาจจะให้ผลเป็นตัวเพิ่มความชุ่มชื้น หรือ ผลัดเซลล์ผิว สำหรับตัว Lactic ใน pH ประมาณ 4 จะให้ผลกระตุ้นการสังเคราะห์ Ceramide ในผิวได้ ซึ่ง Ceramide ทำหน้าที่เป็น Barrier function รักษาความชุ่มชื้นให้แก่ผิว
– Epilobium angustifolium extract สารสกัดจาก Willow herb มีรายงายเกี่ยวกับฤทธิ์ต้านเชื้อจุลชีพ (Curr Drug Targets. 2013; 14(9):986-91.) ฤทธิ์ในการปกป้องคอลลาเจนและอิลาสตินในผิวไม่ให้ถูกทำลายจากรังสี UV และช่วยให้เซลล์ Fibroblast ที่สร้างคอลลาเจนมีชีวิตยืนยาวขึ้น (ปกติคนที่อายุเพิ่มขึ้นเซลล์พวกนี้จะค่อยๆหายไป) (Gen Physiol Biophys. 2013; 32(3):347-59.) สารประกอบ Oenothein B ที่พบในพืชนี้มีประโยชน์เป็น Anti-oxidant และ Anti-inflammatory ที่ดี (Phytomedicine. 2011; 18(7):557-60.) และยังมีฟลาโวนอยด์อื่นๆที่เคยมีรายงานว่าสามารถยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสได้
– Nonapeptide-1 มีชื่อทางการค้าว่า Melanostatin 5 เป็นเปปไทด์ที่ออกฤทธิ์ต่อต้านฮอร์โมน MSH (Melanocyte stimulating hormone) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ไปกระตุ้นเซลล์ที่ชื่อ Melanocyte ให้เกิดการสร้างเมลานินออกมา
– Rumex occidentalis extract สารสกัดจากพืชชนิดหนึ่งในอเมริกาเหนือ มีรายงานการทดสอบประสิทธิภาพในการเป็น Whitening เมื่อใช้คู่กับ 1,18-octadecen-9-dioic acid (18-ODA) พบว่าอาสาสมัครที่ใช้มีผิวที่ขาวขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (Int J Cosmet Sci. 2012;34(6):575-81.) ข้อมูลจากผู้ผลิตวัตถุดิบระบุว่า สารนี้ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ Tyrosinase ได้แรงกว่า Arbutin และ Hydroquinone และให้ผลลดรอยแดงได้ด้วย (ข้อมูลจาก Tyrostat ของ Lucas Meyer Cosmetics)
– Betaglucan มีประโยชน์เรื่องการเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิว ลดการอักเสบ ปรับสมดุลภูมิคุ้มกัน และช่วยลดริ้วรอย
– Tocopherol คือ วิตามินอี มีประโยชน์เป็น Antioxidant แต่ส่วนมากมักจะให้ผลปกป้องสารในผลิตภัณฑ์ไม่ให้เสื่อมเพราะออกซิเจนในอากาศ
– Phenylethyl resorcinol อนุพันธ์ของ Resorcinol มีชื่อทางการค้าว่า Symwhite 377 มีคุณสมบัติช่วยให้ผิวขาวผ่านการยับยั้งเอนไซม์ Tyrosinase ที่เป็นตัวสร้างเมลานิน และเป็น Antioxidant ข้อมูลจากผู้ผลิตวัตถุดิบระบุว่า สารนี้ให้ผลเป็น Whitening ได้ดีกว่า Beta-arbutin 100 เท่า (แต่ปกติ Beta-arbutin ก็มีฤทธิ์น้อยอยู่แล้ว) การศึกษาในอาสาสมัคร เมื่อใช้ครีมที่มีส่วนผสมของสารนี้กับสาร Whitening อื่นๆ เป็นเวลา 12 สัปดาห์ พบว่าผิวขาวขึ้น (J Cosmet Dermatol. 2013;12(1):12-7.) ช่วยลดรอยฝ้าในอาสาสมัครได้ (J Cosmet Dermatol. 2011;10(3):189-96.)
– Arctostaphylos uva ursi extract สารสกัดจาก Bearberry ส่วนของใบมีรายงานว่ามีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียบางชนิด มีรายงานว่าส่วนของเปลือกและใบพบสาร Arbutin ที่มีฤทธิ์ยับยั้งการสร้างเม็ดสีผิวผ่านการยับยั้งเอนไซม์ Tyrosinase (Phytochem Anal. 2009;20(5):416-20.)
– Prunus serotina bark extract สารสกัดจากเปลือกต้นเชอร์รี่ ข้อมูลจากผู้ผลิตระบุว่าให้ผลเป็น Astringent (กระชับรูขุมขน) และให้ความรู้สึกสบายผิว
– Lonicera japonica กับ Lonicera caprifolium extract สารสกัดจากดอกสายน้ำผึ้ง ให้ผลเป็น Preservatives (สารกันเสีย)

2.Base ถ้าดูจากส่วนผสมก็มีทั้งน้ำและน้ำมัน แต่พอดูจากเนื้อผลิตภัณฑ์เป็นรูปแบบเจลใส (Hydrogel) ประกอบด้วยน้ำ และสารอื่นที่ละลายได้ในน้ำ ได้แก่ Propanediol และ Glycerin ให้ผลดูดน้ำให้กับผิว
– สารไขมันอย่างน้ำมันถั่วเหลืองกับ Capric/caprylic triglycerides ให้ผลเพิ่มความชุ่มชื้นแก่ผิว

3.Additives ได้แก่
3.1 Emulsifier/Surfactant ได้แก่ Polyglyceryl-4 caprate ให้ผลเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวได้ด้วย และ Phosphatidyl choline เป็นอีกชื่อหนึ่งของ lecithin ตัวนี้นอกจากผลผสานน้ำมันให้อยู่กับน้ำได้ อาจจะช่วยเรื่องการเก็บกักสารไว้ในระบบนำส่งได้ด้วย
3.2 สารเพิ่มความหนืด ได้แก่ Dextran กับ Xanthan gum
3.3 Preservatives ได้แก่ สารสกัดจากดอกสายน้ำผึ้งสองตัว กับ Benzyl alcohol
3.4 สารปรับ pH ได้แก่ Sodium hydroxide
3.5 น้ำมันหอมระเหยจากพืช ได้แก่ Lavender, Sandalwood, กระดังงา เป็นน้ำมันหอมระเหยที่ค่อนข้างโอเค ไม่ได้สุ่มเสี่ยงเหมือนพวก Citrus
* ในตำรา Aromatherapy จะระบุคุณสมบัติของ Lavender oil ในเรื่องของคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อต่างๆ ลดการอักเสบ และช่วยสมานแผล ทำให้น่าจะมีผลช่วยเรื่องสิวได้ด้วยค่ะ

ถึงเวลาให้คะแนน

1.Actives เรียกได้ว่ามาเต็ม และมากันหลายกลไกเลยทีเดียวในการเป็น Whitening ทำให้น่าจะได้ผลที่ดีเพราะสารออกฤทธิ์กันคนละจุด ช่วยเสริมฤทธิ์กันในการช่วยให้ผิวขาวขึ้น แต่ในส่วนผสมมี AHA อยู่ด้วย อาจจะทำให้ผิวบางได้ ถ้าใช้บ่อยๆ แต่ถ้าดูจากค่า pH ก็ถือว่าไม่ได้รุนแรงมากเกินไป อาจจะใช้แค่ก่อนนอน หรือ วันเว้นวัน ก็น่าจะให้ผลดีอยู่ จุดนี้ขอให้ 4 ฟลาสก์

2.Base ถ้าดูจากเนื้อสัมผัส น่าจะจัดอยู่ในกลุ่ม Hydrogel ในส่วนผสมประกอบด้วย Propanediol กับ Glycerin เป็นสารดึงน้ำให้ผิวอยู่ ตอนนี้ตัว Propanediol เรียกได้ว่ากำลังอยู่ในกระแสของตลาดเลยทีเดียว เพราะนางออกมาเพื่อต้าน Propylene glycol ด้วยคุณสมบัติที่คล้ายกัน แต่ตัวนางเหนือกว่าในด้านความปลอดภัย และในด้านของแหล่งกำเนิด เพราะ Propanediol สามารถได้จากการหมักข้าวโพด ซึ่งถือว่าเป็นธรรมชาติ ที่สำคัญคือไม่มีแอลกอฮอล์ จุดนี้ขอให้ 5 ฟลาสก์

3.Additives ตัวนี้ปราศจากสารกันเสียประเภท Parabens ไม่มีซิลิโคน และไม่มีน้ำหอม (โดยใช้น้ำมันหอมระเหยจากพืชมาแต่งกลิ่นแทน) อีกอย่างคือเรียกได้ว่าไม่มีสารกันเสีย เพราะใช้สารสกัดจากดอกสายน้ำผึ้งกับสารหอมอย่าง Benzyl alcohol แทน สารอื่นๆก็ไม่มีพิษไม่มีภัยอะไรกับผิว บางตัวยังมีประโยชน์พิเศษให้กับผิว จึงขอให้ 5 ฟลาสก์

4.คะแนนการใช้งาน ผลิตภัณฑ์เกลี่ยง่าย ดูดซึมค่อนข้างไว มีกลิ่นหอมอ่อนๆ แต่เนื้อสัมผัสจะเหลวไปนิดนึง หลังจากใช้มาได้ประมาณ 2 สัปดาห์ รู้สึกว่าจุดด่างดำจางลงไปบ้าง ขอให้ 4 ฟลาสก์

คะแนน

สุดท้ายนี้ต้องขอบคุณทางแบรนด์ Skin Secret ด้วยค่ะที่ส่งผลิตภัณฑ์ดีๆมาให้มี่ทดลองใช้

สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดต่อสอบถามได้ที่เฟสบุคแฟนเพจของผลิตภัณฑ์เลยค่ะ 🙂

https://www.facebook.com/skinsecret.skincare

ขอบคุณที่ติดตามอ่านมาจนจบค่ะ แล้วพบกันใหม่โอกาสหน้า สวัสดีค่ะ

Review Holika Holika Aloe 99% soothing gel

Review Holika Holika Aloe 99% soothing gel

วันนี้มี่เอา Aloe gel 99% ตัวหนึ่งมารีวิวให้ชมกันค่ะ

Aloe ตัวนี้มี่ไปเจอที่เกาหลี ตอนไปเที่ยวเมื่อเดือนมิถุนายน ปีที่แล้วพอดีเลยค่ะ ก็ไม่ได้อะไรมาก เห็นขวดมันสวยดีเลยซื้อมาค่ะ

ราคาที่เกาหลีอยู่ที่ 5900 วอน/250 ml ประมาณสองร้อยบาท ตก ml ละไม่ถึงบาท คุ้มมากๆ

หลังจากนั้นก็พรีออร์เดอร์มาใช้เรื่อยๆ จนตอนนี้ย่างเข้าหลอดที่สามแล้วค่ะ

นางมีชื่อว่า Aloe 99% Soothing gel ของ Holika Holika

มี่เรียกย่อๆเอง ว่า Aloe 99

เคยจัดอันดับตัวนี้เป็น Miyeon’s favorites 2014 ด้วยค่ะ ( Link: The best of 2014)

มาดูแพคเกจก่อนดีกว่าค่ะ

aloe 1-re

แพคเกจเป็นรูปใบว่านหางจรเข้ น่ารัก ฟรุ้งฟริ้ง มุ้งมิ้ง

สังเกตคำว่า “Holika Holika” ด้วยนะคะ

เมื่อประมาณปลายปี ไปเดินเล่นที่ร้านเครื่องสำอางสีชมพู ที่ห้างหนึ่งเชียงใหม่ ไปสะดุดกับขวดแบบนี้เข้า เกือบสอยละนะคะ ดีนะ ที่อ่านทัน แม่เจ้า นางเป็น Helika ค่ะ เกือบไปแล้ว

แต่แอบพลิกดูส่วนผสมนาง ก็ดูโอเคนะคะ เพียงแต่ ไม่รู้สินะ จะได้เฮ หรือเปล่า

ดูชื่อกันดีๆนะคะสาวๆ

ลองมาดูเนื้อสัมผัสดีกว่าค่ะ นางจะเป็นเจลยืดๆ เหมือนเมือกๆ ใสๆ กลิ่นคล้ายๆแตงกวา ทราบมาทีหลังว่าเป็นสารแต่งกลิ่น ก็แอบเสียใจนิดนึง แต่ก็ไม่เป็นไร ก็ให้ความรู้สึกดีไปอีกแบบ

aloe 5-re

มันจะลื่น เกลี่ยค่อนข้างง่าย แต่แห้งช้านิดนึง แล้วจะรู้สึกหนึบๆ บนผิวอยู่บ้างค่ะ

จะพยายามถ่ายความชุ่มของมันให้เห็น แต่มันไม่ติด เลยสาดแฟลชใส่ ทีนี้ชัดเลยค่ะ แฉะเชียว

aloe 3-re-horz

ซักประมาณ 3-5 นาทีก็จะแห้งสนิทค่ะ

ถ้าอยากฟินกว่านั้น บีบใส่ถ้วยเล็กๆ แล้วแช่ตู้เย็นไว้ แล้วเอามาโปะบนหน้า แล้วเอาผ้าก๊อซ หรือสำลี หรือแผ่นมาสค์ชีทเปล่าๆ แปะทับกลายเป็นมาสค์อโล จะฟินมากค่ะ

เวลาทำงานมาเหนื่อยๆ แปะเสร็จแล้วไปนอน เปิดเพลงเบาๆ หายเป็นปลิดทิ้งเชียวค่ะ

ดูกันมาเยอะ มาดูคำโปรยของผลิตภัณฑ์ดีกว่านะคะ

ตัวนี้ที่ Official Canada website ของ Holika Holika บอกว่า

“99 % fermented aloe vera leaf juice is contained.

  • Fermented contents maximize the effect of activating components like aloesin. So it helps your skin to be clear & healthy”

เค้าบอกว่าเค้าเอา Aloe ไปหมัก ทำให้สารออกฤทธิ์ดีขึ้น

อันนี้จริงไหม จริงค่ะ การหมัก จุลินทรีย์จะไปทำให้เกิดกระบวนการ Bio-conversion เปลี่ยนแปลงสารต่างๆของพืช ส่วนใหญ่ก็จะมีฤทธิ์เพิ่มขึ้นค่ะ

คุณสมบัติของ Aloe ที่มีรายงานการวิจัยสนับสนุนแล้วก็ได้แก่ Whitening, ลดการอักเสบ ลดการระคายเคือง และเพิ่มความชุ่มชื้นค่ะ

ลองมาดูส่วนผสมดีกว่าค่ะ

ตัวนี้ส่วนผสมเป็นภาษาเกาหลีทั้งหมดเลย

ตัวมี่กำลังหัดสะกดฮันกึล (อักษรภาษาเกาหลี) ได้ซักพักแล้วค่ะ เลยลองแกะดู ก็พอจะได้ข้อมูลดังรูปนี้ค่ะ

aloe สผส

ปกติเราจะแบ่งสารส่วนผสมในเครื่องสำอางเป็น 3 กลุ่ม ค่ะ
1. Actives หรือ สารออกฤทธิ์ เป็นสารที่ทำให้เครื่องสำอางมีคุณสมบัติพิเศษต่างๆ
2. Base หรือ ส่วนเนื้อของผลิตภัณฑ์ เป็นตัวอุ้มและเก็บสารออกฤทธิ์ไว้
3. Additives หรือ ส่วนของสารเติมแต่ง เป็นตัวเติมแต่งให้ผลิตภัณฑ์มีความน่าใช้ มีความปลอดภัย เช่น พวกสารกันเสีย พวกน้ำหอม พวกซิลิโคน ตัวเพิ่มความหนืด ฯลฯ

ลองมาไล่ไปทีละตัวเลยดีกว่า

คุณสมบัติสารแต่ละตัวแยกตามหน้าที่
1.Actives ได้แก่
– สารสกัดจากว่านหางจรเข้ (Aloe vera extract) ช่วยเรื่องความชุ่มชื้น การลดการระคายเคือง ช่วยให้ความรู้สึกสบายผิว
– สารสกัดจากดอกบัว ช่วยเรื่องริ้วรอย
– สารสกัดจากบัวบก ช่วยเรื่องริ้วรอย การสมานแผล ลดการเกิดแผลเป็น
– สารสกัดจากไผ่ ช่วยเรื่องความชุ่มชื้น
– สารสกัดจากแตงกวา ใบข้าวโพด ใบกะหล่ำปลี แตงโม ช่วยเรื่องความชุ่มชื้นเช่นกัน

2.Base ไม่มีอะไรเลย นอกจากน้ำอโล

3.Additives มีอยู่ไม่กี่อย่าง ได้แก่
3.1 emulsifier PEG-60 Hydrogenated castor oil ช่วยเรื่องช่วยให้ผลิตภัณฑ์ใส
3.2 สารเพิ่มความหนืด ได้แก่ Sodium polyacrylate กับ Carbomer
3.3 สารปรับ pH ได้แก่ Triethanolamine
3.4 preservative ได้แก่ Phenoxyethanol
3.5 สารแต่งกลิ่น

แล้วก็เกิดคำถาม เมื่อใช้ Aloe ไป 99% แล้วที่เหลือนี่ มันอัดกันเข้ามาได้ขนาดนี้เลยหรือ Carbomer กว่าจะหนืดได้ก็ 0.2-0.3% เข้าไปละ Phenoxyethanol ก็ควรใส่อย่างน้อย 0.5% ที่เหลือคงเป็นสารสกัด อย่างละนิดอย่างละหน่อย แต่ก็ดีกว่าไม่มีอะเนาะ

คะแนน
1. Actives มีอยู่หลายตัว ให้ผลประโยชน์กับผิวรอบด้าน โดยเน้นหนักไปที่ผลการให้ความชุ่มชื้น และการลดการระคายเคืองของผิว ขอให้ 5 ฟลาสก์
2. Base ไม่มี เลยไม่ขอให้คะแนน
3. Additives มีอยู่หลายชนิดเหมือนกัน แต่ก็ไม่ได้มีพิษมีภัยอะไร และก็ไม่ได้มีประโยชน์อะไร และก็ไม่เคยหักคะแนนน้ำหอมในผลิตภัณฑ์อื่นๆที่ไม่ใช่พวกครีมทาใต้ตามาก่อน ก็เลยให้ไป 5 ฟลาสก์
4. การใช้งาน ตามที่ได้บรรยายสรรพคุณไปแล้วในหลายๆกระทู้ จึงขอให้ 5 ฟลาสก์ค่ะ

คะแนน aloe

สำหรับวันนี้ก็มีแค่นี้ค่ะ แล้วพบกันใหม่โอกาสหน้า ขอบคุณที่ติดตามอ่านมาจนจบนะคะ

เอาไปใช้ทาผิวไหม้แดดหลังสงกรานต์ได้เลยแหละ

See you again~