Image

Mini review and Beauty Talks: Silymarin (สารสกัดจาก Milk thistle) Nutricosmetic เพื่อสุขภาพและความงาม

สวัสดีค่ะ

 

วันนี้มี่จะมา Beauty Talk เกี่ยวกับสารสกัดจาก Milk thistle ว่า มีความน่าสนใจอย่างไรบ้างในการเป็น Nutricosmetic อาหารเสริมเพื่อความงามค่ะ

 

ถ้าพูดถึง Milk thistle หลายๆคนจะนึกถึง Silymarin ซึ่งเป็นสารสำคัญในพืชชนิดนี้นะคะ

 

สารนี้เป็น Antioxidant ที่ค่อนข้างดี และในบ้านเรามีตำรับยาที่ใช้สำหรับบำรุงตับด้วยค่ะ

 

วันนี้มี่คงไม่พูดถึงประโยชน์ในการบำรุงตับ แต่จะมาพูดถึงคุณสมบัติด้านความงามของเจ้า Silymarin แทนค่ะ

 

ขอ Mini-review ตัวอาหารเสริม (ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร) Silymarin ของ Now Foods ประกอบไปพร้อมกันนะคะ

 

พร้อมมม รูปมาค่ะ

 

sily 1.JPG

 

Silymarin ที่มี่ทานอยู่ เป็นของ Now foods จาก USA ค่ะ แน่นอนว่า สั่งมาจาก iHerb ถ้าเทียบกันแล้วกับบ้านเรา ตัวนี้จะค่อนข้างถูก และเหมาะในการกินเสริมความงาม เพราะมีส่วนผสมของขมิ้นชันด้วยค่ะ

 

ขมิ้นชันนอกจากการเป็นสมุนไพรที่ให้ผลดีต่อระบบทางเดินอาหารแล้ว ยังเป็น Antioxidant ที่ดีด้วยเช่นกัน

 

ข้างในเป็นแคปซูลสีเหลืองเข้ม กลิ่นขมิ้นแรงมากกกกก

 

sily-2

 

ตรงฉลากบอกว่า ให้ทานวันละ 2 เม็ด แต่มี่ทานแค่เม็ดเดียว หลังอาหารเช้าค่ะ

 

ใน 2 เม็ด ก็จะประกอบด้วย สารสกัด Milk thistle 300 mg (Standardized ให้มี Silymarin 80%) เพราะฉะนั้น 2 เม็ดเราจะได้ Silymarin ราวๆ 240 mg ค่ะ

ร่วมกับขมิ้นผงอีก  700 mg

 

ประหนึ่งว่าใช้ขมิ้นเป็นเบสเลยว่างั้น

 

ถ้าแกะดูก็จะเห็นเป็นผงแบบนี้ค่ะ

สีขมิ้นติดเปลือกอีกตะหาก

sily-4

ทีนี้มา Beauty Talks กันบ้างค่ะ

 

ส่วนตัวมี่สนใจ Silymarin มาได้หลายปีดีดักแล้วค่ะ แต่พึ่งจะมาลองทานก็ตอนได้รู้จักกับเวบ iHerb นี่เอง

 

สารสกัดจาก Milk thistle และสาร Silymarin มีประโยชน์ช่วยด้านความงามหลายๆด้าน เช่น

  1. เป็น Antioxidant ที่ดี
  2. ต่อต้านการเกิด Glycation (ในระดับหลอดทดลอง)
  3. ปกป้องผิวจากรังสี UV (ในระดับหลอดทดลอง)

 

Glycation เป็นความเสื่อมของร่างกายรูปแบบหนึ่ง เกิดเมื่อมีน้ำตาลในเลือดมากๆ และน้ำตาลไปจับกับโครงสร้างบางอย่าง เช่น โปรตีน ไขมัน ทำให้เกิดความเสื่อมขึ้นมา

 

และยังมีผลดีต่อระบบภูมิคุ้มกัน กระดูก และตับ ด้วยค่ะ

 

แต่!!!

 

มีข้อดีก็มีข้อเสียนะคะ

 

สาร Silymarin  นี้ทำปฏิกิริยากับเอนไซม์ที่ใช้แปรสภาพยาในร่างกาย (CYP 450) ได้ อาจจะมีผลต่อระดับยาที่ใช้อยู่ ถ้ามีโรคประจำตัวที่กำลังรักษาด้วยยาบางชนิดอยู่แล้วจะทานควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนนะคะ อาจจะทำให้เกิดอันตรายได้ถ้าใช้ไม่ถูกต้องค่ะ

 

REF:

  1. Shin et al. Molecules. 2015 Feb 19;20(3):3549-64.
  2. Surai PF. Antioxidants (Basel). 2015 Mar 20;4(1):204-47.
  3. Katiyar et al. PLoS One. 2011;6(6):e21410.

 

พบกันใหม่โอกาสถัดไปนะคะ สำหรับวันนี้สวัสดีค่ะ

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s