Image

[Ingredient review] ทำความรู้จักและไขความลับของ PEG-6 caprylic/capric glycerides 1 ใน สารทำความสะอาดยอดฮิตใน Cleansing water

สวัสดีค่ะ

วันนี้มี่จะมาเล่ารายละเอียดของสารทำความสะอาดยอดฮิต ที่เรามักจะพบในสูตร Cleansing water ให้ได้ฟังกันนะคะ

ถ้าเราพูดถึง Cleansing water เราก็จะนึกถึงน้ำใสๆ ที่เอาไว้เช็ดเครื่องสำอาง เช็ดทำความสะอาดสิ่งสกปรกต่างๆออกจากผิวหน้า

พระเอกของ Cleansing water ก็คือ Surfactant ค่ะ ซึ่ง Surfactant ที่เรามักพบใน Cleansing water ในท้องตลาด จะแบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ

  1. กลุ่มของ Poloxamer เช่น Polxamer 124 และ 184
  2. กลุ่มของ PEGylated fatty compounds เช่น PEG-6 caprylic/capric glycerides, PEG-7 glyceryl cocoate, PEG-40 hydrogenated castor oil
  3. กลุ่มของ Tween, Span ซึ่งดัดแปลงโครงสร้างมาจากน้ำตาล เช่น Polysorbate 20

ส่วนตัวมี่ค่อนข้างชอบ Cleansing water ที่มี PEG-6 caprylic/capric glycerides เป็นส่วนผสมหลัก เพราะเนื่องจากสัมผัส ทั้งในด้าน Texture และ Feeling จะค่อนข้างเด่นค่ะ

และหลังๆมาเริ่มเห็น Cleansing water หลายเจ้า เคลมว่า สูตรที่ใช้ PEG-6 caprylic/capric glycerides นี่สามารถ Leave on บนผิวได้โดยไม่ต้องล้างออก ก็เลยลองไปหาข้อมูลดูค่ะ

ขอกล่าว Basic ของพวก Cleanser นิดหน่อยนะคะ

ในพวกผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดเหล่านี้จะมีสิ่งที่เรียกว่า Surfactant อยู่ เป็นตัวการในการดึงเอาสิ่งสกปรกออกมาจากผิว แต่ในทางปฏิบัติ สารเหล่านี้แยกไม่ออกหรอก ว่าอะไรคือสิ่งสกปรก อะไรคือไขมันดีๆในผิว มันดึงออกมาหมด การล้างหน้าจึงเป็นเหมือนการดึงเอาสิ่งดีๆในผิวออกมาทีละนิดทีละหน่อย เราเลยต้องรีบทดแทนโดยการเติมสารบำรุงทดแทนคืนให้ผิว เพื่อไม่ให้ผิวเสียสมดุลค่ะ

การที่เราทิ้ง Surfactant ให้สัมผัสกับผิวนานๆ นางก็จะดูดซึมลงไปในผิวได้ และอาจทำให้ Barrier ผิวเราเสีย หรืออาจทำให้เกิดการระคายเคืองได้

ทีนี้กลับมาที่ PEG-6 caprylic/capric glycerides ค่ะ

1 ในบริษัทผู้ผลิตวัตถุดิบ Surfactant รายใหญ่ของโลก มีชื่อว่า Croda ค่ะ โดยเจ้าบริษัท Croda นี้เค้าก็ทำ PEG-6 caprylic/capric glycerides ออกมา ในชื่อทางการค้าว่า Glycerox 767HC นะคะ

ตรงนี้จะเป็นภาพที่นำมาจากเวบไซต์ของ Croda ค่ะ

glycerox.jpg

(Image from: Croda personal care)

จากตรงนี้จะเห็นว่าทางผู้ผลิตอธิบายไว้วา PEG-6 caprylic/capric glycerides จัดเป็น Hydrophilic emollient ที่ทำหน้าที่เป็นสารที่เรียกว่า Superfatting agent ในสูตรผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดต่างๆ ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นของผิวค่ะ

และสามารถใช้สารนี้เป็น emulsifier (ตัวเชื่อมผสานน้ำกับน้ำมันให้เข้ากันเป็นเนือครีม) ในสูตร Skincare ได้อีก

ซึ่งถ้าพิจารณาตามสูตรโครงสร้าง

structure glycerox.jpg

(Image from: CIR)

จะเห็นว่าสารนี้เป็น Surfactant ชนิดที่ไม่มีประจุ  หรือ non-ionic ซึ่งปกติสารกลุ่มนี้มีความอ่อนโยนกับผิว

 

มี่ลองหาข้อมูลที่เป็นกลางจาก CIR หรือ Cosmetic ingredients review ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งที่รวบรวมข้อมูลความปลอดภัยของวัตถุดิบเครื่องสำอางต่างๆ ไปได้ข้อมูลมาว่า สารในกลุ่ม PEGylated alkyl glycerides จะมีค่าความปลอดภัยที่ค่อนข้างดีค่ะ มีการทดสอบการระคายเคืองบนผิวหนังของหนู แต่เป็น PEG-8 caprylic/capric glycerides ซึ่งมี่คิดว่าเอาผลมาใช้ประมาณการของ PEG-6 caprylic/capric glycerides ในสูตรได้อยู่ค่ะ ผลคือ การทดสอบตำรับที่มีส่วนผสมของ  PEG-8 caprylic/capric glycerides ในความเข้มข้น 35% ร่วมกับสารอื่นๆ ไม่มีผลทำให้เกิดการระคายเคือง จึงสรุปว่าเป็น “low potential for skin irritancy” หมายถึง มีศักยภาพต่ำในการทำให้เกิดการระคายเคือง

(Reference: Cosmetic Ingredient Review. Safety Assessment of PEGylated Alkyl Glycerides as Used in Cosmetics 2014.

 

โดยสรุปจากข้อมูลที่ได้มา สารนี้ น่าจะสามารถ Leave-on บนผิวหนังโดยไม่ต้องไปล้างออกได้ แต่ส่วนตัวมี่คิดว่า ถ้าไม่จำเป็น ก็ไปล้างออกดีกว่า จะได้รวดเก็บเอาเมคอัพและสิ่งสกปรกตกค้างออกไปจากผิวด้วย

4 thoughts on “[Ingredient review] ทำความรู้จักและไขความลับของ PEG-6 caprylic/capric glycerides 1 ใน สารทำความสะอาดยอดฮิตใน Cleansing water

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s