Image

รีวิว/วิเคราะห์ส่วนผสม เซรั่มดูแลฝ้า ตัวตึง Game changer แห่งวงการ Cysteamine กับ Alphascience Melabright [C+]

ในที่สุดก็ได้เวลามารีวิว/วิเคราะห์ส่วนผสม Melabright เซรั่มดูแลฝ้าตัวตึงในตำนานจากแบรนด์ Alphascience ที่ได้นำมาเล่า มาโปรยไปตั้งแต่ช่วงปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมาซักทีค่ะ

เอาล่ะ ไม่พูดเยอะ เริ่มเลย

น้องจะมาในกล่องที่มีหน้าตาที่เป็น Signature ของแบรนด์ ประมาณนี้นะคะ

ตัวเซรั่มจะมาในแพคเกจแก้วทึบแสงสีขาวขุ่น พร้อมหลอดหยด

เนื้อเซรั่มมีความหนืดเล็กน้อย สีคล้ายชา มีกลิ่นเฉพาะตัวของวัตถุดิบ และสารสำคัญอย่าง Cysteamine ที่เป็นกลิ่นโทน Sulfur (อารมณ์แบบน้ำพุร้อน)

เกลี่ยได้อยู่ ให้ฟีลหนึบๆ นิดหน่อย ซึ่งมาจากเบสที่ใช้ เป็นพวก Humectant solvent อย่าง propylene glycol, isopentyldiol ที่มีความหนึบๆ ตามธรรมชาติ

น้องจะใช้เวลานิดหน่อยในการซึมค่ะ ตรงนี้จะเป็นภาพถ่ายแฟลชของเนื้อเซรั่มหลังเกลี่ย

ค่า pH วัดด้วยกระดาษวัด pH (Universal indicator) อยู่ที่ราวๆ 3 – 4 อาจจะมีคลาดเคลื่อนได้เล็กน้อยเนื่องจากเซรั่มเองก็มีสีค่ะ

ส่วนผสมเป็นดังนี้ค่ะ

สำหรับส่วนผสมวันนี้มีที่น่าสนใจอยู่หลายตัวค่ะ

Cysteamine HCl แทนด้วยสีน้ำเงิน

น้องเป็นนางเอกของผลิตภัณฑ์เลย โดย Cysteamine นี่ ร่างกายเราจะมีอยู่แล้วค่ะ เป็นผลพลอยได้มาจากการสลายตัวของ Coenzyme A เป็น วิตามินบี 5 (Pantothenic acid) กับ Cysteamine

ซึ่งตัวของ Cysteamine มีประโยชน์และมีคุณสมบัติที่ดีหลายประการเลยสำหรับร่างกายของเรา คือ เป็น Antioxidant ที่ดี ช่วยดูแลสมดุลการสร้างและกำจัดอนุมูลอิสระ (Redox homeostasis) ให้แก่ร่างกายเรา

ในด้านของผิวพรรณนั้น Cysteamine เป็น Whitening ที่ดีผ่านหลายกลไก ไม่ว่าจะเป็น

  • การยับยั้งเอนไซม์ Tyrosinase ที่เป็นตัวการในการสร้างเม็ดสี Melanin
  • ยับยั้งเอนไซม์ Peroxidase ที่เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างเม็ดสีชนิด Eumelanin ที่มีสีเข้ม
  • ผลัดผิว
  • ปกป้อง Glutathione ใน Melanocyte ซึ่งมีผลไปส่งเสริมให้ Melanocyte สร้างเม็ดสีอ่อนที่ชื่อ Pheomelanin
  • ต่อต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งจะไปกระตุ้นให้ Melanocyte ทำงานมากขึ้น
  • จับกับอิออนโลหะ ซึ่งมีผล 2 แบบ
    • แบบแรก อิออนโลหะจะไปกระตุ้นให้เกิดอนุมูลอิสระผ่าน Fenton reaction แล้วไปกระตุ้นให้ Melanocyte ทำงานมากขึ้น เมื่ออิออนโลหะโดนจับไว้ โอกาสเกิดอนุมูลอิสระก็จะน้อยลง
    • แบบที่สอง ไปจับกับอิออนโลหะ Copper ที่จำเป็นในการทำงานของเอนไซม์ Tyrosinase ซึ่งทำให้ Tyrosinase ทำงานไม่ได้

Cysteamine เป็นสารที่พบว่ามีประสิทธิภาพในการเป็น Whitening ที่ดีมาหลายปีดีดักแล้ว แต่มีปัญหาหลายอย่าง หลักๆ คือ เรื่องของความไม่คงตัว และกลิ่นของ Sulfur

แต่ในระยะหลังๆ มานี้ วงการเครื่องสำอางก็พบเจอวิธีที่สามารถเพิ่มความคงตัวให้กับ Cysteamine ได้หลายแบบ เลยมีความสนใจ และนำกลับมาศึกษาในการทดลองทางคลินิกหลายฉบับ เทียบกับสารมาตรฐาน (Gold standard) ในการรักษาฝ้าของแพทย์ผิวหนัง อย่าง Hydroquinone แล้วพบว่าให้ผลดีใกล้เคียงกัน และมีแนวโน้มว่าจะปลอดภัยกว่า แต่ก็เจอปัญหาเรื่องการระคายเคืองที่อาจจะเกิดขึ้นได้ และเรื่องกลิ่น เลยเป็นรูปแบบใช้แล้วล้างออก

จากการรวบรวมและวิเคราะห์งานวิจัยแบบ Systematic review โดย Ahramiyanpour และคณะ (2021) ที่รวบข้อมูลจากงานวิจัยเกี่ยวกับการทดสอบประสิทธิภาพของ Cysteamine ในอาสาสมัครที่เป็นฝ้า 8 ฉบับ พบว่า Cysteamine มีประสิทธิภาพในการลดจำนวนเม็ดสีผิว และอาสาสมัครมีความพึงพอใจในผลการใช้งาน (J Cosmet Dermatol. 2021;20:3593–3602.)

สำหรับประเด็นเรื่องความคงตัวของ Cysteamine นั้น ในสูตรของ Melabright ทาง Alphascience นี้ เขามีนวัตกรรมสิทธิบัตรที่เพิ่มความคงตัวให้แก่ Cysteamine ได้ ที่ระดับความเข้มข้น 3% และดูแลเรื่องความระคายเคืองได้ในระดับหนึ่ง จึงพัฒนาเป็นตำรับร่วมกับสารบำรุงอื่นๆ ที่ใช้แล้วสามารถทิ้งไว้บนผิวได้เลย โดยไม่ต้องล้างออก ซึ่งถือว่ามีความน่าสนใจมากเลยทีเดียว และสูตรผสมนี้มีการศึกษาเบื้องต้น (Pilot study) ในการดูแลฝ้าเทียบกับ Hydroquinone แล้วพบว่ามีประสิทธิภาพใกล้เคียงกัน

ซึ่ง Pilot study นี้ เป็นการทดสอบแบบแบ่งครึ่งใบหน้า เปรียบเทียบระหว่าง Melabright กับ Hydroquinone 4% ในอาสาสมัครจำนวน 25 คน เป็นเวลา 2 เดือน พบว่าให้ประสิทธิภาพที่ไม่ต่างกัน และไม่เกิดการระคายเคืองในอาสาสมัคร และยังได้ประโยชน์ในด้านของรูขุมขนกระชับขึ้น ความมันลดลง และริ้วรอยที่ดูตื้นขึ้น เสริมเข้ามา

สารบำรุงถัดมาเป็นกลุ่มสีชมพู ได้แก่

  • วิตามินซี ซึ่งใช้ในรูปแบบของ Ascorbic acid ที่ความเข้มข้น 8% ที่เสริมความคงตัวโดยเทคโนโลยีสิทธิบัตรของทาง Alphascience ที่ชื่อ Nextgen technology ผ่านระบบการปกป้องสารไม่ให้เกิดการแตกตัว (Ionization stabilization) ในสารละลาย และสามารถย้อนการแตกตัวของสารต้านอนุมูลอิสระกลับมาในรูปแบบที่ไม่แตกตัว ซึ่งมีความคงตัวสูงกว่า ช่วยปกป้องทั้งตัววิตซีเอง และ Cysteamine ให้คงตัวอยู่ได้

สำหรับประโยชน์ของวิตามินซีนั้นมีด้วยกันหลายประการ ได้แก่

  1. ยับยั้งเอนไซม์ Tyrosinase ที่สร้างเม็ดสีเมลานิน
  2. เป็น Antioxidant ที่ดี
  3. เป็นส่วนหนึ่งในการสังเคราะห์คอลลาเจนตามธรรมชาติของผิว
  4. ดูแลเรื่องการอักเสบระคายเคือง

สารสกัดจากใบแปะก๊วย (Ginkgo biloba leaf extract) เป็นสารสกัดเก่าแก่สารหนึ่งในวงการเครื่องสำอาง มีประโยชน์กับผิวหลายประการเช่นกัน

  • ประกอบด้วยสารในกลุ่ม Polyphenol และ Flavonoids หลายชนิด ที่ให้คุณสมบัติเป็น Antioxidant ที่ดี
  • การทดลองในหนูทดลองพบว่า เมื่อทาสารสกัดจากแปะก๊วย (ที่สกัดด้วย 50% ethanol) ให้ประโยชน์ในการปกป้องผิวจากรังสี UV และเสริมการสร้างเอนไซม์ที่เป็น Antioxidant ตามธรรมชาติในผิวอย่าง Superoxide dismutase (SOD) และ Catalase (Methods Find Exp Clin Pharmacol. 1997 Jul-Aug;19(6):367-71.)
  • ในใบแปะก๊วย มีสารพฤกษเคมีกลุ่ม Biflavone ที่ชื่อ Ginkgetin มีรายงานว่ามีคุณสมบัติในการลดการอักเสบระคายเคืองได้ผ่านหลายกลไก เช่น ยับยั้งเอนไซม์ Phospholipase A2;PLA2 (ซึ่งเป็นตัวแม่สุดเมื่อผิวเกิดความเสียหาย PLA2 จะไปย่อยไขมันฟอสโฟไลปิดที่เป็นองค์ประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ ได้กรดไขมัน Arachidonic acid ที่จะแประสภาพต่อไปผ่านเอนไซม์ Cyclooxegenase และ Lipoxygenase ทำให้เกิดสารที่นำไปสู่การอักเสบต่างๆ) ลดการสร้างเอนไซม์ Cyclooxgenase ซึ่งส่งผลต่อไปให้การสร้างสารก่อการอักเสบลดลง และการทดสอบในหนูทดลองพบว่า การทา Ginkgetin ลดการอักเสบของผิวหนังได้ (Planta Med. 2002;68(4):316-21.) การทดสอบในเซลล์ภูมิคุ้มกัน Mast cell ของหนู ระบุว่า Ginkgetin ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ Cyclooxegenase และ Lipoxygenase ซึ่งมีผลลดการอักเสบ (Biol Pharm Bull. 2005;28(12):2181-4.)
  • ปกป้องคอลลาเจน โดยไปยับยั้งเอนไซม์ MMP-1 ที่ไปย่อยสลายคอลลาเจน และสาร Ginkgolide A และ bilobalide ยังอาจมีคุณสมบัติเสริมการสร้างคอลลาเจน (Food Sci. Technol (Campinas). 2020;40(2))

สรุป สารสกัดจากใบแปะก๊วยดูแลผิวได้หลายด้าน ในแง่ของการดูแลเรื่องการอักเสบระคายเคือง ให้ความรู้สึกสบายผิว ต่อต้านอนุมูลอิสระ ปกป้องผิวจากรังสี UV และ ดูแลเรื่องริ้วรอย

  • Phytic acid เป็นสารที่มีประโยชน์หลายประการ ใช้เป็นสารจับโลหะในสูตรเครื่องสำอาง ใช้เสริมฤทธิ์กับ Antoxidant อื่นในสูตรเพื่อเสริมความคงตัวให้แก่ตำรับ ใช้เป็นสารบำรุงก็ดี ในแง่ของการบำรุงผิว Phytic acid มีฤทธิ์เป็น Antioxidant มีคุณสมบัติเป็น Whitening โดยไปจับ Copper ของเอนไซม์ Tyrosinase ทำให้การสร้างเม็ดสีเกิดขึ้นได้น้อยลง

Acetyl glycyl beta-alanine

          ตัวนี้เป็นเปปไทด์ที่รู้จักในชื่อทางการค้าว่า Genowhite ข้อมูลจากทางผู้ผลิตวัตถุดิบระบุว่าสารนี้มีคุณสมบัติในด้าน Whitening ผ่านหลายกลไก

  1. ลดการสร้างเม็ดสีผิวผ่านการยับยั้งตัวตั้งต้น MITF ที่จะไปกระตุ้นให้มีการสังเคราะห์เอนไซม์ Tyrosinase
  2. ลดการสร้าง Endothelin-1 ที่สร้างออกมาจากผนังหลอดเลือด ซึ่งจะไปกระตุ้นให้เซลล์สร้างเม็ดสี สร้างเมลานินออกมา
  3. ลดการส่งผ่านเมลานินที่สร้างเสร็จแล้วไม่ให้ออกไปข้างนอก (Melanosome transfer) ผ่านการลดการสังเคราะห์โปรตีน Melanophillin ที่เป็นตัวสำคัญในขั้นตอนนี้

(Image from Corum)

มีการศึกษาในอาสาสมัครโดยบริษัท พบว่าสาร Genowhite มีความสามารถในการดูแลจุดด่างดำตามอายุ (Age spot)

สำหรับตัวเบส(เนื้อหลักของผลิตภัณฑ์) จะเป็น Humectant solvent เป็นเบสหลัก เพื่อเสริมความคงตัวให้แก่ Vitamin C อาจจะมีความหนึบๆ หรือกระตุ้นการระคายเคืองได้ในคนที่พึ่งเริ่มใช้ ความเห็นส่วนตัวคิดว่า อาจจะใช้วิธีผสมกับครีม/เซรั่มอื่นที่ใช้อยู่ก่อนแล้ว วอร์มบนมือ แล้วทาบนใบหน้า เพื่อให้ผิวปรับสภาพ ก่อนที่จะค่อยๆ เพิ่มปริมาณแล้วลงผิวได้เลย

ในด้านของลำดับการลง (Skincare regimen) อาจจะเอาไว้หลังเสร็จกลุ่มน้ำ ก่อนทาน้ำนม ก็ได้อยู่

ส่วนผสมอื่นๆ ขอกล่าวถึงส่วนของสารสีเขียวที่ทำไว้อย่าง Isopentyldiol และ Etoxydiglycol นั้นมีคุณสมบัติเป็น Penetration enhancer ที่เสริมการซึมผ่านของสารบำรุงเข้าสู่ผิว

และมีระบบบัฟเฟอร์อย่าง Citric acid กับ Sodium citrate ที่ช่วยควบคุมค่า pH ของตำรับให้คงที่เพื่อเสริมความคงตัว

นอกจากนั้น ส่วนผสมที่เหลืออื่นๆ ก็เลือกมาเท่าที่จำเป็น และไม่มีสารที่ไม่เป็นมิตรกับผิว

มาให้คะแนนกันดีกว่าค่ะ

  1. สารบำรุง เน้นไปที่การดูแลเรื่องการสร้างเม็ดสีผิวเป็นหลัก ที่เสริมฤทธิ์กันผ่านหลายเสต็ปในการสร้างเม็ดสีผิว เสริมมาด้วยการดูแลเรื่องการระคายเคืองผิว ต่อต้านอนุมูลอิสระ ดูแลเรื่องริ้วรอย และปกป้องผิวจาก UV ให้ไป 5 ฟลาสก์
  2. ส่วนผสมอื่นๆ ไม่มีสารที่ไม่เป็นมิตรกับผิว และสารอื่นที่ใส่มาก็คือผ่านการเลือกมาเป็นอย่างดี เลยไม่มีจุดที่ให้หักคะแนน รับไป 5 ฟลาสก์
  3. การใช้งาน ในเรื่องของเนื้อเบสที่มาใน Humectant solvent นั้นอาจจะหนึบๆ ไม่ค่อยถูกใจเท่าไหร่ แต่ถ้าลงเซรั่มอื่นๆ เรียบร้อยแล้ว ทาเสร็จแล้วทาครีมทับ หรือผสมลงครีมแล้ววอร์มก่อนทาก็ถือว่าพอได้อยู่ค่ะ สำหรับเรื่องกลิ่น ส่วนตัวเป็นคนที่คุ้นชินกับกลิ่นของสาร Sulfur อยู่แล้ว เลยไม่ได้รู้สึกว่าเป็นปัญหาอะไร ในด้านของสีผิว ส่วนตัวไม่ได้มีปัญหาฝ้าหรือจุดด่างดำ หรือปัญหาสีผิวไม่สม่ำเสมอมากนัก แต่ได้ใช้แล้วก็รู้สึกว่าผิวเรียบ ละเอียด และแต่งหน้าได้ติดทนนานมากขึ้น ให้ไป 5 ฟลาสก์

สุดท้ายนี้ขอขอบคุณทางแบรนด์ AlphaScience สาขาประเทศไทยด้วยนะคะ ที่จัดส่งสินค้าดีๆ มาให้ได้ทดลองใช้ และขอบคุณทุกท่านด้วยค่ะที่ติดตามรับชมมาจนจบ

สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ทางแบรนด์โดยตรงได้เลยค่ะ

https://www.facebook.com/AlphascienceThailand

สำหรับท่านที่สนใจสามารถติดตามเข้าไปดูที่ Official mall ได้ตามลิงค์ด้านล่างนี้ได้เลยค่ะ

Lazada: https://invol.co/cla9tuw

Shopee: https://invol.co/cla9tvv

Disclaimer: ผลิตภัณฑ์นี้ได้รับการสนับสนุนจากทางแบรนด์ AlphaScience สาขาประเทศไทย การรีวิวครั้งนี้เป็นการวิเคราะห์ส่วนผสม/วัตถุดิบตามหลักการทางวิทยาศาสตร์เครื่องสำอางและอาศัยความเห็นส่วนบุคคล และผู้เขียนไม่ได้มีผลประโยชน์ใดๆในการขายสินค้า โปรดใช้วิจารณญาณ

Image

รีวิว/วิเคราะห์ส่วนผสมเซรั่มไฮยาจากฝรั่งเศส ที่มีฟีลลิ่งสุดปัง Alphascience HA Booster serum

หลายๆ ท่าน ชอบใช้เซรั่มไฮยา แต่ก็เหนื่อยใจกับฟีลลิ่งเหนียวๆ หนึบๆ

วันนี้ทางเพจมีบทวิเคราะห์ส่วนผสมเซรั่มไฮยาที่เนื้อบางเบา ไม่เหนียวเหนอะหนะ และมีส่วนผสมที่น่าสนใจมาฝากกันค่ะ

น้องเป็นเซรั่มที่มีชื่อว่า HA Booster serum จากแบรนด์ Alphascience ประเทศฝรั่งเศสซึ่งมาในหน้าตาแบบนี้

มาในขวดแก้วแบบมีดรอปเปอร์

สำหรับจุดเด่นของผลิตภัณฑ์จากแบรนด์ Alphascience คือ ขวดจะผ่านการซีลมาเป็นอย่างดี จึงมั่นใจได้ว่าสินค้าไม่ได้ถูกแกะ ไม่ผ่านมือใครมาก่อนถึงมือเราแน่นอน

เนื้อเซรั่มเป็นเนื้อที่มีความข้นหนืดนิดหน่อย เนื่องจากทางแบรนด์ไม่ได้ใส่น้ำหอม เราเลยจะได้กลิ่นจางๆ ของวัตถุดิบอยู่ค่ะ

เกลี่ยได้ง่าย ไม่เหนียว ไม่หนึบ ซึมไว แห้งไว

ภาพแรกเป็นลักษณะหลังเกลี่ย ถ่ายด้วยแสงแฟลช

เราจะเห็นความเงาวาวของเนื้อเซรั่มอยู่

เมื่อทิ้งไว้ประมาณ 3 นาที จะค่อนข้างซึมไปเยอะเลย

ค่า pH อยู่ที่ราวๆ 5 ซึ่งใกล้เคียงกับผิว

สำหรับส่วนผสมเป็นดังนี้

สำหรับส่วนผสมค่อนข้างเรียบง่าย แต่มาแบบเน้นๆ ปังๆ

เริ่มด้วยสีน้ำเงิน Silanetriol ซึ่งคือ Organic silicium ซึ่งมีส่วนประกอบของธาตุ Silicon ค่ะ

          สำหรับประโยชน์ของ Silicon นั้นจะมีคุณสมบัติเด่นๆ หลายประการ ได้แก่ เสริมการทำงานของผิว เสริมให้ผิวกระชับ ยืดหยุ่น และเสริมการติดต่อสื่อสารกันระหว่างผิว ซึ่งจะส่งผลให้ผิวเราปรับตัวต่อมลภาวะและสิ่งต่างๆ ทั้งจากสิ่งแวดล้อมและความเครียด

  • Silicon กระตุ้นการทำงานของเซลล์ผิวในชั้นหนังกำพร้า (Keratinocyte) ช่วยปกป้อง เสริมการอุ้มน้ำ และช่วยให้สีผิวสม่ำเสมอ

(Image from Exsymol Monaco)

  • Silicon จะไปจับกับช่องว่างระหว่างเส้นใย Fiber ที่เป็น Matrix ต่างๆ ใน Dermis ให้ผิวเรามีความนุ่มแน่น แข็งแรง

(Image from Exsymol Monaco)

  • เมื่อเราอายุเพิ่มขึ้น ปริมาณของ Silicon จะลดลง อาจจะเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เส้นใยต่างๆ ในผิวไม่กระชับ เกิดริ้วรอยขึ้นมา
  • การเสริม Silicon ก็อาจจะมีคุณสมบัติเสริมการทำงานของ Fibroblast เสริมการสังเคราะห์คอลลาเจน ให้ผิวกระชับ แข็งแรง

(Image from Exsymol Monaco)

  • ระหว่างชั้นหนังกำพร้า กับหนังแท้ มันจะมีโครงสร้างที่เรียกว่า Dermal-Epidermal Junction หรือ DEJ ซึ่งสำคัญมาก เพราะจะพยุงเอาโครงสร้างผิวเอาไว้ พอเราอายุเพิ่มขึ้น DEJ จะยุบ แล้วทำให้เกิดริ้วรอยร่องลึกขึ้นมา

(Roig-Rosello, E.; Rousselle, P. The Human Epidermal Basement Membrane: A Shaped and Cell Instructive Platform That Aging Slowly Alters. Biomolecules 2020, 10, 1607. https://doi.org/10.3390/biom10121607)

  • เจ้า Silicon นี้ยังไปช่วยให้ชั้น DEJ มีความแข็งแรงขึ้นด้วย

(Image from Exsymol Monaco)

สำหรับสูตรผสมของ Silanetriol กับ Hyaluronic acid นั้นมีชื่อทางการค้าว่า Epidermosil ซึ่งเอา Silanetriol มาเป็นระบบนำส่งให้ Hyaluronic acid เข้าผิวได้ดีขึ้นค่ะ

ทางแบรนด์ได้ทำแผนภาพจำลองเพื่อเปรียบเทียบว่า การใช้ Silicium มาเป็นระบบนำส่งนั้น ช่วยเสริมให้ Hya เข้าไปที่ชั้นลึกของหนังกำพร้าได้ดีขึ้น

(Image from Exsymol Monaco)

ซึ่งทางผู้ผลิตวัตถุดิบบริษัท Exsymol Monaco ได้ทดสอบประสิทธิภาพในอาสาสมัคร โดยให้อาสาสมัครทาผลิตภัณฑ์ที่มี Epidermosil 5% (ซึ่งเป็นความเข้มข้นเดียวกับใน HA Booster serum) วันละ 2 ครั้งเป็นเวลา 28 วันพบว่าอาสาสมัครมีริ้วรอยที่ตื้นขึ้น ผิวเรียบเนียนขึ้น และมีความชุ่มชื้นเพิ่มขึ้น

(Image from Exsymol Monaco)

แค่ส่วนผสมชุดแรกก็ปังแล้ว ยังเสริมมาด้วย

  • Betaine ซึ่งเป็นอนุพันธ์ของกรดอะมิโน Glycine มีประโยชน์ที่ดีกับผิวหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการให้ความรู้สึกที่ดีกับผิว ลดการระคายเคือง มีรายงานวิจัยทดสอบประสิทธิภาพในระดับเซลล์เพาะเลี้ยง พบว่า Betaine มีคุณสมบัติในการลดการสร้างเม็ดสี Melanin (Cho et al., Food Sci Biotechnol. 2017;26(5):1391-1397.) มีอีกงานหนึ่งทดสอบประสิทธิภาพในระดับเซลล์เพาะเลี้ยงเช่นกัน พบว่าการทาสารในกลุ่ม Osmolyte อย่าง Betaine นั้นมีประโยชน์ในการเสริมความแข็งแรงให้แก่ Barrier ผิว โดยไปเพิ่มการทำงานของ Tight junction ที่เป็นช่องแคบๆ ระหว่างเซลล์ ทำหน้าที่ปกป้องไม่ให้สิ่งไม่ดีจากภายนอกเข้าสู่ในผิว และลดการเสียน้ำและ NMF ตัวเล็กๆ ออกไปภายนอก (El-Chami et al., Br J Dermatol. 2021;184(3):482-494. doi: 10.1111/bjd.19162.)
  • Jania rubens extract เป็นสารสกัดจากสาหร่ายสีแดง พอได้ไปตามอ่านข้อมูลจากผู้ผลิตวัตถุดิบ Actiporine 8.G ของบริษัท Codif ประเทศฝรั่งเศส (ประกอบด้วย Glycerin (and) Water (and) Jania Rubens extract) เลยพบว่าน้องมีกลไกที่น่าสนใจมากเว่อร์ คือ น้องไปกระตุ้นให้เกิดการสร้างประตูขนส่งกลุ่ม Aquaporin-8 (AQP8) ขึ้นมา ปกติถ้าพูดถึง AQP เรามักจะพูดถึง AQP3 ซึ่งเป็น AQP ที่เป็นประตูส่งน้ำและ Glycerin เข้าเซลล์ผิว ให้ผิวเราชุ่มชื้น แข็งแรง ส่วนเจ้า AQP8 นั้นมีการพูดถึงว่าเป็นตัวขนส่งแอมโมเนีย เพื่อให้ผิวเราเอาไปสร้าง Urea ที่เป็น 1 ในสารจับน้ำตามธรรมชาติ (Natural moisturizing factor; NMF) ของผิวเรา

หน้าตาของสาหร่าย Jania rubens

เป็นตัวน้อยกลมๆ

(Image from Codif)

ทีนี้ความน่าสนใจอยู่ที่ว่า Codif ไปเจอว่า AQP8 นั้น นอกจากช่วยขนส่งแอมโมเนียแล้ว น้องยังไปช่วยผลักเอา Hydrogen peroxide ออกจากผิว ซึ่งในเซลล์เรานี่จะมีหน่วยที่ชื่อ Mitochondria ที่ทำหน้าที่สร้างพลังงานอยู่ตลอดเวลา เป็นเหมือนโรงไฟฟ้าของเซลล์ (เรียกกันสวยๆ ในวงการว่า Power house of cell) เวลาน้องทำงานมันก็จะได้พวกอนุมูลอิสระต่างๆ ออกมา ร่างเราก็จะมีกลไกในการกำจัดอนุมูลอิสระ แต่ถ้าอนุมูลอิสระมันมากไป มันก็จะไปทำลายเซลล์เรา แล้วตัวที่โดนทำลายแรกๆ ก็คือเจ้า Mitochondria นี่แหละ ถ้าไม่มีน้อง เซลล์ก็ไม่มีพลังงาน อยู่ไม่ได้ แก่ตายไป

วัตถุดิบนี้ ไปเสริมการสร้าง AQP8 ที่ไปช่วยผลักเอา Hydrogen peroxide ทิ้งไป Mitochondria เลยรอด เราก็รอดด้วย

ซึ่งทางบริษัท Codif ก็มีการทดสอบประสิทธิภาพทั้งในระดับเซลล์เพาะเลี้ยงและในอาสาสมัคร ก็เจอว่าให้ประโยชน์ที่ดีในด้านของการชะลอวัย ลดเลือนริ้วรอย

โดยรวมส่วนผสมของสารบำรุงที่ใส่มาใน HA booster serum นี่คือตัวตึงด้านการเติมน้ำ ผิวกระชับ แข็งแรง และดูแลผิวด้านริ้วรอย ชะลอวัย อาจจะได้เรื่องความรู้สึกสบายผิว การระคายเคือง และ whitening อยู่ด้วย

และไม่มีส่วนผสมของสารที่ไม่เป็นมิตรกับผิว

มาให้คะแนนกันดีกว่าค่ะ

  1. สารบำรุง ถ้ามองในแง่ของการเป็นเซรั่มไฮยาชิ้นหนึ่ง คือ น้องทำมาได้จัดเต็มมาก ไม่ใช่แค่เติมน้ำ แต่มันมีมิติอื่นซ่อนไปมากกว่านั้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้เทคนิค Silicium delivery หรือการเลือกใช้สารที่มาเสริมกันอย่างลงตัว เพื่อดูแลริ้วรอย ให้ไป 5 ฟลาสก์
  2. ส่วนผสมอื่นๆ ไม่มีสารที่ไม่เป็นมิตรกับผิว เลยไม่มีที่ให้หักคะแนน รับไป 5 ฟลาสก์
  3. การใช้งาน ส่วนตัวค่อนข้างชอบความบางเบาของเนื้อ ไม่เหนียวหนึบ ลงแล้วทาสกินแคร์ตัวอื่นต่อไปได้เลยไม่ต้องรอนาน ในแง่ของด้านผิวกระชับ ริ้วรอย ส่วนตัวยังไม่ได้มีปัญหาด้านนี้เลยยังฟันธงชัดเจนไม่ได้ แต่ก็ได้ความรู้สึกว่าผิวดีขึ้นจากการใช้มาเดือนกว่าๆ รับไป 5 ฟลาสก์

สุดท้ายนี้ขอขอบคุณทางแบรนด์ AlphaScience สาขาประเทศไทยด้วยนะคะ ที่จัดส่งสินค้าดีๆ มาให้ได้ทดลองใช้ และขอบคุณทุกท่านด้วยค่ะที่ติดตามรับชมมาจนจบ

สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ทางแบรนด์โดยตรงได้เลยค่ะ

https://www.facebook.com/AlphascienceThailand

สำหรับท่านที่สนใจสามารถติดตามเข้าไปดูที่ Official mall ได้ตามลิงค์ด้านล่างนี้ได้เลยค่ะ

Lazada: https://invol.co/cla9tuw

Shopee: https://invol.co/cla9tvv

Disclaimer: ผลิตภัณฑ์นี้ได้รับการสนับสนุนจากทางแบรนด์ AlphaScience สาขาประเทศไทย การรีวิวครั้งนี้เป็นการวิเคราะห์ส่วนผสม/วัตถุดิบตามหลักการทางวิทยาศาสตร์เครื่องสำอางและอาศัยความเห็นส่วนบุคคล และผู้เขียนไม่ได้มีผลประโยชน์ใดๆในการขายสินค้า โปรดใช้วิจารณญาณ

Image

รีวิว/วิเคราะห์ส่วนผสมมูสโฟมล้างหน้านุ่มแน่น Cloud จาก The Labatorian

ก่อนหน้านี้ทางเพจได้นำเสนอมูสโฟมล้างหน้าชิ้นหนึ่งที่มีฟองโฟมมูสแน่นนุ่มสู้มือไป วันนี้ขอหยิบเอาส่วนผสมของน้องมาวิเคราะห์กันต่อ

ผลิตภัณฑ์มูสโฟมนี้มีชื่อว่า Cloud Fluffy amino gentle barrier cleanser จากแบรนด์ the Labatorian ซึ่งมีผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจหลายๆ ชิ้น และทางเพจได้เคยนำเสนอไปก่อนหน้านี้

สำหรับท่านที่พลาด สามารถรับชมรีวิว/วิเคราะห์ส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจจากทางแบรนด์ได้ตามลิงค์เลยนะคะ

เซรั่มสำหรับดูแลผิวที่เป็นสิวง่าย Agness >>Click

เซรั่มสำหรับดูแลผิวที่มีปัญหาจุดด่างดำ Clair >>Click

และเซรั่มดูแล Barrier ผิวสุดปัง Brikk ที่พึ่งเปิดตัวไม่นานมานี้ >>Click

วันนี้ถึงคิวของน้อง Cloud แล้วค่ะ ขอแอบอวดความน่ารักของ Box set ที่ทางแบรนด์ส่งมาให้สักหน่อย

น่ารักเนอะ

สำหรับตัวมูสนี้มาในกระป๋องอะลูมิเนียมแบบอัดก๊าซ ซึ่งเรียกตำรับแบบนี้กันว่า Aerosol ค่ะ

เนื้อโฟมก็นุ่มแน่นสู้มือสุดๆ

ลองวัดค่า pH หลังละลายมูสในน้ำได้อยู่ที่ราวๆ 5 ซึ่งถือว่าทำมาได้ใกล้เคียงกับค่า pH ของผิว

รายการส่วนผสมเป็นดังนี้นะคะ

สำหรับส่วนผสมวันนี้มี่ทำไว้ สีตามกลุ่ม ประโยชน์และวัตถุประสงค์ในการใช้

เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจึงขอเปิดประเดิมด้วยกลุ่มสารทำความสะอาดค่ะ

  • กลุ่มสารทำความสะอาดแทนด้วยสีส้ม ซึ่งมีด้วยกัน 3 ชนิด คือ Lauryl hydroxysultaine, Disodium cocoyl glutamate และ Caprylyl/capryl glucoside ซึ่งเป็นสารทำความสะอาดชนิดที่อ่อนโยนกับผิวทั้ง 3 ตัว
    • ขอ Focus ที่ Lauryl hydroxysultaine ซึ่งเป็นสารทำความสะอาดที่น่าสนใจตัวหนึ่ง มีความอ่อนโยนที่ดี ทำความสะอาดดี ฟองดี และยังมีความคงตัวสูง ไม่สลายตัวปลดปล่อยสารที่ไม่เป็นมิตรออกมาง่ายๆ
    • Disodium cocoyl glutamate เป็นสารทำความสะอาดชนิดอ่อนโยนที่ดัดแปลงจากกรดอะมิโน Glutamic acid มีความอ่อนโยนเช่นกัน
    • ส่วน Caprylyl/capryl glucoside นั้นเป็นสารทำความสะอาดชนิดไม่มีประจุ มีความอ่อนโยนเช่นเดียวกัน
  • กลุ่มสารที่ดูแลเรื่องการระคายเคือง แทนด้วยสีฟ้า ซึ่งมีด้วยกัน 4 ตัว ขอเลือกกล่าวถึงตัวที่น่าสนใจ 2 ตัว คือ
    • Acetyl dipeptide-1 cetyl ester น้องเป็นเปปไทด์ที่เด่นในแง่ของการลดความรู้สึกระคายเคือง ซึ่งมีการศึกษารองรับในอาสาสมัคร โดยให้อาสาสมัครทา Capsaicin เพื่อเกิดการระคายเคือง แล้วทาผลิตภัณฑ์ที่มีสารตัวนี้ลงไป พบว่า สารนี้สามารถลดการระคายเคืองและความรู้สึกแสบร้อนที่เกิดขึ้น (J Eur Acad Dermatol Venereol. 2016;30 Suppl 1:18-20.)
    • Hydroxyacetophenone มีชื่อทางการค้าว่า Symsave H เป็นสาร Muti-functional ให้ประโยชน์เป็นสารเพิ่มประสิทธิภาพของสารกันเสีย ให้คุณสมบัติเสริมในด้านการลดการระคายเคือง และเป็น Antioxidant
  • สีชมพู O-cymen-5-Ol มีอีกชื่อว่า Isopropyl methylphenol เรียกกันย่อๆ ว่า IPMP น้องเป็นสารกลุ่ม Terpenes ที่พบได้ในพืชหลายๆชนิด มีรายงานการวิจัยสนับสนุนถึงคุณสมบัติระงับเชื้อราและแบคทีเรียบางชนิด (Int Dent J. 2011;61 Suppl 3:33-40.) ข้อมูลจากผู้ผลิตวัตถุดิบระบุว่าสารนี้ใช้เป็น Preservative booster ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของสารระงับเชื้อชนิดอื่นๆในตำรับ และมีคุณสมบัติในการควบคุมความมัน และลดจำนวนเชื้อก่อโรคสิว (Ref: TDS ParbFree® IPMP100)
  • สีม่วง คือ วิตามินอี ซึ่งเป็น Antioxidant ที่ละลายได้ในไขมัน

อีกจุดที่น่าสนใจคือในตำรับมีการใช้ Buffer เพื่อควบคุมค่า pH ให้คงที่ โดยใช้ Citric acid คู่กับ Sodium citrate และมีรายงานว่าการใช้ Buffer กรดอ่อนมีประโยชน์ในการดูแลผิว (แต่ทั้งนี้ขึ้นกับค่า pH ของตำรับด้วย)

ในภาพรวมคือเป็น Cleanser ชิ้นหนึ่งที่ทำมาได้น่าสนใจ เลือกใช้สารทำความสะอาดที่อ่อนโยน แต่คงไว้ซึ่งฟองโฟมหนานุ่มแน่น และเสริมสารบำรุงที่ดูแลผิวได้ในหลายๆ ด้าน ถึงแม้ว่าพวก Cleanser จะสัมผัสผิวไม่นาน การมีสารบำรุงอยู่ก็น่าจะดีกว่าไม่มี และสารลดระคายเคืองอย่าง Acetyl dipeptide-1 cetyl ester ก็อาจจะให้ประโยชน์ในการลดการระคายเคืองจากการล้างหน้าได้

มาให้คะแนนกันดีกว่าค่ะ

เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดขอปรับหัวข้อการให้คะแนนเล็กน้อยนะคะ

  1. สารทำความสะอาด เป็นเหมือนหัวใจหลักของ Cleanser ซึ่งทางแบรนด์เลือกใช้มาอย่างดี เป็นชนิดที่อ่อนโยนหมด ส่วนเรื่องฟองก็แจ่ม ดังนั้นใครสายฟองแต่กลัว surfactant แรงๆ ตัวนี้ก็น่าจะเป็นทางเลือกที่ดี ให้ไป 5 ฟลาสก์
  2. สารบำรุงและส่วนผสมอื่นๆ สารบำรุงที่ใส่ลงมามีประโยชน์หลายอย่าง เช่น ดูแลเรื่องการระคายเคือง ให้ความรู้สึกสบายผิว ดูแลเรื่องสิวและเรื่องของความชุ่มชื้นผิว สำหรับส่วนผสมอื่นๆ นั้น ไม่มีสารที่ไม่เป็นมิตรกับผิว รับไป 5 ฟลาสก์เช่นกัน
  3. การใช้งาน ส่วนตัวเป็นคนบ้าฟองอยู่แล้ว ดังนั้นตัวนี้คือตอบโจทย์ค่ะ คนผิวแห้งแบบดิฉันอย่านวดนานจนเพลิน จะรู้สึกแห้งตึงได้ ครั้งแรกๆ ดิฉันนวดสนุกมากยิ่งนวดฟองยิ่งแน่นยิ่งนุ่ม กลายเป็นนวดเพลินไป หน้าแห้ง ให้ลองนวดประมาณ 30 วิ พอสนุกสนานก็ไปล้างออก ก็ไม่แห้งตึงระคายเคืองแล้วค่ะ สำหรับผิวมันก็เพิ่มเวลาใช้งานไปตามความเหมาะสมค่ะ ให้ไป 5 ฟลาสก์

สุดท้ายนี้ต้องขอขอบคุณทางแบรนด์ The labatorian ด้วยนะคะ ที่ส่งผลิตภัณฑ์ดีๆ มาให้ได้รู้จัก และขอบคุณทุกท่านด้วยนะคะ ที่ติดตามรับชมมาจนจบ

สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดต่อสอบถามได้ที่

IG : the_labatorian

Line official : @labatorian

Facebook : Labatorian

Disclaimer/conflict of interests: ผลิตภัณฑ์นี้ได้รับการสนับสนุนจากทางแบรนด์ The labatorian การรีวิวครั้งนี้เป็นการวิเคราะห์ส่วนผสม/วัตถุดิบตามหลักการทางวิทยาศาสตร์เครื่องสำอางและอาศัยความเห็นส่วนบุคคล และผู้เขียนไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเกี่ยวกับบริษัทเครื่องสำอางใดๆ โปรดใช้วิจารณญาณ

Image

Mini review and Beauty Talks: Silymarin (สารสกัดจาก Milk thistle) Nutricosmetic เพื่อสุขภาพและความงาม

สวัสดีค่ะ

 

วันนี้มี่จะมา Beauty Talk เกี่ยวกับสารสกัดจาก Milk thistle ว่า มีความน่าสนใจอย่างไรบ้างในการเป็น Nutricosmetic อาหารเสริมเพื่อความงามค่ะ

 

ถ้าพูดถึง Milk thistle หลายๆคนจะนึกถึง Silymarin ซึ่งเป็นสารสำคัญในพืชชนิดนี้นะคะ

 

สารนี้เป็น Antioxidant ที่ค่อนข้างดี และในบ้านเรามีตำรับยาที่ใช้สำหรับบำรุงตับด้วยค่ะ

 

วันนี้มี่คงไม่พูดถึงประโยชน์ในการบำรุงตับ แต่จะมาพูดถึงคุณสมบัติด้านความงามของเจ้า Silymarin แทนค่ะ

 

ขอ Mini-review ตัวอาหารเสริม (ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร) Silymarin ของ Now Foods ประกอบไปพร้อมกันนะคะ

 

พร้อมมม รูปมาค่ะ

 

sily 1.JPG

 

Silymarin ที่มี่ทานอยู่ เป็นของ Now foods จาก USA ค่ะ แน่นอนว่า สั่งมาจาก iHerb ถ้าเทียบกันแล้วกับบ้านเรา ตัวนี้จะค่อนข้างถูก และเหมาะในการกินเสริมความงาม เพราะมีส่วนผสมของขมิ้นชันด้วยค่ะ

 

ขมิ้นชันนอกจากการเป็นสมุนไพรที่ให้ผลดีต่อระบบทางเดินอาหารแล้ว ยังเป็น Antioxidant ที่ดีด้วยเช่นกัน

 

ข้างในเป็นแคปซูลสีเหลืองเข้ม กลิ่นขมิ้นแรงมากกกกก

 

sily-2

 

ตรงฉลากบอกว่า ให้ทานวันละ 2 เม็ด แต่มี่ทานแค่เม็ดเดียว หลังอาหารเช้าค่ะ

 

ใน 2 เม็ด ก็จะประกอบด้วย สารสกัด Milk thistle 300 mg (Standardized ให้มี Silymarin 80%) เพราะฉะนั้น 2 เม็ดเราจะได้ Silymarin ราวๆ 240 mg ค่ะ

ร่วมกับขมิ้นผงอีก  700 mg

 

ประหนึ่งว่าใช้ขมิ้นเป็นเบสเลยว่างั้น

 

ถ้าแกะดูก็จะเห็นเป็นผงแบบนี้ค่ะ

สีขมิ้นติดเปลือกอีกตะหาก

sily-4

ทีนี้มา Beauty Talks กันบ้างค่ะ

 

ส่วนตัวมี่สนใจ Silymarin มาได้หลายปีดีดักแล้วค่ะ แต่พึ่งจะมาลองทานก็ตอนได้รู้จักกับเวบ iHerb นี่เอง

 

สารสกัดจาก Milk thistle และสาร Silymarin มีประโยชน์ช่วยด้านความงามหลายๆด้าน เช่น

  1. เป็น Antioxidant ที่ดี
  2. ต่อต้านการเกิด Glycation (ในระดับหลอดทดลอง)
  3. ปกป้องผิวจากรังสี UV (ในระดับหลอดทดลอง)

 

Glycation เป็นความเสื่อมของร่างกายรูปแบบหนึ่ง เกิดเมื่อมีน้ำตาลในเลือดมากๆ และน้ำตาลไปจับกับโครงสร้างบางอย่าง เช่น โปรตีน ไขมัน ทำให้เกิดความเสื่อมขึ้นมา

 

และยังมีผลดีต่อระบบภูมิคุ้มกัน กระดูก และตับ ด้วยค่ะ

 

แต่!!!

 

มีข้อดีก็มีข้อเสียนะคะ

 

สาร Silymarin  นี้ทำปฏิกิริยากับเอนไซม์ที่ใช้แปรสภาพยาในร่างกาย (CYP 450) ได้ อาจจะมีผลต่อระดับยาที่ใช้อยู่ ถ้ามีโรคประจำตัวที่กำลังรักษาด้วยยาบางชนิดอยู่แล้วจะทานควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนนะคะ อาจจะทำให้เกิดอันตรายได้ถ้าใช้ไม่ถูกต้องค่ะ

 

REF:

  1. Shin et al. Molecules. 2015 Feb 19;20(3):3549-64.
  2. Surai PF. Antioxidants (Basel). 2015 Mar 20;4(1):204-47.
  3. Katiyar et al. PLoS One. 2011;6(6):e21410.

 

พบกันใหม่โอกาสถัดไปนะคะ สำหรับวันนี้สวัสดีค่ะ

Image

รีวิว/วิเคราะห์ส่วนผสมน้ำมัน Argan ออร์แกนิก Or’agan 100% Organic argan oil moisturizer

สวัสดีค่ะ เรามาต่อกันกับผลิตภัณฑ์ดีๆจากแบรนด์ Or’agan กันนะคะ สำหรับผลิตภัณฑ์จาก Or’agan ที่มีได้มา มีทั้งหมด 4 ชิ้น เริ่มจาก Black soap หรือ สบู่ดำ ตามด้วยน้ำมันสารพัดประโยชน์ Bath body massage oil และ Ghassoul Clay วันนี้มาทิ้งทวนด้วย 100% Organic argan oil moisturizer ค่ะ

 

ว่าแล้วเราก็มาดูหน้าตาของผลิตภัณฑ์กันดีกว่าค่ะ

 

oil 1.jpg

 

ตัวผลิตภัณฑ์จะมาในขวดแก้วที่มีรูปทรงเป็นเอกลักษณ์นะคะ ขวดที่มี่ได้มาเป็น Size 10 ml ที่อยู่ในเซ็ตของขวัญของทางแบรนด์ ตัวฝาจะเป็นฝาแบบสเปรย์ค่ะ

 

ที่ด้านหลังกล่องจะมีคำ Claim ดังภาพค่ะ

 

oil 2

 

เป็นเกี่ยวกับเรื่องวัตถุดิบว่าเป็นการสกัดเย็นจากเมล็ดอาร์แกนออร์แกนิก และเป็นการสกัดครั้งแรก รวมทั้งได้รับตรา Ecocert ซึ่ง ตรานี้ไม่ได้ได้มาง่ายนะคะ มีระบบระเบียนและข้อกำหนด หรือ Requirement ที่เยอะเหมือนกันค่ะ

 

มาดูเนื้อสัมผัสกันบ้างค่ะ

 

oil 3

 

เนื้อ oil มีความหนืดอยู่ค่อนข้างน้อยค่ะ มีกลิ่นเฉพาะตัว คล้ายถั่ว ไหลได้อย่างอิสระ ทำให้เกลี่ยได้ง่าย มีสัมผัสที่ค่อนข้างบางเบา ถ้าวัดตามหลักทาง Aromatherapy ซึ่งแบ่ง oil เป็น 3 แบบ คือ Light oil, Medium oil และ Thick oil ตัวนี้น่าจะอยู่ในเกณฑ์ Light-to-Medium ค่ะ

 

การดูดซึมนั้นใช้เวลาพอสมควรค่ะ

 

oil 4

 

ใครที่ไม่ชอบความเหนอะหนะของ oil มี่แนะนำว่า สามารถเอามาผสมกับโลชั่น ในอัตราส่วน oil 1: lotion 2 วอร์มๆให้เข้ากันก่อนเอาลงผิวได้นะคะ จะทำให้ออยล์มีความมันลดลง และยังช่วยให้ซึมผิวได้ดีขึ้นด้วยค่ะ

 

สำหรับส่วนผสมก็คือ ประกอบด้วยน้ำมันจากเมล็ดอาร์แกนออร์แกนิก 100% เลยค่ะ

 

ดูรายละเอียดกันซักหน่อยนะคะ

 

น้ำมันอาร์แกนนั้นน้ำมันจากเมล็ดของต้น Argan (Argania spinosa) ซึ่งในทาง Aromatherapy ระบุว่าน้ำมันที่มีส่วนผสมของ Argan oil มีคุณสมบัติในการลดริ้วรอย เพิ่มความชุ่มชื้น ความยืดหยุ่น ลดรอยแตกลาย

 

ถ้าพูดถึงการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับ Argan oil ก็มีมายาวนานพอสมควรเลยค่ะ

 

มีการศึกษาชิ้นหนึ่งได้กล่าวว่า Argan oil นั้น มีผลต่อการสร้างเม็ดสีผิวในระดับหลอดทดลองด้วยค่ะ ทำให้ได้ผลเรื่อง Whitening ด้วย (Evid Based Complement Alternat Med. 2013; 2013: 340107.)

 

การทดสอบประสิทธิภาพของ Argan oil แบบทา ในสตรีวัยทองจำนวน 60 คน เป็นเวลา 60 วัน พบว่าค่า TEWL (การระเหยของน้ำออกจากผิว) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ค่านี้สื่อว่า Barrier ผิวมีความแข็งแรงมากขึ้น และพบว่าระดับน้ำในผิวชั้นนอก หรือ Epidermis มีค่าสูงขึ้น (Prz Menopauzalny. 2014;13(5):280-8.) อีกชิ้นหนึ่งทดสอบในสตรีวัยทอง จำนวน 30 คน เป็นเวลา 60 วัน พบว่าผิวหนังมีความยืดหยุ่นเพิ่มขึ้น (Clin Interv Aging. 2015;10:339-49.)

 

นอกจากนี้การศึกษาล่าสุดในช่วงต้นปีนี้ ได้พบว่า Argan oil มีผลช่วยสมานแผลในหนูทดลองที่มีแผลไหม้ได้ด้วย (Ostomy Wound Manage. 2016 Mar;62(3):26-34.)

 

โดยรวมผลจากการศึกษาดังกล่าว ก็จะสามารถสรุปได้ว่า Argan oil นั้นให้ผลด้านความชุ่มชื้น ความแข็งแรงของ Barrier ผิว การสมานแผล และ Whitening ค่ะ

 

วันนี้ไม่รู้จะให้คะแนนอย่างไรดี เพราะส่วนผสมมีแค่ Argan oil ก็เลยขอให้คะแนนในภาพรวมแทนนะคะ

 

จากคะแนนเต็ม 5 สำหรับ Argan oil ตัวนี้ มี่ขอให้ 4 ฟลาสก์ค่ะ เนื่องจากแพคเกจเป็นแบบสเปรย์ ที่ค่อนข้างกดออกยาก และเวลากดมันจะกระจายพอสมควรนะคะ

 

คะแนน argan oil

 

สุดท้ายนี้ขอบคุณทางแบรนด์ Or’agan ด้วยนะคะที่ส่งสินค้าดีๆมาให้มี่ได้ทดลองใช้ และขอบคุณทุกๆท่านด้วยค่ะที่ติดตามมาจนจบ

 

 

 

สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถสอบถามได้ที่ทางเฟสบุคของแบรนด์ Or’agan เลยนะคะ

 

https://www.facebook.com/theoraganth

 

 

 

Disclaimer: ผลิตภัณฑ์นี้ได้รับเป็นของขวัญจากแบรนด์ Or’agan การรีวิวครั้งนี้เป็นการวิเคราะห์ส่วนผสมตามหลักการทางวิทยาศาสตร์เครื่องสำอางและสุคนธบำบัด (Aromatherapy) และอาศัยความเห็นส่วนบุคคล ผู้เขียนไม่ได้มีผลประโยชน์ใดๆในการขายสินค้า โปรดใช้วิจารณญาณ

Image

Miyeon’s Lab — รีวิว/Screening หา สารกลุ่ม Polyphenol ในสกินแคร์ และ homemade beauty

สวัสดีค่ะพี่ๆน้องๆเพื่อนๆห้องแป้งที่น่ารักทุกๆท่าน

วันนี้มี่มาลองตรวจหา Polyphenol ในสกินแคร์ที่มี่ใช้เป็นประจำทุกวันให้ชมกันค่ะ

Polyphenol คือ อะไร ??

Polyphenol เป็นสารพฤกษเคมีในพืช กลุ่มใหญ่ กลุ่มหนึ่ง ทีประกอบด้วยโครงสร้างที่มีหมู่ฟังก์ชั่น ฟีนอล และ -OH อยู่หลายๆตัว ซึ่งสารกลุ่มนี้มีคุณสมบัติที่ดีในเชิงเครื่องสำอางมากมายค่ะ ไม่ว่าจะเป็น Antioxidant, ลดการอักเสบ, Whitening และกลุ่มสาร Polyphenol ที่น่าสนใจตัวหนึ่ง คือ Tannin ซึ่งมีรสฝาด ให้ผลกระชับรูขุมขน ควบคุมความมัน และ มีผลฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ได้บางชนิดค่ะ

การตรวจ Polyphenol ง่ายๆ

จะใช้วิธี Ferric chloride reagent ค่ะ หยดลงไปแล้วสังเกตการเปลี่ยนสี จากสีเหลือง เป็น เขียว น้ำเงิน ม่วง ดำ น้ำตาล หรือ แดง ซึ่งสีที่เกิดขึ้นจะสอดคล้องกับชนิดของ Polyphenol ที่พืชมีค่ะ ถ้าเป็น Tannin มักจะให้สีน้ำเงิน และ เขียว

ซึ่งการตรวจแบบนี้เราเรียกว่า Screening test ซึ่งไม่ได้ถูกต้อง 100% นะคะ แต่ก็มีประโยชน์ในการคัดกรองเบื้องต้นค่ะ

พอดี Ferric chloride ที่ซื้อมา เหลือ เลยลองเอามาตรวจ Skincare เล่นๆค่ะ

ก่อนทำก็ละลาย Ferric chloride ให้ได้ความเข้มข้นที่เหมาะสมก่อนค่ะ

จะได้เป็นสารละลายสีเหลืองน้ำตาลค่ะ

fecl3.jpg
มี่ลองเอา Skincare ที่ใช้เป็นประจำมาตรวจดูค่ะ

fe 1

เยอะเชียว

เราเริ่มกันที่ Madre Labs Rose petal witch hazel toner ค่ะ

fe 2

ตอนแรกคิดว่าจะให้ผลบวกนะคะ เพราะ Witch hazel มี Tannin และ Polyphenol อยู่เยอะ แต่ผลคือ

fe 3

ไม่เกิดปฎิกิริยาค่าาา อาจจะเพราะว่าเจือจางเกินไปก็ได้

ตัวที่สอง Missha near skin black tea toner โทนเนอร์ชาดำของเกาหลีค่ะ

fe 4

ตัวนี้ก็ไม่เกิดปฎิกิริยาค่ะ

fe 5

ตัวที่สาม Skin Talk BHA music toner ลูกรักบ้านมียอนนั่นเองค่ะ

fe 6

ตัวนี้ให้ผลบวกนะคะ ได้เป็นสีม่วงค่ะ

fe 7

ตัวที่สี่ Labstory V10 Revital Whitening Intensive Booster ค่ะ

fe 8

ตัวนี้ดูไม่ค่อยชัด แต่เหมือนจะให้ผลบวกนะคะ ได้เป็นสีน้ำตาลอมเขียว

fe 9

ตัวที่ 5 Hada rizumu น้ำตบ Royal jelly และ Hyaluron ของ Kose cosmeport

fe 10

ตัวนี้คิดไว้แล้วว่าจะไม่เกิดปฏิกิริยา ก็ไม่เกิดจริงค่ะ

fe 11

ตัวที่ 6 Deep sea marine collagen ampoule ของ Mizon ลูกรักเช่นกัน

fe 12

ตัวนี้คิดไว้ว่าคงไม่เกิดปฎิกิริยา ก็ไม่เกิดจริงค่ะ เพราะส่วนผสมนางเป็นพวกคอลลาเจน ซึ่งเป็นโปรตีน

fe 13

ตัวที่ 7 It’s Skin GF effector ลูกรักเช่นกัน

fe 14

ตัวนี้ก็ไม่เกิดปฏิกิริยาค่ะ

fe 15

ลองดูพวก Homemade beauty บ้างนะคะ

สูตรแรก น้ำใบชาจีนต้มค่ะ

fe 16

ไม่เกิดจ้า ทั้งๆที่ควรจะเกิด อาจจะเพราะต้มเจืองจางไป

fe 17

สูตรสอง น้ำใบทับทิมต้มค่ะ

fe 18

ตัวนี้ค่อนข้างชัดค่ะ ว่าเปลี่ยนเป็นสีอมเขียว

fe 19

จบแล้วค่า

ถึงตัวที่ไม่ได้เกิดปฏิกิริยา ก็ไม่ได้แปลว่า จะไม่มีประโยชน์นะคะ เพราะวิธีนี้มันมีข้อจำกัดอยู่เยอะเหมือนกันค่ะ เขาอาจจะมี แต่เจืองจางไปหน่อย เลยไม่ทำปฏิกิริยาก็ได้

ขอบคุณที่รับชมมาจนจบนะคะ

Disclaimer: ผลิตภัณฑ์ทุกชิ้นซื้อด้วยตัวเอง การรีวิวครั้งนี้เป็นเพียงการคัดกรองเบื้องต้นด้วย Ferric chloride reagent ซึ่งมีข้อจำกัดหลายประการ และการอ่านสีอ่านด้วยตาเปล่า การเตรียมตัวอย่างไม่ได้ใช้เครื่องชั่ง อาจจะมีการคาดเคลื่อน จึงเป็นเพียงแนวทางเท่านั้น