[Beauty Talks] หรือป้องกันแค่ UV จะไม่พอ

[Beauty Talks] หรือป้องกันแค่ UV จะไม่พอ

สืบเนื่องจากในตำราเครื่องสำอางที่ชื่อ Handbook of cosmetic Science and Technology Edition 3 ที่ออกมาเมื่อปี 2009 (5 ปีละนะ แต่พึ่งจะได้อ่าน – -*) ได้เริ่มมีการกล่าวถึง UVAI (ยูวีเอวัน ยูวีเอหนึ่ง ฯลฯ) ละก็มีบางแบรนด์พึ่งเอามาเคลมในโทรทัศน์เมื่อไม่กี่เดือนก่อนหน้านี้เอง

จริงๆอี UVAI นี่ มันก็คือ UVA ค่ะ แค่เค้าดันแยก UVA ออกเป็น 2 Subrange คือ UVAI (340-400 nm) กะ UVAII (340-320 nm)

ซึ่งเป็นมาตรฐานของรังสี (ใครเรียนฟิสิกส์มาคงจำสูตรได้ แต่ Admin ลืมไปละค่ะ) พวกความยาวคลื่นสั้นๆ พลังงานจะสูง จะทำ Damage ต่อผิวได้มากกว่า

ในขณะที่พวกความยาวคลื่นยาวๆ มันจะผ่านลงไปในผิวได้ลึกกว่า ก็เลยเป็นที่มาของคำเคลม ยูวีเอหนึ่งทำร้ายลึกกว่า – -*

ในหนังสือเล่มนั้นเริ่มมีการกล่าวถึงรังสี Infrared ว่าก็ทำอันตรายกับผิวได้เหมือนกันนะ แต่ก็ยังไม่ได้พูดถึงสารที่จะกรองรังสี IR

แล้วเมื่อปีที่แล้ว ก็เริ่มมีการบอกว่า แสงในช่วง Visible (400 – 780 nm) สามารถซึมลงผิว แล้วทำลายผิวได้เหมือนกัน โดยเฉพาะ แสงสีฟ้า/ม่วง ช่วง 400 – 500 nm แล้วมันซึมลงไปลึกมาก ถึงใต้ Dermis ชั้นของเส้นเลือดเลย

แสงที่ส่องมาจากดวงอาทิตย์ก็จะมีหลายๆคลื่นความถี่ค่ะ แต่ที่สำคัญกับผิวก็จะเป็น 3 ย่านนี้ คือ UV Visible และก็ IR

แสงจากดวงอาทิตย์

พร้อมกันนั้นก็เริ่มมีการ Launch สารตัวหนึ่งออกมาจากบริษัทแห่งหนึ่ง (จดสิทธิบัตรเรียบร้อย) เป็น Melanin (คือ Melanin ที่มีในผิวเรานี่หละ) ที่ผ่านกรรมวิธีบางอย่างให้มีขนาดเล็กลง จะซึมเข้าผิวและทำหน้าที่คอยสร้างปราการป้องกันแสงสีฟ้า ไม่ให้ทำลายผิวได้

ในจุดนี้ก็เลยเริ่มมี Question ว่า Physical sunscreen อย่าง Titanium dioxide กะ Zinc oxide นี่จะสามารถกระเจิงรังสีและแสงได้หมดทุกความยาวคลื่นมั้ย ทุก Range ตั้งแต่ UV Visible และก็ IR ซึ่งก็ถ้ามองตามกลไก คิดว่าน่าจะได้นะ แต่ก็หาข้อมูลมา Support ยังไม่เจอค่ะ

ดังนั้น ถ้ามองๆแล้วใช้ Physical sunscreen จะดีกว่ามั้ย ฉาบหน้าสะท้อนมันทุกคลื่นเลยค่ะ ในเมื่อ Chemical ดูดกลืนรังสีได้แค่บางช่วงแค่นั้นเอง แถม Chemical บางตัวอาจจะดูดซึมเข้าร่างแล้วทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ได้ด้วย

มี่เอาตัวอย่างการดูดซับรังสี UV ของสารชนิดหนึ่งมาฝากด้วยค่ะเพื่อประกอบให้เข้าใจง่ายขึ้น สารแต่ละชนิดจะดูดซับรังสี UV ได้ในช่วงความยาวคลื่นที่ต่างกันไป และเป็นค่าเฉพาะตัวของสารนั้นๆค่ะ

 

UV spectrum

 

นี่ก็เลยตอบโจทย์ได้ว่าทำไมเวลาเค้าใส่ Chemical sunscreen มาในสูตรกันแดด ถึงต้องใส่มาหลายๆตัว เพื่อให้ครอบคลุม Range ของรังสีได้ทุกช่วงนั้นเองค่ะ

Reference:
– คหสต
– Gabard B. (2009). Sun protection and sunscreens in Handbook of cosmetic science and technology, 3rd edition, pp.323-330
– ข้อมูล Liposhield จากบริษัท Lipo chemicals

2 thoughts on “[Beauty Talks] หรือป้องกันแค่ UV จะไม่พอ

  1. เห็นด้วยค่ะ กฏหมายคสอ.มักจะบอกว่าเครื่องสำอางทำงานได้แค่ผิวหนังชั้นบน เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ผลิตโม้สรรพคุณในเชิงรักษา แต่ความจริงแล้วกลับทำได้เกินกว่านั้นค่ะ ยิ่งสูตรสกินแคร์สมัยนี้ ถ้าสังเกตดีๆจะพบว่าถึงขั้น Transdermal formulation กันเลยทีเดียว ส่วนเรื่องสารกันแดดที่ Oxidized ถ้าเจอสูตรเทพๆ มันสามารถซึมเข้าทางเส้นเลือดฝอยที่ผิวหนังได้ค่ะ เข้าไปจับกับรีเซปเตอร์ของฮอร์โมนต่างๆ สะสมไปเรื่อยๆ พอถึงเวลาปัญหาผุดขึ้นมา คนก็หาสาเหตุไม่เจอหรอกค่ะ ไปโทษอย่างอื่นแทน เพราะกฏหมายคสอ.บอกว่าไม่มีปัญหาก็เลยไม่มีใครตระหนักว่ามันคือปัญหาค่ะ

    1. เห็นด้วยเลยค่ะ

      มีแค่ทางต่างประเทศ โดยเฉพาะยุโรป ที่ตระหนักถึงปัญหานี้ จึงมักจะเห็นเครื่องสำอาง Organic กับ Natural ออกมาจากทางฝั่งอังกฤษกับเยอรมันบ่อยๆค่ะ

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s